คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ฉบับปรับปรุงของประเทศไทย (Thailand?s Updated NDC) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
สาระสำคัญของ (ร่าง) NDC ฉบับปรับปรุงของประเทศไทยยังคงยืนยันเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามที่ได้จัดส่งไปใน Intended Nationally Determined Contribution: IND (NDC ฉบับที่ 1) คือการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ? 25 จากกรณีปกติในปี 2573 โดยได้มีการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพิ่มเติมรายละเอียดแนวทางและมาตรการดำเนินงานให้ชัดเจน ทั้งนี้ (ร่าง) NDC ฉบับปรับปรุงของประเทศไทย มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
- กรณีฐาน: คาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีปกติ (BAU) จากปีฐาน พ.ศ. 2548
- กรอบเวลาดำเนินการ: ปี 2564 ? 2573
- เป้าหมาย: ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงจากกรณีปกติ (BAU)
- ภาคส่วน: ทุกภาคเศรษฐกิจ ยกเว้น ภาคการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และป่าไม้ เช่น ภาคพลังงาน ภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
- ก๊าซ: คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน ซัลเฟอร์ เฮกซะฟลูออไรด์
- แผนการดำเนินงาน: เป้าหมาย NDC ของประเทศไทยได้ถูกบูรณาการในยุทธศาสตร์และแผนต่าง ๆ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 ? 2564 แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 -2593 แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 ? 2573 (NDC Roadmap) แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2563 ? 2573 รายสาขา เป็นต้น
หัวข้อ: 2. การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation Component)
สาระสำคัญ: ประเทศไทยได้จัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan: NAP) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 6 สาขา ได้แก่ การจัดการน้ำ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว การสาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีกรอบระยะเวลาระหว่างปี 2561 - 2580
- การดำเนินการตามนโยบาย เช่น การสนับสนุนด้านเทคนิคเพื่อใช้ในการวิเคราะห์แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเสริมสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานรายสาขาและระดับภูมิภาค เป็นต้น
- การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- เครื่องมือและกลไกสนับสนุนการดำเนินการ เช่น การพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลของการดำเนินงานนโยบายด้านกลไกทางการเงินระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ข้อมูลด้านภูมิอากาศ และระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับการจัดการภัยพิบัติ
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน และมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเลขานุการ มีมติเห็นชอบต่อ (ร่าง) NDC ฉบับปรับปรุงของประเทศไทยดังกล่าวแล้ว
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ตุลาคม 2563