คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานติดตามสถานการณ์ภัยแล้งตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงปัจจุบัน (วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย 34 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน เชียงราย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสะเกษ ขอนแก่น เลย บุรีรัมย์ นครพนม อุดรธานี มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู สระบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ระยอง ตราด นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และระนอง รวม 201 อำเภอ 1,121 ตำบล 6,725 หมู่บ้าน (คิดเป็น 18.54 % ของหมู่บ้านใน 34 จังหวัด และคิดเป็น 9.04 % ของหมู่บ้านทั้งประเทศ) แยกเป็น
พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ครัวเรือน คน
1 เหนือ 9 53 272 1,329 แพร่ น่าน เชียงราย ลำปาง 150,888 573,207
กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์
ตาก และเชียงใหม่
2 ตะวันออก 11 79 569 3,763 ศรีสะเกษ ขอนแก่น เลย 443,168 1,716,516
เฉียงเหนือ บุรีรัมย์ นครพนม อุดรธานี
มหาสารคาม ยโสธร มุกดาหาร
หนองบัวลำภู อุบลราชธานี
3 กลาง 7 32 125 759 สระบุรี เพชรบุรี อ่างทอง 39,729 154,077
สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ราชบุรี และกาญจนบุรี
4 ตะวันออก 6 33 133 802 ระยอง ตราด นครนายก 36,583 131,067
สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา
5 ใต้ 1 4 22 72 ระนอง 16,089 73,693
รวมทั้งประเทศ 34 201 1,121 6,725 717,650 2,740,344
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่ ภาค จำนวน 8 ก.พ. 2551 15 ก.พ. 2551 22 ก.พ. 2551 29 ก.พ. 2551
หมู่บ้าน หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม
ทั้งหมด - ลด - ลด - ลด - ลด
1 ตะวันออก 32,830 2,443 +1,223 2,513 + 70 2,912 + 399 3,763 + 851
เฉียงเหนือ
2 เหนือ 16,440 1,312 + 431 1,199 - 113 1,199 - 1,329 + 130
3 กลาง 11,703 204 + 201 215 + 11 324 + 109 759 + 435
4 ตะวันออก 4,836 568 + 521 656 + 88 684 + 28 802 + 118
5 ใต้ 8,618 - - 48 + 48 48 - 72 + 24
รวม 74,427 4,527 +2,376 4,631 + 104 5,167 + 536 6,725 + 1,558
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2551 (รวม 28 จังหวัด 155 อำเภอ 869 ตำบล 5,167 หมู่บ้าน) ปรากฏว่ามีจำนวนจังหวัดเพิ่มขึ้น 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร หนองบัวลำภู สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และปราจีนบุรี และมีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 1,558 หมู่บ้าน
ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2551 กับปี 2550 ในห้วงเวลาเดียวกัน
จำนวน ข้อมูลปี 2551 ข้อมูลปี 2550 เปรียบเทียบข้อมูลภัยแล้ง
ที่ ภาค หมู่บ้าน (ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551) (ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2550) ปี 2551 กับปี 2550
ทั้งหมด หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ จำนวนหมู่บ้าน คิดเป็น
ประสบ (ของหมู่บ้าน ประสบ (ของหมู่บ้าน + เพิ่ม - ลด ร้อยละ
ภัยแล้ง ทั้งประเทศ) ภัยแล้ง ทั้งประเทศ)
1 ตะวันออก 32,830 3,763 11.46 10,706 32.61 - 6,943 - 64.85
เฉียงเหนือ
2 เหนือ 16,440 1,329 8.08 4,653 28.30 - 3,324 - 71.44
3 กลาง 11,703 759 6.49 818 6.99 - 59 - 7.21
4 ตะวันออก 4,836 802 16.58 952 19.69 - 150 - 15.76
5 ใต้ 8,618 72 0.84 559 6.49 - 487 - 87.12
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 46 จังหวัด 372 อำเภอ 38 กิ่งฯ 2,348 ตำบล 17,688 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 17,688 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 33.40 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 46 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 21.09 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) น้อยกว่าปี 2550 จำนวน 10,963 หมู่บ้าน
1.2 ความเสียหาย
- ราษฎรเดือดร้อน 717,650 ครัวเรือน 2,740,344 คน (คิดเป็น 9.32 % ของครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 7,699,956 ครัวเรือน ใน 34 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
- พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 164,261 ไร่ (พื้นที่นา 125,302 ไร่ พื้นที่ไร่ 37,384 ไร่ พื้นที่สวน 1,575 ไร่)
1.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 27 คัน แจกจ่ายน้ำ 190 เที่ยว 1,626,000 ลิตร
- ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก รวม 477 เครื่อง
- จังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 2,968 แห่ง
- การขุดลอกแหล่งน้ำ 182 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 323 คัน แจกจ่ายน้ำ 5,562 เที่ยว 49,931,660 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 135,935,591 บาท แยกเป็น
- งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 124,179,222 บาท
- งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9,559,888 บาท
- งบอื่นๆ 2,196,481 บาท
4) การประปาส่วนภูมิภาค สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่นำไปช่วยเหลือประชาชน
2. การประชุมเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2551
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2551 ครั้งที่ 1/2551 โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพงศ์โพยม วาศภูติ) เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบสถานการณ์น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ รวมทั้งกำหนดแนวทางและมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในห้วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2551 โดยให้จังหวัดดำเนินการเพิ่มเติมและขอความร่วมมือส่วนราชการให้การสนับสนุนแก่จังหวัด ดังนี้
2.1 มาตรการเร่งด่วน 5 ข้อ ประกอบด้วย
1) การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค ให้อำเภอประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน บริหารจัดการประปาชุมชนให้เพียงพอ จัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม (ซ่อม/เป่าล้างบ่อบาดาล จัดหาถังน้ำกลาง ขุดลอกแหล่งน้ำ) พอใช้ตลอดช่วงฤดูแล้ง
2) การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร ให้จังหวัดประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการลุ่มน้ำจังหวัดทุกสัปดาห์ เพื่อบริหารการจัดสรรน้ำให้ทั่วถึง ป้องกันความขัดแย้ง และขอความร่วมมือเกษตรกรปลูกพืชตามแผน/งดทำนาปรัง ครั้งที่ 2 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดตลอดจนติดตามสภาวะอากาศ เพื่อประสานงานกับสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ทำฝนหลวงเมื่ออากาศอำนวย
3) การสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น ให้ดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้แก่ราษฎรในหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ขอความร่วมมือให้ผู้รับเหมาโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ้างแรงงานในหมู่บ้านร่วมโครงการเพื่อเป็นการสร้างรายได้ และป้องกันปัญหาการอพยพเข้ามาหางานในเมือง
4) ดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัย ให้สาธารณสุขจังหวัดดูแลป้องกันโรคช่วงฤดูร้อน ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไม่บริโภคอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด ตลอดจนเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกอย่างต่อเนื่อง
5) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดร่วมกับฝ่ายปกครองกำหนดแผนป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้ายในช่วงฤดูแล้ง มิให้ลักขโมยเครื่องมือเกษตร เครื่องสูบน้ำ หรือโค กระบือ เพื่อมิให้ประชาชนผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนซ้ำเติมอีก
2.2 ด้านการประสานการปฏิบัติและการให้การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) ขอความร่วมมือทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือกับศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพื่อให้มีการบูรณาการการปฏิบัติและใช้ข้อมูลเดียวกันสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2) ให้การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และกำลังคนแก่จังหวัดโดยเร็วเมื่อได้รับการร้องขอ
3. การคาดหมายลักษณะอากาศประจำเดือนมีนาคม 2551 ของกรมอุตุนิยมวิทยา
การคาดหมาย กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศว่าเดือนมีนาคมอยู่ในช่วงฤดูร้อน หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนจะปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดเดือน ทำให้หลายพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับบางพื้นที่ของภาคกลางและภาคตะวันออก จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 40-43 องศาเซลเซียส และจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆเว้นแต่ในระยะต้นเดือนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนในตอนกลางวันจะมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป สำหรับภาคใต้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนเป็นแห่ง ๆ อนึ่ง ในเดือนนี้คาดว่าจะมีฝนตกมากกว่าปกติ แต่ปริมาณฝนอาจจะไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค รวมทั้งการใช้น้ำทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยแล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรกักเก็บน้ำและใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ข้อควรระวัง ในบางช่วงโดยเฉพาะในระยะต้นเดือน อาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน หรืออาจมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้กับลมใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตก ในบางพื้นที่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาได้ ประชาชนจึงควรติดตามข่าวพยากรณ์อากาศประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาต่อไปด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 มีนาคม 2551--จบ--
