คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563 ของกระทรวงพาณิชย์
2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1. กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19)
ด้านการเกษตร
1) ช่องทางการตลาดของสินค้าประมงลดลงในช่วงโควิด-19
แนวทางแก้ไขปัญหา
จัดทำผลิตภัณฑ์แปรรูปและหาช่องทางด้านการตลาดเพิ่มขึ้น
2) การส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง มีมูลค่าการค้าชายแดนลดลง
- ปี 2561 17,000 ล้านบาท
- ปี 2562 19,000 ล้านบาท
- ปี 2563 5,000 ล้านบาท
3) สถานการณ์โควิด ? 19 ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าที่เป็นวัตถุดิบมีปริมาณน้อยลง เนื่องจากสามารถนำเข้าผ่านช่องเม็กได้ช่องทางเดียวและเสียช่องทางการส่งออกไป สปป. ลาว ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 17,000 ล้านบาท
4) ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้านลดลง
แนวทางแก้ไขปัญหา
เร่งสร้างผลผลิตด้านการเกาตรให้เกิดความหลากหลาย
ด้านแรงงาน
สถานบริการต้องลดจำนวนแรงงานลง ส่งผลให้แรงงานภาคบริการถูกเลิกจ้าง
แนวทางแก้ไขปัญหา
- สร้างอาชีพที่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง
- พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
- พัฒนาเส้นทางคมนาคมในแหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม
2. กลุ่มโครงสร้างการพัฒนาจังหวัดด้านต่าง ๆ
ด้านเศรษฐกิจ
ปัจจุบันการซื้อขายในจังหวัดมีมูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท ทั้งนี้ หากสามารถเจรจากับกัมพูชาเพื่อเปิดเขาพระวิหารให้มีทางขึ้นฝั่งไทยได้ จะทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะคนไทยมาท่องเที่ยวจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและสวนทุเรียนที่สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ด้วย
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ควรเปิดด่านช่องอานม้าที่อำเภอน้ำยืน เนื่องจากจะทำให้มูลค่าการส่งออกและนำเข้ารวมกันไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
- ควรสร้างนิคมอุตสาหกรรมและสร้างอุตสาหกรรมให้สอดรับกับพื้นที่ รวมทั้งนำสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มาใช้เพื่อดึงดูด นักลงทุน เช่น สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี
- ขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ด้วยการวิจัยและ แปรรูปผลิตภัณฑ์และนำออกจำหน่าย
ด้านการเกษตร
1) ปัญหาใบด่างมันสำปะหลังและราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน
แนวทางแก้ไขปัญหา
ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรและการผลิตเกษตรอินทรีย์
2) ปัญหาสินค้า เนื้อโค เนื้อหมู ราคาค่อนข้างสูง
แนวทางแก้ไขปัญหา
ควรจัดตั้งตลาดกลางเพื่อรองรับสินค้าเกษตร
ด้านภัยแล้งและน้ำท่วม
1) ปัญหาภัยแล้งและเพลี้ยระบาด
2) ปัญหาน้ำท่วมและการเยียวยาพื้นที่น้ำท่วม
แนวทางแก้ไขปัญหา
- เพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
- เพิ่มเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้สามารถทำนาในฤดูแล้งได้
ด้านโลจิสติกส์
การก่อสร้างถนนสาย 24 ซึ่งเป็นถนนที่ผ่านไปสู่อำเภอเดชอุดม
แนวทางแก้ไขปัญหา
หากก่อสร้างถนนสาย 24 ไปอำเภอสิริธรจะลดระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้เป็นศูนย์กลางของอินโดจีน เนื่องจากถนนสายนี้จะเชื่อมต่อไปยังเวียดนาม
1. ด้านโลจิสติกส์
ถนนเชื่อมเส้นทางการค้าชายแดนและภายในจังหวัดมีสภาพคับแคบ ไม่สามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการสัญจรของยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นได้
