รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
2.1 กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายและการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานให้แก่ลูกจ้าง และคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง โดยลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นจากประกาศเดิม เช่น เพิ่มสิทธิในการได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และค่าใช้จ่ายเพื่อการตรวจสุขภาพ ปรับอัตราสิทธิในการได้รับค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยในให้สูงขึ้น รวมทั้งกำหนดให้ลูกจ้างสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลโดยใช้ระบบการเบิกจ่ายตรงได้ด้วย เป็นต้น
2.2 กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายและการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตอันมิใช่เนื่องจากการทำงานให้แก่ลูกจ้าง และคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการกำหนดเพิ่มขึ้นจากประกาศเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 มีนาคม 2560 ซึ่งจะทำให้ลูกจ้าง และคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในร่างประกาศฉบับนี้
2.3 กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราจ่ายค่าทำศพ และลำดับของผู้มีสิทธิได้รับค่าทำศพ โดยปรับอัตราการจ่ายค่าทำศพจากประกาศเดิมให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน 3. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร
3.1 กำหนดอัตราและหลักเกณฑ์การใช้สิทธิเบิกค่าช่วยเหลือบุตรของลูกจ้าง และจำนวนบุตรที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือบุตร โดยปรับอัตราค่าช่วยเหลือบุตรจากเดือนละ 50 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน เป็นเดือนละ 200 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน
3.2 กำหนดอัตราและหลักเกณฑ์การใช้สิทธิเบิกค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตรลูกจ้าง และจำนวนบุตรที่มีสิทธิได้รับค่าช่วยเหลือการศึกษา โดยเพิ่มสิทธิการเบิกค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตรให้รวมถึงการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้วย
โดยร่างประกาศในเรื่องนี้ รวม 3 ฉบับ จะส่งผลให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ รวม 306,887 คน ได้รับการคุ้มครองในเรื่องของการดำเนินการกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เพื่อรองรับการจ่ายเงินคืนแก่สถานพยาบาลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยวิกฤตตามมติคณะรัฐมนตรีได้โดยเร็ว ซึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง 2563 มีพนักงานรัฐวิสาหกิจใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต รวม 1,119 คน คิดเป็นเงินค่ารักษาพยาบาลที่ค้างจ่ายต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 32,966,400 บาท หากร่างประกาศดังกล่าว รวม 3 ฉบับมีผลใช้บังคับ จะสามารถดำเนินการจ่ายค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวให้แก่ สปสช. และโรงพยาบาลเอกชนได้โดยเร็ว
จึงได้เสนอร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ รวม 3 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563