คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2563 ณ จังหวัดสุพรรณบุรี และมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) รับประเด็นข้อหารือจากการประชุมดังกล่าวและพิจารณาดำเนินการต่อไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ทส. คณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจังหวัดสุพรรณบุรี ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจังหวัดกาญจนบุรี และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2563 โดยมีความก้าวหน้าการดำเนินงานรายจังหวัด สรุปได้ดังนี้ 1. การจ้างงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ความก้าวหน้าการดำเนินงานรายจังหวัด
สุพรรณบุรี
ช่วยเหลือทั้งหมด 1,241 คน
วงเงิน 44.21 ล้านบาท
กาญจนบุรี
ช่วยเหลือทั้งหมด 3,779 คน
วงเงิน 41.79 ล้านบาท
นครปฐม
ช่วยเหลือทั้งหมด 266 คน
วงเงิน 49.94 ล้านบาท 2. การดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจำแนกตามกลุ่มสภาพปัญหา
2.1 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19
ความก้าวหน้าการดำเนินงานรายจังหวัด
สุพรรณบุรี
ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินด้วยการสนับสนุนสินเชื่อ รวม 11,088 ราย วงเงิน 8,987.41 ล้านบาท
กาญจนบุรี
-
นครปฐม
- ได้ดำเนินมาตรการพักชำระหนี้ เติมทุนช่วยเหลือลูกหนี้ช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยสินเชื่อ และ Loan Payment Holiday
- สำนักงานพาณิชย์จังหวัด อยู่ระหว่างการเสนอของบประมาณโครงการเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าออนไลน์ให้ผู้ประกอบการ
2.2 กลุ่มโครงสร้างการพัฒนาจังหวัดด้านต่าง ๆ
2.2.1 ด้านการเกษตรและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ความก้าวหน้าการดำเนินงานรายจังหวัด
สุพรรณบุรี
1) แผนงานระยะสั้น เช่น
- มีการสำรวจแหล่งน้ำประปาหมู่บ้านในพื้นที่เสี่ยงที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 5 อำเภอ 26 ตำบล 192 หมู่บ้าน (อ.ด่านช้าง ดอนเจดีย์ เดิมบางนางบวช อู่ทอง และหนองหญ้าไซ)
2) แผนงานระยะยาว
- อยู่ระหว่างการเสนอขอรับงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ภายใต้โครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่าเหนือเขื่อนกระเสียว อ.ด่านช้าง จ. สุพรรณบุรี จำนวน 318-1-87 ไร่
- ดำเนินโครงการผันน้ำเขื่อนศรีนครินทร์-อ่างเก็บน้ำกระเสียว โดยวางท่อเหล็กคาร์บอนรับแรงดันสูงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำ
(อยู่ระหว่างขอใช้พื้นที่วางท่อและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน)
- กำจัดผักตบชวาได้452,995 ตัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562-กันยายน 2563) ในแม่น้ำท่าจีน ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้เสนอให้ออกกฎและระเบียบรองรับให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถจัดเก็บผักตบชวาเพื่อนำมาผลิตเป็นปุ๋ยหรือสารบำรุงดินแจกจ่ายประชาชนในพื้นที่
กาญจนบุรี
-
นครปฐม
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้สำรวจข้อมูลในพื้นที่และเห็นควรมีการเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตรเพิ่มเติม จำนวนไม่น้อยกว่า 35 บ่อ
2.2.2 ปัญหาด้านที่ดินทำกิน และด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ความก้าวหน้าการดำเนินงานรายจังหวัด
สุพรรณบุรี
- คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดได้เห็นชอบพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่ส่งมอบให้จังหวัดจำนวน 5 แปลงเนื้อที่ 15,807-3-60ไร่ แล้ว
- พื้นที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(นิคมสร้างตนเองกระเสียวอ. ด่านช้าง จ. สุพรรณบุรี) จำนวน 1 แปลง เนื้อที่รวม84-2-54 ไร่ (29 ราย)อยู่ระหว่างการทำสัญญาเช่า 27 ราย
กาญจนบุรี
- คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ จังหวัด (กบร. จังหวัด)ได้พิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ (ผ่านการพิจารณาของ กบร. จังหวัด แล้ว) 36,420 แปลง คงเหลือที่ต้องดำเนินการอีก19,907 แปลง ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจเพื่อออกเอกสาร
- ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดสรรที่ดินในพื้นที่ป่าสงวน ในบางพื้นที่เช่น ป่าเขาพระฤาษี และป่าเขาบ่อแร่ แปลงที่ 1ต. ท่าขนุน ต.ชะแลอ. ทองผาภูมิ และ ต.ปรังเผล อ. สังขละบุรี เนื้อที่6,576-2-85 ไร่
- คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน1:4,000 และแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐ ได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ทับซ้อน
ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์และอุทยานแห่งชาติเขาแหลม เนื้อที่ 154,754 ไร่
นครปฐม
-
2.2.3 ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
ความก้าวหน้าการดำเนินงานรายจังหวัด
สุพรรณบุรี
- เทศบาลเมืองสุพรรณบุรีมีศูนย์กำจัดขยะพื้นที่153 ไร่ โดยในปี 2566จะดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์จัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ และโรงงานคัดแยกมูลฝอยทั่วไป และก่อสร้างโรงงานคัดแยกขยะมูลฝอยเพิ่มเติม (ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอรับการสนับสนุนงบประมาณ 299.51 ล้านบาท)
- สำหรับพื้นที่อื่น ๆ ยังไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยแบบถูกหลักวิชาการซึ่งขณะนี้บริษัทเอกชน ได้รับอนุญาตให้ลงทุนก่อสร้างเตาเผาเพื่อรองรับขยะมูลฝอยในพื้นที่แต่ อปท. ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติในประเด็นการชำระค่ากำจัดขยะมูลฝอย
กาญจนบุรี
- ได้จัดทำประกาศ เรื่อง การจัดระเบียบแพในพื้นที่บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ อ. ศรีสวัสดิ์ และเขื่อน วชิราลงกรณ์ อ. ทองผาภูมิ อ. ไทรโยค และพื้นที่ โดยรอบ ขณะนี้อยู่ระหว่าง
การดำเนินการเตรียม สถานที่จอดแพ
- ได้มีประกาศจังหวัด เพื่อกำหนดพื้นที่และมาตรการควบคุมผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 โดยกำหนดเขตพื้นที่โซนนิ่งห้ามเผาอ้อยรอบชุมชน 5 กิโลเมตรและรอบโรงงานน้ำตาล10 และ 20 กิโลเมตร ทั้งนี้ ได้มีการดำเนิน โครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อ้อยอย่างครบวงจร
นครปฐม
กรมควบคุมมลพิษเตรียมดำเนินการตรวจวัดคุณภาพน้ำ ส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยสำรวจและควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่คลองเจดีย์บูชา และศึกษาความเหมาะสม ในการจัดทำมาตรการ
แนวทางการฟื้นฟู คุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษได้เสนอให้ท้องถิ่นติดตั้งเครื่องวัด PM2.5 แบบอัตโนมัติ ตรวจวัดภายนอกอาคาร ณ เทศบาลเมืองสามพราน
นอกจากนี้ ได้มีประเด็นมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานกับหน่วยงานและภาคประชาชนเพื่อพิจรณาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการผันน้ำเชื่อนศรีนครินทร์ - อ่างก็บน้ำกระสียว
2) ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา
(1) กำหนดระเบียบและแนวทางปฏิบัติให้ อปท. สามารถจัดเก็บผักตบชวาเพื่อนำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือสารบำรุงดินแจกจ่ายให้ประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
(2) กำหนดแนวทางปฏิบัติ ขั้นตอน และกฎระเบียบในการให้ อปท. สามารถชำระค่ากำจัดขยะมูลฝอยแก่เอกชนที่ลงทุนก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และ
3) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณากำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาอ้อย
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563