คณะรัฐมนตรีพิจารณาการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน และจังหวัดพะเยาอย่างเป็นทางการ นอกสถานที่ ณ จังหวัดพะเยา ตามที่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสมคิด จาตุศรี-พิทักษ์) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาสังคมตามที่จังหวัดเสนอ
2. เห็นชอบการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน ที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพแหล่งน้ำเดิมเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน การขยายโอกาสทางการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง และศึกษาเพื่อปรับปรุงโครงข่ายถนนเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจชายแดนเชียงราย รวมทั้งเร่งป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ดังนี้
1) พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค 17 โครงการ โดยใช้งบประมาณจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) ให้จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดนำร่องในการแก้ปัญหาการจัดการที่ดินแบบบูรณาการ ตามแนวทางที่เสนอ และเร่งดำเนินโครงการตรวจสอบพื้นที่เพื่อรับรองสิทธิ์ โดยใช้งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดพะเยา
3) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 3 โครงการ โดยใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) จัดเตรียมและศึกษาความเหมาะสมของโครงการขยายถนนจากดอกคำใต้-จุน-เชียงคำ-เชียงแสน โดยให้กรมทางหลวงรับผิดชอบดำเนินการ
5) ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ระยะเร่งด่วน 14 โครงการ โดยใช้งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการของจังหวัดพะเยาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. เห็นชอบการแก้ไขปัญหาระยะกลาง ในการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชนและชนบทและการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำใหม่ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นโครงข่ายการท่องเที่ยวของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ดังนี้
1) พัฒนาแหล่งน้ำชุมชนและชนบทและสร้างแหล่งกักเก็บน้ำใหม่ 59 โครงการ โดยใช้งบประมาณของกระทรววงที่รับผิดชอบ
2) พัฒนาและส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว 4 โครงการ โดยใช้งบประมาณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. บทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนา
1.1 การพัฒนากลุ่มจังหวัดล้านนา
1) บทบาทกลุ่มจังหวัดล้านนา เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ตามแนวเชื่อมโยงเหนือใต้ สามารถพัฒนาเชื่อมโยงเศรษฐกิจและสังคมกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งยังสามารถพัฒนาเชื่อมโยงและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับฐานเศรษฐกิจอื่น ๆ ของประเทศ กลุ่มล้านนาจึงมีบทบาทสำคัญ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ มีความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นแหล่งผลิตเกษตรสำหรับตลาดเฉพาะ (Niche Market) และหัตถอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์แห่งหนึ่งของโลก
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด จึงมุ่งสร้างความเชื่อมโยงทั้งกับประเทศในภูมิภาค และฐานเศรษฐกิจอื่นภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มจังหวัดล้านนา โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ คือ 1) สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพและโอกาสการแข่งขันในระดับนานาชาติ 2) พัฒนาให้เป็นประตูการค้า การลงทุน และศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงกลุ่มประเทศ GMS และ BIMSTEC รวมทั้งนานาประเทศ 3) สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับฐานเศรษฐกิจเดิมได้อย่างยั่งยืน 4) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต ดำรงฐานวัฒนธรรมและทุนทางสังคมของล้านนา และ 5) ดำรงความเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
