คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ของ คค.
2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการขอรับการสนับสนุนตามที่จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์เสนอ
1.1 จังหวัดบุรีรัมย์ / ประเด็นปัญหา
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
(1) การขาดแคลนน้ำบริเวณบ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอสตึก
แนวทางแก้ไขปัญหา
ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำบ้านท่าม่วงในรูปแบบผสมผสาน มีลักษณะเป็นประตูระบายน้ำเพื่อให้สะดวกต่อการบริหารจัดการน้ำในช่วงแล้ง และระบายน้ำในช่วงน้ำหลาก
การขอรับสนับสนุนงบประมาณ -
(2) การขาดแคลนน้ำ อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มากและอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ก่อสร้างสถานีสูบน้ำใหม่ บริเวณฝายบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ
- ก่อสร้างคลองผันน้ำจากลำปะเทียมาเติมในอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด
การขอรับสนับสนุนงบประมาณ 863 ล้านบาท
ด้านโลจิสติกส์
(1) การยกระดับจุดผ่านแดนถาวรช่องสายตะกู ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด
แนวทางแก้ไขปัญหา
ขอเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยา (บางส่วน) เพื่อก่อสร้างอาคารสถานที่ในพื้นที่ที่จะยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวร
การขอรับสนับสนุนงบประมาณ 15 ล้านบาท
(2) พัฒนาโครงข่ายทางหลวงหมายเลข 348
แนวทางแก้ไขปัญหา
ขยายช่องจราจรเป็นแบบ 4 ช่องจราจรในช่วงที่มีปัญหาการจราจรติดขัด
(3) ก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองประโคนชัย ทางเลี่ยงเมืองนางรอง และทางเลี่ยงเมืองบุรีรัมย์
แนวทางแก้ไขปัญหา
ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียด พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
ด้านอื่น ๆ
(1) การออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกินบริเวณบ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์
แนวทางแก้ไขปัญหา
ตรวจสอบแนวเขตและเนื้อที่สาธารณประโยชน์ให้ชัดเจนก่อนออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชน
(2) รายได้เกษตรกรลดลง (ราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ)
แนวทางแก้ไขปัญหา
เร่งรัดการดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวและการจ่ายเงินส่วนต่างโครงการประกันรายได้
(3) ปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย
แนวทางแก้ไขปัญหา
ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดการขยะแบบรวมกลุ่มโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
(4) การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวและกีฬา
แนวทางแก้ไขปัญหา
ส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal)
1.2 จังหวัดสุรินทร์
ประเด็นปัญหา
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
(1) การขาดแคลนน้ำที่อ่างเก็บน้ำสุวรรณาภา อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง อ่างอำปึล และฝายยางบ้านตระแสง
แนวทางแก้ไขปัญหา
- สูบน้ำจากลำห้วยเสนงมาเติมอ่างเก็บน้ำสุวรรณาภา
- ทำท่อระบายน้ำคอนกรีตรูปทรงสี่เหลี่ยมลอดใต้ทางหลวงหมายเลข 24
- ปรับปรุงเสริมฝายพับได้บนสันทางน้ำล้นของอ่าง
- ขุดลอกอ่างเก็บน้ำให้มีความลึกจากแนวระดับน้ำเดิม
- ขอปรับปรุงฝายยางเป็นฝายพับได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลผ่านฝายได้ดียิ่งขึ้น
(2) ทางหลวงหมายเลข 2378 ตอนอำเภอจอมพระ ? อำเภอสตึก และทางหลวงหมายเลข 226 ตอนสุรินทร์ ? ห้วยทับทัน ยังมีบางช่วงที่ยังเป็น 2 ช่องจราจรทำให้เดินทางไม่สะดวก
แนวทางแก้ไขปัญหา
ปรับปรุงถนนและเพิ่มช่องทางจราจรเป็น 4 ช่องทาง และเร่งรัดการจัดทำ EIA
การขอรับสนับสนุนงบประมาณ 135 ล้านบาท
ด้านการค้าชายแดน
(1) การเข้าใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างด่านศุลกากรช่องจอมแห่งใหม่เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ทับซ้อนของ 3 หน่วยงาน
แนวทางแก้ไขปัญหา
เร่งรัดให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทบทวนการขออนุญาตใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อขยายพื้นที่ด่านศุลกากรและให้บริการประชาชนต่อไป
ด้านอื่น ๆ
(1) ประชาชนไม่มีเอกสารสิทธิ์บนพื้นที่ที่ครอบครองอยู่
แนวทางแก้ไขปัญหา
ขอให้พิจารณายกเลิกเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
(2) ควาญช้างและช้างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
แนวทางแก้ไขปัญหา
แก้ไขปัญหาช้างตกงานจำนวน 180 เชือก เชือกละ 10,800 บาท/เดือน เป็นเวลา 8 เดือน
การขอรับสนับสนุนงบประมาณ 15.52 ล้านบาท
(3) เส้นทางที่ใช้ในการเดินทางเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยระไซร์เป็นถนนดินลูกรัง ทำให้มีความยากลำบากในการเดินทาง
แนวทางแก้ไขปัญหา
ปรับปรุงและซ่อมแซมถนนให้เป็นถนนลาดยางเพื่อสะดวกต่อการสัญจรเข้าแหล่งท่องเที่ยว
การขอรับสนับสนุนงบประมาณ 25 ล้านบาท
(4) รายได้เกษตรกรลดลง
แนวทางแก้ไขปัญหา
