คณะรัฐมนตรีพิจารณากรณีสหประชาชาติสนใจที่จะจัดตั้งศูนย์สนับสนุนการบรรเทาภัยพิบัติฉุกเฉินในประเทศไทย Emergency Logistics Response Facility (ELRF) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการเจรจา เพื่อจัดตั้งศูนย์สนับสนุนการบรรเทาภัยพิบัติฉุกเฉินในประเทศไทย โดยคณะกรรมกากลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เป็นประธาน ได้พิจารณาตามประเด็นข้อเสนอของกระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
1.ประเด็นในการให้เช่าพื้นที่ใกล้สนามบินอู่ตะเภา ณ สถานที่และตามขนาดเนื้อที่ที่กองทัพเรือเสนอ สำหรับเป็นที่ตั้ง ELRF โดยเป็นการเช่าระยะยาวและชำระค่าเช่าแบบพอเป็นธรรมเนียมในลักษณะเดียวกับการให้เช่าพื้นที่ตั้งอาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ
ผู้แทนกองทัพเรือแจ้งว่า ไม่ขัดข้องในการขอใช้พื้นที่ตามข้อเสนอดังกล่าว แต่โดยที่พื้นที่ส่วนนี้ได้เตรียมไว้สำหรับจัดสร้างที่พักเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่กำลังพล จึงขอให้มีการพิจารณาสนับสุนการหาพื้นที่ทดแทนพร้อมกับงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการในโอกาสต่อไปด้วย
2. ประเด็นสนับสุนนค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการก่อสร้างคลังสำรองสัมภาระขนาดไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร อาคารสำนักงานและฝึกอบรมขนาดอย่างน้อย 500 ตารางเมตร และรั้วโดยรอบ
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 เห็นว่า วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างควรพิจารณาให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ราคาค่าก่อสร้างมาตรฐานที่มีการกำหนดไว้แล้ว โดยให้กระทรวงการต่างประเทศประสานในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
3. ประเด็นให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่เจ้าหน้าที่และสถานที่ของ ELRF เช่นเดียวกับที่ให้แก่เจ้าหน้าที่และสถานที่ของสหประชาชาติอื่น ๆ
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 เห็นว่าสามารถดำเนินการได้ตามแนวทางปฏิบัติของข้อตกลงที่มีอยู่แล้ว โดยให้กรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศรับผิดชอบตรวจสอบแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนด้วย
4. ประเด็นอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรให้แก่ ELRF โดยจัดการในลักษณะ bonded depot รวมทั้งการยกเว้นค่าธรรมเนียม ภาษีและค่าภาคหลวงต่าง ๆ ให้
ผู้แทนกระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) แจ้งว่าสามารถดำเนินการได้ตามระเบียบปฏิบัติพิธีการเกี่ยวกับของที่ได้รับยกเว้นอากรตามประเภทที่ 10 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ซึ่งดีกว่า bonded depot ทั้งนี้ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศประสานกับกรมศุลกากรเพื่อกำหนดรายละเอียดต่อไป
5. ประเด็นจัดย่านความถี่เฉพาะในการสื่อสารทางวิทยุสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประจำ ELRF
ผู้แทนคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ประสานแจ้งว่า ได้มีการจัดย่านความถี่สำรองให้สามารถใช้สำหรับภารกิจนี้แล้ว ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ย่านความถี่ที่จะจัดสรรควรคำนึงถึงเรื่องความมั่นคงด้วย
6. ประเด็นสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการบริหารสำนักงาน (running cost) สำหรับ ELRF ตามแต่รัฐบาลไทยจะพิจารณาเห็นเหมาะสม โดยพิจารณาจากความสนับสนุนด้านอื่นที่ไทยจะให้อยู่แล้ว รวมทั้งความพร้อมของแหล่งเงินอื่น ๆ ในอันที่จะเข้ามาร่วมมีส่วนสนับสนุนด้านการเงินต่อศูนย์ ฯ เช่น งบประมาณที่สหประชาชาติเองจะจัดสรรให้ รวมทั้งเงินสนับสนุนที่ประเทศอื่น ๆ อาจเข้าร่วมสมทบอีกด้วยเพื่อการนี้
คณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 เห็นว่า ควรให้จ่ายในวงเงินไม่เกิน 1-5 ล้านบาท/ปี โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมของสถานภาพของประเทศไทย และเป็นภาพลักษณ์ที่เหมาะสมให้สังคมโลกด้วย
7. ประเด็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมลงจอดสำหรับเที่ยวบินบรรทุกสัมภาระความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของ ELRF และให้ลำดับความสำคัญก่อนสำหรับเที่ยวบินดังกล่าวในกรณีปฏิบัติการฉุกเฉิน
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 เห็นว่า เที่ยวบินบรรทุกสัมภาระตามที่เสนอ ไม่ใช่เที่ยวบินพาณิชย์ (ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียม) และเป็นการลงจอดในเขตทหารเรือ ซึ่งเที่ยวบินทางทหารจะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จึงมอบให้กองทัพเรือรับไปพิจารณากำหนดชนิดและประเภทของภารกิจให้ชัดเจนเพื่อใช้ประกอบการกำหนดแนวทางปฏิบัติต่อไป
