1. อนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ถึงเดือนเมษายน 2565 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ อันจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบกิจการและเกษตรกรชาวสวนยางพารา สำหรับแหล่งเงินขอให้การยางแห่งประเทศไทยหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาแหล่งเงินจากพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ในลำดับแรกก่อน ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 หากไม่สามารถใช้จากแหล่งเงินดังกล่าวได้ ให้ใช้จากธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ยโครงการฯ 1 ปี แต่ไม่เกินวันที่ 30 เมษายน 2565 จำนวนไม่เกิน 600 ล้านบาท สำหรับค่าชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าว ให้ธนาคารของรัฐ สถาบันการเงิน หรือการยางแห่งประเทศไทยปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอนให้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จึงเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ในส่วนของค่าบริหารโครงการ จำนวน 4 ล้านบาท เห็นควรให้การยางแห่งประเทศไทยใช้จ่ายจากเงินกองทุนพัฒนายางพารา ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
2. อนุมัติขยายระยะเวลาชำระคืนเงินกู้โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จากเดิมสิ้นสุดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยให้กระทรวงการคลังขยายระยะเวลาค้ำประกันเงินกู้ออกไป และยกเว้นค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันเงินกู้ พร้อมชดเชยต้นทุนเงินในอัตรา FDR + 1
สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ เช่น ค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัย ค่าจ้างผลิตยาง และอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2559 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 772.47 ล้านบาท และตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2564 จำนวน 126.286 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 898.756 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายจากเงินกองทุนพัฒนายางพารา ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
3. อนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 ถึงปี 2569 เพื่อลดผลกระทบในภาคอุตสาหกรรมยางจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงาน ประกอบด้วยให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ โดยธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ (สถาบันการเงินเฉพาะกิจ) ได้ทุกธนาคาร ซึ่งสินเชื่อในทุก ๆ 1 ล้านบาท จะต้องมีการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศอย่างน้อย 2 ตันต่อปี ในปีการผลิต 2563 หรือตามที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด ทั้งนี้ ให้การยางแห่งประเทศไทยตรวจสอบการใช้ยางของผู้ประกอบการเป็นรายปี ในปีการผลิต 2563 หรือตามที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด แล้วแต่กรณี
4. อนุมัติเพิ่มกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ภายใต้โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2564 โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ผู้เข้าร่วมโครงการต้องซื้อยางมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตของฤดูกาลใหม่ (รายเดือน) เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนผลผลิตของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยรัฐบาลสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ยโครงการฯ 1 ปี แต่ไม่เกินเดือนธันวาคม 2563
กษ. รายงานว่า ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 18 สิงหาคม 2563 กษ. ได้พิจารณาความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการและมาตรการต่าง ๆ ตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2563 ต่อไป
1. โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ มีรายละเอียดการดำเนินโครงการสรุปได้ ดังนี้
แนวทางการดำเนินการ
สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโรค COVID-19 ของผู้ประกอบการไม้ยางและผลิตภัณฑ์
2. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่สามารถขายไม้ยางได้
