หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti – Corruption Education)

ข่าวการเมือง Tuesday August 18, 2020 19:00 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้

1. รับทราบรายงานผลการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti – Corruption Education) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ และให้สำนักงาน ป.ป.ช. ประสานในรายละเอียดกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย [(มท.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)] กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำหลักสูตรที่ได้ปรับปรุงใหม่ไปปรับใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป

2. ให้ ศธ. และ อว. รายงานผลสัมฤทธิ์ของการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ไปยังสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อทราบต่อไป

3. ให้สำนักงาน ป.ป.ช. รับความเห็นของ สงป. และ สศช. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของเรื่อง

คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า

1. สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการกำกับ ติดตาม การขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ทั้ง 5 หลักสูตร สรุปผลการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้

1.1 ผลการดำเนินการสังกัด จำนวนโรงเรียน/หน่วยงานนำไปใช้ (แห่ง)

1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต)

1.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 29,871

1.2 สช. 685

แนวทางการนำไปใช้

  • เปิดรายวิชาเพิ่มเติม
  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/บูรณาการกับวิถีชีวิตในโรงเรียน
  • บูรณาการการเรียนการสอนกับกลุ่มสาระต่าง ๆ

1.3 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 34

แนวทางการนำไปใช้

จัดทำเป็นรายวิชาเลือกเสรี

1.4 สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) 914

แนวทางการนำไปใช้

เพิ่มเติมในกิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

1.5 สำนักงานการศึกษา (กทม.) 0

แนวทางการนำไปใช้

กำหนดนำไปใช้ในปีการศึกษา 2562

1.6 สถ. 20,536

แนวทางการนำไปใช้

บูรณาการร่วมกับกิจกรรมในหลักสูตร “โตไปไม่โกง”

รวม 52,040 แห่ง (จาก 56,283 แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ 92.46)

2. หลักสูตรอุดมศึกษา (วัยใส ใจสะอาด “Youngster with good heart”)

2.1 สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา 38

2.2 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 1

แนวทางการนำไปใช้

  • จัดทำเป็น 1 วิชาจำนวน 3 หน่วยกิต
  • จัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้
  • จัดทำเป็นวิชาเลือก

รวม 39 แห่ง (จาก 157 แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ 24.84)

3. หลักสูตรกลุ่มทหารและตำรวจ (หลักสูตรตามแนวทางรับราชการ กลุ่มทหารและตำรวจ)

3.1 กห. 1

3.2 ตช. 1

แนวทางการนำไปใช้

สอดแทรกในการฝึกอบรม

รวม 2 แห่ง (จาก 2 แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ 100)

4. หลักสูตรวิทยากร ป.ป.ช./บุคลากรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ (สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต)

4.1 หน่วยงานภาครัฐ 16

4.2 หน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจ 28

แนวทางการนำไปใช้

การฝึกอบรม

รวม 44 แห่ง (จาก 76 แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ 57.89)

5. หลักสูตรโค้ช (โค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต)

5.1 ระดับพื้นที่จังหวัด 76

5.2 กทม. 1

แนวทางการนำไปใช้

การฝึกอบรม

รวม 77 แห่ง (จาก 77 แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ 100)

1.2 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข

ปัญหาและอุปสรรค

1. มีหลักสูตรที่ไม่สามารถขับเคลื่อนการนำไปใช้ตามหน่วยงานเป้าหมาย เนื่องจากเนื้อหาของหลักสูตรมีรายละเอียดน้อย ผู้สอนไม่มีความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับหลักสูตร

แนวทางแก้ไขปัญหา

  • ศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากคู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและกรณีตัวอย่างคดีเพิ่มเติม จากสำนักงาน ป.ป.ช.
  • ควรมีสื่อการสอนที่เข้าใจง่าย
  • ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
  • กำหนดกลไกในการบริหารจัดการ ติดตาม และรายงานผลการนำหลักสูตรไปปรับใช้เป็นการเฉพาะ

2. ไม่สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์เฉพาะหลักสูตรได้ เนื่องจากแนวทางการนำหลักสูตรไปปรับใช้เดิมมีรูปแบบการนำไปใช้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะลักษณะบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ

แนวทางแก้ไขปัญหา

จัดให้มีเพียง 1 แนวทางการปรับใช้ สำหรับแต่ละหลักสูตร คือ

  • หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน : เปิดรายวิชาเพิ่มเติม
  • หลักสูตรอุดมศึกษา : จัดทำเป็น 1 รายวิชา จำนวน 3 หน่วยกิต
  • หลักสูตรกลุ่มทหารและตำรวจ/หลักสูตรวิทยากร ป.ป.ช./บุคลากรภาครัฐและพนักงานรัฐวิสาหกิจ : ฝึกอบรม สัมมนา

2. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 56/2563 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti – Corruption Education) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และให้หน่วยงานต่าง ๆ พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. อยู่ระหว่างทบทวนปรับปรุงหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 สิงหาคม 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