คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ปี 2562 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2562) (คณะรัฐมนตรีมีมติ 31 มกราคม 2560 กำหนดให้รายงานคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ) สรุปได้ ดังนี้
1. สาระสำคัญของแผนงานฯ
กฟน. มีแผนดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ที่ กฟน. ดูแลและรับผิดชอบระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ระยะทางรวม 215.6 กิโลเมตร มีกรอบระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2527-2564 รวม 5 แผน ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 48.6 กิโลเมตร ได้แก่ 1) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 5 และฉบับที่ 7 (โครงการถนนสีลม ปทุมงัน และจิตรลดา) ระยะทาง 16.2 กิโลเมตร 2) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ปี 2547-2552 (โครงการพหลโยธิน พญาไท และสุขุมวิท) ระยะทาง 24.4 กิโลเมตร และ 3) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ปี 2551 – 2556 (ฉบับปรับปรุง) ในโครงการปทุมวัน จิตรลดา พญาไท (เพิ่มเติม) ระยะทาง 6 กิโลเมตร และในส่วนของโครงการนนทรี ระยะทาง 2 กิโลเมตร
2. ผลการดำเนินการตามแผนงานฯ ณ เดือนธันวาคม 2562 ดังนี้
2.1 แผนงาน/โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ระยะทาง 167 กิโลเมตร
2.1.1 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ปี 2551-2556 (ฉบับปรับปรุง) รวมระยะทาง 25.2 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ 17.2 กิโลเมตร มีกำหนด แล้วเสร็จ ปี 2563 ประกอบด้วย
แผนงาน/โครงการ - เป้าหมายระยะทาง (กิโลเมตร)
1) โครงการนนทรี 6.3
2) โครงการพระราม 310.9
สถานะ/ผลการดำเนินการ
อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 59.22 จาก แผนงานฯ ร้อยละ 60.22 (ช้ากว่าแผนร้อยละ 1)
2.1.2 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินรัชดาภิเษก รวมระยะทาง 22.5 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2564 ประกอบด้วย
แผนงาน/โครงการ - เป้าหมายระยะทาง (กิโลเมตร)
1) โครงการรัชดาภิเษก-อโศก8.2
2) โครงการรัชดาภิเษก-พระราม 914.3
สถานะ/ผลการดำเนินการ
อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 21.27 จาก แผนงานฯ ร้อยละ 20.00 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 1.3)
2.1.3 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อรองรับ การเป็นมหานครแห่งอาเซียน รวมระยะทาง 127.3 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จ ปี 2564 อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง และการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 21.27 จากแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 22.48 (ช้ากว่าแผนงานร้อยละ 1.21) ประกอบด้วย
แผนงาน/โครงการ - เป้าหมายระยะทาง (กิโลเมตร)
1) โครงการพื้นที่เมืองชั้นใน 12.6
สถานะ/ผลการดำเนินการ
อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้แก่ ถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 ถนนอังรีดูนังต์ ถนนชิดลม และถนนสาทร ระยะทาง 2.1 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง ได้แก่ ถนนหลังสวน ถนนสารสิน ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร
2) โครงการในพื้นที่เชื่อมโยงระบบส่งระหว่างสถานีไฟฟ้าต้นทาง 7.4
สถานะ/ผลการดำเนินการ
อยู่ระหว่างก่อสร้าง : ถนนเจริญราษฎร์ ถนนเพชรบุรี และถนนดินแดง
3) โครงการในพื้นที่ก่อสร้างร่วมกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น107.3
สถานะ/ผลการดำเนินการ
โครงการในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า (87.1 กิโลเมตร) อยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ สายสีชมพู 17.6 กิโลเมตร สายสีเหลือง 15.8 กิโลเมตร สายสีน้ำเงิน 11.4 กิโลเมตร สายสีเขียวเหนือ 5.5 กิโลเมตร และ สายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-บางปิ้ง) 12.5 กิโลเมตร และ อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง ได้แก่ สายสีม่วง 7.6 กิโลเมตร สายสีส้ม 10.1 กิโลเมตร และสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 6.6 กิโลเมตร
โครงการในพื้นที่ร่วมกรุงเทพมหานคร (13.1 กิโลเมตร) อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง ได้แก่ ถนนนประชาราษฎร์สาย 1 ถนนทหาร ถนนอรุณอมรินทร์ ถนนบรมราชชนี และถนนพรานนก
โครงการในพื้นที่การประปานครหลวง (7.1 กิโลเมตร) อยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ รอบพระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน
2.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ กฟน. ได้วางแผนการเบิกจ่ายเงินในปี 2562 จำนวนเงิน 2,519.744 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2562 ได้มีการเบิกจ่ายเงินรวม 1,773.615 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 70.39 ของแผนการเบิกจ่ายฯ และจะเร่งดำเนินการเบิกจ่ายในส่วนที่เหลือโดยเร็วที่สุด
แผนงาน - งบประมาณลงทุน
1) แผนงานฯ ปี 2551-2556 (ฉบับปรับปรุง) 9,088.80
2) แผนงานฯ รัชดาภิเษก8,899.58
3) แผนงานฯ รองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน48,717.21
รวม66,705.59
แผนงาน - การเบิกจ่ายเงิน ปี 2562 (แผนการเบิกจ่าย)
1) แผนงานฯ ปี 2551-2556 (ฉบับปรับปรุง) 692.155
2) แผนงานฯ รัชดาภิเษก536.357
3) แผนงานฯ รองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน1,291.232
รวม2,519.744 (ร้อยละ 100)
แผนงาน - การเบิกจ่ายเงิน ปี 2562 (ผลการจ่าย)
1) แผนงานฯ ปี 2551-2556 (ฉบับปรับปรุง) 383.672
2) แผนงานฯ รัชดาภิเษก 236.248
3) แผนงานฯ รองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน 1,153.695
รวม 1,773.615 (ร้อยละ 70.39)
3. แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป
กฟน. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ และผู้รับจ้างเพื่อปรับแผนการดำเนินการ โดยเน้นให้เร่งรัดระยะเวลาในการก่อสร้างให้เร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานที่กำหนด รวมทั้งปัจจุบัน กฟน. ได้พิจารณาพื้นที่ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มเติม โดย กฟน. ได้นำเสนอแผนการดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 รวมระยะทาง 20.5 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2566 ประกอบด้วย พื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงถนนรัตนาธิเบศร์ ช่วงถนนราชพฤกษ์ถึงถนนกาญจนาภิเษก และช่วงถนนกรุงเทพ-นนทบุรีถึงถนนติวานนท์ และพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถนนสุขุมวิท ช่วงซอยสุขุมวิท81 – ซอยแบริ่ง
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 กรกฎาคม 2563