คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินกู้เงินบาทตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 สำหรับหนี้เงินกู้ภายใต้ Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme ที่ครบกำหนดในวันที่ 5 สิงหาคม 2548 จำนวน 685 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้ธนาคารโลกจำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชียจำนวน 285 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.19 ต่อปี และมีระยะเงินกู้คงเหลือโดยเฉลี่ย 4.8 ปี โดยใช้เงินกู้เงินบาท ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เงินบาทต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศข้างต้น รวมทั้งเพื่อเป็นการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1. การจัดหาเงินตราต่างประเทศจำนวน 685 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำไปชำระหนี้ในวันที่ 5 สิงหาคม 2548 โดยการซื้อเงินเหรียญสหรัฐล่วงหน้า (Forward) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ณ อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย 41.1317 บาท/เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาทจำนวน 28,175.24 ล้านบาท (เนื่องจากค่าของเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2548 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 41.8853 บาท/เหรียญสหรัฐ ดังนั้นการซื้อเงินล่วงหน้าทำให้ประหยัดเงินจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ 516.19 ล้านบาท) โดยใช้เงินกู้เงินบาทจำนวน 27,500 ล้านบาท และ เงินงบประมาณเพื่อการชำระหนี้จำนวน 675.24 ล้านบาท ในการชำระค่าซื้อเงินตราต่างประเทศดังกล่าว
2. ในการจัดหาเงินกู้เงินบาทจำนวน 27,500 ล้านบาท กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นจำนวน 24,500 ล้านบาท รวมกับเงินที่ได้จากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ครั้งที่ 1 งวดแรกจำนวน 3,000 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระหนี้ที่ครบกำหนด หลังจากนั้นได้มีการทยอยประมูลพันธบัตรอีก 8 งวด เป็นเงินรวม 24,500 ล้านบาท ไปชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้นจนครบ
3. การดำเนินการกู้เงินบาทโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลนี้ มีต้นทุนการกู้เงินที่แท้จริงเท่ากับ ร้อยละ 4.4011 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยของเงินกู้ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชียที่อยู่ที่ระดับ ร้อยละ 6.19 ต่อปี ทำให้กระทรวงการคลังสามารถประหยัดภาระดอกเบี้ยเป็นเงินประมาณ 1,400 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี
4. เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กระทรวงการคลังจะต้องประกาศผลการกู้เงินในราชกิจจานุเบกษาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญากู้หรือออกตราสารหนี้ กระทรวงการคลังจึงขอให้ลงประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ครั้งที่ 1 ในราชกิจจานุเบกษาภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 สำหรับหนี้เงินกู้ภายใต้ Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme ที่ครบกำหนดในวันที่ 5 สิงหาคม 2548 จำนวน 685 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้ธนาคารโลกจำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชียจำนวน 285 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.19 ต่อปี และมีระยะเงินกู้คงเหลือโดยเฉลี่ย 4.8 ปี โดยใช้เงินกู้เงินบาท ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เงินบาทต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศข้างต้น รวมทั้งเพื่อเป็นการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1. การจัดหาเงินตราต่างประเทศจำนวน 685 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำไปชำระหนี้ในวันที่ 5 สิงหาคม 2548 โดยการซื้อเงินเหรียญสหรัฐล่วงหน้า (Forward) จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ณ อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย 41.1317 บาท/เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาทจำนวน 28,175.24 ล้านบาท (เนื่องจากค่าของเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2548 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 41.8853 บาท/เหรียญสหรัฐ ดังนั้นการซื้อเงินล่วงหน้าทำให้ประหยัดเงินจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ 516.19 ล้านบาท) โดยใช้เงินกู้เงินบาทจำนวน 27,500 ล้านบาท และ เงินงบประมาณเพื่อการชำระหนี้จำนวน 675.24 ล้านบาท ในการชำระค่าซื้อเงินตราต่างประเทศดังกล่าว
2. ในการจัดหาเงินกู้เงินบาทจำนวน 27,500 ล้านบาท กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นจำนวน 24,500 ล้านบาท รวมกับเงินที่ได้จากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ครั้งที่ 1 งวดแรกจำนวน 3,000 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระหนี้ที่ครบกำหนด หลังจากนั้นได้มีการทยอยประมูลพันธบัตรอีก 8 งวด เป็นเงินรวม 24,500 ล้านบาท ไปชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้นจนครบ
3. การดำเนินการกู้เงินบาทโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลนี้ มีต้นทุนการกู้เงินที่แท้จริงเท่ากับ ร้อยละ 4.4011 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยของเงินกู้ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชียที่อยู่ที่ระดับ ร้อยละ 6.19 ต่อปี ทำให้กระทรวงการคลังสามารถประหยัดภาระดอกเบี้ยเป็นเงินประมาณ 1,400 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี
4. เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กระทรวงการคลังจะต้องประกาศผลการกู้เงินในราชกิจจานุเบกษาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญากู้หรือออกตราสารหนี้ กระทรวงการคลังจึงขอให้ลงประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการกู้เงินด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ครั้งที่ 1 ในราชกิจจานุเบกษาภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--