แนวทางการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต

ข่าวการเมือง Tuesday May 26, 2020 19:19 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง แนวทางการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบให้กระทรวงการคลังดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 โดยเพิ่มเติมแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราตามนโยบายรัฐบาลในโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐ

2. อนุมัติให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างก่อสร้างผิวทางแบบพาราแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (PARA AC) ที่ได้ลงนามในสัญญาจ้างไปแล้วในปีงบประมาณ 2563 เป็นผิวทางแบบแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (AC) ภายในกรอบวงเงิน 2,500 ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง 1,250 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท 1,250 ล้านบาท โดยมีการปรับลดวงเงินค่าก่อสร้างและไม่ทำให้ส่วนราชการเสียประโยชน์ ตามมาตรา 97 (2) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เพื่อนำไปใช้ในโครงการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP)

3. เห็นชอบในหลักการให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรอบวงเงิน 39,175 ล้านบาท (กรมทางหลวง จำนวน 36,401 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท จำนวน 2,774 ล้านบาท) และ ปี พ.ศ. 2565 กรอบวงเงิน 43,995 ล้านบาท (กรมทางหลวง จำนวน 39,934 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท จำนวน 4,061 ล้านบาท) เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP)

โดยในส่วนของงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

สาระสำคัญ

กระทรวงคมนาคมได้รับรายงานจากกรมทางหลวงชนบทเสนอแนวทางการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. กระทรวงคมนาคมมีนโยบายในการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) และสนับสนุนการใช้ยางพาราจากร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรองโดยตรง โดยจะบูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อช่วยยกระดับราคายางพารา เพิ่มรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพารา และระบายผลผลิตยางพาราที่มีอยู่จำนวนมากอย่างเป็นรูปธรรม

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เป็นประธานการประชุมเรื่อง การนำยางพารามาใช้ในงานภารกิจของกระทรวงคมนาคมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา จำนวน 6 ครั้ง เมื่อวันที่

28 สิงหาคม 2562 วันที่ 20 กันยายน 2562 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 วันที่ 30 มีนาคม 2563 วันที่ 16 เมษายน 2563 และวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ตามลำดับ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินการตามนโยบายเพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนนโดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา

3. กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้กรมทางหลวงชนบทเป็นหน่วยงานหลักดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐ และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ดังนั้น กรมทางหลวงชนบทจึงได้มีคำสั่ง ที่ 1890/2562 ลงวันที่ 2 กันยายน 2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการนำยางพารามาใช้ในงานก่อสร้าง และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย และคำสั่งที่ 2160/2562 ลงวันที่ 30 กันยายน 2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการนำยางพารามาใช้ในงานก่อสร้าง และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย (เพิ่มเติม) ร่วมกันศึกษาวิจัยนำยางพารามาพัฒนาเป็นอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยเพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงของอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยทางถนน

4. จากการศึกษาสภาพถนนของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท พบว่า

มีเกาะกลางถนน รวมทั้งสิ้น ระยะทาง 11,643.454 กิโลเมตร ประกอบด้วย

  • เกาะสี จำนวน 1,238.800 กิโลเมตร
  • เกาะหลุม จำนวน 4,372.963 กิโลเมตร
  • เกาะยก จำนวน 5,133.414 กิโลเมตร
  • กำแพงคอนกรีต จำนวน 898.277 กิโลเมตร

โดยบริเวณช่วงเกาะกลางถนนแบบเกาะสีมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้มาก เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร โดยการเลี้ยวหรือการกลับรถทับเส้นเกาะกลางในบริเวณจุดเสี่ยงอันตราย ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นหลายกรณี มีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ดังนั้น จึงเห็นควรก่อสร้างกำแพงคอนกรีตเพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุ อีกทั้งบริเวณทางโค้งได้มีการติดตั้งเสาหลักนำทางคอนกรีต เพื่อให้มองเห็น ในเวลากลางคืน แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์เสียหลักไปชนหลักนำโค้งคอนกรีต ผู้ขับขี่ หรือผู้ที่โดยสารมาด้วยอาจได้รับอันตราย จึงมีความจำเป็นต้องหาวิธีการแก้ไขหรือปรับปรุงเรื่องเกาะกลางถนนแบบเกาะสีและหลักนำทางคอนกรีต

จากผลการศึกษาและวิจัยพบว่า มี 2 ผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมและมีปริมาณยางพาราเป็นส่วนผสมจำนวนมาก และสามารถลดความรุนแรงของการชนปะทะได้ คือ แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) โดยมีผลการทดสอบของอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย ดังนี้

1) แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (RFB)

  • ทดสอบการชนในประเทศไทย ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ผลการทดสอบ : ช่วยในการรับแรงกระแทก ทำให้ลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของคนขับได้

