คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ปี 2548 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสาธารณสุขไปประกอบการดำเนินงานด้วย
ทั้งนี้ มติคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมี ดังนี้
1. การอนุญาตให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่จดทะเบียนราษฎรคนต่างด้าวและได้รับอนุญาตทำงานปี 2547 และผู้ติดตาม อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับและทำงานต่อไปได้อีก 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1.1 กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงเพื่อขยายระยะเวลาให้คนต่างด้าวกลุ่มนี้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับต่อไปอีก 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549 โดยยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 แต่ให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองดำเนินการจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และกำหนดเงื่อนไขอนุญาตออกนอกเขตพื้นที่ให้ครอบคลุมคนต่างด้าวติดตามนายจ้างด้วย
1.2 กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการกำหนดอัตราค่าตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพโรคที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน และสถานพยาบาลที่จะตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
1.3 กระทรวงแรงงาน ออกประกาศให้นายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนนายจ้าง และแจ้งความต้องการภายในระยะเวลาที่กำหนด อนุญาตให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับทำงานได้
2. คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่จดทะเบียนไว้กับกรมการปกครองแล้ว ให้ดำเนินการตรวจสุขภาพและขอรับใบอนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2548 หากไม่ดำเนินการภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2547 คือ จับกุมและดำเนินคดีทั้งนายจ้างและคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองอย่างเคร่งครัด
3. การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบปี 2547 ในระยะที่ 2 เพื่อให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่จัดทำทะเบียนราษฎรคนต่างด้าวไว้แล้วในระยะที่ 1 ได้รับการรับรองสถานะให้เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยถูกกฎหมายและทำงานได้ และการอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวรายใหม่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยถูกต้องตามกฎหมายเพื่อทำงานกรรมกรได้ ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน (MOU) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแล้วบางส่วนและจะต้องดำเนินการต่อไป ดังนี้
3.1 กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงเพื่อยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้คนต่างด้าวสัญชาติลาวและกัมพูชา ที่ได้รับการรับรองสถานะแล้วใช้เอกสารรับรองสถานะที่ออกให้โดยประเทศต้นทางแทนหนังสือเดินทาง เพื่อให้คนต่างด้าวที่ได้รับการรับรองสถานะ และคนต่างด้าวรายใหม่สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมายทำงานกรรมกรได้ ซึ่งการรับรองสถานะขณะนี้ได้ดำเนิน การแล้ว คือ ลาวและกัมพูชา ส่วนพม่าอยู่ระหว่างการเจรจา
3.2 กระทรวงแรงงาน เสนอเพื่อขอแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำเพื่อให้คนต่างด้าวที่ได้รับการรับรองสถานะและคนต่างด้าวรายใหม่ 3 สัญชาติที่เข้าเมืองถูกกฎหมายทำงานเป็นกรรมกรได้
3.3 ผู้ติดตามของคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ได้รับการรับรองสถานะหากผู้ติดตามได้รับการรับรองสถานะด้วย ให้ขอวีซ่าอยู่ในราชอาณาจักรได้เช่นเดียวกับคนต่างด้าวรายนั้น ส่วนในต่างด้าวรายใหม่ให้เข้ามาเฉพาะตัวแรงงานต่างด้าวเท่านั้น
4. การอนุญาตให้เข้ามาทำงานในลักษณะมาเช้า-กลับเย็น และการเข้ามาทำงานตามฤดูกาลบริเวณชายแดน ซึ่งถือเป็นการเดินทางเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย ประเทศกัมพูชาและลาว เห็นชอบในหลักการที่จะดำเนินการร่วมกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการเจรจารายละเอียดเพื่อนำเข้าพิจารณาในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในครั้งต่อไป ซึ่งประเทศกัมพูชาและลาวจะเป็นเจ้าภาพ เมื่อมีการเจรจาในรายละเอียดแล้วเห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
4.1 กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงเพื่อยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ใช้เอกสารอื่นแทนหนังสือเดินทาง และเข้ามาทำงานเป็นกรรมการหรือรับจ้างทำงานด้วยกำลังกายได้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกของคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในลักษณะนี้ ในการออกวีซ่าควรมอบให้หน่วยงานของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองบริเวณชายแดนมีหน้าที่ออกวีซ่าได้
4.2 กระทรวงแรงงาน พิจารณากำหนดค่าธรรมเนียมการทำงานลักษณะนี้ให้เหมาะสม และมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานกรรมกรได้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
4.3 การควบคุมคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในลักษณะมาเช้า-กลับเย็น หรือตามฤดูกาลบริเวณชายแดน ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการเข้ามามีส่วนรับผิดชอบดูแลคนต่างด้าวให้กลับประเทศของตนเมื่อเสร็จสิ้นการจ้างงานตามลักษณะดังกล่าว
5. ให้กระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพหลักในการรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และให้ดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจับกุม ดำเนินคดีคนต่างด้าวและนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งสกัดกั้นการเข้ามาใหม่ของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองอย่างเคร่งครัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ มติคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมี ดังนี้
