คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์และความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก มีพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนกและอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 รวม 6 จังหวัด 10 อำเภอ 14 จุด (ตำบล) ได้แก่
จังหวัดสุพรรณบุรี 4 จุด ใน 2 อำเภอ
จังหวัดกาญจนบุรี 4 จุด ใน 2 อำเภอ
จังหวัดนครปฐม 4 จุด ใน 1 อำเภอ
จังหวัดกำแพงเพชร 1 จุด ใน 1 อำเภอ
จังหวัดนนทบุรี 2 จุด ใน 2 อำเภอ
จังหวัดกาฬสินธุ์ 2 จุด ใน 2 อำเภอ
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
2.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิ่มขึ้นอีก 2 ฉบับ เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมโรคไข้หวัดนก คือ
(1) เรื่องให้เข้มงวดตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2548 เนื่องจากปรากฏว่ายังมีผู้ประกอบการหรือเจ้าของสัตว์ปีกบางรายกระทำการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกในพื้นที่ประกาศเขตโรคระบาด และประกาศเขตสงสัยว่ามีโรคระบาดชนิดโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) รวมทั้งภาวะโรคไข้หวัดนกในขณะนี้ยังไม่สงบ ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงได้ออกประกาศฯ ฉบับนี้ ผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
(2) เรื่องห้ามจำหน่าย จ่ายเขต ซื้อขาย เคลื่อนย้าย ชำแหละ หรือกระทำการอื่นใดกับสัตว์ปีกหรือตาย ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2548 เนื่องจากปรากฎว่ามีผู้ประกอบการ เจ้าของสัตว์ปีกหรือบุคคลอื่น นำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตามหรือซากสัตว์ปีกดังกล่าวไปจำหน่าย จ่าย แจก หรือทิ้งในที่สาธารณะ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง ลำน้ำสาธารณะหรือถนน เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคไข้หวัดนกแพร่ระบาดจากการกระทำดังกล่าวได้ จึงได้กำหนดข้อห้ามดังกล่าวไว้ ผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองเดือนปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังดำเนินการจัดทำประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 5 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การเลี้ยงสัตว์เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งกำหนดให้มีระยะห่างระหว่างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ให้แยกโรงเลี้ยงสัตว์สำหรับสัตว์แต่ละชนิดให้ห่างกัน รวมถึงการปรับระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกรให้เป็นระบบปิดตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก มีพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนกและอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 รวม 6 จังหวัด 10 อำเภอ 14 จุด (ตำบล) ได้แก่
จังหวัดสุพรรณบุรี 4 จุด ใน 2 อำเภอ
จังหวัดกาญจนบุรี 4 จุด ใน 2 อำเภอ
จังหวัดนครปฐม 4 จุด ใน 1 อำเภอ
จังหวัดกำแพงเพชร 1 จุด ใน 1 อำเภอ
จังหวัดนนทบุรี 2 จุด ใน 2 อำเภอ
จังหวัดกาฬสินธุ์ 2 จุด ใน 2 อำเภอ
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
2.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิ่มขึ้นอีก 2 ฉบับ เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมโรคไข้หวัดนก คือ
(1) เรื่องให้เข้มงวดตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2548 เนื่องจากปรากฏว่ายังมีผู้ประกอบการหรือเจ้าของสัตว์ปีกบางรายกระทำการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกในพื้นที่ประกาศเขตโรคระบาด และประกาศเขตสงสัยว่ามีโรคระบาดชนิดโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) รวมทั้งภาวะโรคไข้หวัดนกในขณะนี้ยังไม่สงบ ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงได้ออกประกาศฯ ฉบับนี้ ผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
(2) เรื่องห้ามจำหน่าย จ่ายเขต ซื้อขาย เคลื่อนย้าย ชำแหละ หรือกระทำการอื่นใดกับสัตว์ปีกหรือตาย ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2548 เนื่องจากปรากฎว่ามีผู้ประกอบการ เจ้าของสัตว์ปีกหรือบุคคลอื่น นำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตามหรือซากสัตว์ปีกดังกล่าวไปจำหน่าย จ่าย แจก หรือทิ้งในที่สาธารณะ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง ลำน้ำสาธารณะหรือถนน เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคไข้หวัดนกแพร่ระบาดจากการกระทำดังกล่าวได้ จึงได้กำหนดข้อห้ามดังกล่าวไว้ ผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองเดือนปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังดำเนินการจัดทำประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 5 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การเลี้ยงสัตว์เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งกำหนดให้มีระยะห่างระหว่างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ให้แยกโรงเลี้ยงสัตว์สำหรับสัตว์แต่ละชนิดให้ห่างกัน รวมถึงการปรับระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกรให้เป็นระบบปิดตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--