คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 เสนอ ทั้ง 3 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
2. ให้ส่วนราชการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 ไปใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปี และจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เพื่อประกอบการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและจัดส่งให้สำนักงบ
ประมาณ เพื่อประกอบการจัดทำของงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนิน
งานตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ เป็นประจำทุกปี
สาระสำคัญของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554
1. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 มีสาระสำคัญประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1.1 แนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศ เป็นการสรุปวิสัยทัศน์ สถานการณ์ของประเทศ และ กรอบการดำเนินงาน
ตามนโยบายรัฐบาล
1.2 แนวทางการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายรัฐบาล 8 นโยบาย เป็นการแสดงเป้าหมายเชิงนโยบาย ตัวชี้วัด
และกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐบาล
1.3 กลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ เป็นการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ งบประมาณสนับสนุน
ตามนโยบาย และแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล รวมทั้งตัวอย่างแผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายรัฐบาล
2. สำหรับวงเงินงบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย เป็นการประมาณการความต้องการใช้เงินเบื้องต้น ซึ่งเป็นข้อเสนอตามความต้องการ
ของส่วนราชการเพื่อดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยมีความต้องการวงเงินรวม 4 ปี เท่ากับ 12,264,297.3 ล้านบาท และประมาณการวงเงิน
รายได้สุทธิของรัฐบาลเท่ากับ 6,642,100.0 ล้านบาท ทั้งนี้ ประมาณการความต้องการใช้เงินที่ปรากฎในแผนการบริหารราชการแผ่นดินฯ ดังกล่าว
จะใช้เป็นกรอบแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการสี่ปีและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการเพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปี
ต่อไป โดยแผนงาน/โครงการที่ระบุไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 ส่วนราชการเจ้าของแผนงาน/โครงการจะต้องดำเนิน
การให้เป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ประมาณการความต้องการใช้เงินเบื้องต้นสำหรับการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล
ล้านบาท
2551 2552 2553 2554 2555
1. ประมาณการรายได้ 1,772,500.0 1,899,000.0 2,053,885.0 2,221,475.0 7,946,860.0
2. ประมาณการรายได้สุทธิ 1,495,000.0 1,585,500.0 1,712,300.0 1,849,300.0 6,642,100.0
3. ประมาณการความต้องการใช้เงินตามนโยบาย 1,969,140.0 2,523,658.4 2,582,860.8 2,675,277.2 9,750,936.4
3.1 นโยบายฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ 301,253.5 412,387.1 465,572.6 485,802.0 1,665,015.2
3.2 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 636,890.9 850,077.1 857,827.8 886,065.3 3,230,861.1
3.3 นโยบายเศรษฐกิจ 581,645.2 614,960.2 651,782.6 603,254.5 2,451,642.5
3.4 นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 41,553.9 85,364.8 91,779.4 115,059.5 333,757.6
3.5 นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 26,277.8 39,260.1 46,158.2 40,922.8 152,618.9
3.6 นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 10,918.0 16,309.4 15,588.2 16,050.3 58,865.9
3.7 นโยบายความมั่นคงของรัฐ 203,396.0 284,495.8 289,101.9 289,483.4 1,066,477.1
3.8 นโยบายการบริหารจัดการที่ดี 167,204.7 220,803.9 165,050.1 238,639.4 791,698.1
4. รายการค่าใช้จ่ายดำเนินการภาครัฐ 541,662.3 664,836.4 649,937.1 656,925.1 2,513,360.9
5. รวมความต้องการใช้เงินทั้งสิ้น (3+4) 2,510,802.3 3,188,494.8 3,232,797.9 3,332,202.3 12,264,297.3
หมายเหตุ ข้อมูลประมาณการรายได้จากกระทรวงการคลัง, ประมาณการค่าใช้จ่ายดำเนินการภาครัฐ จากสำนักงบประมาณ และ
ประมาณการความต้องการใช้เงิน จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งประมวลจากข้อเสนอของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน ทั้งนี้ไม่รวมองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญและรัฐวิสาหกิจ 3 แห่งที่ไม่ได้จัดส่งข้อมูลให้ (การประปานครหลวง การ
ไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 มีนาคม 2551--จบ--
ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 เสนอ ทั้ง 3 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
2. ให้ส่วนราชการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 ไปใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปี และจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เพื่อประกอบการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและจัดส่งให้สำนักงบ
ประมาณ เพื่อประกอบการจัดทำของงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนิน
งานตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ เป็นประจำทุกปี
สาระสำคัญของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554
1. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 มีสาระสำคัญประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1.1 แนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศ เป็นการสรุปวิสัยทัศน์ สถานการณ์ของประเทศ และ กรอบการดำเนินงาน
ตามนโยบายรัฐบาล
1.2 แนวทางการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายรัฐบาล 8 นโยบาย เป็นการแสดงเป้าหมายเชิงนโยบาย ตัวชี้วัด
และกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐบาล
1.3 กลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ เป็นการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ งบประมาณสนับสนุน
ตามนโยบาย และแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล รวมทั้งตัวอย่างแผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายรัฐบาล
2. สำหรับวงเงินงบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย เป็นการประมาณการความต้องการใช้เงินเบื้องต้น ซึ่งเป็นข้อเสนอตามความต้องการ
ของส่วนราชการเพื่อดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยมีความต้องการวงเงินรวม 4 ปี เท่ากับ 12,264,297.3 ล้านบาท และประมาณการวงเงิน
รายได้สุทธิของรัฐบาลเท่ากับ 6,642,100.0 ล้านบาท ทั้งนี้ ประมาณการความต้องการใช้เงินที่ปรากฎในแผนการบริหารราชการแผ่นดินฯ ดังกล่าว
จะใช้เป็นกรอบแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการสี่ปีและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการเพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปี
ต่อไป โดยแผนงาน/โครงการที่ระบุไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 ส่วนราชการเจ้าของแผนงาน/โครงการจะต้องดำเนิน
การให้เป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ประมาณการความต้องการใช้เงินเบื้องต้นสำหรับการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล
ล้านบาท
2551 2552 2553 2554 2555
1. ประมาณการรายได้ 1,772,500.0 1,899,000.0 2,053,885.0 2,221,475.0 7,946,860.0
2. ประมาณการรายได้สุทธิ 1,495,000.0 1,585,500.0 1,712,300.0 1,849,300.0 6,642,100.0
3. ประมาณการความต้องการใช้เงินตามนโยบาย 1,969,140.0 2,523,658.4 2,582,860.8 2,675,277.2 9,750,936.4
3.1 นโยบายฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ 301,253.5 412,387.1 465,572.6 485,802.0 1,665,015.2
3.2 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 636,890.9 850,077.1 857,827.8 886,065.3 3,230,861.1
3.3 นโยบายเศรษฐกิจ 581,645.2 614,960.2 651,782.6 603,254.5 2,451,642.5
3.4 นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 41,553.9 85,364.8 91,779.4 115,059.5 333,757.6
3.5 นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 26,277.8 39,260.1 46,158.2 40,922.8 152,618.9
3.6 นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 10,918.0 16,309.4 15,588.2 16,050.3 58,865.9
3.7 นโยบายความมั่นคงของรัฐ 203,396.0 284,495.8 289,101.9 289,483.4 1,066,477.1
3.8 นโยบายการบริหารจัดการที่ดี 167,204.7 220,803.9 165,050.1 238,639.4 791,698.1
4. รายการค่าใช้จ่ายดำเนินการภาครัฐ 541,662.3 664,836.4 649,937.1 656,925.1 2,513,360.9
5. รวมความต้องการใช้เงินทั้งสิ้น (3+4) 2,510,802.3 3,188,494.8 3,232,797.9 3,332,202.3 12,264,297.3
หมายเหตุ ข้อมูลประมาณการรายได้จากกระทรวงการคลัง, ประมาณการค่าใช้จ่ายดำเนินการภาครัฐ จากสำนักงบประมาณ และ
ประมาณการความต้องการใช้เงิน จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งประมวลจากข้อเสนอของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน ทั้งนี้ไม่รวมองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญและรัฐวิสาหกิจ 3 แห่งที่ไม่ได้จัดส่งข้อมูลให้ (การประปานครหลวง การ
ไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 มีนาคม 2551--จบ--