เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้น
ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามในประมวล
รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษี
เพื่อสนับสนุนธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เฉพาะในขณะที่ ธพว. ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและมีวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้ยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่ ธพว. เฉพาะในขณะที่ ธพว. ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและมีวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป
กระทรวงการคลังเสนอว่า ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 มีผลให้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) เปลี่ยนสถานะเป็นธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โดยได้โอนบรรดากิจการ สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน กำไรสะสม เงินสำรอง ตลอดจนสิทธิและความรับผิดชอบไปเป็นของ ธพว. มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาส่งเสริม ช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงาน การขยายหรือการปรับปรุงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการให้สินเชื่อ ค้ำประกันร่วมลงทุน ให้คำปรึกษา แนะนำ หรือให้บริการที่จำเป็นอื่น
เดิม บอย. ไม่มีภาระต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งได้รับการยกเว้นอากรแสตมป์และภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ(ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 ตามลำดับ เมื่อเปลี่ยนสถานะเป็น ธพว. ก็ยังคงไม่มีภาระต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่มีภาระต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร และเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ ธพว. ให้มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มากขึ้น สมควรยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสมป์ให้กับ ธพว. ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อรายได้การจัดเก็บภาษี เนื่องจากเป็นเพียงการเปลี่ยนสถานะผู้ได้รับยกเว้นภาษีจาก บอย. มาเป็น ธพว. จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--
ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามในประมวล
รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษี
เพื่อสนับสนุนธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เฉพาะในขณะที่ ธพว. ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและมีวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้ยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่ ธพว. เฉพาะในขณะที่ ธพว. ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและมีวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป
กระทรวงการคลังเสนอว่า ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 มีผลให้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) เปลี่ยนสถานะเป็นธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โดยได้โอนบรรดากิจการ สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน กำไรสะสม เงินสำรอง ตลอดจนสิทธิและความรับผิดชอบไปเป็นของ ธพว. มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาส่งเสริม ช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงาน การขยายหรือการปรับปรุงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการให้สินเชื่อ ค้ำประกันร่วมลงทุน ให้คำปรึกษา แนะนำ หรือให้บริการที่จำเป็นอื่น
เดิม บอย. ไม่มีภาระต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งได้รับการยกเว้นอากรแสตมป์และภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ(ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 ตามลำดับ เมื่อเปลี่ยนสถานะเป็น ธพว. ก็ยังคงไม่มีภาระต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่มีภาระต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร และเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ ธพว. ให้มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มากขึ้น สมควรยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสมป์ให้กับ ธพว. ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อรายได้การจัดเก็บภาษี เนื่องจากเป็นเพียงการเปลี่ยนสถานะผู้ได้รับยกเว้นภาษีจาก บอย. มาเป็น ธพว. จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--