มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563 (ครั้งที่ 150)

ข่าวการเมือง Tuesday October 20, 2020 17:01 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2563 (ครั้งที่ 150) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เสนอ ดังนี้

1. พิจารณา จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่

(1) ร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 ? 2580 (Alternative Energy Development Plan 2018 : AEDP2018)

(2) ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 ? 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (Power Development Plan : PDP2018 Rev.1)

(3) ร่างแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 ? 2580 (Energy Efficiency Plan : EEP2018)

(4) ร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2561 ? 2580 (Gas Plan 2018)

(5) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 ? 2567 ซึ่งเป็นแผนระดับ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

2. รับทราบ จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ (1) แนวทางการส่งเสริมพื้นที่ติดตั้งสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station Mapping) (2) การศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าและการจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า (3) โครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox) (4) การกำหนดอัตราส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และ (5) ขอปรับปรุงหลักการและรายละเอียดโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

สาระสำคัญของเรื่อง

พน. รายงานว่า ในคราวประชุม กพช. ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาและมีมติในเรื่องเชิงนโยบายที่สำคัญและได้รับรองมติการประชุมเรียบร้อยแล้ว จำนวน 10 เรื่อง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. ร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 ? 2580 (Alternative Energy Development Plan 2018 : AEDP2018) เพื่อรักษาเป้าหมายรวมในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (ไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ) ต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายที่ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 (ตามแผน AEDP2015) โดยปรับกรอบระยะเวลาให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) สรุปได้ดังนี้

1.1 เป้าหมายกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก จำนวน 10 ประเภทเชื้อเพลิง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 18,696 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 52,894 ล้านหน่วย ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ณ ปี พ.ศ. 2580 เป็นร้อยละ 34.23 ซึ่งมากกว่าแผน AEDP2015 ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 20.11 ในปี พ.ศ. 2579 ได้แก่

ประเภทพลังงาน - กำลังการผลิต (เมกะวัตต์)

แผน AEDP2015

พลังงานแสงอาทิตย์6,000

พลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ-

ชีวมวล5,570

พลังงานลม3,002

ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย)1,280

ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน)

ขยะชุมชน500

ขยะอุตสาหกรรม50

พลังน้ำขนาดเล็ก376

พลังน้ำขนาดใหญ่2,906

รวม19,684

แผน AEDP2018

พลังงานแสงอาทิตย์9,290

พลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ2,725

ชีวมวล3,500

พลังงานลม1,485

ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย)183

ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน)1,000

ขยะชุมชน400

ขยะอุตสาหกรรม44

พลังน้ำขนาดเล็ก69

พลังน้ำขนาดใหญ่-

รวม18,696

1.2 เป้าหมายการผลิตพลังงานความร้อนจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยมีสัดส่วนการผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทนต่อความต้องการใช้พลังงานความร้อนทั้งประเทศ ณ ปี พ.ศ. 2580 เป็นร้อยละ 41.61 ซึ่งมากกว่าแผน AEDP2015 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 36.67 ณ ปี พ.ศ. 2579

ประเภทเชื้อเพลง - ความร้อนที่ผลิตได้ (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ)

แผน AEDP2015

ชีวมวล22,100

ก๊าซชีวภาพ1,283

ขยะ495

พลังงานแสงอาทิตย์

และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ1,210

ไบโอมีเทน-

รวม25,088

แผน AEDP2018

ชีวมวล23,000

ก๊าซชีวภาพ1,283

ขยะ495

พลังงานแสงอาทิตย์

และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ100

ไบโอมีเทน2,023

รวม26,901

1.3 เป้าหมายการผลิตเชื้อเพลิงในภาคขนส่งจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก จำนวน 5 ประเภทเชื้อเพลิง ความต้องการเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง 40,890 พันตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยมีสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพต่อความต้องการใช้เชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ณ ปี พ.ศ. 2580 ร้อยละ 9.99 ซึ่งน้อยกว่าแผน AEDP2015 ร้อยละ 25.04 ณ ปี พ.ศ. 2579

ประเภทเชื้อเพลิง - ความร้อนที่ผลิตได้ (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ)

