เรื่อง แนวทางการดำเนินการเพื่อให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไป
ว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อทำงานได้อีกไม่เกิน 2 ปี โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทำงานต่อไปได้ไม่เกิน 1 ปี เมื่อคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทำงานให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และมิให้นำมาตรา 54 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวซึ่งระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 1 ? 30 พฤศจิกายน 2563 ที่ได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้น
ข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะเพื่อการทำงานสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2. กระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางาน ดำเนินการรับคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือขอรับใบอนุญาตทำงานและออกใบอนุญาตทำงาน ตามแต่ละกรณีให้กับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยนายทะเบียนพิจารณาอนุญาตการทำงานตามระยะเวลาที่คนต่างด้าวร้องขอแต่ไม่เกิน 2 ปี ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกฎหมายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวปกติ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ? 31 ธันวาคม 2564 3. สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการตรวจอนุญาต
ให้คนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่มีอายุใช้ได้อยู่ต่อในราชอาณาจักรตามแนวทางการดำเนินการเพื่อให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อทำงานได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง เป็นเวลาครั้งละไม่เกิน 1 ปี โดยยกเว้นการเปรียบเทียบปรับการอยู่ในราชอาณาจักรเกินกำหนดแก่คนต่างด้าวที่ระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 1 ? 30 พฤศจิกายน 2563
กรณีเอกสารประจำตัวของคนต่างด้าวมีอายุน้อยกว่าหนึ่งปี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวต่อไปเท่ากับอายุเอกสารประจำตัว
หากคนต่างด้าวประสงค์อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อไป ต้องไปดำเนินการขอมีเอกสารประจำตัวฉบับใหม่กับหน่วยงานของประเทศต้นทาง เมื่อคนต่างด้าวได้รับเอกสารประจำตัวฉบับใหม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ตรวจคนเข้าเมืองย้ายรอยตราประทับอนุญาตไปยังเอกสารประจำตัวฉบับใหม่และขยายระยะเวลาการอนุญาตให้ตามสิทธิ 4. ให้กระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แนวทางการดำเนินการเพื่อให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจ
ว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไป ให้นายจ้าง ผู้ประกอบการ แรงงานต่างด้าว และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง
คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึก
ความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement)
ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ? 31 ธันวาคม 2564 2. สถานที่ดำเนินการ
ดำเนินการ ณ สถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน 3. ระยะเวลาดำเนินการ
ดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 4. การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไป และการอนุญาตทำงาน
วิธีดำเนินการ ค่าใช้จ่าย เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 5. แนวทางการดำเนินการ
คนต่างด้าวดำเนินการขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการ
การทำงานของคนต่างด้าว และดำเนินการตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสังเขป ดังนี้
5.1 ตรวจสุขภาพ เพื่อนำใบรับรองแพทย์ไปยื่นขออนุญาตทำงานและขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป
5.2 ยื่นขออนุญาตทำงานต่อนายทะเบียน โดยให้กรมการจัดหางานออกใบอนุญาตทำงานให้ตามระยะเวลาที่ผู้ขออนุญาตร้องขอแต่ไม่เกินสองปี
5.3 ขอรับการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไป โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ครั้งละไม่เกินหนึ่งปี ค่าธรรมเนียมคำขออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จำนวนเงิน ๑,๙๐๐ บาท
กรณีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวมีอายุน้อยกว่าหนึ่งปี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวต่อไป ได้เท่ากับระยะเวลาของหนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ หากคนต่างด้าวประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อไป ต้องไปดำเนินการขอหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับใหม่กับหน่วยงานของประเทศต้นทาง และเมื่อคนต่างด้าวได้หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับใหม่ ให้ไปดำเนินการย้ายรอยตราประทับ (Visa) ซึ่งจะได้รับการขยายระยะเวลาการอนุญาตให้ครบตามสิทธิ
5.4 จัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางานได้ดำเนินการ และประชาสัมพันธ์ให้นายจ้าง สถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าวได้รับทราบการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวแล้ว
ผลกระทบ
1. แนวทางการดำเนินการเพื่อให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไป จะเป็นการทำให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อทำงานต่อไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการลดการนำคนต่างด้าวรายใหม่จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ ลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคที่มาจากคนต่างด้าวที่เดินทางมาจากต่างประเทศหรือจากคนต่างด้าวที่เดินทางกลับไปประเทศของตนและเดินทางกลับเข้ามาใหม่ เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านสาธารณสุขของประเทศ ตลอดจนเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้
2. แนวทางการดำเนินการเพื่อให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไป จะเป็นการทำให้นายจ้างได้จ้างงานคนต่างด้าวถูกต้องตามกฎหมาย คนต่างด้าวได้รับความคุ้มครองและมีสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ การคุ้มครองตามสิทธิที่พึงได้รับ รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูประเทศ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในสถานการณ์ที่เป็นอยู่และภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563