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ก่อสร้างถนนวงแหวนด้านทิศเหนือของจังหวัด
- ก่อสร้างและปรับปรุงถนนสายหลักเขาพระวิหาร ทางหลวงหมายเลข 221
- ก่อสร้างเพิ่มเส้นทางจราจรทางหลวงหมายเลข 220 ศรีสะเกษ-ขุขันธ์
- เร่งรัดการก่อสร้างรถไฟรางคู่เพื่อการขนส่งสินค้าทางการเกษตร
- สนับสนุนรถโมบายขนส่งสินค้า
2. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
1) ประชาชนมีรายได้ลดลงจากการถูกเลิกจ้างในช่วง โควิด-19
2) ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำและผลผลิตทางการเกษตร เช่น พริก หอม และกระเทียม กำลังจะออกสู่ตลาด
3) ปัญหาการจัดสรรที่ดินทำกิน
4) กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อขาดแคลนโรงฆ่าสัตว์ที่มีมาตรฐาน
แนวทางแก้ไขปัญหา
- สนับสนุนให้มีโครงการลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน
- เตรียมการรองรับแรงงานจากภาคกลางและ ภาคตะวันออกที่ถูกเลิกจ้างและกลับภูมิลำเนา
- สนับสนุนการออกหนังสือรับรองที่ดินทำกินให้กับประชาชน
- สนับสนุนระบบชลประทานและระบบส่งน้ำเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรและประชาชน
- สนับสนุนกลุ่มเลี้ยงโคในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อให้ เกิดการแปรรูปผลผลิตออกสู่ตลาด
3. ด้านสาธารณภัย
อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ประสบปัญหาภัยแล้งและขาดน้ำในการอุปโภคและบริโภค โดยมีลุ่มน้ำห้วยทับทันเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภคของจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ดำเนินโครงการขุดลอกแหล่งน้ำตื้นเขิน
- ก่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำและผันน้ำจากลำห้วยทับทันมาในแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่
- ก่อสร้างระบบประปาเพื่อกระจายน้ำให้แก่ประชาชนในพื้นที่
4. ด้านความมั่นคง
1) ความไม่ชัดเจนของแนวเขตระหว่างประเทศ
2) การลักลอบตัดไม้ของคนต่างด้าวและของผิดกฎหมาย โดยเฉพาะไม้เศรษฐกิจที่มีราคาแพง เช่น ไม้พะยูง
3) การลักลอบข้ามพรมแดน
แนวทางแก้ไขปัญหา
- สนับสนุนให้เปิดจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของ 2 ประเทศ บริเวณเขา พระวิหารและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ศรีสะเกษ
- ออกมาตรการเพื่อควบคุมการลักลอบข้ามพรมแดนและการลักลอบตัดไม้ โดยเฉพาะไม้พะยูงและสิ่งของผิดกฎหมาย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง / ตัวอย่างประเด็นปัญหาที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ
พม. (เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด)
การสร้างอาชีพที่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง
กษ. (เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานประมงจังหวัด)
- การเร่งสร้างผลผลิตด้านการเกษตรให้เกิดความหลากหลาย
- การทำผลิตภัณฑ์แปรรูปและหาช่องทางด้านการตลาดเพิ่ม
คค. (เช่น แขวงทางหลวงชนบท)
- การก่อสร้างถนนวงแหวน
- การก่อสร้างถนนสาย 24 ไปอำเภอสิริธร
- การเร่งรัดการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่
ทส.
การออกมาตรการเพื่อควบคุมการลักลอบข้ามพรมแดนและ การลักลอบตัดต้นไม้
มท. (เช่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น) การสนับสนุนให้มีโครงการลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน
รง. (เช่น สำนักงานแรงงานจังหวัด)
การเตรียมการรองรับแรงงานจากภาคกลางและภาคตะวันออกที่ ถูกเลิกจ้างและกลับภูมิลำเนา
อก. (เช่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัด)
การสร้างนิคมอุตสาหกรรมและสร้างอุตสาหกรรมให้สอดรับกับพื้นที่
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มกราคม 2564