1.1 มาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเน้นพัฒนาความร่วมมือเชิงรุกในทุกมิติ เพื่อกดดันและยุติบทบาทแหล่งผลิตภายนอกประเทศ ตลอดจนสร้างความร่วมมือเพื่อสกัดกั้นสารตั้งต้น เคมีภัณฑ์ และอุปกรณ์การผลิต เปิดปฏิบัติการร่วมสามเหลี่ยมทองคำ 1511 ภายใต้แผนปฏิบัติการรวมแม่น้ำโขงปลอดภัยเพื่อควบคุมยาเสพติด 6 ประเทศ ระยะ 4 ปี (ปี 2562-2565) ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย สามารถยึดยาบ้า 486,719,430 เม็ด กัญชา 18,518.379 กิโลกรัม ไอซ์ 37,502.02 กิโลกรัม เฮโรอีน 3,525.29 กิโลกรัม ฝิ่น 5,635 กิโลกรัม เอ็กซ์ตาซี 2,086,395 เม็ด สารตั้งต้น 15,070 กิโลกรัม เคมีภัณฑ์ 1,114,737.87 กิโลกรัม และกาเฟอีน 14,295.68 กิโลกรัม ลดศักยภาพการผลิตยาบ้าได้ถึง 200.14 ล้านเม็ด ซึ่งเป็นการลดทอนยาเสพติดมิให้ถูกลำเลียงข้ามชายแดนมายังประเทศไทย หรือไปยังประเทศต่าง ๆ
1.2 มาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานความมั่นคง เพื่อยกระดับการสกัดกั้นยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ โดยเพิ่มความเข้มงวดในช่องทางตามแนวชายแดนใน 15 จังหวัด 40 อำเภอ 19 ช่องทาง ทางท่าอากาศยานนานาชาติ และทางท่าเรือ ส่งผลให้สามารถสกัดกั้นยาบ้าไม่ให้เข้าประเทศและพื้นที่ตอนในซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 70.28 เมื่อเทียบกับการจับกุมทั่วประเทศ และสกัดกั้นไอซ์ คิดเป็นร้อยละ 72.84 เมื่อเทียบกับการจับกุมทั่วประเทศ และปราบปรามกลุ่มการค้ายาเสพติด โดยมุ่งเน้นทำลายกลุ่มเครือข่ายนักค้ายาเสพติดรายสำคัญ รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายซึ่งสามารถจับกุมคดียาเสพติดในภาพรวม 324,552 คดี ผู้ต้องหา 338,560 คน ในจำนวนนี้ เป็นการจับกุมคดียาเสพติดในฐานความผิดคดีสำคัญ (ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย และครอบครองเพื่อจำหน่าย) จำนวน 94,237 คดี คิดเป็นร้อยละ 29.03 เมื่อเทียบกับการจับกุมทั่วประเทศ สามารถยึดอายัดทรัพย์สินผู้กระทำผิดรวม 1,853 ราย อายัดทรัพย์สินมูลค่ากว่า 2,107.75 ล้านบาท (มีคำสั่งยึดอายัดทรัพย์สิน 790.57 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการ 1,317.18 ล้านบาท)
1.3 มาตรการป้องกันยาเสพติด ได้แก่
1.3.1 แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวชายแดนโดยจัดตั้งชุดปฏิบัติการดำเนินการเสริมสร้างความเข็มแข็งในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวชายแดน ทั้งหมด
ตามเป้าหมาย 1,140 หมู่บ้าน/ชุมชน จากข้อมูลเปรียบเทียบผลการประเมินสถานะปัญหายาเสพติด
ในหมู่บ้าน/ชุมชน พบว่า สถานะปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (เดือนเมษายน - กันยายน 2562) และปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (เดือนเมษายน - กันยายน) สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวชายแดนได้ จำนวน 736 หมู่บ้านชุมชน คิดเป็นร้อยละ 64.56 โดยสามารถคงสถานะปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ไม่มีปัญหายาเสพติดได้ 560 หมู่บ้าน/ชุมชน และลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีปัญหายาเสพติด ได้ 176 หมู่บ้าน/ชุมชน
1.3.2 แนวทางการป้องกันยาเสพติด มุ่งเน้นการลดอุปสงค์ เพื่อนำไปสู่การลด
ความต้องการยาเสพติดภายในประเทศ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเด็กและเยาวชน มิให้เป็นเป้าหมายของขบวนการค้ายาเสพติด เน้นสร้างการรับรู้ เพิ่มภูมิคุ้มกัน เพื่อลดผู้เสพรายใหม่ โดยสร้างภูมิคุ้มกันในประชากรกลุ่มทั่วไปได้ 53,020,143 ราย จากเป้าหมาย 33,500,000 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 158.26 รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง ช่วงอายุระหว่าง 15 - 24 ปี 5,611,904 ราย จากเป้าหมาย 4,850,570 ราย คิดเป็นร้อยละ 115.70 1.3.3 แนวทางการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เน้นการสร้างพื้นที่ปลอดภัย
