คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการตรวจราชการการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดตาก และจังหวัดกำแพงเพชรระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2548 ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เสนอและให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับข้อมูลและเรื่องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาพรวมต่อไป สรุปได้ดังนี้
จังหวัดตาก
1. จังหวัดตากมีพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวม 8 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 58 ตำบล 399 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 43,191 ครัวเรือน (165,907 คน) โดยในขณะนี้ทางจังหวัดได้ประกาศให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว
2. พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายรวม 163,729.5 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่นา 52,011 ไร่ พื้นที่ไร่ 110,959.5 ไร่ และพื้นที่สวน 759 ไร่) มูลค่าความเสียหาย 66,923,078 บาท ซึ่งทางจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือแล้ว เป็นเงินจำนวน 31,719,201.12 บาท โดยทำการสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร 164 แห่ง จัดหาวัสดุปิดกั้นแหล่งน้ำธรรมชาติ 363 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำจำนวน 1 แห่ง และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเป็นเงินสด จำนวน 10,270,894 บาท
3. การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 372 หมู่บ้าน 43,191 ครัวเรือน(165,907 คน) จำแนกเป็นหมู่บ้านที่ประสบปัญหาในระดับรุนแรงจำนวน 52 หมู่บ้าน ระดับปานกลางจำนวน 186 หมู่บ้าน และระดับเล็กน้อยจำนวน 134 หมู่บ้าน จังหวัดได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยใช้รถยนต์บรรทุกน้ำจำนวน 24 คัน บรรทุกน้ำแจกจ่ายแล้ว รวม 22,035,200 ลิตร (คิดเป็นเงิน 626,128.12 บาท)
4. แนวทางการแก้ไขระยะยาว
4.1 การพัฒนาลุ่มน้ำ และสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มเติม เช่น ฝาย อ่างเก็บน้ำ โดยใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และงบประมาณปกติ
4.2 ดำเนินการขุดบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้นในพื้นที่หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง
4.3 จัดหารถยนต์บรรทุกน้ำ สนับสนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง
4.4 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำและสร้างความเข้าใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
5. ได้ออกตรวจสถานการณ์ภัยแล้งและเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 2 จุด ดังนี้
5.1 ตรวจเยี่ยมภัยแล้งตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคให้กับราษฎร และรับฟังบรรยายสรุปปัญหาภัยแล้งในพื้นที่
5.2 ตรวจเยี่ยมภัยแล้งบริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านเพชรชมภู ตำบลนาโบสถ์ กิ่งอำเภอวังเจ้า เพื่อตรวจเยี่ยมราษฎรที่ประสบภัยแล้ง และรับฟังปัญหาภัยแล้งในพื้นที่
6. การประสานงานและข้อเสนอแนะในการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่จังหวัดตากครั้งนี้ได้ประสานงานเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ดังนี้
6.1 ให้จังหวัดจัดลำดับความเดือดร้อนของพื้นที่ประสบภัยแล้ง เพื่อประกอบการพิจารณารับการสนับสนุนงบประมาณ โดยในขณะนี้ ตำบลนาโบสถ์ขอรับการสนับสนุนจัดซื้อรถยนต์บรรทุกน้ำ ขนาด 1,000 ลิตร จำนวน 3 คัน ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงทอง นาโบสถ์ และป่าดาง เป็นเงินรวม 15 ล้านบาท
6.2 ให้จังหวัดจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
6.3 ในการปฏิบัติการทำฝนหลวง ให้เร่งดำเนินการโดยทันที เมื่อสภาพอากาศเหมาะสม เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้กับราษฎรในพื้นที่
จังหวัดกำแพงเพชร
1. จังหวัดกำแพงเพชรมีพื้นที่ประสบภัยแล้งรวม 16 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ รวม 415 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 33,632 ครัวเรือน (118,678 คน)
2. พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายรวม 27,979 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่นา 27,348 ไร่ พื้นที่ไร่ 631 ไร่) ซึ่งทางจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือแล้ว เป็นเงินจำนวน 49,999,740 บาท โดยทำการเจาะบ่อน้ำตื้น 98 บ่อ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 74 เครื่อง ซ่อมแซมทำนบ/ฝาย 121 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 47 แห่ง จัดหาวัสดุปิดกั้นแหล่งน้ำธรรมชาติ 121 แห่ง และประสานศูนย์บินจังหวัดนครสวรรค์เพื่อทำฝนหลวง
3. การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 415 หมู่บ้าน 33,632 ครัวเรือน (118,678 คน) จำแนกเป็นหมู่บ้านที่ประสบปัญหาในระดับรุนแรงจำนวน 65 หมู่บ้าน ระดับปานกลางจำนวน 150 หมู่บ้าน และระดับเล็กน้อยจำนวน 200 หมู่บ้าน จังหวัดได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยแจกจ่ายน้ำให้ราษฎรแล้ว รวม 24,159,700 ลิตร ใน 9 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ และมีแผนที่จะแจกจ่ายน้ำต่อไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2548
4. แนวทางการแก้ไขระยะยาว
4.1 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง จำนวน 19 โครงการใช้งบประมาณ 6,117,630 บาท
4.2 โครงการชลประทานท่อทองแดง เพื่อส่งน้ำไปกักเก็บไว้ในคลองธรรมชาติ จำนวน 9 โครงการ ใช้งบประมาณ 350 ล้านบาท
4.3 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักร ยานพาหนะ บุคลากร และอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนเมื่อมีการร้องขอ
4.4 โครงการแหล่งน้ำในไร่นา (สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด) ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน จำนวน 1,000 บ่อ
5. ได้ออกตรวจสถานการณ์ภัยแล้งและเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 3 จุด ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร (1 จุด) และอำเภอพรานกระต่าย (2 จุด) ดังนี้
5.1 ตรวจเยี่ยมภัยแล้งอำเภอเมืองกำแพงเพชร ได้เป็นประธานปล่อยขบวนรถแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 14 คัน (92,000 ลิตร) แจกจ่ายให้ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ตำบลนาบ่อคำ
5.2 ตรวจเยี่ยมภัยแล้งอำเภอพรานกระต่ายได้เป็นประธานปล่อยขบวนรถแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 18 คัน (116,000 ลิตร) แจกจ่ายให้ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ 5 ตำบล (ตำบลหนองหัววัว ตำบลห้วยยั้ง ตำบลพรานกระต่าย ตำบลถ้ำกระต่ายทอง และตำบลวังควง)
6. การประสานงานและข้อเสนอแนะ ในการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่จังหวัดกำแพงเพชรครั้งนี้ได้ประสานงานเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ดังนี้
6.1 ให้จังหวัดจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
6.2 ให้จังหวัดจัดทำแผนแม่บทแก้ไขปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังจะเข้าประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่เพื่อจัดทำแผนแม่บทดังกล่าวต่อไป
6.3 ในการปฏิบัติการทำฝนหลวง ให้เร่งดำเนินการโดยทันทีเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้กับราษฎรในพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--
จังหวัดตาก
1. จังหวัดตากมีพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวม 8 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 58 ตำบล 399 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 43,191 ครัวเรือน (165,907 คน) โดยในขณะนี้ทางจังหวัดได้ประกาศให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว
2. พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายรวม 163,729.5 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่นา 52,011 ไร่ พื้นที่ไร่ 110,959.5 ไร่ และพื้นที่สวน 759 ไร่) มูลค่าความเสียหาย 66,923,078 บาท ซึ่งทางจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือแล้ว เป็นเงินจำนวน 31,719,201.12 บาท โดยทำการสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร 164 แห่ง จัดหาวัสดุปิดกั้นแหล่งน้ำธรรมชาติ 363 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำจำนวน 1 แห่ง และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเป็นเงินสด จำนวน 10,270,894 บาท
3. การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 372 หมู่บ้าน 43,191 ครัวเรือน(165,907 คน) จำแนกเป็นหมู่บ้านที่ประสบปัญหาในระดับรุนแรงจำนวน 52 หมู่บ้าน ระดับปานกลางจำนวน 186 หมู่บ้าน และระดับเล็กน้อยจำนวน 134 หมู่บ้าน จังหวัดได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยใช้รถยนต์บรรทุกน้ำจำนวน 24 คัน บรรทุกน้ำแจกจ่ายแล้ว รวม 22,035,200 ลิตร (คิดเป็นเงิน 626,128.12 บาท)
4. แนวทางการแก้ไขระยะยาว
4.1 การพัฒนาลุ่มน้ำ และสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มเติม เช่น ฝาย อ่างเก็บน้ำ โดยใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และงบประมาณปกติ
4.2 ดำเนินการขุดบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้นในพื้นที่หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง
4.3 จัดหารถยนต์บรรทุกน้ำ สนับสนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง
4.4 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำและสร้างความเข้าใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