AEDP2015

เอทานอล2,104

ไบโอดีเซล4,405

น้ำมันไพโรไลซิส171

ไบโอมีเทน2,023

เชื้อเพลิงทางเลือกอื่น ๆ10

รวม8,713

AEDP2018

เอทานอล1,396

ไบโอดีเซล2,517

น้ำมันไพโรไลซิส171

ไบโอมีเทน-

เชื้อเพลิงทางเลือกอื่น ๆ-

รวม4,085

1.4 กพช. มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 ? 2580 (AEDP2018) ตามที่ พน. เสนอ

2. ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 ? 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Rev.1)

2.1 เปรียบเทียบ PDP2018 กับ PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 สรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ

การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าในช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2580

PDP2018

ปี 2580 พลังไฟฟ้าสูงสุด 53,997 เมกะวัตต์ พลังงานไฟฟ้า 367,458 ล้านหน่วย

PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

คงเดิม

ภาพรวมของกำลังการผลิตไฟฟ้า ในช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2580

PDP2018

77,211 เมกะวัตต์

PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

คงเดิม

กำลังผลิตโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2561 ? 2580 แยกตามประเภทโรงไฟฟ้า (เฉพาะที่เปลี่ยนแปลง)

PDP2018

โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม 13,156 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์ 1,740 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าใหม่/ทดแทน 8,300 เมกะวัตต์

PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

รงไฟฟ้าความร้อนร่วม 15,096 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์ 1,200 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าใหม่/ทดแทน 6,900 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ตามแผน AEDP ในช่วงปี พ.ศ. 2561 ? 2580

PDP2018

ภาพรวม 18,696 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการโรงไฟฟ้าตามนโยบายส่งเสริมภาครัฐ (นโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก นโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน) 520 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าตามแผน AEDP

18,176 เมกะวัตต์

PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

ภาพรวมคงเดิม 18,696 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าตามนโยบายส่งเสริมภาครัฐ 2,453 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าตามแผน AEDP 16,243 เมกะวัตต์

สัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าแยกตามประเภทเชื้อเพลิง (เฉพาะที่เปลี่ยนแปลงไป)

PDP2018

เชื้อเพลิงถ่านหินและลิกไนต์ร้อยละ 12 พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 20

PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

เชื้อเพลิงถ่านหินและลิกไนต์ร้อยละ 11 พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 21

สัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าแยกตามประเภทเชื้อเพลิง (เฉพาะที่เปลี่ยนแปลงไป)

PDP2018

เชื้อเพลิงถ่านหินและลิกไนต์ร้อยละ 12 พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 20

PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

เชื้อเพลิงถ่านหินและลิกไนต์ร้อยละ 11 พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 21

การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ปี พ.ศ. 2580

PDP2018

0.283 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง 103,845 พันตัน

PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

0.271 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง 99,712 พันตัน

ประมาณการค่าไฟฟ้าขายปลีกปี พ.ศ. 2580

PDP2018

3.61 บาทต่อหน่วย

PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

3.72 บาทต่อหน่วย

2.2 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีความเห็น ดังนี้ (1) การปรับแผนการจัดหาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนไม่กระทบต่อความมั่นคง (2) การปรับแผนการจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนโดยให้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากจำนวน 1,933 เมกะวัตต์ ในช่วงปี 2563 - 2567 จะมีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนควรพิจารณาด้านปริมาณ ราคา และระยะเวลาที่เหมาะสม (3) ควรมีการพิจารณาทบทวนปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศให้เท่าทันและสอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีการปรับเปลี่ยนไป รวมทั้งการปฏิบัติตามมาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นขึ้นของประเทศคู่ค้าด้วย

2.3 กพช. มีมติ ดังนี้

2.3.1 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Rev.1) ตามที่ พน. เสนอ

2.3.2 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ในปริมาณ 700 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ ให้ พน. ทำการประเมินผลการดำเนินงานในเรื่องของผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจฐากราก และความยั่งยืนของโครงการฯ ให้ กพช. ทราบด้วย