3. เกษตรกรชาวสวนยางสามารถขายไม้ยางพาราได้ในราคาที่เป็นธรรม
4. เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการไม้ยางและผลิตภัณฑ์และรัฐบาล ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการส่งออกไม้ยางพารา
5. สนับสนุนการดำเนินนโยบายลดพื้นที่ปลูกยางพารา
เป้าหมาย
1. ผู้ประกอบกิจการไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ที่ดำเนินธุรกิจยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ ร้อยละ 80 ของโรงงานทั้งหมด ทำให้มีการจ้างงานต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก
2. กระตุ้นการโค่นต้นยาง จำนวน 400,000 ไร่
3. ดูดซับไม้ยางจากการกระตุ้นการโค่น จำนวน 12 ล้านตัน
4. ราคาไม้ยาง (เฉลี่ย) เป้าหมาย ราคาคาดหวัง 1,300 บาทต่อตัน
5. วงเงินดำเนินการ 20,000 ล้านบาท รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี
ระยะเวลาดำเนินการ
ตุลาคม 2563 - กันยายน 2565 โดย
1. ระยะเวลาในการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ 1 ปี ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด (ปิดรับการลงทะเบียน เมื่อเต็มกรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท)
2. ระยะเวลาในการชดเชยดอกเบี้ย ตามโครงการฯ 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับการอนุมัติ แต่ไม่เกิน 30 กันยายน 2565
2. โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสภียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง
2.1 ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563
ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563
โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง (เริ่มดำเนินงาน พฤษภาคม 2555)
1. ผลการรับซื้อยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 213,492.10
มูลค่าซื้อยาง (ล้านบาท) 21,126.66
เฉลี่ยราคาซื้อ (บาทต่อกิโลกรัม) 98.96
2. ผลผลิตยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 207,031.11
3. จำหน่ายยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 146,271.16
4. สต็อกยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 60,759.95
(1) ไม่มีสัญญาซื้อขาย 53,190.14
(2) มีสัญญาซื้อขาย (อยู่ระหว่างฟ้องร้องผู้ซื้อ) 7,569.81
5. วงเงินกู้ ธ.ก.ส. และการชำระหนี้ (ล้านบาท)
(1) เงินกู้ ธ.ก.ส. 22,000.00
(2) ชำระหนี้ 15,940.55*
(3) หนี้คงเหลือ 6,059.45
6. ค่าใช้จ่ายของโครงการฯ (ล้านบาท)
(1) ค่าดำเนินงานไม่รวมค่าซื้อยาง 2,231.98
(2) ค่าบริหารโครงการฯ 345.17
(3) ค่าบริหารโครงการฯ คงเหลือ 62.32..
โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง (เริ่มดำเนินงาน พฤศจิกายน 2557)
1. ผลการรับซื้อยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 148,799.50
มูลค่าซื้อยาง (ล้านบาท) 8,889.30
เฉลี่ยราคาซื้อ (บาทต่อกิโลกรัม) 59.74
2. ผลผลิตยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 147,476.03
3. จำหน่ายยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 84,681.04
4. สต็อกยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 62,794.99
(1) ไม่มีสัญญาซื้อขาย 51,572.88
(2) มีสัญญาซื้อขาย (อยู่ระหว่างฟ้องร้องผู้ซื้อ) 11,222.11
5. วงเงินกู้ ธ.ก.ส. และการชำระหนี้ (ล้านบาท)
(1) เงินกู้ ธ.ก.ส. 9,600.00
(2) ชำระหนี้ 5,704.13
(3) หนี้คงเหลือ 3,895.87
6. ค่าใช้จ่ายของโครงการฯ (ล้านบาท)
(1) ค่าดำเนินงานไม่รวมค่าซื้อยาง 857.38
(2) ค่าบริหารโครงการฯ 112.01
(3) ค่าบริหารโครงการฯ คงเหลือ 1.69
รวม 2 โครงการ
1. ผลการรับซื้อยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 362,291.60
มูลค่าซื้อยาง (ล้านบาท) 30,015.96
เฉลี่ยราคาซื้อ (บาทต่อกิโลกรัม) 82.85
2. ผลผลิตยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 354,507.14
3. จำหน่ายยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 230,952.20
4. สต็อกยางชนิดต่าง ๆ (ตัน) 123,554.94
(1) ไม่มีสัญญาซื้อขาย 104,763.02
(2) มีสัญญาซื้อขาย(อยู่ระหว่างฟ้องร้องผู้ซื้อ) 18,791.92
5. วงเงินกู้ ธ.ก.ส. และการชำระหนี้ (ล้านบาท)
(1) เงินกู้ ธ.ก.ส. 31,600.00
(2) ชำระหนี้ 21,644.68
(3) หนี้คงเหลือ 9,955.32
6. ค่าใช้จ่ายของโครงการฯ (ล้านบาท)
(1) ค่าดำเนินงานไม่รวมค่าซื้อยาง 3,089.36