เพื่อป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มแรงงาน และกลุ่มประชาชนทั่วไป โดยการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง เพิ่มปัจจัยบวก และควบคุมปัจจัยเสี่ยงส่งผลให้สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัย ผลดำเนินการสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยได้ 5,456 ตำบล/เขต จากเป้าหมาย 7,305 ตำบล/เขต คิดเป็นร้อยละ 74.68
1.4 มาตรการบำบัดรักษายาเสพติด เน้นการดูแลผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดให้เข้าถึงการบำบัดรักษาและการลดอันตรายหรือผลกระทบจากยาเสพติด และได้พัฒนาแนวทางการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติด (Community - based Treatment and Care : CBTx) พัฒนาศักยภาพครอบครัว
ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลภายหลังการบำบัด พัฒนาแนวทางการติดตามการช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เข้ามามีบทบาทในการติดตาม ดูแล และ/เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องร่วมกับชุดตำบลพัฒนานโยบายยาเสพติดแนวใหม่ เช่น การจัดให้มีคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในระบบศาล 25 แห่ง เพื่อช่วยเหลือแก้ไขฟื้นฟูจิตใจ ปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้น และป้องกันการกระทำผิดซ้ำ พัฒนาศักยภาพศูนย์บริการลดอันตรายจากยาเสพติดภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อรองรับผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้าถึงได้ยาก และการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติด ส่งผลให้สามารถนำผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาในทุกระบบ 190,394 ราย ให้บริการเพื่อลดอันตรายจากยาเสพติด 35,083 ราย ติดตามดูแลผู้ผ่านบำบัด 193,003 ราย และให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด 3,030 ราย
1.5 มาตรการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ
1.5.1 แนวทางกิจการพิเศษ ประกอบด้วย
1) การควบคุมและใช้ประโยชน์จากยาเสพติด ได้แก่ 1) พัฒนาพืชกระท่อมให้เป็นพืชเศรษฐกิจ โดยเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ส่งผลให้มีการกำหนดพื้นที่นำร่องเสพพืชกระท่อมตามวิถีชุมชน โดยไม่มีความผิดตามนโยบาย Legalization ในช่วงแรก 135 หมู่บ้าน/ชุมชนใน 10 จังหวัด 2) ขับเคลื่อนการดำเนินการกัญชง โดยในปี พ.ศ. 2563 มีพื้นที่ขออนุญาตปลูกกัญชง เพื่อวิจัย ใช้สอยในครัวเรือน และผลิตเมล็ดพันธุ์ (Hemp) รวม 601 ไร่ 156 ตารางเมตร (เฉพาะหน่วยงานของรัฐ) ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 131 ไร่ เชียงราย 94 ไร่ ตาก 376 ไร่ และปทุมธานี 156 ตารางเมตร 3) การขับเคลื่อนนโยบายกัญชา เน้นพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์การวิจัย และเป็นทางเลือกแก่ผู้ป่วย โดยมีการขออนุญาตนำของกลางกัญชาที่มีการจับยึดได้ให้หน่วยงานนำไปศึกษาวิจัยใช้ประโยชน์ ส่งผลให้มีการสนับสนุนของกลางกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และศึกษาวิจัย 13 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 3,866 กิโลกรัม
2) การขับเคลื่อนแผนพื้นที่พิเศษ ตามแผนการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เฉพาะ ดังนี้
1) แผนปฏิบัติการด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ
แบบเบ็ดเสร็จ พ.ศ. 2562 - 2565 เน้นแก้ไขเชิงโครงสร้างมีพื้นที่เป้าหมายในทุกมิติ 47 แห่ง ดำเนินการแล้ว43 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.49 สามารถสกัดกั้นยาเสพติด และจับกุมผู้ต้องหาได้ 513 ราย ของกลางยาบ้า 74.59 ล้านเม็ด ไอซ์ 1,391 กิโลกรัม เฮโรอีน 52.60 กิโลกรัม และฝิ่น 89.72 กิโลกรัม ดำเนินการสืบสวน ปราบปรามและยึดทรัพย์เครือข่ายการค้ายาเสพติด/สืบสวนทางการเงิน 6 เครือข่ายสำคัญ และดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 4 ราย
2) แผนปฏิบัติการด้านการสกัดกั้นยาเสพติดภาคเหนือตอนล่าง ปี 2563
