สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 2/2563

ข่าวการเมือง Tuesday February 9, 2021 23:43 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช (คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ) ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 แต่งตั้งคณะกรรมการพืชน้ำมันฯ โดยมีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบาย แผนการบริหาร การจัดการ การพัฒนาการผลิตและการตลาดพืชน้ำมันและน้ำมันพืชต่อคณะรัฐมนตรี) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure: SSG) ภายใต้ความตกลงองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) สำหรับสินค้ามะพร้าว ปี 2563 (คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการ SSG แล้วเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563) คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ ได้มีมติ ดังนี้

1.1 เห็นชอบให้มีการบังคับใช้มาตรการ SSG สำหรับสินค้ามะพร้าว ปี 2563 ที่นำเข้าตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม ? 31 ธันวาคม 2563 (กรมศุลากรได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเก็บอากรศุลากากรตามมาตรการปกป้องพิเศษ ตามความตกลงการเกษตรขององค์การการค้าโลก และความตกลงการค้าของอาเซียนสำหรับสินค้ามะพร้าว พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2563 แล้ว)

1.2 มอบหมายให้กรมศุลกากรดำเนินการตามประกาศกระทรวงการคลัง และให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

2. การบริหารการนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ปี 2564 (คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการบริหารการนำเข้าฯ แล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562) คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ ได้มีมติเห็นชอบการบริหารการ นำเข้าฯ ภายใต้กรอบ WTO กรอบ AFTA และกรอบการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ เช่น

การบริหารการนำเข้า

กรอบ WTO และกรอบ FTA

น้ำมันถั่วเหลือง

1. คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ กำหนดแนวทางและมาตรการบริหารการนำเข้า

2. จัดสรรปริมาณการนำเข้าให้เป็นไปตามที่สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปและสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยกำหนด

มะพร้าว

1. จัดสรรให้นิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ใช้มะพร้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตและดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบัน

2. ช่วงเวลานำเข้าเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และเดือนกันยายน-ธันวาคมของแต่ละปี

น้ำมันมะพร้าว

1. จัดสรรให้นิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ใช้น้ำมันมะพร้าวฯ เป็นวัตถุดิบในการผลิตและดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบัน

2. ให้นำเข้าได้ทั้งปี

กรอบ AFTA

น้ำมันถั่วเหลือง

แสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบฟอร์ม ดี (Form D) ประกอบการนำเข้า

มะพร้าว

1. ต้องได้รับอนุมัติปริมาณการนำเข้าจากคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าว

2. เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าไว้กับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี

3. ต้องนำเข้ามาเพื่อการแปรรูปเป็นน้ำมันพืชหรืออาหารคนในกิจการของตนเอง

4. ต้องให้คำรับรองว่าจะไม่นำมาจำหน่าย จ่าย โอน ภายในประเทศ

5. กรณีนำเข้ามะพร้าว พิกัดฯ 0801.12.00 และ 0801.19.90 ต้องให้คำรับรองว่าจะไม่นำมะพร้าวนำเข้าไปจ้างกะเทาะภายนอกโรงงานตนเอง และต้องรายงานบัญชีสมดุลแปรสภาพมะพร้าวผลเป็นเนื้อมะพร้าวขาว

6. ช่วงเวลานำเข้าเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และเดือนกันยายน-ธันวาคมของแต่ละปี

น้ำมันมะพร้าว

1. เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นโรงงานที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าไว้กับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี

2. ต้องนำเข้ามาเพื่อการแปรรูปเป็นน้ำมันพืชเพื่อการบริโภคหรืออาหารคนในกิจการของตนเองไม่เกินปริมาณที่ระบุไว้ในแผนการนำเข้าและการใช้ในกิจการของตนเอง

3. ต้องให้คำรับรองว่าจะไม่นำมาจำหน่าย จ่าย โอน ภายในประเทศ

4. ช่วงเวลานำเข้าเดือนมกราคม-พฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของแต่ละปี

ในส่วนของหลักเกณฑ์การจัดสรรโควตาภายใต้กรอบ WTO มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าว และแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ให้เป็นไปตามที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนด

3. การบริหารการนำเข้ามะพร้าวผลตามกรอบความตกลง AFTA ปี 2564 (คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการบริหารการนำเข้าฯ แล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562) คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ ได้มีมติ ดังนี้

3.1 เห็นชอบช่วงเวลานำเข้ามะพร้าวผลฯ ทั้ง 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และเดือนกันยายน-ธันวาคม (รวม 6 เดือน) สำหรับช่วงแรก เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 จะใช้ผลการรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในประเทศของผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธินำเข้าฯ ในช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2563 มาพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้าให้แก่ผู้มีสิทธินำเข้าในอัตรา 1 : 2 (นำเข้า 1 ส่วน ต่อการรับซื้อมะพร้าวผลในประเทศ 2 ส่วน)

3.2 เห็นชอบให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าวพิจารณากำหนดปริมาณการนำเข้าฯ และการจัดสรรให้กับผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวแต่ละรายที่มีคุณสมบัติ และเป็นผู้มีสิทธินำเข้าตามข้อ 3.1

3.3 มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ รายงานผลการพิจารณาจัดสรรปริมาณการนำเข้าฯ ให้คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชทราบ และแจ้งกรมการค้าต่างประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