3) ความก้าวหน้าการดำเนินงาน โดยสรุปคือ การพัฒนาฐานเศรษฐกิจใหม่ที่มีโอกาสแข่งขันมีความก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคเหนือ ธุรกิจบริการทางการแพทย์และสปาเพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งได้เริ่มดำเนินการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน เพื่อเป็นฐานการค้าการลงทุนเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านครอบคลุมเมืองชายแดนหลัก แม่สาย เชียงแสน เชียงของ นอกจากนี้ ยังได้รับการจัดสรรงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ งบรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2548 จำนวน 478 ล้านบาท และงบประมาณ 2549 จำนวน 920 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดล้านนา
1.2 การพัฒนาจังหวัดพะเยา
1) จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็ก อันดับที่ 15 จาก 17 จังหวัดในภาคเหนือ สภาพเศรษฐกิจของจังหวัดขึ้นอยู่กับการค้า และการเกษตรเป็นหลัก ฐานเศรษฐกิจจึงแคบ ขาดความหลากหลายในสาขาการผลิต เศรษฐกิจมีการขยายตัวน้อยเพียงร้อยละ 2.8 ในช่วงปี 2545-46 และมีรายได้เฉลี่ย 31.407 บาท/คน/ปี ต่ำกว่าระดับภาคและประเทศ ประชากรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง กว่าร้อยละ 58 เป็นเกษตรกร โดยแรงงานเกษตรส่วนใหญ่ย้ายออกหลังจากหมดฤดูเพาะปลูกเพื่อหางานทำ ภาวะการเจ็บป่วยของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งโรคเอดส์ยังคงมีความรุนแรงอยู่ อัตราการเรียนรู้ในระดับ “คิดเป็นทำเป็น” เพิ่มขึ้นถึง 54% และมีอัตราการเรียนต่อในระดับมัธยมต้นสูงมากถึง 93% ซึ่งอัตราทั้ง 2 นี้ สูงกว่าอัตราของกลุ่มจังหวัดและภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม จากความกดดันของปัญหาความยากจน ภาวะหนี้สิน กระแสบริโภคนิยมส่งผลให้เกิดปัญหาการถูกหลอกลวงเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ และยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด แม้ว่าทั้งภาครัฐและเอกชนจะดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาดังกล่าวยังคงมีอยู่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไป
2) บทบาทการพัฒนาของจังหวัดในบริบทของกลุ่มจังหวัด ถึงแม้พะเยาจะเป็นจังหวัดเล็กของกลุ่มจังหวัด แต่ด้วยศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และการวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน พร้อมทั้งการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเข้มแข็ง ทำให้จังหวัดพะเยามีบทบาทในการพัฒนาในบริบทของกลุ่มจังหวัดได้ ดังนี้ 1) เป็นฐานการผลิตทางการเกษตรที่ขยายตัวและมีบทบาทมากขึ้น มีศักยภาพที่จะเป็นจังหวัดต้นแบบการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ และสร้างบทบาทนำในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มจังหวัด 2) เป็นจุดเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับกลุ่มจังหวัด และประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากมีแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ รวมทั้งแหล่งโบราณคดี และ 3) เป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
2. สถานการณ์ปัญหาและข้อเสนอการแก้ไขปัญหาของจังหวัดพะเยา
2.1 ประเด็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดพะเยา
1) ปัญหาความยากจน มาจากฐานเศรษฐกิจที่พึ่งพาการเกษตรแบบดั้งเดิมเป็นหลัก พื้นที่ทำการเกษตรมีจำกัด กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำให้ผลิตภาพแรงงานและรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำ และถึงแม้ว่าฐานทรัพยากรน้ำมีอยู่มาก แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการที่ต้องประสบภัยธรรมชาติซ้ำซาก ทั้งน้ำท่วม และฝนแล้ง ได้สะท้อนถึงการขาดระบบการกักเก็บน้ำและกระจายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการบุกรุกป่าขยายที่ดินทำกิน ปัญหาการชะล้างพังทลาย และดินเสื่อมโทรม
2) ปัญหาสังคม จากแรงกดดันเรื่องภาวะหนี้สิน ความยากจน และภัยธรรมชาติ ทำให้แรงงานส่วนหนึ่งย้ายออกนอกพื้นที่เมื่อหมดฤดเพาะปลูก ประกอบกับค่านิยมของคนที่เรียนสูง แล้วมักไม่ค่อยกลับจังหวัด ทำให้แรงงานในพื้นที่จังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ปัญหาการล่อลวงการค้ามนุษย์และตกเขียว และยาเสพติด ซึ่งเคยเป็นปัญหารุนแรง แต่ได้มีการดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลง แต่เกิดผลกระทบตามมา คือ โรคเอดส์ ซึ่งยังคงมีความรุนแรงทั้งในเชิงสุขภาพของผู้ป่วยผู้ติดเชื้อ และเชิงโครงสร้างสถาบันครอบครัวและชุมชน เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นหลักหาเลี้ยงครอบครัว ต้องเสียชีวิตหรือกลายเป็นภาระของครอบครัวและชุมชน ครอบครัวขาดรายได้ เกิดวัฎจักรความยากจนและปัญหาสังคม