เน้นสกัดกั้นยาเสพติดจากพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและพื้นที่ชายแดนเข้าสู่พื้นที่ตอนใน และสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้านตามแนวชายแดน มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น จัดตั้งชุดปฏิบัติการประจำด่านตรวจ/จุดตรวจ ครอบคลุมเป้าหมาย 20 แห่ง มีผลการจับกุมคดียาเสพติดตามด่านตรวจ/จุดตรวจชายแดน จำนวน 912 คดี ผู้ต้องหา 943 ราย ของกลาง ไอซ์ จำนวน 2.42 กิโลกรัม ยาบ้า 8,671,047 เม็ด และกัญชา 241.04 กิโลกรัม เสริมสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ภายใต้โครงการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 6,009 มีหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด 5,995 แห่ง ซึ่งหมู่บ้าน/ชุมชนดังกล่าว มีการรายงานสถานการณ์ยาเสพติดผ่านระบบ QR Code (1 ตุลาคม 2562 ? 30 กันยายน 2563) 5,838 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 97.38 และมีการดำเนินกิจกรรมที่ได้รับงบประมาณ 5,775 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 96.33 ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลสภาพปัญหาผู้เสพ/ผู้ค้า ระหว่างเดือนเมษายน ? มิถุนายน 2563 พบผู้เสพ 8,479 ราย ผู้ค้า 1,420 ราย ดำเนินการต่อผู้เสพแล้ว 1,763 ราย และดำเนินการต่อผู้ค้าแล้ว 322 ราย
3) แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 - 2564 เน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้สามารถสร้างชุมชนเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชน มีผลการดำเนินงานครบตามเป้าหมาย 2,145 หมู่บ้าน/ชุมชน มีสมาชิกครัวเรือนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 143,433 ครัวเรือน และมวลชนญาลันนันบารูรวมทั้งสิ้น 12,600 คน การสกัดกั้นและการปราบปรามยาเสพติด สามารถจับกุมคดียาเสพติด 14,801 คดี ผู้ต้องหา 15,718 คน ของกลาง ยาบ้า 6,924,930 เม็ด กัญชา 130.40 กิโลกรัม กระท่อม (ใบ/กาก) 10,936.38 กิโลกรัม ไอซ์ 2,207.97 กิโลกรัม เฮโรอีน 57.37 กิโลกรัม มีการดำเนินการป้องกันยาเสพติดในสถาบันการศึกษา 3,456 แห่ง (เป้าหมาย 3,385 แห่ง) และการดำเนินการในสถาบันปอเนาะ 71 แห่ง และตาดีกา 42 แห่ง (เป้าหมาย 361 แห่ง) การบำบัดรักษา สามารถนำผู้เสพเข้าบำบัดฟื้นฟู 6,078 คน (ระบบสมัครใจ 3,424 คน ระบบบังคับบำบัด 2,069 คน ระบบต้องโทษ 586 คน) การติดตามพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถติดตามผู้ผ่านการบำบัด 8,589 ราย และให้การช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด 812 ราย
1.5.2 แนวทางการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ เช่น การบูรณาการงบประมาณโดยจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อน การบูรณาการในการกำกับติดตาม และการวางระบบรายงาน เพื่อพัฒนาประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และเอกภาพการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ (ศอ.ปส.) เป็นกลไกบูรณาการการปฏิบัติในระดับนโยบาย ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระดับจังหวัด/กรุงเทพมหานคร (ศอ.ปส.จ./กทม.) เป็นกลไกบูรณาการการปฏิบัติในพื้นที่ระดับจังหวัดและพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอ/เขต (ศป.ปส.อ./ข.) เพื่อเป็นกลไกบูรณาการการปฏิบัติในพื้นที่ระดับอำเภอและเขต และศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเทศบาลนคร/เมือง/ตำบล/องค์การบริหารส่วนตำบล/เมืองพัทยา (ศป.ปส.อปท.) เป็นกลไกบูรณาการการปฏิบัติในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งมีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ เพื่อเร่งรัด กำกับ ตรวจสอบ และติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงาน พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล ร้อยละ 93 และมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล ร้อยละ 91
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564