1. การอนุญาตให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่จดทะเบียนราษฎรคนต่างด้าวและได้รับอนุญาตทำงานปี 2547 และผู้ติดตาม อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับและทำงานต่อไปได้อีก 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1.1 กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงเพื่อขยายระยะเวลาให้คนต่างด้าวกลุ่มนี้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับต่อไปอีก 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549 โดยยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 แต่ให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองดำเนินการจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และกำหนดเงื่อนไขอนุญาตออกนอกเขตพื้นที่ให้ครอบคลุมคนต่างด้าวติดตามนายจ้างด้วย
1.2 กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการกำหนดอัตราค่าตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพโรคที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน และสถานพยาบาลที่จะตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
1.3 กระทรวงแรงงาน ออกประกาศให้นายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนนายจ้าง และแจ้งความต้องการภายในระยะเวลาที่กำหนด อนุญาตให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับทำงานได้
2. คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่จดทะเบียนไว้กับกรมการปกครองแล้ว ให้ดำเนินการตรวจสุขภาพและขอรับใบอนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2548 หากไม่ดำเนินการภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2547 คือ จับกุมและดำเนินคดีทั้งนายจ้างและคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองอย่างเคร่งครัด
3. การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบปี 2547 ในระยะที่ 2 เพื่อให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่จัดทำทะเบียนราษฎรคนต่างด้าวไว้แล้วในระยะที่ 1 ได้รับการรับรองสถานะให้เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยถูกกฎหมายและทำงานได้ และการอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวรายใหม่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยถูกต้องตามกฎหมายเพื่อทำงานกรรมกรได้ ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน (MOU) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแล้วบางส่วนและจะต้องดำเนินการต่อไป ดังนี้
3.1 กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงเพื่อยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้คนต่างด้าวสัญชาติลาวและกัมพูชา ที่ได้รับการรับรองสถานะแล้วใช้เอกสารรับรองสถานะที่ออกให้โดยประเทศต้นทางแทนหนังสือเดินทาง เพื่อให้คนต่างด้าวที่ได้รับการรับรองสถานะ และคนต่างด้าวรายใหม่สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมายทำงานกรรมกรได้ ซึ่งการรับรองสถานะขณะนี้ได้ดำเนิน การแล้ว คือ ลาวและกัมพูชา ส่วนพม่าอยู่ระหว่างการเจรจา
3.2 กระทรวงแรงงาน เสนอเพื่อขอแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำเพื่อให้คนต่างด้าวที่ได้รับการรับรองสถานะและคนต่างด้าวรายใหม่ 3 สัญชาติที่เข้าเมืองถูกกฎหมายทำงานเป็นกรรมกรได้
3.3 ผู้ติดตามของคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ได้รับการรับรองสถานะหากผู้ติดตามได้รับการรับรองสถานะด้วย ให้ขอวีซ่าอยู่ในราชอาณาจักรได้เช่นเดียวกับคนต่างด้าวรายนั้น ส่วนในต่างด้าวรายใหม่ให้เข้ามาเฉพาะตัวแรงงานต่างด้าวเท่านั้น
4. การอนุญาตให้เข้ามาทำงานในลักษณะมาเช้า-กลับเย็น และการเข้ามาทำงานตามฤดูกาลบริเวณชายแดน ซึ่งถือเป็นการเดินทางเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย ประเทศกัมพูชาและลาว เห็นชอบในหลักการที่จะดำเนินการร่วมกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการเจรจารายละเอียดเพื่อนำเข้าพิจารณาในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในครั้งต่อไป ซึ่งประเทศกัมพูชาและลาวจะเป็นเจ้าภาพ เมื่อมีการเจรจาในรายละเอียดแล้วเห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
4.1 กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงเพื่อยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ใช้เอกสารอื่นแทนหนังสือเดินทาง และเข้ามาทำงานเป็นกรรมการหรือรับจ้างทำงานด้วยกำลังกายได้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกของคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในลักษณะนี้ ในการออกวีซ่าควรมอบให้หน่วยงานของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองบริเวณชายแดนมีหน้าที่ออกวีซ่าได้
4.2 กระทรวงแรงงาน พิจารณากำหนดค่าธรรมเนียมการทำงานลักษณะนี้ให้เหมาะสม และมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานกรรมกรได้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
4.3 การควบคุมคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในลักษณะมาเช้า-กลับเย็น หรือตามฤดูกาลบริเวณชายแดน ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการเข้ามามีส่วนรับผิดชอบดูแลคนต่างด้าวให้กลับประเทศของตนเมื่อเสร็จสิ้นการจ้างงานตามลักษณะดังกล่าว
5. ให้กระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพหลักในการรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และให้ดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจับกุม ดำเนินคดีคนต่างด้าวและนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งสกัดกั้นการเข้ามาใหม่ของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองอย่างเคร่งครัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--