1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย 34 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน เชียงราย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสะเกษ ขอนแก่น เลย บุรีรัมย์ นครพนม อุดรธานี มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู สระบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ระยอง ตราด นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และระนอง รวม 201 อำเภอ 1,121 ตำบล 6,725 หมู่บ้าน (คิดเป็น 18.54 % ของหมู่บ้านใน 34 จังหวัด และคิดเป็น 9.04 % ของหมู่บ้านทั้งประเทศ) แยกเป็น
พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ครัวเรือน คน
1 เหนือ 9 53 272 1,329 แพร่ น่าน เชียงราย ลำปาง 150,888 573,207
กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์
ตาก และเชียงใหม่
2 ตะวันออก 11 79 569 3,763 ศรีสะเกษ ขอนแก่น เลย 443,168 1,716,516
เฉียงเหนือ บุรีรัมย์ นครพนม อุดรธานี
มหาสารคาม ยโสธร มุกดาหาร
หนองบัวลำภู อุบลราชธานี
3 กลาง 7 32 125 759 สระบุรี เพชรบุรี อ่างทอง 39,729 154,077
สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ราชบุรี และกาญจนบุรี
4 ตะวันออก 6 33 133 802 ระยอง ตราด นครนายก 36,583 131,067
สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา
5 ใต้ 1 4 22 72 ระนอง 16,089 73,693
รวมทั้งประเทศ 34 201 1,121 6,725 717,650 2,740,344
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่ ภาค จำนวน 8 ก.พ. 2551 15 ก.พ. 2551 22 ก.พ. 2551 29 ก.พ. 2551
หมู่บ้าน หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม หมู่บ้าน + เพิ่ม
ทั้งหมด - ลด - ลด - ลด - ลด
1 ตะวันออก 32,830 2,443 +1,223 2,513 + 70 2,912 + 399 3,763 + 851
เฉียงเหนือ
2 เหนือ 16,440 1,312 + 431 1,199 - 113 1,199 - 1,329 + 130
3 กลาง 11,703 204 + 201 215 + 11 324 + 109 759 + 435
4 ตะวันออก 4,836 568 + 521 656 + 88 684 + 28 802 + 118
5 ใต้ 8,618 - - 48 + 48 48 - 72 + 24
รวม 74,427 4,527 +2,376 4,631 + 104 5,167 + 536 6,725 + 1,558
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2551 (รวม 28 จังหวัด 155 อำเภอ 869 ตำบล 5,167 หมู่บ้าน) ปรากฏว่ามีจำนวนจังหวัดเพิ่มขึ้น 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร หนองบัวลำภู สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และปราจีนบุรี และมีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 1,558 หมู่บ้าน
ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2551 กับปี 2550 ในห้วงเวลาเดียวกัน
จำนวน ข้อมูลปี 2551 ข้อมูลปี 2550 เปรียบเทียบข้อมูลภัยแล้ง
ที่ ภาค หมู่บ้าน (ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551) (ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2550) ปี 2551 กับปี 2550
ทั้งหมด หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ จำนวนหมู่บ้าน คิดเป็น
ประสบ (ของหมู่บ้าน ประสบ (ของหมู่บ้าน + เพิ่ม - ลด ร้อยละ
ภัยแล้ง ทั้งประเทศ) ภัยแล้ง ทั้งประเทศ)
1 ตะวันออก 32,830 3,763 11.46 10,706 32.61 - 6,943 - 64.85
เฉียงเหนือ
2 เหนือ 16,440 1,329 8.08 4,653 28.30 - 3,324 - 71.44
3 กลาง 11,703 759 6.49 818 6.99 - 59 - 7.21
4 ตะวันออก 4,836 802 16.58 952 19.69 - 150 - 15.76
5 ใต้ 8,618 72 0.84 559 6.49 - 487 - 87.12
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 46 จังหวัด 372 อำเภอ 38 กิ่งฯ 2,348 ตำบล 17,688 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 17,688 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 33.40 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 46 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 21.09 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) น้อยกว่าปี 2550 จำนวน 10,963 หมู่บ้าน
1.2 ความเสียหาย
- ราษฎรเดือดร้อน 717,650 ครัวเรือน 2,740,344 คน (คิดเป็น 9.32 % ของครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 7,699,956 ครัวเรือน ใน 34 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
- พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 164,261 ไร่ (พื้นที่นา 125,302 ไร่ พื้นที่ไร่ 37,384 ไร่ พื้นที่สวน 1,575 ไร่)
1.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 27 คัน แจกจ่ายน้ำ 190 เที่ยว 1,626,000 ลิตร
- ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก รวม 477 เครื่อง
- จังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 2,968 แห่ง
- การขุดลอกแหล่งน้ำ 182 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 323 คัน แจกจ่ายน้ำ 5,562 เที่ยว 49,931,660 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 135,935,591 บาท แยกเป็น
- งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 124,179,222 บาท
- งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9,559,888 บาท
