ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2563

ข่าวการเมือง Tuesday December 8, 2020 19:15 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2563 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) เสนอและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กบส. ครั้งที่ 1/2563 และรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อนำเสนอ กบส. ตามขั้นตอนต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

กบส. รายงานว่า ผลการประชุม กบส. ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ซึ่งมี

รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์) เป็นประธาน มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. เรื่องเพื่อทราบ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่

1.1 รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2562 โดยคาดการณ์ว่าในปี 2562 ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 13.4 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หรือมีมูลค่ารวม 2,258.4 พันล้านบาท เป็นไปในทิศทางเดียวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีการชะลอตัวจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน

ในส่วนการประมาณการสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ในปี 2563 คาดการณ์ว่ามูลค่าต้นทุนโลจิสติกส์มีแนวโน้มลดลงจากการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยคาดว่า สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยอยู่ที่ร้อยละ 12.9-13.4 ต่อ GDP อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคจากภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน

1.2 ความคืบหน้าการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย

อุตสาหกรรม

พัฒนาสถานประกอบการ จำนวน 205 กิจการ พัฒนาบุคลากรจำนวน 300 คน ลดต้นทุนโลจิสติกส์รวม 2,536 ล้านบาท และเพิ่มผลิตภาพการผลิตโดยนำระบบอัตโนมัติมาใช้ปรับปรุงสายพานขนส่งสินค้าในโรงงานและนำระบบ Enterprise Resource Planning มาใช้เพื่อวางแผนการผลิตและจัดการวัตถุดิบ

การเกษตร

จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร พ.ศ. 2563-2565 (ฉบับทบทวน) เพื่อให้สามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน

รวมทั้งอยู่ระหว่างพัฒนาระบบ e-Logistics เพื่อออกใบรับรองด้านสุขอนามัยพืช

การพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ครบทั้ง 37 หน่วยงาน และมีธุรกรรมการให้บริการผ่านระบบ NSW แล้ว 379 รายการ จาก 807 รายการ (คิดเป็นร้อยละ 47)รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์

ที่ออกตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนกับประเทศสมาชิกอาเซียนได้ครบทุกประเทศ และอยู่ระหว่างจัดหาองค์กรผู้ให้บริการ NSW ทั้งนี้ การปรับลดขั้นตอนกระบวนการทำงานภาครัฐใน 5 สินค้ายุทธศาสตร์ ได้แก่ น้ำตาล ข้าว ยางพารา สินค้าแช่แข็ง และวัตถุอันตราย มีความก้าวหน้าตามรายสินค้ายุทธศาสตร์อยู่ระหว่างร้อยละ 37-35

การพัฒนาระบบบริหารจัดการท่าเรือในประเทศ

(1) ท่าเรือศาลาลอย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ระหว่างจัดทำแผนบริหารจัดการ

(2) ท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ จังหวัดตราด อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี

(3) ท่าเรือคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ระหว่างสอบถามความสนใจขององค์การสะพานปลาหรือผู้ที่สนใจ

(4) การบริหารจัดการท่าเทียบเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ระหว่างเสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 (เรื่อง การส่งเสริมการจัดท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร) เพื่อนำพื้นที่บางส่วนของท่าเรือสาธารณะมาใช้ในเชิงพาณิชย์ 2. เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่

2.1 แผนการพัฒนาท่าเรือทางบก (Dry Port)

2.1.1 สาระสำคัญ

(1) แผนการพัฒนาท่าเรือทางบก (Dry Port) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาท่าเรือบกของไทยในระยะยาวให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าสู่การขนส่งทางรางโดยใช้ท่าเรือบกเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งและช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศในภาพรวม โดยแผนดังกล่าวมีวิสัยทัศน์เพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขันของไทยสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางรางของภูมิภาคอาเซียน

(2) แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย 1) การพัฒนาท่าเรือบกเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูง วงเงินรวมประมาณ 30,920 ล้านบาท โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น การก่อสร้างท่าเรือทางบกในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ขอนแก่น และนครสวรรค์ และการปรับปรุงมาตรฐานการเดินรถไฟเพื่อเป้าหมายการตรงต่อเวลาในการให้บริการ 2) การสร้างศักยภาพของท่าเรือบกและธุรกิจสนับสนุน วงเงินรวมประมาณ 830 ล้านบาท โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการจัดตั้งศูนย์อำนวย

ความสะดวกด้านศุลกากรและการตรวจสอบสินค้าในลักษณะ One Stop Service และโครงการจัดตั้งศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างท่าเรือบก ท่าเรือแหลมฉบัง และด่านชายแดน

(3) รูปแบบการลงทุน การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โดยภาครัฐลงทุนค่าจัดหาที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเอกชนบริการพื้นที่ท่าเรือบก

(4) นโยบายและมาตรการอื่นเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนาท่าเรือบก เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งสินค้าทางรางและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนนและการกำหนดให้ท่าเรือบกเป็น ?ที่? เพื่อเป็น ?ด่านศุลกากร? ตามนิยามในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 2.1.2 ความเห็นและประเด็นอภิปราย

