คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน รายงานสรุปสถานการณ์และความก้าวหน้าในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2547 ถึงวันที่ 17 มกราคม 2548 (เป็นครั้งที่ 3) ดังนี้
1. สถานการณ์ในคน สัตว์ปีก และนกธรรมชาติ
1.1 สถานการณ์ในคน ตั้งแต่ 8 ตุลาคม 2547 ถึง 17 มกราคม 2548 ไม่พบผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตเพิ่ม
1.2 สถานการณ์ในสัตว์ปีก ณ วันที่ 17 มกราคม 2548 พบพื้นที่มีเชื้อไข้หวัดนกที่อยู่ระหว่างการควบคุมเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน จำนวน 6 ตำบล 5 อำเภอ ใน 3 จังหวัดได้แก่ พิษณุโลก สุพรรณบุรี และระยอง (รายงานคณะรัฐมนตรีเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2547 พบ 575 จุด ใน 43 จังหวัด และรายงานเมื่อ 7 ธันวาคม 2547 พบ 104 ตำบล ใน 21 จังหวัด)
1.3 สถานการณ์ในนกธรรมชาติ ในช่วงตุลาคม 2547 - 7 มกราคม 2548 ตรวจพบเชื้อจำนวน 13 ตัวอย่าง จาก 62 จังหวัด โดยพบใน 5 จังหวัดได้แก่ นครสวรรค์ สระบุรี ฉะเชิงเทรา ลพบุรี และปราจีนบุรี
1.4 สถานการณ์ที่ไม่อาจประมาท แม้จะควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้นแต่ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ เพราะการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกยังสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และจากการเฝ้าระวังการติดเชื้อในสัตว์ปีก พบการติดเชื้อในตัวอย่างที่ส่งตรวจ ดังนี้ ในนกธรรมชาติร้อยละ 1.63 เป็ดไล่ทุ่งร้อยละ 29.80 และไก่พื้นเมืองร้อยละ 54.33 สัตว์ปีกเหล่านี้มีกระจัดกระจายอยู่อย่างกว้างขวาง ทั้งในธรรมชาติ ในทุ่งนา และในครัวเรือนชนบท การจะกำจัดให้หมดจึงเป็นไปได้ยาก
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
2.1 การเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เนื่องจากไข้หวัดนกเป็นปัญหาภูมิภาคมิใช่ประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น คณะกรรมการฯ จึงเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านที่มีการระบาด โดยไปที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง เมื่อวันที่ 9 - 11 ธันวาคม 2547 และไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อวันที่ 15 - 20 ธันวาคม 2547 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ประสบการณ์ มาปรับใช้กับสถานการณ์ของประเทศไทยและที่สำคัญได้ผลักดันให้มีเครือข่ายประสานความร่วมมือในการจัดการปัญหาทั้งในภาวะปกติและฉุกเฉินร่วมกันระหว่าง 4 ประเทศ
2.2 ความก้าวหน้าในการเตรียมแผนยุทธศาสตร์และแผนฉุกเฉิน เป็นการดำเนินการมาตรการต่อเนื่อง โดยได้เร่งรัดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเข้มข้น ต่อเนื่องในการเฝ้าระวังตามนโยบายเอกซเรย์ทุกพื้นที่ และมีการรายงานผลต่อที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณา แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกอย่างสม่ำเสมอ หากมีเหตุการณ์ผิดปกติให้รายงานตรงต่อประธานทันที รวมทั้งได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก พ.ศ.2548 - 2550 ขึ้นโดยมุ่งเป้าที่ความปลอดภัยของประชาชน สัตว์ปีกปลอดโรค และการสร้างความมั่นใจในสังคม มียุทธศาสตร์ 6 ประการ คือ ปศุสัตว์ปลอดโรค การเฝ้าระวังและควบคุมระหว่างการระบาด การสร้างและจัดการองค์ความรู้ การพัฒนาศักยภาพองค์กร/บุคลากร/ห้องปฏิบัติการ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน/สังคม และการพัฒนากลไก/ระบบการควบคุมโรคบูรณาการ ส่วนการใช้วัคซีนในการป้องกันควบคุมโรคในสัตว์ปีก ขณะนี้ยังมีความคิดเห็นที่หลากหลายแง่มุมในการใช้วัคซีน อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯ ได้มีมติดังนี้
(1) ให้มีการเตรียมพร้อมวัคซีนไข้หวัดนกสามารถนำมาใช้ได้ทันที หากจำเป็นฉุกเฉิน
(2) ให้ศึกษาติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์และพิจารณาทางเลือก รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติหากต้องใช้วัคซีนในสัตว์ปีก
(3) ให้มีการประสานกับต่างประเทศเพื่อดำเนินการตามข้อ (1) และ (2) และเรื่องนี้ให้จัดประชุม ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศในประเทศไทยโดยเร็ว (ประมาณเมษายน 2548)
สำหรับการจัดทำแผนฉุกเฉินเตรียมรับสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดนกใหญ่ที่เชื่อมโยงกับไข้หวัดนกนั้น องค์การอนามัยโลกและผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ ได้เตือนภัยถึงโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ของไข้หวัดนกใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่เชื่อมโยงกับไข้หวัดนก ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นจุดกำเนิดและจุดเริ่มต้นของการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มอบให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการวางแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จใน 2 สัปดาห์ (24 มกราคม 2548) และให้สามารถปฏิบัติการเตรียมพร้อมให้ได้ภายใน 2 เดือน เมื่อแล้วเสร็จจะรีบนำเสนอทันที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--