  • นำไปทดสอบการชน ณ สถาบัน Korea Automobile Testing & Research Institute (KATRI) ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นสถาบันทดสอบรถยนต์โดยตรงและเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลกในวิธีการทดสอบที่มีความทันสมัย ถูกต้องตามหลักวิชาการ นอกจากนี้ การแสดงผลการทดสอบด้านวิศวกรรมยังเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐาน EN - Euro Standard

ผลการทดสอบ : แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (RFB) ที่ความเร็วในการชน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดแรงกระแทกต่ำกว่าค่ามาตรฐาน National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) ทำให้มีความปลอดภัยจากการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต

2) หลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP)

  • ทดสอบการชนในประเทศไทย ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ผลการทดสอบ : ผลจากห้องทดสอบเปรียบเทียบความปลอดภัยในการติดตั้งหลักนำทางยางธรรมชาติ โดยนำรถจักรยานยนต์พร้อมหุ่นติดตั้งเซ็นเซอร์เข้าชน พบว่า หุ่นที่ใช้ทดสอบไม่ได้รับแรงกระแทกถึงขั้นได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต เพราะมีความยืดหยุ่นของยางพารา และเมื่อนำไปทดสอบในห้องทดลอง พบว่า มีความคงทนต่อสภาพอากาศในประเทศไทย ไม่ติดไฟ และไม่สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

5. กรมทางหลวงชนบทได้เปรียบเทียบราคาต้นทุนการผลิตกับผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับของแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (RFB) หลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) และผิวทางแบบพาราแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (PARA AC) มีดังนี้

ผลิตภัณฑ์ / ราคาต้นทุน

แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต 3,140 - 3,757บาท/เมตร

หลักนำทางยางธรรมชาติ 1,607 - 2,223บาท/ต้น

ผิวทางแบบพาราแอสฟัลต์ติกคอนกรีต(PARA AC) 294.93 บาท/ตารางเมตร

ผลิตภัณฑ์ / ผลประโยชน์

ที่เกษตรกรได้รับ

แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต2,189.63 - 2,798.10บาท/เมตร

หลักนำทางยางธรรมชาติ1,162.58 - 1,778.18บาท/ต้น

ผิวทางแบบพาราแอสฟัลต์ติกคอนกรีต(PARA AC)15.04 บาท/ตารางเมตร

ผลิตภัณฑ์ / ผลประโยชน์

ที่เกษตรกรได้รับ

คิดเป็นร้อยละ

แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต 70 - 74

หลักนำทางยางธรรมชาติ 72 - 80

ผิวทางแบบพาราแอสฟัลต์ติกคอนกรีต(PARA AC) 5.10

หมายเหตุ : ช่วงราคายางแผ่นรมควัน 35 - 60 บาท/กิโลกรัม และราคาน้ำยางพาราข้น 25 - 60 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ พบว่า แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) มีผลประโยชน์สูงกว่าผิวทางแบบพาราแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (PARA AC) มาก

6. กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท มีแนวทางในการดำเนินการตามนโยบายเพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนนโดยใช้ผลผลิตจากยางพารา ดังนี้

1) แผนการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ในปีงบประมาณ 2563 - 2565 มี RFB จำนวน 12,282.735 กิโลเมตร RGP จำนวน 1,063,651 ต้น งบประมาณรวม 85,623.774 ล้านบาท คิดเป็นผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ จำนวน 30,108.805 ล้านบาท ดังนี้

ปีงบประมาณ 2563

โครงการดำเนินการ กำแพงคอนกรีตหุ้ม RFB (กิโลเมตร)

จำนวน 250.000

งบประมาณ (ล้านบาท)

วงเงินโครงการ 1,856.929

รวม 2,454.645

ปริมาณยางพารา (ตัน)

ยางพาราแห้ง 10,344.339

ยางพาราข้น 17,240.565

ยางพาราสด 34,481.130

คิดเป็นเงินที่เกษตรกรได้รับ (ล้านบาท) 951.878

โครงการดำเนินการหลักนำทางยางธรรมชาติ RGP (ต้น)

จำนวน 289,635

งบประมาณ (ล้านบาท)

วงเงินโครงการ 597.716

รวม 2,454.645

ปริมาณยางพารา (ตัน)

ยางพาราแห้ง 10,344.339

ยางพาราข้น 17,240.565

ยางพาราสด 34,481.130

คิดเป็นเงินที่เกษตรกรได้รับ (ล้านบาท) 951.878

ปีงบประมาณ 2564

โครงการดำเนินการกำแพงคอนกรีตหุ้ม RFB (กิโลเมตร)

จำนวน 5,742.811

งบประมาณ (ล้านบาท)

วงเงินโครงการ 38,477.292

รวม 39,175.008

ปริมาณยางพารา (ตัน)

ยางพาราแห้ง 136,905.959

ยางพาราข้น 228,176.598

ยางพาราสด 456,353.196

คิดเป็นเงินที่เกษตรกรได้รับ (ล้านบาท) 13,871.370

โครงการดำเนินการหลักนำทางยางธรรมชาติ RGP (ต้น)