(1) ฝ่ายเลขานุการฯ มีความเห็นเพิ่มเติม เช่น 1) ควรศึกษารายละเอียดในเชิงลึกของพื้นที่ที่จะพัฒนาโครงการให้ครบถ้วน รวมทั้งมาตรการสนับสนุนหรือแนวทางแก้ไขผลกระทบที่ได้รับจากการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต 2) จัดลำดับความสำคัญของการดำเนินโครงการฯ โดยนำปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ มาพิจารณา เช่น ต้นทุนค่าที่ดิน ปริมาณตู้สินค้า และขนาดพื้นที่ และ 3) ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบและปัจจัยที่จะส่งผลต่อ

การดำเนินโครงการฯ อย่างรอบด้านรวมทั้ควรกำหนดมาตรการสนับสนุนที่มีความชัดเจน

(2) กบส. มีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ควรดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และประสานรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการ ดำเนินงานอย่างบูรณาการ โดยคำนึงถึงรูปแบบการลงทุนที่มีความเหมาะสม คุ้มค่า และประโยชน์สูงสุด 2) ให้ความสำคัญกับแนวทางการเชื่อมโยงการขนส่งในภูมิภาค โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างทะเลอ่าวไทย ทะเลอันดามัน และทะเลจีนใต้ และ 3) ศึกษาภาพรวมของการขนส่งสินค้าที่มุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยงในแต่ละรูปแบบ

การขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.1.3 มติที่ประชุม

(1) เห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยให้นำความเห็นของฝ่ายเลขานุการฯ และความเห็นของ กบส. ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

(2) มอบหมายให้ คค. จัดทำภาพรวมแนวทางการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงกันในแต่ละรูปแบบการขนส่ง และนำเสนอ กบส. ในการประชุมครั้งต่อไปด้วย

2.2 การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายใต้ความปกติใหม่ (New Normal) จากสถานการณ์

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

2.2.1 แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายใต้ความปกติใหม่ฯ ประกอบด้วย

(1) การดำเนินการของภาครัฐ ประกอบด้วย

กิจกรรม - หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

1) การพัฒนาฐานข้อมูลกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านโลจิสติกส์ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

สศช.

2) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะที่ให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบข้อมูลในการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งและโลจิสติกส์อัตโนมัติ

คค.

3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการสื่อสารให้สามารถรองรับการสร้างธุรกิจใหม่

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคทม (ดศ.)

4) การสนับสนุนความเชื่อมโยงของภาคธุรกิจขนส่งที่ยังสามารถเติบโตได้กับสินค้าเกษตรหรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล

ดศ. และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)

5) การสนับสนุนการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กระทรวงการคลัง (กค.) และ คค.

6) การขจัดอุปสรรคด้านการขนส่งระหว่างประเทศ

กค. และ คค.

(2) ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการดำเนินงานของภาคเอกชนผู้ประกอบการภาคเอกชนควรให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1) การบริหารความเสี่ยงธุรกิจและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 2) การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการคลังสินค้าให้สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3) การใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบจัดเก็บข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้าและการขนส่ง 4) การสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการ โลจิสติกส์และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปร่วมลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน และ 5) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ กบส. มีมติเห็นชอบแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ภายใต้ความปกติใหม่ฯ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [ตามข้อ 2.2.1 (1)] ดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

2.2.2 ข้อเสนอแนะของภาคเอกชน ตัวแทนภาคเอกชนได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 เพื่อเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ สรุปได้ดังนี้

ข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน

การขับเคลื่อนให้โลจิสติกส์เป็นอุตสาหกรรมในการสร้างรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ โดยมีรายได้เพิ่มจากเดิมอย่างน้อย 300,000 ล้านบาทต่อปีภายในปี 2565

ความเห็น : ในปี 2562 มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของธุรกิจโลจิสติกส์มีมูลค่าประมาณ 486,708 ล้านบาททั้งนี้ ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องและปัจจัยหลายด้านที่ยังไม่ได้นำมาใช้คิดคำนวณ

มติ : มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแนวทาง

การดำเนินงานต่อไปการจัดตั้งสำนักงานโลจิสติกส์แห่งชาติและสภาโลจิสติกส์แห่งชาติ เพื่อบูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์ให้อยู่ภายใต้หน่วยงานเดียว

ความเห็น : กบส. เป็นกลไกการขับเคลื่อนในระดับนโยบายโดยมีองค์ประกอบทั้งผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นกรรมการ รวมทั้งมีการกำหนดให้มีแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอรับจัดสรรงบประมาณในการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นในการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าว

มติ : มอบหมายให้ฝ่ายลขานุการฯ ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมาย

การพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลของประเทศไทย(National Digital Trade Platform: NDTP)และการเชื่อมโยงแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-Commerce Platform)

ความเห็น : ภาครัฐควรเร่งสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศใช้ระบบดังกล่าว

มติ : มอบหมาย กค. ดศ. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และสำนักงาน ก.พ.ร. เร่งรัดการพัฒนาระบบ NDTP ร่วมกับภาคเอกชน

ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและสามารถเชื่อมโยงกับระบบการนำเข้าและส่งออกสินค้าอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดตั้งศูนย์โลจิสติกส์เพื่อพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับชุมชน โดยมีหน่วยงานภาครัฐให้บริการด้านการส่งออกและใบอนุญาตต่าง ๆ ซึ่งกรมศุลกากรได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) และอยู่ระหว่างจัดหาหน่วยงานหรือองค์กรเพื่อทำหน้าที่ NSW Operator

มติ : มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) พณ.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงอุตสาหกรม (อก.) และกระทรวงมหาดไทย ยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด (2) กค. คค. และ ดศ. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรองรับการดำเนินงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน และ (3) กค. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกใบอนุญาตและใบรับรองสินค้าเพื่อพัฒนาระบบการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวกต่อผู้ใช้บริการ

การให้บริการของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ควรให้บริการ 24 ชั่วโมง ในกรณีส่งสินค้าเร่งด่วนทางอากาศ

มติ : มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) กค.เป็นหน่วยงานหลักในการประสานหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องดำเนินการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW และ (2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรเจ้าหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนในการให้บริการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม

การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560กรณีมาตรา 102 และมาตรา 152 (ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายบางประการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านพิธีศุลกากร)

มติ : มอบหมายให้ กค. (กรมศุลกากร) พิจารณาความหมาะสมของระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายโดยให้คำนึงถึงกฎระเบียบเป็นสำคัญ

โครงการช่องทางพิเศษสำหรับสินค้าเน่าเสียง่ายโดยอยู่ระหว่างศึกษาโครงการและทำกรอบแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโซ่ความเย็น

มติ : มอบหมายให้ กค. กษ. พณ. และ คค. หารือร่วมกันโดยให้ความสำคัญในการรวมจุดออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและจุดตรวจสินค้าเกษตรในลักษณะการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ

ขอขยายเวลาการลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายลงกึ่งหนึ่งเป็นระยะเวลา 2 ปี การเข้าถึงแหล่งเงินทุน สินเชื่อเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ Soft loan และแปลงสินทรัพย์ทางธุรกิจให้เป็นทุนสามารถใช้ค้ำประกัน

มติ : มอบหมายให้ กค. พิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการและให้ สศช. ติดตามการดำเนินงานในระยะต่อไป

2.2.3 ความเห็นและประเด็นอภิปราย

(1) ควรมีการจัดประชุม กบส. เพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดการผลักดันในเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติในแต่ละประเด็นการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป

(2) มอบหมาย กค. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดติดตามการพัฒนาระบบ NSW ให้มีความสมบูรณ์และครบถ้วนภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 รวมทั้งเร่งรัดการพัฒนาระบบ Port Community System (PCS) เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและเอกสารการขนส่งทางเรือกับระบบ NSW ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

(3) ให้หน่วยงานหรือคณะกรรมการต่าง ๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทาง มาตรการ และกฎระเบียบเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการขนส่งสินค้าให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้อย่างมีศักยภาพ

(4) ให้ คค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาทบทวนข้อบังคับการกำหนดให้เรือขนส่งชายฝั่งที่มารับตู้สินค้าขาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังต้องใช้บริการท่าเทียบเรือชายฝั่ง A เป็นลำดับแรก เพื่อลดผลกะทบด้านต้นทุนและประสิทธิภาพในการให้บริการของผู้ให้บริการขนส่ง

2.2.4 มติที่ประชุม เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ฯและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรับความเห็นและประเด็นอภิปรายของ กบส. ไปดำเนินการ และให้ สศช. ติดตามการดำเนินงานและรายงาน กบส. เพื่อทราบต่อไป 3. เรื่องอื่น ๆ ที่ประชุมได้มีหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของประเทศ ได้แก่

3.1 การตรวจสอบคุณภาพของสินค้าเกษตรที่ผลิตในชุมชน กษ. ชี้แจงว่า ในปัจจุบันได้มีการกำหนดมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย เพื่อการจำหน่ายและบริโภคภายในประเทศแล้ว แต่การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าของประเทศปลายทาง อย่างไรก็ตาม กษ. ได้พัฒนาระบบการทดสอบสินค้าเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของโควิด-19 ในสินค้าประมงเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ กษ. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการได้รับทราบแนวทางการตรวจรับรองสินค้าเกษตรเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐานที่สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ

3.2 การสนับสนุนผู้ประกอบการ e-Commerce เกี่ยวกับการจดทะเบียนรถบรรทุกที่ยังคงมีความล่าช้าในการดำเนินการ และไม่ทันกับความต้องการของผู้ประกอบการจึงควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการจดทะเบียนให้สะดวกและรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ คค. ให้ความสำคัญในการพัฒนาแนวทางหารือรูปแบบการจดทะเบียนรถบรรทุกให้มีความสะดวกและรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น โดยพิจารณานำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ดำเนินการร่วมด้วย เพื่อรองรับกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มศักยภาพ รวมทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ที่เพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของตลาด e-Commerce

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 ธันวาคม 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