คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานรายงานการช่วยเหลือประชาชนจากผลกระทบธรณีพิบัติภัย คลื่นสึนามิ พัดทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยกำหนดแนวทางดำเนินการช่วยเหลือดังนี้
1. การอำนวยการและประสานการช่วยเหลือ
1.1 ส่วนกลาง จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ กระทรวงแรงงานขึ้นทำหน้าที่เป็นศูนย์อำนวยการกำหนดแนวทางปฏิบัติ การแบ่งมอบอำนาจหน้าที่และปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย โดยให้ทุกหน่วยงานในสังกัดจัดตั้งศูนย์ประสานการช่วยเหลือของกรม / สำนักงานประกันสังคม เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์ / ร้องเรียน หรือตอบข้อซักถามของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน และมอบหมายให้ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงและเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางรวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงเดินทางไปยังพื้นที่ประสบภัยเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอดจนได้จัดตั้งหน่วยรับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อการช่วยเหลือประชาชน ณ กระทรวงแรงงาน
1.2 พื้นที่ประสบภัย จัดตั้งศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยขึ้นที่จังหวัดกระบี่ เพื่อทำหน้าที่ประสานการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด และประสานกับส่วนกลางเพื่อสนับสนุนกรณีขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ และปัจจัยอื่น ๆ ในการช่วยเหลือประชาชน ทั้งนี้ โดยมีศูนย์ประสานระดับจังหวัดเป็นหน่วยประสานงานในพื้นที่จังหวัด รวมทั้งสำรวจสถานประกอบการและลูกจ้างที่ประสบภัย
2. การช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการดำเนินการ ดังนี้
2.1 การสำรวจและให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน รวมทั้งการผ่อนผันการจ่ายเงินสมทบกองทุนฯ การให้การสนับสนุนในการคัดกรองผู้ขอรับการช่วยเหลือจากเงินบริจาคของสำนักนายกรัฐมนตรีและเงินช่วยเหลืออื่น ๆ
2.2 กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคม ได้พิจารณาอนุมัติงบประมาณ จำนวน 120 ล้านบาท จากกองทุนประกันสังคมเพื่อให้การสนับสนุนแก่โรงพยาบาลในพื้นที่ 6 จังหวัด ที่ให้การดูแลรักษาผู้ประสบภัย รวม 39 โรงพยาบาล
2.3 การสำรวจและรับลงทะเบียนผู้ต้องการมีงานทำและบรรจุงานรวมทั้งรับขึ้นทะเบียนขอรับการช่วยเหลือของผู้ประสบภัยในกรณีต่าง ๆ รวมทั้งการติดตามให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่ยังไม่ได้รับเงินค่าจ้างเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือ
2.4 การประสานและอำนวยความสะดวกแก่แรงงานไทยที่ประสบภัยในการเดินทางกลับภูมิลำเนาและประสาน เพื่อดำเนินการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศ
2.5 การให้บริการซ่อมแซมรถยนต์ จักรยานยนต์ เรือประมงขนาดเล็ก และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของราษฎรที่ประสบภัย
2.6 การจัดที่พักอาศัยภายในศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดที่ประสบภัยให้แก่ผู้ที่เดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งให้การสนับสนุนยานพาหนะในการอพยพราษฎรและขนส่งเครื่องอุปโภค บริโภค ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--
1. การอำนวยการและประสานการช่วยเหลือ
1.1 ส่วนกลาง จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ กระทรวงแรงงานขึ้นทำหน้าที่เป็นศูนย์อำนวยการกำหนดแนวทางปฏิบัติ การแบ่งมอบอำนาจหน้าที่และปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย โดยให้ทุกหน่วยงานในสังกัดจัดตั้งศูนย์ประสานการช่วยเหลือของกรม / สำนักงานประกันสังคม เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์ / ร้องเรียน หรือตอบข้อซักถามของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน และมอบหมายให้ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงและเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางรวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงเดินทางไปยังพื้นที่ประสบภัยเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอดจนได้จัดตั้งหน่วยรับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อการช่วยเหลือประชาชน ณ กระทรวงแรงงาน
1.2 พื้นที่ประสบภัย จัดตั้งศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยขึ้นที่จังหวัดกระบี่ เพื่อทำหน้าที่ประสานการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด และประสานกับส่วนกลางเพื่อสนับสนุนกรณีขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ และปัจจัยอื่น ๆ ในการช่วยเหลือประชาชน ทั้งนี้ โดยมีศูนย์ประสานระดับจังหวัดเป็นหน่วยประสานงานในพื้นที่จังหวัด รวมทั้งสำรวจสถานประกอบการและลูกจ้างที่ประสบภัย
2. การช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการดำเนินการ ดังนี้
2.1 การสำรวจและให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน รวมทั้งการผ่อนผันการจ่ายเงินสมทบกองทุนฯ การให้การสนับสนุนในการคัดกรองผู้ขอรับการช่วยเหลือจากเงินบริจาคของสำนักนายกรัฐมนตรีและเงินช่วยเหลืออื่น ๆ
2.2 กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคม ได้พิจารณาอนุมัติงบประมาณ จำนวน 120 ล้านบาท จากกองทุนประกันสังคมเพื่อให้การสนับสนุนแก่โรงพยาบาลในพื้นที่ 6 จังหวัด ที่ให้การดูแลรักษาผู้ประสบภัย รวม 39 โรงพยาบาล
2.3 การสำรวจและรับลงทะเบียนผู้ต้องการมีงานทำและบรรจุงานรวมทั้งรับขึ้นทะเบียนขอรับการช่วยเหลือของผู้ประสบภัยในกรณีต่าง ๆ รวมทั้งการติดตามให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่ยังไม่ได้รับเงินค่าจ้างเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือ
2.4 การประสานและอำนวยความสะดวกแก่แรงงานไทยที่ประสบภัยในการเดินทางกลับภูมิลำเนาและประสาน เพื่อดำเนินการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศ
2.5 การให้บริการซ่อมแซมรถยนต์ จักรยานยนต์ เรือประมงขนาดเล็ก และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของราษฎรที่ประสบภัย
2.6 การจัดที่พักอาศัยภายในศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดที่ประสบภัยให้แก่ผู้ที่เดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งให้การสนับสนุนยานพาหนะในการอพยพราษฎรและขนส่งเครื่องอุปโภค บริโภค ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--