2.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดพะเยา
(1) เน้นการแก้ปัญหาความยากจนด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นแนวทางที่สอดรับกับนโยบายรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ่นดิน ในประเด็นการขจัดความยากจน และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ขณะเดียวกันยังตอบสนองยุทธศาสตร์จังหวัดในเรื่องการแก้ไขความยากจน เรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1) เสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ตอบสนองการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในเรื่อง OTOP กองทุนหมู่บ้านและคาราวานแก้จน โดยการผนึกกำลังของภาคราชการและ 3 สถาบันการเงิน คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2) เสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานการเกษตร ในเรื่องการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ และระบบกระจายน้ำ การพัฒนาคุณภาพดิน และการจัดการที่ดินในพื้นที่ป่า ซึ่งตอบสนองเป้าประสงค์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะในประเด็นการขจัดความยากจน
3) ขยายกิจกรรมเศรษฐกิจเพื่อโอกาสใหม่ในการสร้างรายได้ ด้านการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง
(2) การแก้ไขปัญหาสังคมด้วยการสร้างความรู้และความเข้มแข็งของสังคมอย่างมีส่วนร่วม มีความสอดรับกับนโยบายรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ่นดิน ประเด็นการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ และยุทธศาสตร์จังหวัดที่ 3 เรื่องการพัฒนาทุนทางสังคม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
1) พัฒนาคุณภาพคนและความเข้มแข็งของทุนทางสังคม โดยขยายโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ พัฒนาทักษะแรงงานและผู้ประกอบการ พร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประชาคม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาวัฒนธรรม ค่านิยมที่ดีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2) พัฒนากลไกความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และยาเสพติด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 มิถุนายน 2548--จบ--
1. เห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาสังคมตามที่จังหวัดเสนอ
2. เห็นชอบการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน ที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพแหล่งน้ำเดิมเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน การขยายโอกาสทางการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง และศึกษาเพื่อปรับปรุงโครงข่ายถนนเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจชายแดนเชียงราย รวมทั้งเร่งป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ดังนี้
1) พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค 17 โครงการ โดยใช้งบประมาณจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) ให้จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดนำร่องในการแก้ปัญหาการจัดการที่ดินแบบบูรณาการ ตามแนวทางที่เสนอ และเร่งดำเนินโครงการตรวจสอบพื้นที่เพื่อรับรองสิทธิ์ โดยใช้งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดพะเยา
3) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 3 โครงการ โดยใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) จัดเตรียมและศึกษาความเหมาะสมของโครงการขยายถนนจากดอกคำใต้-จุน-เชียงคำ-เชียงแสน โดยให้กรมทางหลวงรับผิดชอบดำเนินการ
5) ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ระยะเร่งด่วน 14 โครงการ โดยใช้งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการของจังหวัดพะเยาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. เห็นชอบการแก้ไขปัญหาระยะกลาง ในการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชนและชนบทและการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำใหม่ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นโครงข่ายการท่องเที่ยวของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ดังนี้
1) พัฒนาแหล่งน้ำชุมชนและชนบทและสร้างแหล่งกักเก็บน้ำใหม่ 59 โครงการ โดยใช้งบประมาณของกระทรววงที่รับผิดชอบ
