1. รับทราบการขยายเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือก ขยายวงเงินสินเชื่อและขยายระยะเวลาการจัดทำสัญญาเงินกู้ ตามโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพิ่มเติม ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.)
2. เห็นชอบการจัดสรรวงเงินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ปีการผลิต 2562/63 วงเงินรวมทั้งสิ้น 682.86 ล้านบาท โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขอจัดสรรวงเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระคืนต้นทุนเงินและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการฯ จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
3. รับทราบการขอรับจัดสรรค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกของโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (เพิ่มเติม) วงเงิน 750.00 ล้านบาท จากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) โดยให้ พณ. ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้น ให้ ธ.ก.ส. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
นบข. ในการประชุม ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 ได้พิจารณาและมีมติเกี่ยวกับการขออนุมัติการดำเนินโครงการฯ (เพิ่มเติม) ที่ ธ.ก.ส. เสนอ ดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินโครงการฯ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ดังนี้
ผลการดำเนินการ / จำนวน(ราย)
1) ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับสินเชื่อแล้ว / 142,884
2) ข้อมูลที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อในระบบการจ่ายสินเชื่อตามโครงการฯ ของ ธ.ก.ส. แล้ว รอการโอนเข้าบัญชี / 13,929
3) ข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งยังมิได้บันทึกข้อมูลเตรียมการจ่ายในระบบการจ่ายสินเชื่อของ ธ.ก.ส. / 60,427
รวม / 217,240
ผลการดำเนินการ / ปริมาณข้าวเปลือก(ตัน)
1) ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับสินเชื่อแล้ว / 950,310.20
2) ข้อมูลที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อในระบบการจ่ายสินเชื่อตามโครงการฯ ของ ธ.ก.ส. แล้ว รอการโอนเข้าบัญชี / 82,962.00
3) ข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งยังมิได้บันทึกข้อมูลเตรียมการจ่ายในระบบการจ่ายสินเชื่อของ ธ.ก.ส. / 421,166.00
รวม / 1,454,438.20
ผลการดำเนินการ/ สินเชื่อ(ล้านบาท)
1) ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับสินเชื่อแล้ว / 9,958.72
2) ข้อมูลที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อในระบบการจ่ายสินเชื่อตามโครงการฯ ของ ธ.ก.ส. แล้ว รอการโอนเข้าบัญชี / 829.62
3) ข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งยังมิได้บันทึกข้อมูลเตรียมการจ่ายในระบบการจ่ายสินเชื่อของ ธ.ก.ส. / 4,211.66
รวม / 15,000.00
2. เห็นชอบการปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ และขยายระยะเวลาการจัดทำสัญญาเงินกู้ ของโครงการฯ ดังนี้
การปรับเพิ่ม/ขยาย เดิม - มติคณะรัฐมนตรี (11 ธันวาคม 2562)
1) ปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการฯ 1 ล้านต้น
2) ปรับเพิ่มวงเงินสินเชื่อตามโครงการฯ 10,000 ล้านบาท
3) ขยายระยะเวลาการจัดทำสัญญาเงินกู้ตามโครงการฯ สิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563
การปรับเพิ่ม/ขยาย / เป็น(เสนอในครั้งนี้)
1) ปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการฯ / 1.5 ล้านตัน
2) ปรับเพิ่มวงเงินสินเชื่อตามโครงการฯ / 15,000 ล้านบาท
3) ขยายระยะเวลาการจัดทำสัญญาเงินกู้ตามโครงการฯ / สิ้นสุดวันที่30 เมษายน 2563 / (ภาคใต้ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563)
3. เห็นชอบการจัดสรรวงเงินโครงการฯ (เพิ่มเติม) โดยให้ ธ.ก.ส. ประสาน สงป. ในการขอรับจัดสรรวงเงินจากงบประมาณ ปี 2564 และปีถัด ๆ ไป วงเงินรวมทั้งสิ้น 682.86 ล้านบาท ตามที่ ธ.ก.ส. เสนอ เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยขอให้รัฐบาลรับภาระเงินชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. จากการให้สินเชื่อเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามโครงการฯ ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน ของ ธ.ก.ส. บวก 1 ต่อปี รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายกรณีที่มีการระบายข้าว ได้แก่ ค่าขนย้ายข้าวเปลือก ต้นทุนเงิน
ค่าขนย้ายข้าว และส่วนต่างภาระขาดทุนจากการระบายข้าว โดยจำแนกเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
รายการ / วงเงิน (ล้านบาท)