5. ได้ออกตรวจสถานการณ์ภัยแล้งและเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 2 จุด ดังนี้
5.1 ตรวจเยี่ยมภัยแล้งตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคให้กับราษฎร และรับฟังบรรยายสรุปปัญหาภัยแล้งในพื้นที่
5.2 ตรวจเยี่ยมภัยแล้งบริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านเพชรชมภู ตำบลนาโบสถ์ กิ่งอำเภอวังเจ้า เพื่อตรวจเยี่ยมราษฎรที่ประสบภัยแล้ง และรับฟังปัญหาภัยแล้งในพื้นที่
6. การประสานงานและข้อเสนอแนะในการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่จังหวัดตากครั้งนี้ได้ประสานงานเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ดังนี้
6.1 ให้จังหวัดจัดลำดับความเดือดร้อนของพื้นที่ประสบภัยแล้ง เพื่อประกอบการพิจารณารับการสนับสนุนงบประมาณ โดยในขณะนี้ ตำบลนาโบสถ์ขอรับการสนับสนุนจัดซื้อรถยนต์บรรทุกน้ำ ขนาด 1,000 ลิตร จำนวน 3 คัน ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงทอง นาโบสถ์ และป่าดาง เป็นเงินรวม 15 ล้านบาท
6.2 ให้จังหวัดจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
6.3 ในการปฏิบัติการทำฝนหลวง ให้เร่งดำเนินการโดยทันที เมื่อสภาพอากาศเหมาะสม เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้กับราษฎรในพื้นที่
จังหวัดกำแพงเพชร
1. จังหวัดกำแพงเพชรมีพื้นที่ประสบภัยแล้งรวม 16 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ รวม 415 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 33,632 ครัวเรือน (118,678 คน)
2. พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายรวม 27,979 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่นา 27,348 ไร่ พื้นที่ไร่ 631 ไร่) ซึ่งทางจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือแล้ว เป็นเงินจำนวน 49,999,740 บาท โดยทำการเจาะบ่อน้ำตื้น 98 บ่อ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 74 เครื่อง ซ่อมแซมทำนบ/ฝาย 121 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 47 แห่ง จัดหาวัสดุปิดกั้นแหล่งน้ำธรรมชาติ 121 แห่ง และประสานศูนย์บินจังหวัดนครสวรรค์เพื่อทำฝนหลวง
3. การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 415 หมู่บ้าน 33,632 ครัวเรือน (118,678 คน) จำแนกเป็นหมู่บ้านที่ประสบปัญหาในระดับรุนแรงจำนวน 65 หมู่บ้าน ระดับปานกลางจำนวน 150 หมู่บ้าน และระดับเล็กน้อยจำนวน 200 หมู่บ้าน จังหวัดได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยแจกจ่ายน้ำให้ราษฎรแล้ว รวม 24,159,700 ลิตร ใน 9 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ และมีแผนที่จะแจกจ่ายน้ำต่อไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2548
4. แนวทางการแก้ไขระยะยาว
4.1 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง จำนวน 19 โครงการใช้งบประมาณ 6,117,630 บาท
4.2 โครงการชลประทานท่อทองแดง เพื่อส่งน้ำไปกักเก็บไว้ในคลองธรรมชาติ จำนวน 9 โครงการ ใช้งบประมาณ 350 ล้านบาท
4.3 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักร ยานพาหนะ บุคลากร และอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนเมื่อมีการร้องขอ
4.4 โครงการแหล่งน้ำในไร่นา (สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด) ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน จำนวน 1,000 บ่อ
5. ได้ออกตรวจสถานการณ์ภัยแล้งและเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 3 จุด ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร (1 จุด) และอำเภอพรานกระต่าย (2 จุด) ดังนี้
5.1 ตรวจเยี่ยมภัยแล้งอำเภอเมืองกำแพงเพชร ได้เป็นประธานปล่อยขบวนรถแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 14 คัน (92,000 ลิตร) แจกจ่ายให้ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ตำบลนาบ่อคำ
5.2 ตรวจเยี่ยมภัยแล้งอำเภอพรานกระต่ายได้เป็นประธานปล่อยขบวนรถแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 18 คัน (116,000 ลิตร) แจกจ่ายให้ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ 5 ตำบล (ตำบลหนองหัววัว ตำบลห้วยยั้ง ตำบลพรานกระต่าย ตำบลถ้ำกระต่ายทอง และตำบลวังควง)
6. การประสานงานและข้อเสนอแนะ ในการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่จังหวัดกำแพงเพชรครั้งนี้ได้ประสานงานเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ดังนี้
6.1 ให้จังหวัดจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
6.2 ให้จังหวัดจัดทำแผนแม่บทแก้ไขปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังจะเข้าประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่เพื่อจัดทำแผนแม่บทดังกล่าวต่อไป
6.3 ในการปฏิบัติการทำฝนหลวง ให้เร่งดำเนินการโดยทันทีเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้กับราษฎรในพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--