1. สถานการณ์ในคน สัตว์ปีก และนกธรรมชาติ
1.1 สถานการณ์ในคน ตั้งแต่ 8 ตุลาคม 2547 ถึง 17 มกราคม 2548 ไม่พบผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตเพิ่ม
1.2 สถานการณ์ในสัตว์ปีก ณ วันที่ 17 มกราคม 2548 พบพื้นที่มีเชื้อไข้หวัดนกที่อยู่ระหว่างการควบคุมเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน จำนวน 6 ตำบล 5 อำเภอ ใน 3 จังหวัดได้แก่ พิษณุโลก สุพรรณบุรี และระยอง (รายงานคณะรัฐมนตรีเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2547 พบ 575 จุด ใน 43 จังหวัด และรายงานเมื่อ 7 ธันวาคม 2547 พบ 104 ตำบล ใน 21 จังหวัด)
1.3 สถานการณ์ในนกธรรมชาติ ในช่วงตุลาคม 2547 - 7 มกราคม 2548 ตรวจพบเชื้อจำนวน 13 ตัวอย่าง จาก 62 จังหวัด โดยพบใน 5 จังหวัดได้แก่ นครสวรรค์ สระบุรี ฉะเชิงเทรา ลพบุรี และปราจีนบุรี
1.4 สถานการณ์ที่ไม่อาจประมาท แม้จะควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้นแต่ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ เพราะการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกยังสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และจากการเฝ้าระวังการติดเชื้อในสัตว์ปีก พบการติดเชื้อในตัวอย่างที่ส่งตรวจ ดังนี้ ในนกธรรมชาติร้อยละ 1.63 เป็ดไล่ทุ่งร้อยละ 29.80 และไก่พื้นเมืองร้อยละ 54.33 สัตว์ปีกเหล่านี้มีกระจัดกระจายอยู่อย่างกว้างขวาง ทั้งในธรรมชาติ ในทุ่งนา และในครัวเรือนชนบท การจะกำจัดให้หมดจึงเป็นไปได้ยาก
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
2.1 การเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เนื่องจากไข้หวัดนกเป็นปัญหาภูมิภาคมิใช่ประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น คณะกรรมการฯ จึงเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านที่มีการระบาด โดยไปที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง เมื่อวันที่ 9 - 11 ธันวาคม 2547 และไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อวันที่ 15 - 20 ธันวาคม 2547 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ประสบการณ์ มาปรับใช้กับสถานการณ์ของประเทศไทยและที่สำคัญได้ผลักดันให้มีเครือข่ายประสานความร่วมมือในการจัดการปัญหาทั้งในภาวะปกติและฉุกเฉินร่วมกันระหว่าง 4 ประเทศ
2.2 ความก้าวหน้าในการเตรียมแผนยุทธศาสตร์และแผนฉุกเฉิน เป็นการดำเนินการมาตรการต่อเนื่อง โดยได้เร่งรัดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเข้มข้น ต่อเนื่องในการเฝ้าระวังตามนโยบายเอกซเรย์ทุกพื้นที่ และมีการรายงานผลต่อที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณา แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกอย่างสม่ำเสมอ หากมีเหตุการณ์ผิดปกติให้รายงานตรงต่อประธานทันที รวมทั้งได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก พ.ศ.2548 - 2550 ขึ้นโดยมุ่งเป้าที่ความปลอดภัยของประชาชน สัตว์ปีกปลอดโรค และการสร้างความมั่นใจในสังคม มียุทธศาสตร์ 6 ประการ คือ ปศุสัตว์ปลอดโรค การเฝ้าระวังและควบคุมระหว่างการระบาด การสร้างและจัดการองค์ความรู้ การพัฒนาศักยภาพองค์กร/บุคลากร/ห้องปฏิบัติการ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน/สังคม และการพัฒนากลไก/ระบบการควบคุมโรคบูรณาการ ส่วนการใช้วัคซีนในการป้องกันควบคุมโรคในสัตว์ปีก ขณะนี้ยังมีความคิดเห็นที่หลากหลายแง่มุมในการใช้วัคซีน อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯ ได้มีมติดังนี้
(1) ให้มีการเตรียมพร้อมวัคซีนไข้หวัดนกสามารถนำมาใช้ได้ทันที หากจำเป็นฉุกเฉิน
(2) ให้ศึกษาติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์และพิจารณาทางเลือก รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติหากต้องใช้วัคซีนในสัตว์ปีก
(3) ให้มีการประสานกับต่างประเทศเพื่อดำเนินการตามข้อ (1) และ (2) และเรื่องนี้ให้จัดประชุม ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศในประเทศไทยโดยเร็ว (ประมาณเมษายน 2548)
สำหรับการจัดทำแผนฉุกเฉินเตรียมรับสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดนกใหญ่ที่เชื่อมโยงกับไข้หวัดนกนั้น องค์การอนามัยโลกและผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ ได้เตือนภัยถึงโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ของไข้หวัดนกใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่เชื่อมโยงกับไข้หวัดนก ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นจุดกำเนิดและจุดเริ่มต้นของการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มอบให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการวางแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จใน 2 สัปดาห์ (24 มกราคม 2548) และให้สามารถปฏิบัติการเตรียมพร้อมให้ได้ภายใน 2 เดือน เมื่อแล้วเสร็จจะรีบนำเสนอทันที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--