คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เรื่อง การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน ดังนี้
1. โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. เชียงราย ตามที่ รองนายกรัฐมนตรี นายพินิจ จารุสมบัติ) ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 พ.ย. 2547 พิจารณาจุดที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. เชียงราย ให้ได้ข้อยุติแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปนั้น รองนายกรัฐมนตรีได้จัดประชุมจนได้ข้อสรุปที่เห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ดังนี้
1.1 นโยบายอนุรักษ์เมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองมรดกโลก จึงต้องพิจารณาใช้พื้นที่อื่นในจังหวัด เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
1.2 แนวทางการดำเนินการ มอบหมายการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยรับไปชี้แจงทำความเข้าใจกับนักลงทุนฝ่ายจีน ตลอดจนร่วมกับจังหวัดจัดหาพื้นที่แห่งใหม่
2. ผลการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน ครั้งที่ 4/2547 วันที่ 24 ธันวาคม 2547
2.1 เร่งรัดการจัดวางผังเมืองสำหรับพื้นที่เขตเศรษฐกิจ 2 แห่ง ดังนี้
(1) การจัดทำผังเมืองรวม 3 อำเภอ ในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. เชียงราย ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
(2) จัดทำผังเฉพาะชุมชนแม่ระมาดและแม่จะเรา เพิ่มเติม ในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. ตาก
(3) ปรับปรุงข้อกฎหมายเกี่ยวกับขั้นตอนประกาศบังคับใช้ผังเมืองให้สามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น
2.2 ให้จัดทำโครงการสนับสนุนการเชื่อมโยงทางสังคมและวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนซึ่งรวมถึงการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากจะเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ควรเน้นโครงการสนับสนุนทางสังคม และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นด้วย ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข และการศึกษา
2.3 จัดลำดับความสำคัญโครงการเร่งด่วนและกำหนดแนวทางสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. ตากดำเนินโครงการเร่งด่วนในปีงบประมาณ 2548 จำนวน 2 โครงการโครงการปรับปรุงขยายระบบประปา อ.แม่สอด , อ.พบพระ. อ.แม่ระนาด โดยการประปาส่วนภูมิภาค วงเงินรวม 232.74 ล้านบาท โดยให้ดำเนินการในระยะแรกในปีงบประมาณ 2548 วงเงิน 46.55 ล้านบาท
(1) โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP โดย สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว วงเงิน 10 ล้านบาท
(2) เห็นควรให้บูรณาการ 3 โครงการศึกษาเร่งด่วน คือ 1. ศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วงเงิน 4 ล้านบาท) 2. ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วงเงิน 7 ล้าน) 3. ศึกษาแนวทางปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วงเงิน 2.94 ล้าน) เข้าเป็นโครงการศึกษาโครงการเดียว โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตากเป็นเจ้าภาพดำเนินการศึกษาในปีงบประมาณ 2548
(3) มอบหมายให้จังหวัดตากบรรจุแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติการไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลทางปฏิบัติต่อไป
(4) มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการแผนงานด้านน้ำท่วมในทางเทคนิค ก่อนส่งให้จังหวัดพิจารณาแหล่งเงินงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ จากนั้นจึงประสานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดำเนินการตามขั้นตอน ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--
1. โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. เชียงราย ตามที่ รองนายกรัฐมนตรี นายพินิจ จารุสมบัติ) ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 พ.ย. 2547 พิจารณาจุดที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. เชียงราย ให้ได้ข้อยุติแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปนั้น รองนายกรัฐมนตรีได้จัดประชุมจนได้ข้อสรุปที่เห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ดังนี้
1.1 นโยบายอนุรักษ์เมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองมรดกโลก จึงต้องพิจารณาใช้พื้นที่อื่นในจังหวัด เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
1.2 แนวทางการดำเนินการ มอบหมายการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยรับไปชี้แจงทำความเข้าใจกับนักลงทุนฝ่ายจีน ตลอดจนร่วมกับจังหวัดจัดหาพื้นที่แห่งใหม่
2. ผลการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน ครั้งที่ 4/2547 วันที่ 24 ธันวาคม 2547
2.1 เร่งรัดการจัดวางผังเมืองสำหรับพื้นที่เขตเศรษฐกิจ 2 แห่ง ดังนี้
(1) การจัดทำผังเมืองรวม 3 อำเภอ ในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. เชียงราย ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
(2) จัดทำผังเฉพาะชุมชนแม่ระมาดและแม่จะเรา เพิ่มเติม ในเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. ตาก
(3) ปรับปรุงข้อกฎหมายเกี่ยวกับขั้นตอนประกาศบังคับใช้ผังเมืองให้สามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น
2.2 ให้จัดทำโครงการสนับสนุนการเชื่อมโยงทางสังคมและวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนซึ่งรวมถึงการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากจะเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ควรเน้นโครงการสนับสนุนทางสังคม และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นด้วย ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข และการศึกษา
2.3 จัดลำดับความสำคัญโครงการเร่งด่วนและกำหนดแนวทางสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน จ. ตากดำเนินโครงการเร่งด่วนในปีงบประมาณ 2548 จำนวน 2 โครงการโครงการปรับปรุงขยายระบบประปา อ.แม่สอด , อ.พบพระ. อ.แม่ระนาด โดยการประปาส่วนภูมิภาค วงเงินรวม 232.74 ล้านบาท โดยให้ดำเนินการในระยะแรกในปีงบประมาณ 2548 วงเงิน 46.55 ล้านบาท
(1) โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP โดย สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว วงเงิน 10 ล้านบาท
(2) เห็นควรให้บูรณาการ 3 โครงการศึกษาเร่งด่วน คือ 1. ศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วงเงิน 4 ล้านบาท) 2. ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วงเงิน 7 ล้าน) 3. ศึกษาแนวทางปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วงเงิน 2.94 ล้าน) เข้าเป็นโครงการศึกษาโครงการเดียว โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตากเป็นเจ้าภาพดำเนินการศึกษาในปีงบประมาณ 2548
(3) มอบหมายให้จังหวัดตากบรรจุแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติการไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลทางปฏิบัติต่อไป
(4) มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการแผนงานด้านน้ำท่วมในทางเทคนิค ก่อนส่งให้จังหวัดพิจารณาแหล่งเงินงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ จากนั้นจึงประสานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดำเนินการตามขั้นตอน ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--