2.4 พน. ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า พน. มีนโยบายการส่งเสริมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก กพช. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 และได้บรรจุโครงการฯ ไว้ในแผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 และแผน AEDP2018 ทั้งนี้ โครงการฯ ได้กำหนดเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าในช่วงปี 2563 ? 2567 ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,933เมกะวัตต์ โดยจะดำเนินการในระยะแรกปี 2563 ? 2564 ปริมาณ 700 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการ Quick Win ที่มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในปี 2563 จำนวน 100 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2564 จำนวน 600 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ พน. จะประเมินผลการดำเนินงานโครงการระยะแรกในเรื่องผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจฐานรากและความยั่งยืนของโครงการฯ ก่อนแล้วจึงจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือจำนวน 1,233 เมกะวัตต์ ในปี 2564 - 2567 เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

3. ร่างแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 - 2580 (Energy Efficiency Plan 2018 : EEP2018) มีรายละเอียด ดังนี้

3.1 มีเป้าหมายในการลดความเข้มการใช้พลังงาน (EI) ลงร้อยละ 30 ภายในปี พศ. 2580 เมื่อเทียบกับปี พศ. 2553 คือ ลดการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศ ณ ปี พ.ศ. 2580 จากระดับ 181,238 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในกรณีปกติลดลงไปอยู่ที่ระดับ 126,867 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นเป้าหมายผลการประหยัดพลังงานเท่ากับ 54,371 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยผลการดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2554 ? 2560 คิดเป็นพลังงานที่ประหยัดได้สะสมประมาณ 5,307 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และสามารถลดความเข้มการใช้พลังงาน (EI) ลงได้ร้อยละ 7.63

3.2 มีเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ให้ได้ทั้งสิ้น 49,064 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบของปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2553

3.3 ปรับกลยุทธ์การขับเคลื่อนแผนฯ โดยมุ่งเน้นไปที่เป้าหมาย 5 สาขาเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า บ้านอยู่อาศัย เกษตรกรรม และขนส่ง แบ่งเป็น 3 กลยุทธ์ คือ

3.3.1 กลยุทธ์ภาคบังคับ มีการกำกับดูแลให้ผู้ใช้พลังงานรายใหญ่ในภาคภาคส่วนต่าง ๆ ต้องมีการใช้พลังงานเป็นไปตาม มาตรฐาน มาตรการ/วิธีการกำหนดขึ้นอย่างเหมาะสม

3.3.2 กลยุทธ์ภาคส่งเสริม มีมาตรการสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อเร่งรัดให้มีการตัดสินใจลงทุนเปลี่ยนอุปกรณ์ หรือดำเนินมาตรการด้านอนุรักษ์พลังงาน การส่งสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน ทั้งนี้ กลยุทธ์ภาคส่งเสริมจะลดความต้องการใช้พลังงานลงร้อยละ 62 คิดเป็นไฟฟ้า 8,862 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ คิดเป็นความร้อน 21,786 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

3.3.3 กลยุทธ์ภาคสนับสนุน ช่วยเสริมกลยุทธ์ภาคบังคับ และกลยุทธ์ภาคส่งเสริมให้เกิดผลประหยัดด้านพลังงาน

3.4 กพช. มีมติเห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 ? 2580 (EEP2018) ตามที่ พน. เสนอ

4. ร่างแผนบริหารจัดการก๊าชธรรมชาติ พ.ศ. 2561 ? 2580 (Gas Plan 2018) มีรายละเอียด ดังนี้

4.1 กรอบแนวคิดและเป้าหมายของ Gas Plan 2018 ได้แก่ ส่งเสริมการใช้ก๊าชธรรมชาติในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศ เร่งรัดการสำรวจและผลิตก๊าชธรรมชาติจากแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศ พื้นที่พัฒนาร่วมและพื้นที่ทับซ้อน พัฒนาและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ

4.2 สมมติฐานความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ ภาคการผลิตไฟฟ้า ประมาณการตาม PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ใช้ก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซ (ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิต LPG และปิโตรเคมี) ประมาณการตามปริมาณก๊าชธรรมชาติในอ่าวไทย ภาคอุตสาหกรรมประมาณการตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งการคาดการณ์ GDP ปี พ.ศ. 2561 ? 2580 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.8 ต่อปี และคำนึงถึงแผนการขยายโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ภาคขนส่งประมาณการตามแนวโน้มจำนวนรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Vehicles : NGV)