8. ประเด็นการให้การสนับสนุนทรัพยากรทางทหารตามความเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการขนส่งความช่วยเหลือทางอากาศฉุกเฉินในกรณีที่เกิดสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรงในไทยหรือในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 เห็นว่า กระทรวงกลาโหมมีแนวทางในการให้การสนับสนุนภารกิจดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ควรต้องไปเจรจาให้ชัดเจนว่า กรณีเกิดภัยพิบัติในประเทศไทย ศูนย์ ฯ จะให้การสนับสนุนให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงแรงงานสามารถเข้าร่วมปฏิบัติการได้หรือไม่เพียงใด
9. ประเด็นการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับหน่วยงานสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องในการนี้
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 มอบให้กรมสนธิสัญญาและกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบ ดูแล ประสานงานเพื่อดำเนินการจัดทำข้อตกลงต่อไป
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ มีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. ควรจัดให้มีที่พักคอยเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการของศูนย์ ฯ ได้อย่างทันท่วงทีด้วย โดยพิจารณาจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และความเหมาะสมของพื้นที่ประกอบกัน
2. ควรเพิ่มประเด็นการเจรจาให้เจ้าหน้าที่ของไทยจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และกองทัพเข้ารับการฝึกอบรมความรู้ในการปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น
3. งบปฏิบัติการ (Operating cost) ซึ่งจะมีวงเงินค่อนข้างสูง ต้องเจรจาให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนว่าจะใช้จากงบประมาณของส่วนใด รวมทั้งเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ ภายในศูนย์ ฯ ต้องมีการบำรุงรักษาและสับเปลี่ยนให้สามารถใช้งานได้จริง
4. ต้องให้ความสำคัญกับแผนปฏิบัติการ โดยมีการศึกษาเตรียมการอย่างชัดเจนเหมาะสม เพื่อรองรับให้สามารถดำเนินการได้จริง เมื่อเกิดภัยพิบัติ ทั้งนี้ การดำเนินการต้องเป็นไปอย่างสอดคล้องกันทุกระบบ โดยพิจารณาให้สัมพันธ์กับแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ และแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--
1.ประเด็นในการให้เช่าพื้นที่ใกล้สนามบินอู่ตะเภา ณ สถานที่และตามขนาดเนื้อที่ที่กองทัพเรือเสนอ สำหรับเป็นที่ตั้ง ELRF โดยเป็นการเช่าระยะยาวและชำระค่าเช่าแบบพอเป็นธรรมเนียมในลักษณะเดียวกับการให้เช่าพื้นที่ตั้งอาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ
ผู้แทนกองทัพเรือแจ้งว่า ไม่ขัดข้องในการขอใช้พื้นที่ตามข้อเสนอดังกล่าว แต่โดยที่พื้นที่ส่วนนี้ได้เตรียมไว้สำหรับจัดสร้างที่พักเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่กำลังพล จึงขอให้มีการพิจารณาสนับสุนการหาพื้นที่ทดแทนพร้อมกับงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการในโอกาสต่อไปด้วย
2. ประเด็นสนับสุนนค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการก่อสร้างคลังสำรองสัมภาระขนาดไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร อาคารสำนักงานและฝึกอบรมขนาดอย่างน้อย 500 ตารางเมตร และรั้วโดยรอบ
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 เห็นว่า วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างควรพิจารณาให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ราคาค่าก่อสร้างมาตรฐานที่มีการกำหนดไว้แล้ว โดยให้กระทรวงการต่างประเทศประสานในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
3. ประเด็นให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่เจ้าหน้าที่และสถานที่ของ ELRF เช่นเดียวกับที่ให้แก่เจ้าหน้าที่และสถานที่ของสหประชาชาติอื่น ๆ
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 เห็นว่าสามารถดำเนินการได้ตามแนวทางปฏิบัติของข้อตกลงที่มีอยู่แล้ว โดยให้กรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศรับผิดชอบตรวจสอบแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนด้วย
4. ประเด็นอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรให้แก่ ELRF โดยจัดการในลักษณะ bonded depot รวมทั้งการยกเว้นค่าธรรมเนียม ภาษีและค่าภาคหลวงต่าง ๆ ให้
