คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการและแนวทางการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. มาตรการเร่งรัดติดตามในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
1.1 กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ในภาพรวมไว้ในอัตราร้อยละ 93 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย 1,360,000 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายลงทุนเห็นสมควรกำหนดเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 73 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละส่วนราชการ โดยเป้าหมายในภาพรวมข้างต้นแยกเป็นรายไตรมาส ดังนี้
ไตรมาสที่ เป้าหมายการเบิกจ่าย เป้าหมายการเบิกจ่ายสะสม เป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายสะสม
แต่ละไตรมาส (ล้านบาท) ณ สิ้นไตรมาส (ล้านบาท) ณ สิ้นไตรมาส (%)
1 299,200 299,200 22.0
2 326,400 625,600 46.0
3 312,800 938,400 69.0
4 326,400 1,264,800 93.0
การกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2549 สูงกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายในภาพรวม และรายจ่ายลงทุนสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด และได้มีการพิจารณาโครงสร้างงบประมาณและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1.1 โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มีสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำร้อยละ 73.7 ของวงเงินงบประมาณ (1,360,000 ล้านบาท) โดยในจำนวนนี้เป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม จำนวน 145,844 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.7 ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งโดยปกติรายจ่ายประเภทดังกล่าวจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งจำนวนภายในปีงบประมาณ
1.1.2 สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเต็มตามจำนวนวงเงินงบประมาณรายจ่าย ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีประกาศใช้บังคับแล้ว และให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ภายหลังจากวันประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ให้มีผลตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณหรือวันที่กำหนดเป็นวันเริ่มต้นการบังคับใช้กฎหมายแล้วแต่กรณี ยกเว้นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณก่อน
1.1.3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 การจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของเงินอุดหนุนทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับกระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลมากขึ้น
1.2 ให้คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินภาครัฐในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เพราะนับจากที่คณะรัฐมนตรี มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา คณะกรรมการฯ ก็ได้ดำเนินการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการเบิกจ่ายเงินและเสนอมาตรการต่าง ๆ ที่ส่งผลให้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสูงขึ้นทุกปี
1.3 ให้นำอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ซึ่ง ก.พ.ร. ได้เห็นชอบกำหนดเป็นตัวชี้วัดตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้ว
2. แนวทางการดำเนินงานของส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ
2.1 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการสำรวจ กำหนดคุณลักษณะ ออกแบบ สถานที่ การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้า
2.2 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยเร่งดำเนินการโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผนงบประมาณ แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ผลผลิตหรือโครงการ ประเภทงบรายจ่ายและรายการในงบรายจ่าย ที่ต้องดำเนินการในเขตพื้นที่จังหวัด ยกเว้นงบบุคลากรประเภทเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ไปยังสำนักเบิกส่วนภูมิภาคนั้น ๆ ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้โดยไม่ชักช้า แต่อย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
2.3 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 (สิ้นเดือนมีนาคม 2549)
2.4 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการตรวจรับงานและเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ
2.5 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดเร่งแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานในการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยทำหน้าที่ในการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตลอดจนติดตามปัญหาอุปสรรคในการเบิกจ่ายเงินและดำเนินการตามมาตรการและแนวทางที่คณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 กำหนดต่อไป
2.6 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรายงานปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามเป้าหมายจำแนกเป็นรายโครงการส่งให้กรมบัญชีกลางในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ทราบเป็นประจำทุกไตรมาส โดยขอให้รายงานภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 กุมภาพันธ์ พฤษภาคม และสิงหาคม 2549 เพื่อจะได้รวบรวมเสนอ คณะกรรมการฯ พิจารณาแนวทางในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป
3. แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานกลาง
3.1 กระทรวงการคลังจะมอบหมายให้กรมบัญชีกลางรายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ พ.ศ. 2549 และปัญหาอุปสรรค รวมทั้งมาตรการที่ควรดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบ
สำหรับรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ติดตามผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานในสังกัดผ่านทางระบบ GFMIS
3.2 สำนักงบประมาณควรพิจารณาหาแนวทางแก้ไขกรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถดำเนินการตามโครงการต่าง ๆ เนื่องจากได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น
