เรื่อง ของขวัญปีใหม่ ปี 2564 (กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ปี 2564 มอบให้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เสนอ โดยมีโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ เช่น
สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้จัดทำโครงการของขวัญปีใหม่ปี 2564 ดังนี้ 1. ธนาคารออมสิน มอบเงิน 500 บาท ให้กับลูกค้ารายย่อยที่ใช้บริการสินเชื่อ และเพิ่มรางวัลพิเศษของสลากออมสิน Digital ?ฉลองปีใหม่ 64? จำนวน 20 รางวัล 2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โอนคืนดอกเบี้ยเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากให้แก่ลูกค้าสำหรับหนี้เงินกู้ จัดชั้นปกติ และ NPLs 3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โอนเงินของขวัญปีใหม่จำนวน 1,000 บาท และ 500 บาท แก่ลูกค้าผู้ได้รับสิทธิ 4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน แก่ SMEs เติมทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติม และจัดมหกรรม ?SMEs D Shopping? เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ในการเพิ่มยอดขายสินค้าและช่องทางขายสินค้า 5. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ช่วยจัดสรรการผ่อนชำระ ลดอัตราดอกเบี้ย และลดค่างวดผ่อนชำระให้แก่ลูกหนี้ 6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โดยผู้ประกอบการเริ่มต้น ธุรกิจส่งออกและผู้ประกอบการ SMEs สามารถยื่นขอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งยกเว้น/ลดค่าวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้เอาประกันรายใหม่/รายเดิม 7. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมนิติกรรมสัญญา และค่าประเมินหลักประกันสำหรับลูกค้าที่ขอใช้บริการสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และให้อัตรากำไรพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป
1. กิจกรรมมอบของขวัญเกษตรกรไทย มีกิน มีใช้ มีรายได้พอเพียง ประชาชน และเกษตรกรได้รับประโยชน์ 1,776,595 คน เช่น โครงการชลประทานขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำและระบายน้ำ การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และครุภัณฑ์ให้กับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน และโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ?ช้อปวิถีใหม่ ส่งสุขทั่วไทยถึงหน้าบ้าน? 2. กิจกรรมเสริมพลังปีใหม่ จำหน่ายสินค้าราคาพิเศษ สินค้าเกษตรคุณภาพ ประชาชนและเกษตรกรได้รับประโยชน์ 7,905 คน เช่น การจัดหาสินค้าดีมีคุณภาพ เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนและเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกร 3. กิจกรรมเพิ่มสุขปีใหม่ เที่ยวทั่วไทย สุขใจไปกับ กษ. มี 3 กิจกรรมย่อย ดังนี้ (1) การเปิดสถานที่ราชการ ปรับภูมิทัศน์รองรับนักท่องเที่ยว เช่น ศูนย์วิจัยข้าว แม่ฮ่องสอน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (2) การเปิดสถานที่ให้ประชาชนเข้าชมฟรี/ลดค่าบริการ เช่น สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ กทม. พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก (3) การให้บริการจุดบริการประชาชน เช่น จุดพักรถ ห้องน้ำ ขนมและน้ำดื่ม
1. บริการส่ง SMS เพื่อแจ้งเตือนภัยธรรมชาติผ่านโทรศัพท์มือถือ ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ไปยังประชาชนหรือนักท่องเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 2. บริการข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ผ่านเว็บไซต์ของศูนย์อุตุนิยมวิทยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 3. บริการโทรศัพท์ประจำที่ของ บมจ. ทีโอที ทุกเลขหมาย (Fixed Line) ระหว่าง วันที่ 30 ธ.ค. 63 ถึงวันที่ 2 ม.ค. 64 4. บริการโทรหาหรือส่งคำอวยพรปีใหม่ให้ผู้ที่อยู่ในต่างประเทศได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ถึง 00.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2564 5. โครงการส่งการ์ดอวยพรช่วงเทศกาลปีใหม่ 64 โดยงดเว้นค่าตราไปรษณียากร ผ่านบริการไปรษณีย์ 6. โครงการให้ส่วนลด ร้อยละ 20 สำหรับการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ จากผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าชุมชนบนเว็บไซต์ www.thailandpostmart.com
1. พาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชน ?New Year Grand Sale 2021? โดยผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ห้างค้าปลีกค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ มากกว่า 16,900 สาขา ทั่วประเทศ ลดราคาสินค้าสูงสุดร้อยละ 80 เช่น อาหารและเครื่องดื่ม อาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง และของใช้ประจำวัน 2. มหกรรมธงฟ้าต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 64 โดยนำสินค้าอุปโภคบริโภค มาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรงในราคาต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป ร้อยละ 20-40 3. งานแสดงและจำหน่ายสินค้า เช่น (1) งานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่มีคุณภาพโดดเด่นจาก Farm Outlet และ Organic Farm Outlet ที่เซ็นทรัลเวสต์เกต และเซ็นทรัลปิ่นเกล้า (2) ส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและบริการในตลาดชุมชนในพื้นที่ ส่วนภูมิภาคช่วงเทศกาลหยุดยาว ณ จ. นครศรีธรรมราช มหาสารคาม เลย ชลบุรี น่าน ชัยภูมิ และเชียงใหม่ 4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ในการประกอบธุรกิจ เช่น (1) สัมมนาตรวจสุขภาพ คู่ค้าเสริมคาถาธุรกิจ มอบโปรโมชันประกันการส่งออกในอัตราพิเศษ จาก Exim Bank (Exim for Small Biz) ในวงเงินรับประกันสูงสุด 2 ล้านบาท (2) สอนใช้แพลตฟอร์ม Tik Tok ในการทำธุรกิจ โดยกูรูออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านกิจกรรม Workshop ?ครบเครื่องเรื่องการค้าออนไลน์ ปี 64? รับผู้สนใจกว่า 400 ราย ณ อาคารสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่
1. สถานธนานุบาลของ อปท. ทั่วประเทศ (251 แห่ง) พร้อมใจลดอัตราดอกเบี้ย เช่น (1) เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท 2 เดือนแรก ไม่คิดดอกเบี้ย หลังจากนั้นคิดอัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน (2) เงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 1.0 ต่อเดือน 2. กทม. ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเดินทางและลดความแออัดของการรับบริการโดยไม่ต้องมาที่โรงพยาบาล โดยดำเนินการ เช่น (1) พัฒนาระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Mobile lab โดยการจัดบริการเจาะเลือด เก็บปัสสาวะถึงบ้าน (2) จัดยาไปมอบให้ที่บ้าน (3) นำเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วย ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ 3. กรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำโครงการเผยแพร่องค์ความรู้ตามกฎหมายควบคุมอาคาร (พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522) ให้มีเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย โดยเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ของกรมโยธาธิการและผังเมือง เผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เพื่อให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 4. พัฒนา Mobile Application ภายใต้ชื่อ ?SmartLands? ที่รวบรวมช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและบริการของกรมที่ดินไว้ที่จุดเดียว เพื่ออำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน 5. การประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวงลดค่าติดตั้งประปาใหม่ ร้อยละ 10 ระยะเวลา 2 เดือน สำหรับผู้ใช้น้ำรายใหม่
วธ. ได้ดำเนินโครงการ ?ส่งสุขวิถีใหม่ สืบสานวิถีไทย ปลอดภัยสร้างสรรค์? ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้ 1. กิจกรรมเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เช่น การงดเว้นค่าเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ การเปิดให้บริการหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินในวันหยุดสิ้นปี 2. กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ส่งความสุขแบบไทย เช่น การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมและการแสดงพื้นบ้าน โครงการสืบศาสตร์ สานศิลป์ ศิลปินแห่งชาติ กิจกรรมรณรงค์ปีใหม่ไทยใช้ของไทย ส่งความสุขแบบไทย เป็นของขวัญปีใหม่
1. การเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน โดยคำนวณเพิ่มค่าอาหารกลางวันที่เหมาะสมตามขนาดโรงเรียนในช่วง 21-36 บาท/คน/วัน เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างเหมาะสม และแบ่งเบาภาระของครู ในการใช้งบฯ เพื่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเกี่ยวกับอาหารกลางวันนักเรียน 2. กิจกรรมอาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน เทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2564 โดยจัดบริการจุดพักคนและจุดพักรถ จำนวน 259 จุดบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ให้บริการเครื่องดื่ม กาแฟ ผ้าเย็น สอบถามข้อมูลเส้นทาง และตรวจสภาพรถ 3. โครงการปฏิบัติการตรวจเข้มข้นรถโดยสาร หมวด 2 และหมวด 3 เพื่อให้ประชาชนกว่า 1.6 ล้านคน มีความปลอดภัยในการเดินทาง และนักเรียน นักศึกษา จำนวน 9,500 คน ได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะ จากการทำงานในสถานที่จริง
โครงการคนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน เพื่อให้คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน (หมอประจำบ้าน หมอสาธารณสุข หมอครอบครัว) ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษา และฟื้นฟูสภาพ
1. กิจกรรมจัดงาน OUTLET มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน ณ บริเวณโดยรอบ อก. (ระหว่างวันที่ 22-25 ธ.ค. 63) และส่วนภูมิภาค (ภายในเดือน ม.ค. 64) 2. การดูแลเกษตรกรและประชาชนทั่วประเทศ เช่น โครงการเพื่อเกษตรกรชาวไร่อ้อย ระบบประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โครงการเหมืองแร่ปลอดภัย ห่วงใยประชาชน ปีที่ 4 3. การลดภาระ เสริมสภาพคล่อง และยกระดับผู้ประกอบการ เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องจักร การลดค่าบริการการใช้ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางเคมี การลดหย่อนภาษี 1.25 เท่าสำหรับการซื้อพลาสติกย่อยสลายทางชีวภาพ
กห. ได้กำหนดแผนงาน/โครงการ ?เติมความสุขให้คนไทย ตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่ จากใจทหาร? โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้ 1. การจัดเตรียมกำลังเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน 2. การจัดตั้งจุดบริการช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยว เช่น การจัดจุดพักรถ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การให้บริการข้อมูลการเดินทาง การบริการสุขาเคลื่อนที่ 3. การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยวทางทะเล จำนวน 6 จุด 4. การจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคราคาถูกภายในพื้นที่ของหน่วยทหารทั่วประเทศ จำนวน 80 แห่ง 5. การเปิดแหล่งท่องเที่ยวและพิพิธภัณฑ์ในเขตทหาร 35 แห่งทั่วประเทศ โดยไม่คิดค่าบริการ 6. การให้บริการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการเกษตรผสมผสานตามแนวทางศาสตร์พระราชา จำนวน 30 แห่ง ในหน่วยทหารทั่วประเทศ
1. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 โดยภาครัฐจะร่วมจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไปร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 150 บาท/คน/วัน 2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 โดยช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น จำนวน 500 บาท/คน/เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน 3. การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนา ภายในประเทศ โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาภายในประเทศ เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายตามจริง 4. โครงการกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส ที่ให้ความคุ้มครองทั้งอุบัติเหตุและโควิด-19 ในคราวเดียวกัน โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 30 วัน อัตราเบี้ยประกันภัย 10 บาท (รวมตัวกันเป็นกลุ่ม 10 คนขึ้นไป) 5. มาตรการเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางการเงิน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ให้กับผู้กู้ยืมเงิน ก.ย.ศ. เช่น มาตรการลดเบี้ยปรับ การเพิ่มอัตราการลดเงินต้น จากเดิมร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 6. โครงการไมโครไซต์ศูนย์รวมความรู้การระดมทุนผ่านตลาดทุน เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้ด้านการระดมทุนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs
1. การยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และทำงพิเศษที่กำหนด 2. โครงการอำนวยความสะดวกในการชำระค่าผ่านทางสำหรับผู้ใช้ทางยกระดับดอนเมือง 3. การให้บริการเรือข้ามฟากฟรีจากท่าเรือปากคลองสานมายังท่าเรือกรมเจ้าท่า 4. การให้บริการรับ-ส่งฟรีระหว่างสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) กับสถานีรถไฟฟ้า BTS และกรมการขนส่งทางบก 5. การปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานครและขยายเวลาเปิดให้บริการรถไฟฟ้า 6. การบริการที่จอดรถฟรี ณ ท่าอากาศยานของ บมจ. ท่าอากาศยานไทย 7. การขยายเวลาเปิดบริการเลื่อนล้อต่อภาษี และจัดกิจกรรม ?ตรวจรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ในช่วงเทศกาลปีใหม่? 8. โครงการ ?คุ้มครองทั่วไทย คุ้มใจให้สุข? โดยมอบวัตถุมงคล จำนวน 999 เหรียญ ให้แก่ผู้โดยสารที่ใช้บริการ ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) 9. การจัดกระเป๋าส่งความสุข จำนวน 10,000 ใบ ณ สถานีหัวลำโพง
ทส.