4.3 ประมาณการความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.7 ต่อปี คาดว่าในปี พ.ศ. 2580 จะอยู่ที่ระดับ 5,348 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แบ่งเป็นการผลิตไฟฟ้า ร้อยละ 67 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 21 โรงแยกก๊าซฯ ร้อยละ 11 และภาคขนส่งร้อยละ 1

4.4 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติ (21 กุมภาพันธ์ 2563) เห็นชอบร่าง Gas Plan 2018 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำแผนโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับ Gas Plan 2018 รวมถึงศึกษาทบทวนโครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (Floating Storage and Regasification Unit : FSRU) ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน [F-1] เพื่อให้การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

4.5 กพช. มีมติเห็นชอบแผน Gas Plan 2018 ตามที่ พน. เสนอ และมอบหมายให้ สนพ. จัดทำแผนโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับ Gas Plan 2018รวมถึงศึกษาทบทวนโครงการ FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน [F-1] เพื่อให้การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และนำเสนอ กพช. พิจารณาต่อไป

5. แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 - 2567

5.1 แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 ? 2567 มีรายละเอียด ดังนี้

5.1.1 เป้าประสงค์ ดังนี้

เป้าประสงค์ที่ 1 ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศมีเสถียรภาพ ไม่ปรับตัวอย่างรุนแรงในทันที

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 1.1 กำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บเงินเข้าและการชดเชยเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ชัดเจน เพื่อความโปร่งใสและทันท่วงทีในการรักษาเสถียรภาพระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มน้ำมันดีเซล กลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล และก๊าซ LPG (ทั้งนี้ จะไม่มีการชดเชยราคาก๊าซ NGV)

เป้าประสงค์ที่ 2 มีระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 2.1 พัฒนาข้อมูลและระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

เป้าประสงค์ที่ 3 เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 3.1 ประชาสัมพันธ์เชิงรุกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

กลยุทธ์ที่ 3.2 สร้างภาพลักษณ์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

5.1.2 แนวทางการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้

(1) ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำการแยกบัญชีตามกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ กลุ่มน้ำมันดีเซล กลุ่มน้ำมันเบนซิน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพื่อหลีกเลี่ยงการอุดหนุนราคาข้ามกลุ่มเชื้อเพลิง

(2) มีกรอบความต่างของราคาระหว่างราคาเชื้อเพลิงหลักของกลุ่มน้ำมันดีเซล และกลุ่มน้ำมันเบนซินในกรณีเกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเท่ากับความต่างของราคาในสถานการณ์ราคาปกติ อย่างไรก็ตาม หากเกิดวิกฤตที่คาดว่าจะยาวนานจนส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ทำให้เงินกองทุนน้ำมันขาดสภาพคล่องให้พิจารณาอุดหนุนราคาดีเซลชนิดเดียว

(3) ชดเชยราคาน้ำมันเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ

(4) เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงที่ราคาลง เพื่อสะสมเงินให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีสภาพคล่อง และ

(5) ทบทวนแนวทางการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

5.2 แผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 ? 2567 มีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อ - รายละเอียด

วิสัยทัศน์

เป็นกองทุนที่รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีประสิทธิภาพ และ ธรรมาภิบาล

พันธกิจ

5 พันธกิจสำคัญ ประกอบด้วย

(1) รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและป้องกันแก้ไขภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง

(2) บริหารจัดการกองทุนน้ำมันฯ อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

(3) ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันฯ

(4) บริหารจัดการระบบสารสนเทศของกองทุนน้ำมันฯ อย่างมีประสิทธิภาพ และ

(5) เผยแพร่ข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันฯ ต่อสาธารณะ

ยุทธศาสตร์

(1) การรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

(2) การลดการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ

(3) การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามหลักธรรมาภิบาล

5.3 กพช. มีมติเห็นชอบแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเสนอ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ กพช. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

6. เรื่องที่ กพช. มีมติเห็นชอบและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ จำนวน 5 เรื่อง มีรายละเอียด ดังนี้

1. แนวทางการสงเสริมพื้นที่ ติดตั้งสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station Mapping)

มติ กพช.