3.3 ให้สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานผลการ ติดตามการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. มาตรการเร่งรัดติดตามในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
1.1 กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ในภาพรวมไว้ในอัตราร้อยละ 93 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย 1,360,000 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายลงทุนเห็นสมควรกำหนดเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 73 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละส่วนราชการ โดยเป้าหมายในภาพรวมข้างต้นแยกเป็นรายไตรมาส ดังนี้
ไตรมาสที่ เป้าหมายการเบิกจ่าย เป้าหมายการเบิกจ่ายสะสม เป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายสะสม
แต่ละไตรมาส (ล้านบาท) ณ สิ้นไตรมาส (ล้านบาท) ณ สิ้นไตรมาส (%)
1 299,200 299,200 22.0
2 326,400 625,600 46.0
3 312,800 938,400 69.0
4 326,400 1,264,800 93.0
การกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2549 สูงกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายในภาพรวม และรายจ่ายลงทุนสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด และได้มีการพิจารณาโครงสร้างงบประมาณและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1.1 โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มีสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำร้อยละ 73.7 ของวงเงินงบประมาณ (1,360,000 ล้านบาท) โดยในจำนวนนี้เป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม จำนวน 145,844 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.7 ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งโดยปกติรายจ่ายประเภทดังกล่าวจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งจำนวนภายในปีงบประมาณ
1.1.2 สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเต็มตามจำนวนวงเงินงบประมาณรายจ่าย ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีประกาศใช้บังคับแล้ว และให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ภายหลังจากวันประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ให้มีผลตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณหรือวันที่กำหนดเป็นวันเริ่มต้นการบังคับใช้กฎหมายแล้วแต่กรณี ยกเว้นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณก่อน
1.1.3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 การจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของเงินอุดหนุนทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับกระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลมากขึ้น
1.2 ให้คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินภาครัฐในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เพราะนับจากที่คณะรัฐมนตรี มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา คณะกรรมการฯ ก็ได้ดำเนินการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการเบิกจ่ายเงินและเสนอมาตรการต่าง ๆ ที่ส่งผลให้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสูงขึ้นทุกปี
1.3 ให้นำอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ซึ่ง ก.พ.ร. ได้เห็นชอบกำหนดเป็นตัวชี้วัดตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้ว
2. แนวทางการดำเนินงานของส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ
2.1 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการสำรวจ กำหนดคุณลักษณะ ออกแบบ สถานที่ การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้า
2.2 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยเร่งดำเนินการโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผนงบประมาณ แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ผลผลิตหรือโครงการ ประเภทงบรายจ่ายและรายการในงบรายจ่าย ที่ต้องดำเนินการในเขตพื้นที่จังหวัด ยกเว้นงบบุคลากรประเภทเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ไปยังสำนักเบิกส่วนภูมิภาคนั้น ๆ ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้โดยไม่ชักช้า แต่อย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
2.3 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 (สิ้นเดือนมีนาคม 2549)
2.4 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการตรวจรับงานและเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ
2.5 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดเร่งแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานในการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยทำหน้าที่ในการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตลอดจนติดตามปัญหาอุปสรรคในการเบิกจ่ายเงินและดำเนินการตามมาตรการและแนวทางที่คณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 กำหนดต่อไป
2.6 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรายงานปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามเป้าหมายจำแนกเป็นรายโครงการส่งให้กรมบัญชีกลางในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ทราบเป็นประจำทุกไตรมาส โดยขอให้รายงานภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 กุมภาพันธ์ พฤษภาคม และสิงหาคม 2549 เพื่อจะได้รวบรวมเสนอ คณะกรรมการฯ พิจารณาแนวทางในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป
3. แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานกลาง
3.1 กระทรวงการคลังจะมอบหมายให้กรมบัญชีกลางรายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ พ.ศ. 2549 และปัญหาอุปสรรค รวมทั้งมาตรการที่ควรดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบ
สำหรับรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ติดตามผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานในสังกัดผ่านทางระบบ GFMIS
3.2 สำนักงบประมาณควรพิจารณาหาแนวทางแก้ไขกรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถดำเนินการตามโครงการต่าง ๆ เนื่องจากได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น
3.3 ให้สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานผลการ ติดตามการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--