คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปสถานการณ์น้ำในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตามที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เสนอ ดังนี้ ตามที่ได้มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกผ่านภาคใต้ และทะเลอันดามันตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 20-23 ตุลาคม 2548 ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกิดสภาพน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ดังนี้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกิดฝนตกหนักวันที่ 20 ตุลาคม 2548 ในเขต อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัดได้ 155 มิลลิเมตร ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในที่ลุ่ม บริเวณหมู่บ้านฝายท่า หมู่ที่ 1 ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน และมีน้ำท่วมขังบริเวณพื้นผิวถนนบางสายในพื้นที่ ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จำนวน 6 หมู่บ้าน โครงการชลประทานประจวบคีรีขันธ์ได้ประสานงานตรวจสอบพื้นที่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ จัดเก็บสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อให้การระบายน้ำดีขึ้น สภาวะน้ำท่วมคืนสู่สภาวะปกติในวันที่ 22 ตุลาคม 2548 และในวันที่ 20 ตุลาคม 2548 มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำไทรหงษ์เป็นปริมาณมาก ซึ่งเป็นอ่างขนาดเล็ก ความจุ 0.139 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้ำล้นทางระบายน้ำล้นสูง 30 เซนติเมตร ด้านท้ายทางระบายน้ำล้นถูกน้ำกัดเซาะ กว้าง 1.50 เมตร ยาว 10 เมตร ลึก 0.50 เมตร โดยอ่างเก็บน้ำนี้ได้ถ่ายโอนให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ไปแล้ว โครงการชลประทานประจวบคีรีขันธ์ได้ประสานงานตรวจสอบพื้นที่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล พงศ์ประศาสน์เพื่อทำการซ่อมแซมแล้ว
นอกจากนี้ในวันที่ 23 ตุลาคม 2548 ได้เกิดฝนตกหนักในเขตอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี อำเภอบางสะพาน และกิ่งอำเภอสามร้อยยอด ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมดังนี้
1) อำเภอหัวหินในช่วงเช้าของวันที่ 24 ตุลาคม 2548 เกิดน้ำท่วมผิวจราจรถนนเพชรเกษม กม.235-238 สูงประมาณ 0.50 เมตร และน้ำท่วมผิวจราจรในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ตลาดฉัตรไชย ชุมชนพงศ์นารน ชุมชนเขาตะเกียบ ชุมชนรอยัลโฮม ชุมชนพัฒนา 1 ชุมชนพัฒนา 2 สูงประมาณ 0.30 เมตร สถานการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายในช่วงเย็นของวันเดียวกัน
2) อำเภอปราณบุรี มีน้ำท่วมขัง 3 ตำบล คือ ตำบลวังก์พง ตำบลหนองตาแต้ม และตำบลเขาน้อย ในพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำซึ่งจะเกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำ
3) อำเภอบางสะพาน ทำให้มีน้ำท่วมขังใน 3 ตำบล คือ ตำบลพงศ์ประศาสน์ ตำบลกำเนิดนพคุณ และตำบลแม่รำพึง
4) กิ่งอำเภอสามร้อยยอด มีน้ำท่วมขังผิวจราจรถนนเพชรเกษมช่วง กม.268-269 กม.265-266 และช่วง กม.น้ำท่วมสูง 0.10 — 0.30 เมตร
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้โครงการชลประทานประจวบคีรีขันธ์เข้าร่วมกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือราษฎรและแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และหากไม่มีฝนตกเพิ่มมาอีกสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายทั้งหมดในอีก 2 — 3 วัน
จังหวัดชุมพร เกิดฝนตกหนักติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2548 ฝนเฉลี่ยเหนือลุ่มน้ำท่าตะเภา วัดได้ประมาณ 130 — 150 มิลลิเมตร ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ ได้รับความเสียหาย 4 อำเภอ 35 ตำบล 228 หมู่บ้าน ในเขต อำเภอเมือง อำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ และอำเภอสวี บ้านเรือนเสียหาย 7 หลัง ถนน 331 สาย สะพาน 8 แห่ง ฝาย 12 แห่ง และพื้นที่การเกษตรประมาณ 10,000 ไร่ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 — 2 วันนี้
