คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563 ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 และครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5
1.1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกข้อบังคับต่าง ๆ ได้แก่ (1) ข้อบังคับเพิ่มเติมเพื่อขยายเขตพื้นที่จำกัดรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ห้ามเดินรถในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) จากวงแหวนรัชดาภิเษกขยายเป็นวงแหวนกาญจนาภิเษก และ (2) ข้อบังคับหรือระเบียบตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อห้ามรถบรรรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป เข้ามาในพื้นที่ชั้นในของ กทม. ในวันคี่ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 ส่วนวันคู่ให้เข้ามาได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด
1.2 กรมการขนส่งทางบกตรวจวัดควันดำอย่างเข้มงวดกับรถโดยสารทุกคัน โดยเพิ่มชุดตรวจเป็น 50 ชุด ใน 50 เขตของ กทม.
1.3 กรมโรงงานอุตสาหกรรมตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง หากพบว่า ไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด สั่งให้ปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือสั่งหยุดการประกอบกิจการ
1.4 กทม. แก้ไขปัญหาการจราจรจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า โดยกำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามให้ระงับการก่อสร้างและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง
1.5 จังหวัดต่าง ๆ (ยกเว้น 9 จังหวัดภาคเหนือ) ออกเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นควบคุมการเผาขยะมูลฝอย หญ้า พืชไร่ พืชสวน ตอซังข้าว หรือสิ่งอื่นใด และเข้มงวดในการควบคุมยานพาหนะใช้งานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง
มติ กก.วล.
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? และบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในอำนาจอย่างเข้มงวด
- ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็น Single command
- ให้หน่วยงานต่าง ๆ สร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน
- ให้ ทส. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศเสนอประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาลงนาม
2.1 ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ใน กทม. และปริมณฑล ดังนี้
2.1.1 มาตการเพิ่มเติม ระยะเร่งด่วน (ปี 2563) เช่น สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้คนใช้ระบบขนส่งสาธารณะ/รถยนต์ไฟฟ้า หรือทางเลือกอื่นที่ไม่ก่อมลพิษ ตรวจจับรถยนต์ที่ไม่ได้ติดตั้งหรือมีการถอด Catalytic Converter หรือ DPF และให้เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติงานจากบ้าน สำหรับระยะกลาง-ระยะยาว (ปี 2563 -2567) ได้แก่ (1) ภาคคมนาคมขนส่ง (เช่น กำหนดค่าปรับและบทลงโทษกรณีที่มี การถอด DPF ออกจากรถยนต์สร้างระบบ Citizen Watch ให้ประชาชนรายงานป้ายทะเบียนของรถควันดำและพิจารณาการเข้าน้ำมันที่มีมาตรฐานยูโร 5 จากต่างประเทศมาใช้ในระยะสั้น) (2) ภาคการเกษตรและการเผาในที่โล่ง (เช่น ห้ามเผาในพื้นที่ เขตชุมชนเด็ดขาดและมีบทลงโทษกับผู้ก่อมลพิษทางอากศ) (3) ภาคอุตสาหกรรม (เช่น รายงานข้อมูลการระบาย การปลดปล่อย และเคลื่อนย้ายมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและเพิ่มมาตรการควบคุมแหล่งกำเนิดจากอุตสาหกรรมและตึกสูงใน กทม.ที่ใช้ Boiler) (4) ด้านการเงินการคลัง (ลดหย่อนภาษีหน้ากากอนามัยเครื่องฟอกอากาศ รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ และสนับสนุนการลดภาษีให้กับสถานประกอบการที่ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ) (5) ด้านการศึกษาวิจัย (ศึกษาการใช้เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างง่ายสำหรับรายงานข้อมูลให้กับประขาขน) และ (6) ด้านสาธารณสุขและอนามัย (เช่น สำรองหน้ากากอนามัยให้เพียงพอ และส่งสริมให้โรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงมีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในห้องเรียน)
2.1.2 การสื่อสารประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนเพื่อไม่ให้เกิดความตระหนกและร่วมมือในการลดฝุ่นละออง
2.1.3 นโยบายสาธารณะ ดำเนินมาตรการภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? และข้อเสนอจากคณะอนุกรรมการด้านวิชาการแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศที่มีผลกระทบต่อประชาชน