2) พัฒนาและส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว 4 โครงการ โดยใช้งบประมาณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. บทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนา
1.1 การพัฒนากลุ่มจังหวัดล้านนา
1) บทบาทกลุ่มจังหวัดล้านนา เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ตามแนวเชื่อมโยงเหนือใต้ สามารถพัฒนาเชื่อมโยงเศรษฐกิจและสังคมกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งยังสามารถพัฒนาเชื่อมโยงและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับฐานเศรษฐกิจอื่น ๆ ของประเทศ กลุ่มล้านนาจึงมีบทบาทสำคัญ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ มีความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นแหล่งผลิตเกษตรสำหรับตลาดเฉพาะ (Niche Market) และหัตถอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์แห่งหนึ่งของโลก
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด จึงมุ่งสร้างความเชื่อมโยงทั้งกับประเทศในภูมิภาค และฐานเศรษฐกิจอื่นภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มจังหวัดล้านนา โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ คือ 1) สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพและโอกาสการแข่งขันในระดับนานาชาติ 2) พัฒนาให้เป็นประตูการค้า การลงทุน และศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงกลุ่มประเทศ GMS และ BIMSTEC รวมทั้งนานาประเทศ 3) สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับฐานเศรษฐกิจเดิมได้อย่างยั่งยืน 4) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต ดำรงฐานวัฒนธรรมและทุนทางสังคมของล้านนา และ 5) ดำรงความเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
3) ความก้าวหน้าการดำเนินงาน โดยสรุปคือ การพัฒนาฐานเศรษฐกิจใหม่ที่มีโอกาสแข่งขันมีความก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคเหนือ ธุรกิจบริการทางการแพทย์และสปาเพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งได้เริ่มดำเนินการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน เพื่อเป็นฐานการค้าการลงทุนเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านครอบคลุมเมืองชายแดนหลัก แม่สาย เชียงแสน เชียงของ นอกจากนี้ ยังได้รับการจัดสรรงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ งบรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2548 จำนวน 478 ล้านบาท และงบประมาณ 2549 จำนวน 920 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดล้านนา
1.2 การพัฒนาจังหวัดพะเยา
1) จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็ก อันดับที่ 15 จาก 17 จังหวัดในภาคเหนือ สภาพเศรษฐกิจของจังหวัดขึ้นอยู่กับการค้า และการเกษตรเป็นหลัก ฐานเศรษฐกิจจึงแคบ ขาดความหลากหลายในสาขาการผลิต เศรษฐกิจมีการขยายตัวน้อยเพียงร้อยละ 2.8 ในช่วงปี 2545-46 และมีรายได้เฉลี่ย 31.407 บาท/คน/ปี ต่ำกว่าระดับภาคและประเทศ ประชากรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง กว่าร้อยละ 58 เป็นเกษตรกร โดยแรงงานเกษตรส่วนใหญ่ย้ายออกหลังจากหมดฤดูเพาะปลูกเพื่อหางานทำ ภาวะการเจ็บป่วยของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งโรคเอดส์ยังคงมีความรุนแรงอยู่ อัตราการเรียนรู้ในระดับ “คิดเป็นทำเป็น” เพิ่มขึ้นถึง 54% และมีอัตราการเรียนต่อในระดับมัธยมต้นสูงมากถึง 93% ซึ่งอัตราทั้ง 2 นี้ สูงกว่าอัตราของกลุ่มจังหวัดและภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม จากความกดดันของปัญหาความยากจน ภาวะหนี้สิน กระแสบริโภคนิยมส่งผลให้เกิดปัญหาการถูกหลอกลวงเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ และยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด แม้ว่าทั้งภาครัฐและเอกชนจะดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาดังกล่าวยังคงมีอยู่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไป
2) บทบาทการพัฒนาของจังหวัดในบริบทของกลุ่มจังหวัด ถึงแม้พะเยาจะเป็นจังหวัดเล็กของกลุ่มจังหวัด แต่ด้วยศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และการวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน พร้อมทั้งการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเข้มแข็ง ทำให้จังหวัดพะเยามีบทบาทในการพัฒนาในบริบทของกลุ่มจังหวัดได้ ดังนี้ 1) เป็นฐานการผลิตทางการเกษตรที่ขยายตัวและมีบทบาทมากขึ้น มีศักยภาพที่จะเป็นจังหวัดต้นแบบการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ และสร้างบทบาทนำในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มจังหวัด 2) เป็นจุดเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับกลุ่มจังหวัด และประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากมีแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ รวมทั้งแหล่งโบราณคดี และ 3) เป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
2. สถานการณ์ปัญหาและข้อเสนอการแก้ไขปัญหาของจังหวัดพะเยา
2.1 ประเด็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดพะเยา
1) ปัญหาความยากจน มาจากฐานเศรษฐกิจที่พึ่งพาการเกษตรแบบดั้งเดิมเป็นหลัก พื้นที่ทำการเกษตรมีจำกัด กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำให้ผลิตภาพแรงงานและรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำ และถึงแม้ว่าฐานทรัพยากรน้ำมีอยู่มาก แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการที่ต้องประสบภัยธรรมชาติซ้ำซาก ทั้งน้ำท่วม และฝนแล้ง ได้สะท้อนถึงการขาดระบบการกักเก็บน้ำและกระจายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการบุกรุกป่าขยายที่ดินทำกิน ปัญหาการชะล้างพังทลาย และดินเสื่อมโทรม
2) ปัญหาสังคม จากแรงกดดันเรื่องภาวะหนี้สิน ความยากจน และภัยธรรมชาติ ทำให้แรงงานส่วนหนึ่งย้ายออกนอกพื้นที่เมื่อหมดฤดเพาะปลูก ประกอบกับค่านิยมของคนที่เรียนสูง แล้วมักไม่ค่อยกลับจังหวัด ทำให้แรงงานในพื้นที่จังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ปัญหาการล่อลวงการค้ามนุษย์และตกเขียว และยาเสพติด ซึ่งเคยเป็นปัญหารุนแรง แต่ได้มีการดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลง แต่เกิดผลกระทบตามมา คือ โรคเอดส์ ซึ่งยังคงมีความรุนแรงทั้งในเชิงสุขภาพของผู้ป่วยผู้ติดเชื้อ และเชิงโครงสร้างสถาบันครอบครัวและชุมชน เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นหลักหาเลี้ยงครอบครัว ต้องเสียชีวิตหรือกลายเป็นภาระของครอบครัวและชุมชน ครอบครัวขาดรายได้ เกิดวัฎจักรความยากจนและปัญหาสังคม
2.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดพะเยา
(1) เน้นการแก้ปัญหาความยากจนด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นแนวทางที่สอดรับกับนโยบายรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ่นดิน ในประเด็นการขจัดความยากจน และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ขณะเดียวกันยังตอบสนองยุทธศาสตร์จังหวัดในเรื่องการแก้ไขความยากจน เรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1) เสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ตอบสนองการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในเรื่อง OTOP กองทุนหมู่บ้านและคาราวานแก้จน โดยการผนึกกำลังของภาคราชการและ 3 สถาบันการเงิน คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2) เสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานการเกษตร ในเรื่องการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ และระบบกระจายน้ำ การพัฒนาคุณภาพดิน และการจัดการที่ดินในพื้นที่ป่า ซึ่งตอบสนองเป้าประสงค์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะในประเด็นการขจัดความยากจน
3) ขยายกิจกรรมเศรษฐกิจเพื่อโอกาสใหม่ในการสร้างรายได้ ด้านการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง
(2) การแก้ไขปัญหาสังคมด้วยการสร้างความรู้และความเข้มแข็งของสังคมอย่างมีส่วนร่วม มีความสอดรับกับนโยบายรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ่นดิน ประเด็นการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ และยุทธศาสตร์จังหวัดที่ 3 เรื่องการพัฒนาทุนทางสังคม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
1) พัฒนาคุณภาพคนและความเข้มแข็งของทุนทางสังคม โดยขยายโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ พัฒนาทักษะแรงงานและผู้ประกอบการ พร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประชาคม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาวัฒนธรรม ค่านิยมที่ดีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2) พัฒนากลไกความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และยาเสพติด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 มิถุนายน 2548--จบ--