1) ค่าชดเชยดอกเบี้ย ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ของ ธ.ก.ส. บวก 1 ซึ่งเป็นอัตราที่ กค. สงป. และ ธ.ก.ส. ทำความตกลงในการชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. และ กค. ได้นำผลการตกลงเสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้วเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 / 117.50
2) ค่าบริหารโครงการฯ ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลา 6 เดือน ของวงเงินสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น (5,000 ล้านบาท) / 50.00
3) ค่าใช้จ่ายกรณีที่มีการระบายข้าว ได้แก่ ค่าขนย้ายข้าวเปลือก ต้นทุนเงินค่าขนย้ายข้าวและส่วนต่างภาระขาดทุนจากการระบายข้าว / 515.36
รวม / 682.86
โดยมอบหมายกรมการค้าภายในในฐานะฝ่ายเลขานุการ นบข. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
4. เห็นชอบการขอรับจัดสรรค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกโครงการฯ (เพิ่มเติม) วงเงิน 750 ล้านบาท จาก คชก. เพื่อจ่ายเป็นค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกให้เกษตรกรที่เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง ตันละ 1,500 บาท และสำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับฝากได้รับตันละ 1,500 บาท (จำแนกเป็นสถาบันเกษตรกรได้รับตันละ 1,000 บาท และให้เกษตรกรที่นำข้าวมาฝากเก็บกับสถาบันเกษตรกรตันละ 500 บาท) (ตามข้อ 3) ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือกจาก 1 ล้านตัน เป็น 1.5 ล้านตัน ทั้งนี้ ต้องเก็บข้าวไว้อย่างน้อย 1 เดือน ระยะเวลาไถ่ถอน 5 เดือน โดยมอบหมาย ธ.ก.ส. จัดทำรายละเอียดการขอรับจัดสรรงบประมาณจาก คชก. และนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรพิจารณาต่อไป
5. การดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวของรัฐบาลเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรจำหน่ายได้มีเสถียรภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายการชดเชยเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยเมื่อเปรียบเทียบราคาข้าวเปลือกในช่วงปัจจุบันกับก่อนดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ปลายเดือนพฤศจิกายน 2562) พบว่า ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นทุกชนิด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ราคา / ชนิดข้าวเปลือก (บาท/ตัน)
ราคา / หอมมะลิ
ก่อนการดำเนินโครงการฯ (ปลายเดือนพฤศจิกายน 2562) / 14,300 - 14,800
ปัจจุบัน (17 มีนาคม 2563) / 14,800 – 15,300
เปลี่ยนแปลง (%) / 3.44
ราคา /เจ้า
ก่อนการดำเนินโครงการฯ (ปลายเดือนพฤศจิกายน 2562) / 7,400 – 7,800
ปัจจุบัน (17 มีนาคม 2563)/ 8,500 – 9,400
เปลี่ยนแปลง (%) / 17.76
ราคา /ปทุมธานี
ก่อนการดำเนินโครงการฯ (ปลายเดือนพฤศจิกายน 2562) /8,600 – 9,500
ปัจจุบัน (17 มีนาคม 2563)/ 9,700 – 10,000
เปลี่ยนแปลง (%)/ 8.84
ราคา / เหนียว
ก่อนการดำเนินโครงการฯ (ปลายเดือนพฤศจิกายน 2562) /15,300 – 16,300
ปัจจุบัน (17 มีนาคม 2563)/15,700 – 16,900
เปลี่ยนแปลง (%)/ 2.52
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาตลาดข้าวเปลือกหอมมะลิพบว่า ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว และข้าวเปลือกเหนียวยังคงมีความผันผวนด้านราคา
6. พณ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปี 2562/63 เป็นเกษตรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งยังเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางและยังมีความประสงค์ขอรับสินเชื่อตามโครงการฯ เนื่องจากขณะนี้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิยังอยู่ในภาวะชะลอตัวเมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่น ๆ และข้าวเปลือกเหนียวยังคงมีความผันผวนจึงควรขยายเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือก ขยายวงเงินสินเชื่อ และขยายระยะเวลาการจัดทำสัญญาเงินกู้ตามโครงการฯ เพื่อเป็นการชะลอการขายข้าวเปลือกหอมมะลิและเพื่อจะรักษาระดับราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
7. พณ. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลตามมาตรา 27 และ 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว โดยมีประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น ชะลอปริมาณข้าวเปลือกในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดในฤดูเก็บเกี่ยวไม่ให้เกินความต้องการตลาด ซึ่งจะทำให้ราคาตลาดข้าวเปลือก
มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นและเกษตรกรมีช่องทางเลือกในการตัดสินใจที่จะจำหน่ายหรือเก็บรักษาข้าวเปลือกของตนเองไว้ที่ยุ้งฉางซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตข้าวเปลือกและเก็บรักษาข้าวเปลือกให้มีคุณภาพ
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 เมษายน 2563