2.2 ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในภาคเหนือ 9 จังหวัด และจังหวัดที่มีปัญหาหมอกควัน โดยให้ดำเนินการตามนโยบายเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือปี 2563 ส่วนมาตรการและแนวทางที่เสนอเพิ่มเติมสรุปได้ ดังนี้
2.2.1 มาตรการเพิ่มเติม ระยะเร่งด่วน (2563) เช่น วางแผนการจัดการเศษวัสดุการเกษตรในพื้นที่ และการจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า สำหรับระยะกลาง-ระยะยาว (ปี 2563-2567) เช่น (1) ภาคการเกษตรและการเผาในที่โล่ง (เช่น ส่งเสริมให้มีตลาดเช่าซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับเก็บเกี่ยวและจัดการแปลงแทนการเผา และเพิ่มส่วนต่างราคารับซื้ออ้อยไฟไหม้และอ้อยสด) (2) ด้านการเผาในที่โล่งในพื้นที่ป่าไม้และชุมชน (เช่น ให้บริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าชุมชนด้วยจุลินทรีย์ ส่งเสริมงานวิจัยพื้นที่ต้นแบบในการบริหารจัดการเชื้อเพลิง และมาตรการห้ามเผาควรทำควบคู่กับการจัดระเบียบการเผา) และ (3) ด้านการเงินการคลัง (พิจารณายกเว้นภาษีสำหรับเงินที่บริจาคให้กับเจ้าหน้าที่และจิตอาสาในการดับไฟป่า)
2.2.2 ให้สื่อสารประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนให้เกิดความร่วมมือในการลดฝุ่นละออง
2.2.3 ดำเนินมาตรการภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? และข้อเสนอจากคณะอนุกรรมการด้านวิชาการแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศที่มีผลกระทบต่อประชาชน เช่น การทำเกษตรปลอดการเผา และสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผา
มติ กก.วล.
- ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง?*
- เห็นชอบข้อเสนอเพิ่มเติมแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ใน กทม. และปริมณฑล ภาคเหนือ9 จังหวัด และจังหวัดที่มีปัญหาหมอกควันและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
- ให้ ทส. โดยกรมควบคุมมลพิษและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเรื่องนโยบายสาธารณะต่อไป
[หมายเหตุ : * ทส. ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า การเร่งรัดดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ มุ่งให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการฯ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562ซึ่งเป็นกรอบดำเนินการในภาพรวมสำหรับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่วิกฤต โดย ทส. จะดำเนินการตามร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? (พ.ศ. 2563) และแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ต่อไปซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการฯ (พ.ศ. 2563)ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ] 3. การประชุม กก.วล. ครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 เรื่อง การเสริมสร้างการรับรู้เรื่องฝุ่นละออง PM2.5 สู่สาธารณะ
3.1 แนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในช่วงวิกฤต ปี 2563-2564
ประกอบด้วย (1) การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากการจราจร (2) การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรมและการแก้ไขปัญหาจากการเผาในที่โล่ง และ (3) ข้อเสนอด้านกฎหมายในการรับมือวิกฤตฝุ่นละออง ทั้งนี้ การดำเนินการในช่วงวิกฤตฝุ่นละออง PM2.5 แบ่งตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ โดยระดับที่ 1-3 ให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการขับคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? อย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง ส่วนระดับที่ 4 (ค่า PM2.5 มีค่ามากกว่า 100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ให้เสนอ กก.วล. พิจารณาและเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3.2 ข้อเสนอด้านการสื่อสารสร้างการรับรู้เรื่อง PM2.5 ต่อสาธารณชน เพื่อเสริมสร้างการรับรู้และความข้าใจเรื่องฝุ่นละออง PM2s ต่อสาธารณะ ประกอบด้วย
(1) แผนการประชาสัมพันธ์และสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเน้นฝุ่นละออง PM2.5 และ (2) กลไกการขับเคลื่อนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เช่น การมีศูนย์ข้อมูลฝุ่นละออง PM2.5 และการสร้างช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ภายใต้ กก.วล. เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชน
มติ กก.วล.
- เห็นชอบข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองฯ และข้อเสนอด้านสื่อสารสร้างการรับรู้ฯ
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564