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำท่าตะเภา จากสภาพฝนที่ตกหนักเหนือลุ่มน้ำท่าตะเภา ทำให้มีปริมาณน้ำที่สถานีบ้านวังครก ซึ่งเป็นจุดรวมน้ำระหว่างคลองท่าแซะและคลองรับร่อ และเป็นจุดเฝ้าระวัง มีระดับน้ำสูงสุดเมื่อเวลา 0.00 น. ของวันที่ 23 ตุลาคม 2548 ที่ระดับ 11.52 เมตร ปริมาณน้ำ 784 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำจำนวนนี้ได้ไหลผ่านเข้าคลองหัววัง — พนังตัก โดยไหลผ่านประตูระบายน้ำหัววัง และประตูระบายน้ำสามแก้ว รวมเป็นปริมาณน้ำประมาณ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุคลองรับได้ 580 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือได้ไหลมาถึงที่สถานีสะพานเทศบาล 2 อำเภอเมือง มีระดับน้ำสูงสุดเมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 23 ตุลาคม 2548 ที่ระดับ 3.43 เมตร ปริมาณน้ำ 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้มีน้ำเอ่อท่วมท่อระบายน้ำเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำและถนนบางสาย สูงประมาณ 10 เซนติเมตร และระดับน้ำได้เริ่มลดลงตั้งแต่เวลา 20.00 น.ของวันที่ 23 ตุลาคม 2548 กรมชลประทานได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำจำนวน 5 เครื่อง เพื่อสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่ท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองชุมพร และในเขตตำบลชะอัง ปัจจุบัน (วันที่ 25 ตุลาคม 2548 เวลา 06.00 น.) สถานการณ์น้ำในเขตเทศบาลเมืองชุมพรได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว โดยมีระดับน้ำที่สถานีสะพานเทศบาล 2 อำเภอเมือง อยู่ที่ระดับ 2.84 เมตร (ปริมาณน้ำ 169 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.96 เมตร จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นว่า คลองหัววัง — พนังตัก ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยแบ่งระบายน้ำส่วนหนึ่งลงทะเลก่อนเข้าสู่ตัวเมืองชุมพร ได้จำนวน 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ช่วยให้เขตเทศบาลเมืองชุมพรไม่เกิดน้ำท่วมในครั้งนี้ สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างถาวรในเขตอำเภอท่าแซะ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร กรมชลประทานมีแผนงานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำท่าแซะ ขนาดความจุประมาณ 194 ล้านลูกบาศก์เมตร ไว้แล้ว
อย่างไรก็ตามเนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนยังคงพาดผ่านภาคใต้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมชลประทานมอบหมายให้สำนักชลประทานและโครงการชลประทานในพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
นอกจากนี้ในวันที่ 23 ตุลาคม 2548 ได้เกิดฝนตกหนักในเขตอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี อำเภอบางสะพาน และกิ่งอำเภอสามร้อยยอด ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมดังนี้
1) อำเภอหัวหินในช่วงเช้าของวันที่ 24 ตุลาคม 2548 เกิดน้ำท่วมผิวจราจรถนนเพชรเกษม กม.235-238 สูงประมาณ 0.50 เมตร และน้ำท่วมผิวจราจรในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ตลาดฉัตรไชย ชุมชนพงศ์นารน ชุมชนเขาตะเกียบ ชุมชนรอยัลโฮม ชุมชนพัฒนา 1 ชุมชนพัฒนา 2 สูงประมาณ 0.30 เมตร สถานการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายในช่วงเย็นของวันเดียวกัน
2) อำเภอปราณบุรี มีน้ำท่วมขัง 3 ตำบล คือ ตำบลวังก์พง ตำบลหนองตาแต้ม และตำบลเขาน้อย ในพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำซึ่งจะเกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำ
