คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 1 ดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง และได้กำหนดเป้าหมายการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง (พฤศจิกายน-เมษายน) ให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุน และมีศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัย ด้านการเกษตรเป็นหน่วยงานกลางในการติดตามและรายงานสถานการณ์ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย และขอรายงานสถานการณ์ภัยแล้งและมีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2551 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 49,493 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 72 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (54,067 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,426 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,747 และ 5,588 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 65 และ 59 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,335 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปี 2550 (17,971 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,363 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 476 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (611 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 135 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ
2. อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 40 จำนวน 3 อ่างฯ ได้แก่
1) อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 65 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ วางแผนการใช้น้ำโดยสนับสนุนการอุปโภค-บริโภคและปลูกพืชใช้น้ำน้อย โดยใช้น้ำประมาณวันละ 0.36 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 จะมีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ในอ่างฯ จำนวน 62 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ
2) อ่างเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ วางแผนการใช้น้ำจากอ่างคลองมะนาว ซึ่งมีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 1.88 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างฯ ส่งน้ำเข้าระบบชลประทานฝางซ้ายของอ่างเก็บน้ำลำนางรอง ซึ่งสนับสนุนการอุปโภค-บริโภค (การประปาเนินแดง) และปลูกพืชใช้น้ำน้อย โดยใช้น้ำประมาณเดือนละ 0.14 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 จะมีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ในอ่างฯคลองมะนาว จำนวน 1.7 ล้านลูกบาศก์เมตร
3) อ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 149 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ วางแผนการใช้น้ำโดยสนับสนุนการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร เดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2551 จะใช้น้ำประมาณ 27 และ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คาดว่าเมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2551 จะมีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ในอ่างฯ จำนวน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ
3. สถานการณ์น้ำของอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออก ในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง มีปริมาตรน้ำปัจจุบันรวม 77.33 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 43 วางแผนการใช้น้ำโดยสนับสนุนการอุปโภค-บริโภค การเกษตร และ อุตสาหกรรมโดยใช้น้ำประมาณวันละ 0.2 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551จะมีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ในอ่างจำนวน 60 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ
จังหวัดระยอง ลุ่มน้ำระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง มีปริมาตรน้ำปัจจุบันรวม 153.59 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 56 วางแผนการใช้น้ำโดยสนับสนุนการอุปโภค-บริโภค การเกษตร และอุตสาหกรรมโดยใช้น้ำประมาณวันละ 0.89 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 จะมีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ในอ่างฯ จำนวน 135 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ
4. สภาพน้ำท่า
สถานการณ์น้ำท่าในแม่น้ำสายหลักสำคัญส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ พอสรุปได้ดังนี้. แม่น้ำปิง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง แม่น้ำวัง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง แม่น้ำยม ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มลดลง แม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น แม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดเป้าหมายการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึง 30 เมษายน 2551 จำนวน 12.83 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 10.03 ล้านไร่ และ พืชไร่-ผัก 2.80 ล้านไร่
ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 มีรายงานผลการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ จำนวน 10.97 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 9.21 ล้านไร่ (72%) และพืชไร่-ผัก จำนวน 1.76 ล้านไร่ (14%) รายละเอียดดังนี้
เขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม
เป้าหมาย ผล เป้าหมาย ผล เป้าหมาย ผล
ในเขตชลประทาน 7.53 7.13 0.90 0.46 8.43 7.59
นอกเขตชลประทาน 2.50 2.08 1.90 1.30 4.40 3.38
รวม 10.03 9.21 2.80 1.76 12.83 10.97
หมายเหตุ : การปลูกพืชในเขตชลประทานตามเป้าหมายจะไม่มีผลกระทบ สำหรับนอกเขตชลประทานได้มีการประชาสัมพันธ์ให้มีการปลูกพืชใช้น้ำน้อย และเตรียมเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำเพื่อช่วยเหลือหากมีผลกระทบ
การเตรียมรับสถานการณ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงานของแผนเตรียมรับสถานการณ์ เป็น 3 ช่วง คือ ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย ดังนี้
1. การเตรียมรับสถานการณ์
1) กำหนดมาตรการและเป้าหมายการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 12.83 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 10.03 ล้านไร่ และพืชไร่-ผัก 2.80 ล้านไร่
2) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องและเพียงพอกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง
3) การเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,200 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 295 คัน (เฉพาะภาคตะวันออกเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ไม้ผล จำนวน 55 คัน)
4) แผนการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง 8 ศูนย์ ครอบคลุมพื้นที่ 25 ลุ่มน้ำ
5) การประชาสัมพันธ์แนะนำการทำการเกษตร ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และให้มีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตตามแนวทางการเกษตรที่ดีเหมาะสม (GAP) การปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
6) การสำรองปัจจัยที่จำเป็นในการประกอบเกษตรกรรม ทั้งด้านพืช เสบียงอาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์
2. การช่วยเหลือขณะเกิดภัย การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ การปฏิบัติการฝนหลวง การสนับสนุนอาหารสัตว์และการดูแลสุขภาพสัตว์ ดำเนินการสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินภายใต้ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด งบจังหวัด CEO และเงินทดรองราชการในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ
3. การช่วยเหลือหลังเกิดภัย เร่งรัดการสำรวจความเสียหายของพื้นที่ประสบภัย ผ่านคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือระดับอำเภอและจังหวัด เพื่อเสนอของบกลางช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 - 25 กุมภาพันธ์ 2551 ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551
1. ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แพร่ ฉะเชิงเทรา นครนายก สระแก้ว กาญจนบุรี เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 13,073 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 164,261 ไร่ แยกเป็นข้าว 125,302 ไร่ พืชไร่ 37,384 ไร่ และพืชสวน 1,575 ไร่
จังหวัดแพร่ และจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรโดยส่งเครื่องสูบน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้ จำนวน 9,370 ไร่ สำหรับจังหวัดนครนายก สระแก้ว และกาญจนบุรี อยู่ระหว่างการใช้เงินทดรองราชการอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดช่วยเหลือ และจังหวัดเชียงรายภัยยังไม่สิ้นสุดอยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป
2. ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย จำนวน 1 จังหวัดได้แก่ จังหวัดสุโขทัย เกษตรกรประสบภัย 75 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 2,701 ตัว แยกเป็นโค 1,618 ตัว และ แพะ 1,083 ตัว
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ ปัจจุบันได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ ด้านอุปโภค-บริโภค และ การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ ปี 2550/2551 แล้ว 52 จังหวัด จำนวน 773 เครื่อง โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 250 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด จำนวน 302 เครื่อง ภาคกลาง 10 จังหวัด จำนวน 89 เครื่อง ภาคตะวันออก 4 จังหวัด จำนวน 64 เครื่อง ภาคตะวันตก 4 จังหวัด จำนวน 41 เครื่อง และภาคใต้ 1 จังหวัด จำนวน 27 เครื่อง
2. การปฏิบัติการฝนหลวง ระหว่างวันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2551
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเริ่มปฏิบัติแล้ว จำนวน 4 ศูนย์ ( 4 หน่วยปฏิบัติการ) ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน หน่วยฯเชียงใหม่ ภาคกลาง หน่วยฯนครสวรรค์ ภาคตะวันออก หน่วยฯระยอง ภาคใต้ตอนบน หน่วยฯหัวหิน เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับป่าไม้ในภาคต่างๆ รวมทั้งเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำน้อย(ต่ำกว่า 30%) คือ อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่
ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2551 ขึ้นบินรวม จำนวน 16 วัน 147 เที่ยวบิน มีฝนตกรวม วัดปริมาณน้ำฝนได้ 86 สถานี ในพื้นที่ 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ตาก นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม ระยอง ชลบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 มีนาคม 2551--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง และได้กำหนดเป้าหมายการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง (พฤศจิกายน-เมษายน) ให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุน และมีศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัย ด้านการเกษตรเป็นหน่วยงานกลางในการติดตามและรายงานสถานการณ์ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย และขอรายงานสถานการณ์ภัยแล้งและมีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2551 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 49,493 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 72 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (54,067 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,426 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,747 และ 5,588 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 65 และ 59 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,335 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปี 2550 (17,971 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,363 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 476 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (611 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 135 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ
2. อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 40 จำนวน 3 อ่างฯ ได้แก่
1) อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 65 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ วางแผนการใช้น้ำโดยสนับสนุนการอุปโภค-บริโภคและปลูกพืชใช้น้ำน้อย โดยใช้น้ำประมาณวันละ 0.36 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 จะมีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ในอ่างฯ จำนวน 62 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ
2) อ่างเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ วางแผนการใช้น้ำจากอ่างคลองมะนาว ซึ่งมีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 1.88 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างฯ ส่งน้ำเข้าระบบชลประทานฝางซ้ายของอ่างเก็บน้ำลำนางรอง ซึ่งสนับสนุนการอุปโภค-บริโภค (การประปาเนินแดง) และปลูกพืชใช้น้ำน้อย โดยใช้น้ำประมาณเดือนละ 0.14 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 จะมีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ในอ่างฯคลองมะนาว จำนวน 1.7 ล้านลูกบาศก์เมตร
3) อ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 149 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ วางแผนการใช้น้ำโดยสนับสนุนการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร เดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2551 จะใช้น้ำประมาณ 27 และ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คาดว่าเมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2551 จะมีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ในอ่างฯ จำนวน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ
3. สถานการณ์น้ำของอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออก ในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง มีปริมาตรน้ำปัจจุบันรวม 77.33 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 43 วางแผนการใช้น้ำโดยสนับสนุนการอุปโภค-บริโภค การเกษตร และ อุตสาหกรรมโดยใช้น้ำประมาณวันละ 0.2 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551จะมีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ในอ่างจำนวน 60 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ
จังหวัดระยอง ลุ่มน้ำระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง มีปริมาตรน้ำปัจจุบันรวม 153.59 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 56 วางแผนการใช้น้ำโดยสนับสนุนการอุปโภค-บริโภค การเกษตร และอุตสาหกรรมโดยใช้น้ำประมาณวันละ 0.89 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 จะมีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ในอ่างฯ จำนวน 135 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ
4. สภาพน้ำท่า
สถานการณ์น้ำท่าในแม่น้ำสายหลักสำคัญส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ พอสรุปได้ดังนี้. แม่น้ำปิง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง แม่น้ำวัง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง แม่น้ำยม ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มลดลง แม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น แม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดเป้าหมายการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึง 30 เมษายน 2551 จำนวน 12.83 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 10.03 ล้านไร่ และ พืชไร่-ผัก 2.80 ล้านไร่
ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 มีรายงานผลการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ จำนวน 10.97 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 9.21 ล้านไร่ (72%) และพืชไร่-ผัก จำนวน 1.76 ล้านไร่ (14%) รายละเอียดดังนี้
เขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม
เป้าหมาย ผล เป้าหมาย ผล เป้าหมาย ผล
ในเขตชลประทาน 7.53 7.13 0.90 0.46 8.43 7.59
นอกเขตชลประทาน 2.50 2.08 1.90 1.30 4.40 3.38
รวม 10.03 9.21 2.80 1.76 12.83 10.97
หมายเหตุ : การปลูกพืชในเขตชลประทานตามเป้าหมายจะไม่มีผลกระทบ สำหรับนอกเขตชลประทานได้มีการประชาสัมพันธ์ให้มีการปลูกพืชใช้น้ำน้อย และเตรียมเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำเพื่อช่วยเหลือหากมีผลกระทบ
การเตรียมรับสถานการณ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงานของแผนเตรียมรับสถานการณ์ เป็น 3 ช่วง คือ ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย ดังนี้
1. การเตรียมรับสถานการณ์
1) กำหนดมาตรการและเป้าหมายการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 12.83 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 10.03 ล้านไร่ และพืชไร่-ผัก 2.80 ล้านไร่
2) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องและเพียงพอกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง
3) การเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,200 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 295 คัน (เฉพาะภาคตะวันออกเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ไม้ผล จำนวน 55 คัน)
4) แผนการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง 8 ศูนย์ ครอบคลุมพื้นที่ 25 ลุ่มน้ำ
5) การประชาสัมพันธ์แนะนำการทำการเกษตร ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และให้มีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตตามแนวทางการเกษตรที่ดีเหมาะสม (GAP) การปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
6) การสำรองปัจจัยที่จำเป็นในการประกอบเกษตรกรรม ทั้งด้านพืช เสบียงอาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์
2. การช่วยเหลือขณะเกิดภัย การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ การปฏิบัติการฝนหลวง การสนับสนุนอาหารสัตว์และการดูแลสุขภาพสัตว์ ดำเนินการสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินภายใต้ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด งบจังหวัด CEO และเงินทดรองราชการในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ
3. การช่วยเหลือหลังเกิดภัย เร่งรัดการสำรวจความเสียหายของพื้นที่ประสบภัย ผ่านคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือระดับอำเภอและจังหวัด เพื่อเสนอของบกลางช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 - 25 กุมภาพันธ์ 2551 ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551
1. ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แพร่ ฉะเชิงเทรา นครนายก สระแก้ว กาญจนบุรี เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 13,073 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 164,261 ไร่ แยกเป็นข้าว 125,302 ไร่ พืชไร่ 37,384 ไร่ และพืชสวน 1,575 ไร่
จังหวัดแพร่ และจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรโดยส่งเครื่องสูบน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้ จำนวน 9,370 ไร่ สำหรับจังหวัดนครนายก สระแก้ว และกาญจนบุรี อยู่ระหว่างการใช้เงินทดรองราชการอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดช่วยเหลือ และจังหวัดเชียงรายภัยยังไม่สิ้นสุดอยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป
2. ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย จำนวน 1 จังหวัดได้แก่ จังหวัดสุโขทัย เกษตรกรประสบภัย 75 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 2,701 ตัว แยกเป็นโค 1,618 ตัว และ แพะ 1,083 ตัว
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ ปัจจุบันได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ ด้านอุปโภค-บริโภค และ การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ ปี 2550/2551 แล้ว 52 จังหวัด จำนวน 773 เครื่อง โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 250 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด จำนวน 302 เครื่อง ภาคกลาง 10 จังหวัด จำนวน 89 เครื่อง ภาคตะวันออก 4 จังหวัด จำนวน 64 เครื่อง ภาคตะวันตก 4 จังหวัด จำนวน 41 เครื่อง และภาคใต้ 1 จังหวัด จำนวน 27 เครื่อง
2. การปฏิบัติการฝนหลวง ระหว่างวันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2551
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเริ่มปฏิบัติแล้ว จำนวน 4 ศูนย์ ( 4 หน่วยปฏิบัติการ) ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน หน่วยฯเชียงใหม่ ภาคกลาง หน่วยฯนครสวรรค์ ภาคตะวันออก หน่วยฯระยอง ภาคใต้ตอนบน หน่วยฯหัวหิน เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับป่าไม้ในภาคต่างๆ รวมทั้งเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำน้อย(ต่ำกว่า 30%) คือ อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่
ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2551 ขึ้นบินรวม จำนวน 16 วัน 147 เที่ยวบิน มีฝนตกรวม วัดปริมาณน้ำฝนได้ 86 สถานี ในพื้นที่ 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ตาก นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม ระยอง ชลบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 มีนาคม 2551--จบ--