ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลกระทบจากประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ศึกษากรณีการดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร

ข่าวการเมือง Wednesday December 23, 2020 10:27 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลกระทบจากประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ศึกษากรณีการดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร การจำกัดเสรีภาพ การแสดงออกและการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชน

คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลกระทบจากประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ศึกษากรณีการดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร การจำกัดเสรีภาพ การแสดงออกและการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชนของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป

เรื่องเดิม

1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลกระทบจากประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ศึกษากรณีการดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร การจำกัดเสรีภาพ การแสดงออกและการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชน ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ผลกระทบจากการพิจารณาคดีพลเรือนในศาลทหาร 2) ผลกระทบจากการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชน และ 3) ผลกระทบจากการจำกัด เสรีภาพการแสดงออกของประชาชน

2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีก (สคก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสัเกตและข้อเสนอแนะดังกล่ว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

ข้อเท็จจริง

ยธ. เสนอว่า ได้ร่วมประชุมหรือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม สำนักงานคณะกรมการกฤษฎีกา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยพิจารณาข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ แล้ว สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้ 1. ผลกระทบจากการพิจารณาคดีพลเรือนในศาลทหาร

1.1 การยกเลิกไม่ให้พลเรือนขึ้นสู่การพิจารณาของศาลทหาร โดยยกเลิกพระราชบัญญัติ กฏอัยการศึก พุทธศักราช 2557 มาตรา 7 มาตรา 7 ทวิ และมาตรา 7 ตรี เพื่อไม่ให้ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฏอัยการศึกประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีพลเรือน ซึ่งเห็นว่ากฎอัยการศึกป็นกฎหมายที่ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองและความมั่นคงของรัฐ เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยในเขตที่ประกาศใช้กฏอัยการศึกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะดดีอาญาบางประเภทที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือนเท่านั้นไม่ได้มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาทุกดดีความ นอกจากนี้ การพิจารณาคดีในศาลทหารยังมีหลักปฏิบัติที่ไม่แตกต่างจาก พลเรือนเนื่องจากนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในการดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาคดีรวมทั้งมีการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ของพลเรือน เช่น สิทธิในการเข้าถึงทนายความ สิทธิในการได้รับการประกันตัว ดังนั้น จึงมีความจำเป็นคงกฎอัยการศึกไว้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง อย่างไร ก็ตาม หากมีข้อจำกัดในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชนในศาลทหาร เช่น การที่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาศาลทหารชั้นต้นต่อศาลที่ลำดับชั้นสูงขึ้นไป หรือการพิจารณาคดีที่ล่าช้ากระทบต่อสิทธิที่จะได้รับ การพิจารณคดีในเวลาที่เหมาะสมของจำเลย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจร่วมกันพิจารณาเพื่อหาทางแก้ไขร่วมกันต่อไป

1.2 ยธ. เสนอว่า หากจะให้ศาลทหารมีอำนาจโดยเด็ดขาดในการพิจารณาพิพากษาคดีแก่พลรือน ควรกำหนดเฉพาะในความผิดอาญาบางประเภทที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ความผิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ และในส่วนกฎอัยการศึกนั้นเห็นว่ายังคงเป็นกลไกทางกฎหมายที่ยังมีเหตุผลความจำเป็นของการมีไว้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2. ผลกระทบจากการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชน

2.1 การใช้มาตรการทางปกครองที่เหมาะสม ทั้งการชี้แจงทำความเข้าใจและขอความร่วมมือ การมีคำสั่งตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งการพิจารณากำหนดมาตรการทางปกครองต่อผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายมีการคำนึงถึงความเหมาะสมกับพฤติการณ์และผลกระทบที่เกิดจากการกระทำความผิดนั้น ซึ่งอยู่ภายใต้กระบวนการตามกฎหมาย รวมทั้งได้มีการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาราณชนให้รับทราบ อันเป็นการดำเนินงานตามมาตรการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ระเบียบว่าด้วยการรักษา

ความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 และระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยข้อบังคับการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2555 เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบและสืบค้นข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

2.2 ยธ. เสนอว่า การเสนอให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ เกี่ยวกับการกำหนดให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอำนาจใน การสั่งห้ามการเสนอข่าวแม้จะยังไม่ถูกยกเลิก แต่โดยปัจจุบันไม่มีเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยออกคำสั่งได้ซึ่งทำให้คำสั่งไม่มีสภาพบังคับ ส่วนกรณีให้อำนาจหน่วยงานรัฐในการควบคุมและลงโทษสื่อซึ่งการดำเนินงานต่าง ๆ มีกระบวนการและกลไกทางกฎหมายที่เข้ามาควบคุมการพิจารณา การใช้อำนาจของหน่วยงานรัฐให้เป็นไปโดยสุจริต

และได้ให้สิทธิแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการที่จะโต้แย้งการใช้อำนาจได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว รวมทั้งหากมีความจำเป็นจะต้องมีการพิจารณายกเลิกหรือแก้ไขประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. จะต้องดำเนินการโดยกระทำเป็นพระราชบัญญัติ เว้นแต่ประกาศหรือคำสั่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางบริหาร การยกเลิกให้กระทำโดยคำสั่งนายกรัฐนตรี หรือมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตามมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งจะต้องพิจารณาควบคู่กับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นของการยกเลิก และดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติดังกล่าว 3. ผลกระทบจากการจำกัดเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน

3.1 การเสนอให้ยกเลิกประกาศ คสช. คำสั่ง คสช และคำสั่งหัวหน้า คสช. ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ได้กำหนดหลักการและแนวทางในการเสนอกฎหมายและการปรับปรุงแก้ไขหรือยกลิกกฎหมายไว้แล้ว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาเหตุผล ความจำเป็นและดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การยกเลิกประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. และในส่วนของการแก้ไขกฎหมายเป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องพิจารณาดำเนินการ หากกมีการแก้ไขหน่วยงานที่เกี่ยวข้องย่อมจะต้องพิจารณาและดำเนินการให้เป็นไปตาม

กฎหมายนั้นต่อไป รวมทั้งการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวโดยมีพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 กำหนดหลักเกณฑ์ไว้แล้ว

3.2 ยธ. เสนอว่า การจำกัดเสรีภาพการแสดงออก เมื่อพิจารณาถึงประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่เกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนจะมีการแบ่งประเภทของการจำกัดเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน เป็น 3 ประเภท คือ การห้ามชุมนุมทางการเมือง การฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัวและการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการปล่อยตัวซึ่งประกาศและคำสั่งดังกล่าวได้มีการยกเลิกไปแล้วบางฉบับ แต่ปัจจุบันได้มีประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก ประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่อง ห้ามชุมนุมทางการเมืองดังกล่าวแล้ว

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 ธันวาคม 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