คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) และข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ขอความเห็นจาก สคก. กรณีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) ว่า การแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) จะเข้าลักษณะต้องห้ามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบกับมาตรา 106 (6) หรือไม่
2. สคก. แจ้งว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาประเด็นปัญหาตามข้อ 1 แล้ว เห็นว่า คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) ได้รับการแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกิจการของคณะรัฐมนตรีและ สภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการช่วยเหลือให้การปฏิบัติงานระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องที่เกี่ยวกับการเสนอข้อกฎหมาย ญัตติ การตอบกระทู้ รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ จึงถือได้ว่าเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งได้รับการยกเว้นตามนัยมาตรา 265 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีข้อสังเกตว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการนอกจากนายกรัฐมนตรีจะใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 11 (6) แล้ว
1. คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งโดยมิได้อาศัยอำนาจของกฎหมายใด
2. คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเฉพาะเรื่อง
3. คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามที่ระเบียบกำหนด
ดังนั้น ในการพิจารณาแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามข้อ 1-3 จึงควรพิจารณาให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 265 มาตรา 267 และความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 มีนาคม 2551--จบ--
สาระสำคัญของเรื่อง
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ขอความเห็นจาก สคก. กรณีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) ว่า การแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) จะเข้าลักษณะต้องห้ามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบกับมาตรา 106 (6) หรือไม่
2. สคก. แจ้งว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาประเด็นปัญหาตามข้อ 1 แล้ว เห็นว่า คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) ได้รับการแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกิจการของคณะรัฐมนตรีและ สภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการช่วยเหลือให้การปฏิบัติงานระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องที่เกี่ยวกับการเสนอข้อกฎหมาย ญัตติ การตอบกระทู้ รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ จึงถือได้ว่าเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งได้รับการยกเว้นตามนัยมาตรา 265 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีข้อสังเกตว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการนอกจากนายกรัฐมนตรีจะใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 11 (6) แล้ว
1. คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งโดยมิได้อาศัยอำนาจของกฎหมายใด
2. คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเฉพาะเรื่อง
3. คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามที่ระเบียบกำหนด
ดังนั้น ในการพิจารณาแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามข้อ 1-3 จึงควรพิจารณาให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 265 มาตรา 267 และความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 มีนาคม 2551--จบ--