เห็นชอบแนวทางการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าตามที่ พน. เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป

2. การศึกษาอัตราค่าไฟฟ้า และการจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า

มติ กพช.

1. รับทราบรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับระบบขนส่งสาธารณะ และศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าและการจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า

2. เห็นชอบแนวทางการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า โดยใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบคงที่ตลอดทั้งวัน มีค่าเท่ากับอัตราค่าพลังงานไฟฟ้า ช่วงเวลา Off Peak ของผู้ใช้ไฟฟ้าตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบันประเภท 2.2 กิจการขนาดเล็ก อัตราตามช่วงเวลา (เท่ากับ 2.6369 บาทต่อหน่วย สำหรับแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า 22 kV) โดยอัตราดังกล่าวต้องใช้กับเงื่อนไขการบริหารจัดการแบบ Low Priority หรือการใช้ไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้ามีความสำคัญลำดับรอง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ไฟฟ้า

เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป และสามารถควบคุม ปรับลด หรือตัดการใช้ไฟฟ้าของสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ เมื่อมีข้อจำกัดด้านความจุไฟฟ้าของระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น และรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อปฏิบัติทางเทคนิคของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตามพื้นที่รับผิดชอบ และใช้เป็นระยะเวลา 2 ปี หรือจนกว่าจะมีประกาศโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่

3. โครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox)

มติ กพช.

1. รับทราบการดำเนินโครงการ ERC Sandbox ของสำนักงาน กกพ.

2. เห็นชอบในหลักการให้ผ่อนปรนให้มีการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างเอกชนกับเอกชนผ่านโครงข่ายของการไฟฟ้า โดยใช้อัตราค่าบริการตามที่ กกพ. กำหนดภายใต้การกำกับของ กกพ. ร่วมกับการไฟฟ้า ทั้ง 3 แห่ง ในพื้นที่การดำเนินโครงการ ERC Sandbox โดยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมเพื่อใช้ในการทดสอบนวัตกรรมไม่เกิน 50 เมกะวัตต์ ระยะเวลาแต่ละโครงการไม่เกิน 2 ปี ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการต้องไม่ได้รับผลกำไรในเชิงการค้าจากการดำเนินโครงการ โดยให้คำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานในการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า

4. การกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

มติ กพช.

1. เห็นชอบกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนช้า ที่อัตราคงเดิม 0.1 บาทต่อลิตร ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการต่าง ๆ ในเรื่องต้นทุนรายจ่ายด้านพลังงาน โดยพิจารณาระดับฐานะการเงินที่ไม่กระทบภารกิจของกองทุนฯ ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน

2. เห็นชอบร่างประกาศ กพช. เรื่อง การกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร และน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามา เพื่อใช้ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ กพช. นำเสนอประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติลงนามต่อไป

5. ขอปรับปรุงหลักการและรายละเอียดโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

มติ กพช.

เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักการและรายละเอียดของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 และวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ดังนี้

1. โรงไฟฟ้าชุมชนให้เน้นผลิตไฟฟ้าตามศักยภาพของเชื้อเพลิงที่มีในพื้นที่ มีขนาดเหมาะสมทางด้านวิศวกรรมและความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบไฟฟ้า และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์โดยจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่เหมาะสม และกระทบค่าไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าในระดับที่รับได้เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่เศรษฐกิจฐานรากได้รับ

2. โรงไฟฟ้าชุมชน ให้มีส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้กับ ?กองทุนโรงไฟฟ้าชุมชน? ซึ่งจะมีการจัดตั้ง และกำหนดระเบียบการใช้จ่ายเงินขึ้นมาใหม่ โดยให้นำเสนอให้ กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบ

3. โครงการ Quick win ให้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในปี 2563 และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายใน 12 เดือน นับจากวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 ตุลาคม 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