(2) ค่าบริหารโครงการฯ 457.18
(3) ค่าบริหารโครงการฯ คงเหลือ 64.01
*หมายเหตุ : เงินชำระหนี้เงินกู้ ธ.ก.ส. โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง จำนวน 15,940.55 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายยาง 9,457.61 ล้านบาท และเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ ธ.ก.ส. ได้รับชดเชยการขาดทุน 6,482.94 ล้านบาท
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จำเป็นต้องระบายยางในสต็อกให้หมด เพื่อนำเงินรายได้จากการขายยางมาชำระหนี้ ธ.ก.ส. และดำเนินการปิดบัญชีต่อไป
2.2 กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติขยายระยะเวลาชำระคืนเงินกู้โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง มีรายละเอียดการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1) ขออนุมัติขยายระยะเวลาชำระคืนเงินกู้โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ให้กับ ธ.ก.ส. ออกไปจากเดิม วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยให้ กค. ขยายระยะเวลาค้ำประกันเงินกู้กับ ธ.ก.ส. ออกไปและยกเว้นค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันเงินกู้ ตามระยะเวลาการขยายระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ให้ ธ.ก.ส. พร้อมชดเชยต้นทุนเงินในอัตรา FDR+1 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 ตามขั้นตอนต่อไป
2) นำเงินจากการระบายยางในสต็อกและของบประมาณแผ่นดินชดเชยการขาดทุนชำระคืนเงินกู้ ธ.ก.ส. ของโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง จำนวน 6,059.45 ล้านบาท และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง จำนวน 3,895.87 ล้านบาท รวม 9,955.32 ล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566
3) ขออนุมัติจัดสรรงบประมาณเป็นค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัย ค่าจ้างผลิตยาง และอื่น ๆ รวม 898.76 ล้านบาท ดังนี้
(1) ค่าใช้จ่ายโครงการเป็นค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัย ค่าจ้างผลิตยาง และอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม 2559 ? กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 772.47 ล้านบาท
(2) งบประมาณเป็นค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ? มีนาคม 2564 จำนวน 126.29 ล้านบาท 3. โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
3.1 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1) ผลการรับสมัครและเข้าร่วมโครงการ
ระยะที่ 1 (ปี 2559 และ ปี 2560)
การรับสมัคร
- ผู้ประกอบการ (ราย) 29
การเข้าร่วมโครงการ
- ผู้ประกอบการ (ราย) 17
- วงเงินเข้าร่วมโครงการ (ล้านบาท) 11,788.20
ระยะที่ 2 (ปี 2562 ? ปัจจุบัน)
การรับสมัคร
- ผู้ประกอบการ (ราย)4 (รายเดิม 2 บริษัท)
การเข้าร่วมโครงการ
- ผู้ประกอบการ (ราย) 2 (รายเดิม)
- วงเงินเข้าร่วมโครงการ (ล้านบาท)2,250.00
รวมทั้งสิ้น
การรับสมัคร
- ผู้ประกอบการ (ราย) 31
การเข้าร่วมโครงการ
- ผู้ประกอบการ (ราย) 17
- วงเงินเข้าร่วมโครงการ (ล้านบาท) 14,038.20
คงเหลือวงเงิน 10,961.80 ล้านบาท (วงเงินโครงการ 25,000.00 ล้านบาท)
2) ผลการชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการ คณะกรรมการบริหารโครงการฯ มีมติอนุมัติวงเงินชดเชยดอกเบี้ย 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562
การประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ
ผู้ที่ได้รับชดเชยดอกเบี้ย ชดเชยผู้เข้าร่วมโครงการ 10 ราย
วงเงิน (ล้านบาท) 70.81
ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563
การประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ
ผู้ที่ได้รับชดเชยดอกเบี้ย ชดเชยผู้เข้าร่วมโครงการ 9 ราย
วงเงิน (ล้านบาท) 149.43
3) ปริมาณการใช้ยางของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถใช้ยาง (เพิ่มขึ้น) (ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน) มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 121,981 ตัน
3.2 กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ดังนี้
1) ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการโดยธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ (สถาบันการเงินเฉพาะกิจ) ได้ทุกธนาคาร (เดิม เฉพาะธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มีความครอบคลุมในการให้สินเชื่อมากขึ้น)
2) ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับสินเชื่อในทุก ๆ 1 ล้านบาท จะต้องมีการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศอย่างน้อย 2 ตันต่อปี ในปีการผลิต 2563 หรือระยะเวลาตามที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด [เป็นการกำหนดข้อยกเว้นในปีการผลิต 2563 จากเงื่อนไขเดิม คือ ในปีแรกถึงปีที่สองของการลงทุน 2 ตันต่อปี ปีที่สาม 4 ตันต่อปี ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)]
3) ให้ กยท. ตรวจสอบการใช้ยางของผู้ประกอบการเป็นรายปี ในปีการผลิต 2563 หรือระยะเวลาตามที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด [เป็นการกำหนดข้อยกเว้นในปีการผลิต 2563 จากเงื่อนไขเดิม คือ ตรวจสอบการใช้ยางของผู้ประกอบการเป็นรายเดือน ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)]
4.1 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 4 ราย อนุมัติวงเงินสินเชื่อจำนวน 2,410 ล้านบาท ปริมาณที่จัดเก็บตามโครงการ 75,692 ตัน (เป้าหมายโครงการ 350,000 ตัน) มีวงเงินสินเชื่อคงเหลือจำนวน 17,590 ล้านบาท (วงเงินสินเชื่อโครงการ 20,000 ล้านบาท)
4.2 กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใต้โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) มีรายละเอียดเปรียบเทียบกับกิจกรรมเดิม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 ดำเนินกิจกรรมตามหลักเกณฑ์และโครงการ (ที่มีอยู่เดิม)
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการชดเชยดอกเบี้ย
- ผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีสต็อกยาง
เพิ่มขึ้นมากกว่าสต็อกเฉลี่ยย้อนหลัง 1ปี นับจากวันที่ยื่นความประสงค์ และเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า หากตรวจพบปริมาณสต็อกยางน้อยกว่า หรือเท่ากับสต็อกเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี จะไม่ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยในเดือนนั้น
- ผู้เข้าร่วมโครงการต้องให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามโครงการฯ เข้าในพื้นที่สถานประกอบการเพื่อเข้าตรวจสอบขอเอกสารหลักฐาน และกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการฯ
ระยะเวลา
ดำเนินการ
- มกราคม 2563 ? ธันวาคม 2564
- ระยะเวลาในอนุมัติวงเงินที่เข้าร่วมโครงการจนสิ้นสุดระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการ 3 ปี แต่ไม่เกินเดือนธันวาคม 2563
อัตราการชดเชยดอกเบี้ย
รัฐบาลจะสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (เสนอขอความเห็นชอบเพิ่มเติมในครั้งนี้)
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการชดเชยดอกเบี้ย
- ผู้เข้าร่วมโครงการต้องซื้อยางมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตของฤดูกาลใหม่ (รายเดือน) เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนผลผลิตของเกษตรกรชาวสวนยาง และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และหากผู้เข้าร่วมโครงการไม่มีการซื้อยาง ก็จะไม่ได้รับการชดเชยในเดือนนั้น
- การตรวจสอบหลักฐานและเอกสาร ในการชดเชยดอกเบี้ย ได้แก่ (1) หลักฐานการซื้อยางมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตในแต่ละเดือน (2) เอกสารบัญชียางที่ส่งให้กรมวิชาการเกษตรตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2552 และ (3) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ตามที่ กยท. กำหนด
ระยะเวลา
ดำเนินการ
- มกราคม 2563 ? ธันวาคม 2564
- ระยะเวลาในอนุมัติวงเงินที่เข้าร่วมโครงการจนสิ้นสุดระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการ 1 ปี แต่ไม่เกินเดือนธันวาคม 2563
อัตราการชดเชยดอกเบี้ย
รัฐบาลจะสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี
หมายเหตุ
เพิ่มเติมกิจกรรมที่ 2 เพื่อลดผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการบริโภคอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเงินมากขึ้น เพื่อรับซื้อวัตถุดิบในฤดูการผลิตใหม่จากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ชาวสวนยาง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบตลาด
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563