- งบอื่นๆ 2,196,481 บาท
4) การประปาส่วนภูมิภาค สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่นำไปช่วยเหลือประชาชน
2. การประชุมเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2551
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2551 ครั้งที่ 1/2551 โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพงศ์โพยม วาศภูติ) เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบสถานการณ์น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ รวมทั้งกำหนดแนวทางและมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในห้วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2551 โดยให้จังหวัดดำเนินการเพิ่มเติมและขอความร่วมมือส่วนราชการให้การสนับสนุนแก่จังหวัด ดังนี้
2.1 มาตรการเร่งด่วน 5 ข้อ ประกอบด้วย
1) การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค ให้อำเภอประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน บริหารจัดการประปาชุมชนให้เพียงพอ จัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม (ซ่อม/เป่าล้างบ่อบาดาล จัดหาถังน้ำกลาง ขุดลอกแหล่งน้ำ) พอใช้ตลอดช่วงฤดูแล้ง
2) การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร ให้จังหวัดประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการลุ่มน้ำจังหวัดทุกสัปดาห์ เพื่อบริหารการจัดสรรน้ำให้ทั่วถึง ป้องกันความขัดแย้ง และขอความร่วมมือเกษตรกรปลูกพืชตามแผน/งดทำนาปรัง ครั้งที่ 2 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดตลอดจนติดตามสภาวะอากาศ เพื่อประสานงานกับสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ทำฝนหลวงเมื่ออากาศอำนวย
3) การสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น ให้ดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้แก่ราษฎรในหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ขอความร่วมมือให้ผู้รับเหมาโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ้างแรงงานในหมู่บ้านร่วมโครงการเพื่อเป็นการสร้างรายได้ และป้องกันปัญหาการอพยพเข้ามาหางานในเมือง
4) ดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัย ให้สาธารณสุขจังหวัดดูแลป้องกันโรคช่วงฤดูร้อน ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไม่บริโภคอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด ตลอดจนเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกอย่างต่อเนื่อง
5) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดร่วมกับฝ่ายปกครองกำหนดแผนป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้ายในช่วงฤดูแล้ง มิให้ลักขโมยเครื่องมือเกษตร เครื่องสูบน้ำ หรือโค กระบือ เพื่อมิให้ประชาชนผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนซ้ำเติมอีก
2.2 ด้านการประสานการปฏิบัติและการให้การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) ขอความร่วมมือทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือกับศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพื่อให้มีการบูรณาการการปฏิบัติและใช้ข้อมูลเดียวกันสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2) ให้การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และกำลังคนแก่จังหวัดโดยเร็วเมื่อได้รับการร้องขอ
3. การคาดหมายลักษณะอากาศประจำเดือนมีนาคม 2551 ของกรมอุตุนิยมวิทยา
การคาดหมาย กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศว่าเดือนมีนาคมอยู่ในช่วงฤดูร้อน หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนจะปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดเดือน ทำให้หลายพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับบางพื้นที่ของภาคกลางและภาคตะวันออก จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 40-43 องศาเซลเซียส และจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆเว้นแต่ในระยะต้นเดือนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนในตอนกลางวันจะมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป สำหรับภาคใต้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนเป็นแห่ง ๆ อนึ่ง ในเดือนนี้คาดว่าจะมีฝนตกมากกว่าปกติ แต่ปริมาณฝนอาจจะไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค รวมทั้งการใช้น้ำทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยแล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรกักเก็บน้ำและใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ข้อควรระวัง ในบางช่วงโดยเฉพาะในระยะต้นเดือน อาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน หรืออาจมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้กับลมใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตก ในบางพื้นที่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาได้ ประชาชนจึงควรติดตามข่าวพยากรณ์อากาศประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาต่อไปด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 มีนาคม 2551--จบ--