2.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทน และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ลงนามในความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
2.2 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือยืนยันการสมทบเงิน (Schedule 3 ? Commitment Letter) ในวงเงิน 9.104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
2.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือรับทราบการขอรับความช่วยเหลือ (Schedule 5 ? Letter of Acknowledgement) และหนังสือยืนยันการปฏิบัติตามเงื่อนไขของความ ตกลง (Schedule 6 ? Letter of Undertaking) เมื่อประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือภายใต้ความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
2.4 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือให้ความเห็นทางกฎหมาย (Schedule 7 ? Legal Opinion) เมื่อประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือภายใต้ร่างความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
การแก้ไขเพิ่มเติมความตกลง CMIM ฉบับปัจจุบันที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 โดยสาระสำคัญของการแก้ไขในครั้งนี้ (1) การเพิ่มสัดส่วนการให้ความช่วยเหลือกรณีที่ไม่เชื่อมโยงกับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 ของวงเงินขอรับความช่วยเหลือสูงสุด (2) การยินยอมให้สามารถเลือกสมทบหรือขอรับความช่วยเหลือภายใต้กลไก CMIM เป็นเงินสกุลท้องถิ่นตามหลักความสมัครใจ และ (3) การเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เนื่องจากจะยกเลิกการใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกรุงลอนดอน (London Interbank Offered Rate: LIBOR) ในสิ้นปี 2564 และการแก้ไขประเด็นเชิงเทคนิคเพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ภายใต้กลไก CMIM มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers? and Central Bank Governors? Meeting: AFMGM+3) ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบร่างความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมด้วย โดยร่างความตกลง CMIM ฉบับนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของวงเงินความช่วยเหลือซึ่งมีจำนวน 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในส่วนของประเทศไทยจำนวน 9.104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กันเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อสมทบในกลไก CMIM ไว้แล้ว และปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ได้ลงนามในร่างความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จำนวน 12 ภาคี จาก 27 ภาคี โดยร่างความตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 7 วันหลังจากวันที่ภาคีทั้งหมดลงนามครบแล้ว
นอกจากนี้ หนังสือแนบท้ายที่ต้องมีการลงนามเพิ่มเติมเมื่อมีการขอรับความช่วยเหลือ รวม 4 ฉบับ ประกอบด้วย (1) หนังสือยืนยันการสมทบเงิน (Schedule 3 ? Commitment Letter) ตามวงเงินที่ผูกพันของแต่ละประเทศสมาชิกลงนามโดยผู้ว่าการธนาคารกลาง (2) หนังสือรับทราบการขอรับความช่วยเหลือ (Schedule 5 ? Letter of Acknowledgement) (3) หนังสือยืนยันการปฏิบัติตามเงื่อนไขของความตกลง (Schedule 6 ? Letter of Undertaking) ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (กรณีประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือ) และ (4) หนังสือให้ความเห็นทางกฎหมาย (Schedule 7 ? Legal Opinion) ลงนามโดยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรณีประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือ)
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 ธันวาคม 2563