3) อำเภอบางสะพาน ทำให้มีน้ำท่วมขังใน 3 ตำบล คือ ตำบลพงศ์ประศาสน์ ตำบลกำเนิดนพคุณ และตำบลแม่รำพึง
4) กิ่งอำเภอสามร้อยยอด มีน้ำท่วมขังผิวจราจรถนนเพชรเกษมช่วง กม.268-269 กม.265-266 และช่วง กม.น้ำท่วมสูง 0.10 — 0.30 เมตร
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้โครงการชลประทานประจวบคีรีขันธ์เข้าร่วมกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือราษฎรและแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และหากไม่มีฝนตกเพิ่มมาอีกสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายทั้งหมดในอีก 2 — 3 วัน
จังหวัดชุมพร เกิดฝนตกหนักติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2548 ฝนเฉลี่ยเหนือลุ่มน้ำท่าตะเภา วัดได้ประมาณ 130 — 150 มิลลิเมตร ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ ได้รับความเสียหาย 4 อำเภอ 35 ตำบล 228 หมู่บ้าน ในเขต อำเภอเมือง อำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ และอำเภอสวี บ้านเรือนเสียหาย 7 หลัง ถนน 331 สาย สะพาน 8 แห่ง ฝาย 12 แห่ง และพื้นที่การเกษตรประมาณ 10,000 ไร่ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 — 2 วันนี้
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำท่าตะเภา จากสภาพฝนที่ตกหนักเหนือลุ่มน้ำท่าตะเภา ทำให้มีปริมาณน้ำที่สถานีบ้านวังครก ซึ่งเป็นจุดรวมน้ำระหว่างคลองท่าแซะและคลองรับร่อ และเป็นจุดเฝ้าระวัง มีระดับน้ำสูงสุดเมื่อเวลา 0.00 น. ของวันที่ 23 ตุลาคม 2548 ที่ระดับ 11.52 เมตร ปริมาณน้ำ 784 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำจำนวนนี้ได้ไหลผ่านเข้าคลองหัววัง — พนังตัก โดยไหลผ่านประตูระบายน้ำหัววัง และประตูระบายน้ำสามแก้ว รวมเป็นปริมาณน้ำประมาณ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุคลองรับได้ 580 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือได้ไหลมาถึงที่สถานีสะพานเทศบาล 2 อำเภอเมือง มีระดับน้ำสูงสุดเมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 23 ตุลาคม 2548 ที่ระดับ 3.43 เมตร ปริมาณน้ำ 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้มีน้ำเอ่อท่วมท่อระบายน้ำเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำและถนนบางสาย สูงประมาณ 10 เซนติเมตร และระดับน้ำได้เริ่มลดลงตั้งแต่เวลา 20.00 น.ของวันที่ 23 ตุลาคม 2548 กรมชลประทานได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำจำนวน 5 เครื่อง เพื่อสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่ท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองชุมพร และในเขตตำบลชะอัง ปัจจุบัน (วันที่ 25 ตุลาคม 2548 เวลา 06.00 น.) สถานการณ์น้ำในเขตเทศบาลเมืองชุมพรได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว โดยมีระดับน้ำที่สถานีสะพานเทศบาล 2 อำเภอเมือง อยู่ที่ระดับ 2.84 เมตร (ปริมาณน้ำ 169 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.96 เมตร จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นว่า คลองหัววัง — พนังตัก ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยแบ่งระบายน้ำส่วนหนึ่งลงทะเลก่อนเข้าสู่ตัวเมืองชุมพร ได้จำนวน 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ช่วยให้เขตเทศบาลเมืองชุมพรไม่เกิดน้ำท่วมในครั้งนี้ สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างถาวรในเขตอำเภอท่าแซะ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร กรมชลประทานมีแผนงานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำท่าแซะ ขนาดความจุประมาณ 194 ล้านลูกบาศก์เมตร ไว้แล้ว
อย่างไรก็ตามเนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนยังคงพาดผ่านภาคใต้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมชลประทานมอบหมายให้สำนักชลประทานและโครงการชลประทานในพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--