จำนวน 334,452

งบประมาณ (ล้านบาท)

วงเงินโครงการ 697.716

รวม 39,175.008

ปริมาณยางพารา (ตัน)

ยางพาราแห้ง 136,905.959

ยางพาราข้น 228,176.598

ยางพาราสด 456,353.196

คิดเป็นเงินที่เกษตรกรได้รับ (ล้านบาท) 13,871.370

ปีงบประมาณ 2565

โครงการดำเนินการ กำแพงคอนกรีตหุ้ม RFB (กิโลเมตร)

จำนวน 6,289.924

งบประมาณ (ล้านบาท)

วงเงินโครงการ 43,087.381

รวม 43,994.121

ปริมาณยางพารา (ตัน)

ยางพาราแห้ง 155,135.106

ยางพาราข้น 258,558.509

ยางพาราสด 517,117.018

คิดเป็นเงินที่เกษตรกรได้รับ (ล้านบาท) 15,285.557

โครงการดำเนินการหลักนำทางยางธรรมชาติ RGP (ต้น)

จำนวน 439,564

งบประมาณ (ล้านบาท)

วงเงินโครงการ 906.740

รวม 43,994.121

ปริมาณยางพารา (ตัน)

ยางพาราแห้ง 155,135.106

ยางพาราข้น 258,558.509

ยางพาราสด 517,117.018

คิดเป็นเงินที่เกษตรกรได้รับ (ล้านบาท) 15,285.557

ปีงบประมาณ รวมทั้งสิ้น

โครงการดำเนินการกำแพงคอนกรีตหุ้ม RFB (กิโลเมตร)

จำนวน 12,282.735

งบประมาณ (ล้านบาท)

วงเงินโครงการ 83,421.602

รวม 85,623.774

ปริมาณยางพารา (ตัน)

ยางพาราแห้ง 302,385.404

ยางพาราข้น 503,975.672

ยางพาราสด 1,007,951.344

คิดเป็นเงินที่เกษตรกรได้รับ (ล้านบาท) 30,108.805

โครงการดำเนินการหลักนำทางยางธรรมชาติ RGP (ต้น)

จำนวน 1,063,651

งบประมาณ (ล้านบาท)

วงเงินโครงการ 2,202.172

รวม 85,623.774

ปริมาณยางพารา (ตัน)

ยางพาราแห้ง 302,385.404

ยางพาราข้น 503,975.672

ยางพาราสด 1,007,951.344

คิดเป็นเงินที่เกษตรกรได้รับ (ล้านบาท) 30,108.805

หมายเหตุ : 1. ปี 2563 กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทจะใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ จากการก่อสร้างผิวทางพาราแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (PARA AC) ที่ได้ลงนามในสัญญาจ้างแล้ว เป็นผิวทางแบบแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (AC)

2. ปี 2564 - 2565 กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทจะเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ มาดำเนินการต่อไป

2) แผนการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางพารา โดยใช้ยางพาราในการผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และหลักนำทางยางธรรมชาติ ซึ่งกรมทางหลวงชนบทจะกำหนดรูปแบบและมาตรฐาน ให้ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง ตามประกาศกรมส่งเสริมสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือรับรองเป็น “ร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง” พ.ศ. 2563 เป็นผู้ผลิต ทั้งนี้ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทจะจัดซื้อแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีตและหลักนำทางยางธรรมชาติดังกล่าวจากร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรองโดยตรง เพื่อนำมาใช้ในงานด้านความปลอดภัยงานทาง รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางพารา โดยตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงกำหนดวงเงิน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ. 2560 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐใช้วิธีเฉพาะเจาะจงในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท แต่เนื่องจากการจัดซื้อยางพาราดังกล่าวจากร้านสหกรณ์มีจำนวนมาก ทำให้วงเงินในการจัดซื้อครั้งหนึ่งเกิน 500,000 บาท ทำให้ไม่อาจจัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากร้านสหกรณ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรองโดยตรง ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดให้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563

3) กรมทางหลวงชนบทได้จัดทำร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง อุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพาราเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานภาครัฐ ระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในเบื้องต้นแล้ว

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีความเห็นว่าแนวทางการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ซึ่งได้มีการประชุมหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย การยางแห่งประเทศไทย และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในเบื้องต้น รวมทั้งได้มีการทดสอบการชนทั้งในประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้แล้ว โดยจากผลการศึกษาและวิจัยพบว่า ผู้ขับขี่ได้รับค่าแรงกระแทกน้อยกว่าค่ามาตรฐาน ปลอดภัยจากการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต ประกอบกับ แนวทางการดำเนินการดังกล่าวเป็นการปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ตลอดจนช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา โดยยกระดับราคายางพารา เพิ่มรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพารา และระบายผลผลิตยางพาราที่มีอยู่จำนวนมากอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะได้พิจารณาลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ (MOU) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 พฤษภาคม 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