ผู้แทนกระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) แจ้งว่าสามารถดำเนินการได้ตามระเบียบปฏิบัติพิธีการเกี่ยวกับของที่ได้รับยกเว้นอากรตามประเภทที่ 10 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ซึ่งดีกว่า bonded depot ทั้งนี้ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศประสานกับกรมศุลกากรเพื่อกำหนดรายละเอียดต่อไป
5. ประเด็นจัดย่านความถี่เฉพาะในการสื่อสารทางวิทยุสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประจำ ELRF
ผู้แทนคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ประสานแจ้งว่า ได้มีการจัดย่านความถี่สำรองให้สามารถใช้สำหรับภารกิจนี้แล้ว ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ย่านความถี่ที่จะจัดสรรควรคำนึงถึงเรื่องความมั่นคงด้วย
6. ประเด็นสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการบริหารสำนักงาน (running cost) สำหรับ ELRF ตามแต่รัฐบาลไทยจะพิจารณาเห็นเหมาะสม โดยพิจารณาจากความสนับสนุนด้านอื่นที่ไทยจะให้อยู่แล้ว รวมทั้งความพร้อมของแหล่งเงินอื่น ๆ ในอันที่จะเข้ามาร่วมมีส่วนสนับสนุนด้านการเงินต่อศูนย์ ฯ เช่น งบประมาณที่สหประชาชาติเองจะจัดสรรให้ รวมทั้งเงินสนับสนุนที่ประเทศอื่น ๆ อาจเข้าร่วมสมทบอีกด้วยเพื่อการนี้
คณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 เห็นว่า ควรให้จ่ายในวงเงินไม่เกิน 1-5 ล้านบาท/ปี โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมของสถานภาพของประเทศไทย และเป็นภาพลักษณ์ที่เหมาะสมให้สังคมโลกด้วย
7. ประเด็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมลงจอดสำหรับเที่ยวบินบรรทุกสัมภาระความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของ ELRF และให้ลำดับความสำคัญก่อนสำหรับเที่ยวบินดังกล่าวในกรณีปฏิบัติการฉุกเฉิน
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 เห็นว่า เที่ยวบินบรรทุกสัมภาระตามที่เสนอ ไม่ใช่เที่ยวบินพาณิชย์ (ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียม) และเป็นการลงจอดในเขตทหารเรือ ซึ่งเที่ยวบินทางทหารจะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จึงมอบให้กองทัพเรือรับไปพิจารณากำหนดชนิดและประเภทของภารกิจให้ชัดเจนเพื่อใช้ประกอบการกำหนดแนวทางปฏิบัติต่อไป
8. ประเด็นการให้การสนับสนุนทรัพยากรทางทหารตามความเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการขนส่งความช่วยเหลือทางอากาศฉุกเฉินในกรณีที่เกิดสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรงในไทยหรือในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 เห็นว่า กระทรวงกลาโหมมีแนวทางในการให้การสนับสนุนภารกิจดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ควรต้องไปเจรจาให้ชัดเจนว่า กรณีเกิดภัยพิบัติในประเทศไทย ศูนย์ ฯ จะให้การสนับสนุนให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงแรงงานสามารถเข้าร่วมปฏิบัติการได้หรือไม่เพียงใด
9. ประเด็นการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับหน่วยงานสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องในการนี้
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4 มอบให้กรมสนธิสัญญาและกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบ ดูแล ประสานงานเพื่อดำเนินการจัดทำข้อตกลงต่อไป
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ มีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. ควรจัดให้มีที่พักคอยเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการของศูนย์ ฯ ได้อย่างทันท่วงทีด้วย โดยพิจารณาจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และความเหมาะสมของพื้นที่ประกอบกัน
2. ควรเพิ่มประเด็นการเจรจาให้เจ้าหน้าที่ของไทยจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และกองทัพเข้ารับการฝึกอบรมความรู้ในการปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น
3. งบปฏิบัติการ (Operating cost) ซึ่งจะมีวงเงินค่อนข้างสูง ต้องเจรจาให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนว่าจะใช้จากงบประมาณของส่วนใด รวมทั้งเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ ภายในศูนย์ ฯ ต้องมีการบำรุงรักษาและสับเปลี่ยนให้สามารถใช้งานได้จริง
4. ต้องให้ความสำคัญกับแผนปฏิบัติการ โดยมีการศึกษาเตรียมการอย่างชัดเจนเหมาะสม เพื่อรองรับให้สามารถดำเนินการได้จริง เมื่อเกิดภัยพิบัติ ทั้งนี้ การดำเนินการต้องเป็นไปอย่างสอดคล้องกันทุกระบบ โดยพิจารณาให้สัมพันธ์กับแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ และแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--