1.1 กลไกการพิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ประกอบด้วย 2 กรณี ได้แก่ (1) กรณีที่หน่วยงานส่วนกลางเสนอโครงการฯ และ (2) กรณีที่หน่วยงานในระดับพื้นที่เสนอโครงการให้หน่วยงานระดับพื้นที่จัดทำข้อเสนอแผนงาน/โครงการเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการฯ กำหนด เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด ซึ่งมีรัฐมนตรีรับผิดชอบพื้นที่ในแต่ละจังหวัดให้ความเห็นชอบก่อนเสนอผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของจังหวัดก่อนนำเสนอ สศช. เพื่อรวบรวมเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
1.2 เห็นชอบให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน โดยเพิ่มเติมผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงาน ป.ป.ท. เพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
1.3 มอบหมายให้ สศช. สงป. และ มท. ร่วมกันจัดทำคู่มือ แนวปฏิบัติ (Guideline) และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการพิจารณาหรือดำเนินโครงการภายใต้กลุ่มแผนงานที่ 2 ด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นฯ ตามข้อสังเกตและความเห็นของคณะกรรมการฯ เพื่อให้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องกับข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2. อนุมัติโครงการโอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยปรับลดกรอบวงเงินของโครงการฯ จาก 190.0000 ล้านบาท เป็น 95.0000 ล้านบาท (ปรับลด 95.0000 ล้านบาท) 3. อนุมัติโครงการพลิกวิกฤต COVID-19 สู่การสร้างเศรษฐกิจจาก OTOP สมุนไพรในชุมชนอย่างยั่งยืน ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยปรับลดกรอบวงเงินของโครงการฯ จาก 18.7644 ล้านบาท เป็น 8.3211 ล้านบาท (ปรับลด10.4433 ล้านบาท) 4. อนุมัติโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ ด้วยการนวดไทยในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยปรับลดกรอบวงเงินของโครงการฯ จาก 16.1317 ล้านบาท เป็น 9.1981 ล้านบาท (ปรับลด 6.9336 ล้านบาท) 5. มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการโอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 และเห็นควรมอบหมายให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการพลิกวิกฤต COVID-19 สู่การสร้างเศรษฐกิจจาก OTOP สมุนไพรในชุมชนอย่างยั่งยืน และโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ ด้วยการนวดไทยในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการ ดังนี้
5.1 จัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ
5.2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงปัญหาอุปสรรค โดยจัดส่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
5.3 ประสานกับกระทรวงการคลังในการรายงานขีดความสามารถในการชำระคืนหนี้เงินกู้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดฯ ด้วย 6. รับทราบผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 และวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ของจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสงขลา จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดสิงห์บุรี พร้อมทั้งอนุมัติให้หน่วยงานดังกล่าวดำเนินโครงการฯ กรอบวงเงิน 39,494,259 บาท ประกอบด้วย โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 จำนวน 17 โครงการ วงเงิน 34,062,639 บาท และวันที่ 25 สิงหาคม 2563 จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 5,431,620 บาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการเพิ่มศักยภาพแปรรูปสัตว์น้ำ ของจังหวัดบึงกาฬ มอบหมายให้จังหวัดบึงกาฬ พิจารณาดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ในส่วนที่เหลือโดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่น เช่น เงินงบประมาณของส่วนราชการ หรือเงินรายได้ เป็นต้น 7. รับทราบแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ในระยะต่อไปตามที่คณะกรรมการฯ เสนอดังนี้
1) กรณีที่หน่วยงานเจ้าของแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ แล้วมีความประสงค์จะยกเลิกการดำเนินแผนงาน/โครงการดังกล่าว ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเสนอคำขอการยกเลิกการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ พร้อมเหตุผลความจำเป็นเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาพร้อมความเห็นประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
2) รับทราบการขยายระยะเวลาการพิจารณาของคณะทำงานภาคประชาสังคมจากเดิมสิ้นสุดภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เป็นสิ้นสุดภายในเดือนมกราคม 2564 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
3) รับทราบแนวทางการบูรณาการการจัดเก็บฐานข้อมูลในระดับตำบลของโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการของกระทรวงมหาดไทย และโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สศช. ร่วมเป็นกรรมการ เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินโครงการให้สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ ชุดข้อมูลที่จะจัดเก็บ ช่วงเวลาและระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล พร้อมทั้งกำหนดกลไกการกำกับติดตามการทำงานระดับพื้นที่ในรูปแบบของคณะกรรมการที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ตามที่ สศช. เสนอ
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563