ดำเนินมาตรการเพื่อช่วยให้ราคาข้าวเปลือกเพิ่มสูงขึ้น
(5) การช่วยเหลือครัวเรือนยากจนจำนวน 11,635 ครัวเรือน
แนวทางแก้ไขปัญหา
สนับสนุนให้เลี้ยงโคเนื้อ ไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง และแพะ
(6) ส่วนราชการใช้พื้นที่ด้านฝั่งทิศใต้ของจังหวัดสุรินทร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
แนวทางแก้ไขปัญหา
มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ดังนี้
2.1 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 อย่างเคร่งครัด โดยให้ประเมินผลและรายงานให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบ รวมทั้งเร่งรัดการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเตรียมความพร้อมในการรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติตามนโยบายของรัฐบาลที่เริ่มมีการผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศ โดยให้ประสานจังหวัดใกล้เคียงเพื่อร่วมกันจัดหาสถานที่กักตัวของรัฐและจัดการระบบการขนส่งผู้โดยสารอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 ด้านภัยแล้ง ให้พิจารณาหาแนวทางการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจศึกษาต้นแบบการดำเนินการของจังหวัดเลยในเรื่องการกักเก็บและระบบการส่งน้ำมาใช้ให้มีรูปแบบที่เหมาะสม และส่งเสริมให้หน่วยงานราชการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น โดยรณรงค์การปลูกต้นไม้ที่ให้ประโยชน์ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ชุมชน และในพื้นที่ในความดูแลของหน่วยงานและพื้นที่ป่า
2.3 ด้านที่ดินทำกิน ให้พิจารณาหาแนวทางในการจัดสรรที่ดินทำกินตามนโยบายของภาครัฐ โดยเน้นการจัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชนที่มีความต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินเพื่อเลี้ยงชีพโดยแท้จริง
2.4 ด้านการท่องเที่ยว ให้พัฒนารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดให้มีความทันสมัยและน่าสนใจ เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดมากยิ่งขึ้น
2.5 ด้านความเหลื่อมล้ำในสังคม ให้สำรวจข้อมูลและทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
2.6 ด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ให้สำรวจพื้นที่ที่ยังมีความต้องการให้มีการพัฒนาเพิ่มเติมจากที่ คค. ได้ดำเนินการหรือมีแผนงานที่จะพัฒนาไว้อยู่แล้วและประสาน คค. ทราบต่อไป
2.7 ด้านอื่น ๆ ให้ คค. ตั้งคณะทำงาน 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการติดตามการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่ เพื่อรับฟังและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และสนับสนุนการดำเนินงานในระดับพื้นที่ และคณะทำงานเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาการขอใช้พื้นที่เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรช่องจอมแห่งใหม่ จังหวัดสุรินทร์ ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ให้ทุกส่วนราชการในจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ โดยจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายอย่างเคร่งครัดและยึดแนวทางการบริหารอย่างมีธรรมาภิบาล 3. คค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้มีการนำผลการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ของ คค. ไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม จึงมีประเด็นที่ต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) นำไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง / ตัวอย่างประเด็นปัญหาที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ
กค. (เช่น กรมศุลกากร)
- การเข้าใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างด่านศุลกากรช่องจอม
กก. (เช่น สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์)
- การเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่
กษ. (เช่น สำนักงานชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม)
- การแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย
- การดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตร
ทส. (เช่น สำนักงานทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)
- การพิจารณาขอเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยา (บางส่วน) เพื่อก่อสร้างอาคารช่วงรับการยกระดับจุดผ่านแดนถาวรช่องสายตะกู
- การแก้ไขปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย
- การช่วยเหลือควาญช้างและช้างที่ได้รับผลกระทบจาก Covid ? 19
- การแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่ป่าของส่วนราชการโดยไม่ได้รับอนุญาต
พณ. (เช่น สำนักงานพาณิชย์จังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์)
- การพิจารณามาตรการเพื่อช่วยให้ราคาข้าวเปลือกเพิ่มสูงขึ้น
มท. (เช่น สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์)
- การแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน
- การซ่อมแซมถนนดินลูกรัง
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 ธันวาคม 2563