1. ของขวัญช่วงเทศกาลปีใหม่ สร้างสุขของคนไทย มีกิจกรรมและบริการ ดังนี้ (1) จุดบริการประชาชนทั่วประเทศ ทั้งทางบก ทางทะเล และจุดที่ตั้งอากาศยาน รองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน (2) กิจกรรมนันทนาการในพื้นที่โครงการป่าในเมือง ?สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย? จำนวน 55 แห่ง (3) การให้บริการและยกเว้นค่าเข้าแหล่งท่องเที่ยวสำหรับบุคคลชาวไทย เช่น พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา สวนพฤกษศาสตร์ (4) การลดราคาผลิตภัณฑ์ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และมอบส่วนลดค่าบริการบ้านพักนักท่องเที่ยว ร้อยละ 20 ใน 4 สถานที่ท่องเที่ยว (5) โครงการบำรุงรักษารถยนต์เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 โดยให้บริการตรวจสภาพรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และมอบส่วนลดน้ำมันเครื่อง 2. ของขวัญสำหรับปี 2564 (1) การจัดสรรที่ดินทำกินให้ประชาชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (2) การจัดทำโครงการ ?พฤกษชาติมหามงคล? โดยพิธีเจริญพระพุทธมนต์ แจกกล้าไม้มงคล 10 ล้านกล้า 10 ชนิด (3) การจ้างงานในกิจกรรมการปลูกสร้างสวนป่า ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำนวน 5,500 คน (4) การจัดหาน้ำต้นทุนเพื่อสนองความต้องการใช้น้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน พื้นที่นอกเขตชลประทาน 32 จังหวัด จำนวน 65 แห่ง และพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน พื้นที่นอกเขตชลประทาน 40 จังหวัดจำนวน 117 แห่ง (5) การให้บริการจุดจ่ายน้ำบาดาลเพื่อประชาชนตามถนนสายหลักทั่วประเทศ
กปส. ได้จัดทำแผนงานโครงการที่จะมอบเป็นของขวัญปีใหม่ในปี 2564 ดังนี้ 1. ศูนย์ข้อมูลต้นทางของประเทศในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพด้านข่าวสาร เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชน และเปิดช่องทางการสื่อสารให้แก่ประชาชนและสื่อมวลชนผ่านเพจ Facebook ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 2. การประชาสัมพันธ์แผนงานโครงการสำคัญภาครัฐที่จะมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์ สื่อสังคมออนไลน์ หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน เครือข่ายสื่อมวลชน
1. โครงการบัตรผู้พิการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบเหมือนกับบัตรผู้พิการแบบเดิมทุกประการ โดยผู้พิการสามารถใช้งานได้บนสมาร์ทโฟน แบบไร้กังวลการสูญหายหรือชำรุด และเป็นช่องทางหลักสำหรับการสื่อสารระหว่างภาครัฐและผู้พิการทั่วประเทศ 2. การปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในที่หรือทางสาธารณะ ในเขตพื้นที่ กทม. เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยให้สามารถประกอบอาชีพในที่หรือทางสาธารณะในเขตพื้นที่ กทม. โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของวิถีชุมชน และการสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการใช้พื้นที่สาธารณะ
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 ธันวาคม 2563