คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างสำนักงานกลางตำรวจแห่งชาติตำรวจสากลประเทศไทย (ตำรวจสากลกรุงเทพ) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่าด้วยการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากลโดยตรง (ร่างความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากก่อนการลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไข หรือเพิ่มเติมร่างความตกลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงยุติธรรมหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง โดยให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้ลงนามในความตกลง ฯ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
เพื่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลองค์การตำรวจสากล จำนวน 9 ฐานข้อมูลได้โดยตรง 2. กรอบกฎหมายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง
การเข้าถึงและการใช้ระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากลจะต้องเป็นไปตามกฎว่าด้วยการประมวลผลข้อมูลขององค์การตำรวจสากล และเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมและงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยตรง รวมถึงไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์หรือความเป็นกลางขององค์การตำรวจสากล นอกจากนี้กฎหมายภายในของไทยไม่ได้ห้ามกรมสอบสวนคดีพิเศษในการเข้าถึงและการใช้ระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล 3. ขอบเขตของการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง
3.1 การอ่านข้อมูล
ฐานข้อมูลที่ได้รับอนุญาตให้อ่าน
1. เอกสารการเดินทางที่ถูกขโมยหรือสูญหาย (Stolen and Lost Travel Documents ? STLD)
2. เอกสารราชการที่ถูกขโมย(Stolen Administrative Documents)
วิธีการเข้าถึง
- eASF2
- FIND
- MIND
- I - Batch
3. ภาพการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กระหว่างประเทศ(ICSE ? International Child Sexual Exploitation Images)
4. ระบบการจัดบันทึกและการติดตามอาวุธผิดกฎหมาย(Illicit arms records and tracing management system ? iARMS)
วิธีการเข้าถึง
- I ? 24/7
5. เอกสารการเดินทาง (Edison TD)
6. ตารางหมายเลขอ้างอิงอาวุธปืนขององค์การตำรวจสากล (INTERPOL Firearms Reference Table ? IFRT)
7. ฐานข้อมูลแจ้งเตือนระบบดิจิทัลขององค์การตำรวจสากลเกี่ยวกับเอกสารปลอมแปลง [The Digital INTERPOL Alert Library- Document (Dial ? Doc)]
วิธีการเข้าถึง
- I ? 24/7
- HTTPS
8. ระบบข้อมูลอาชญากรรมขององค์การตำรวจสากล [INTERPOL?s Criminal Information System (ICIS)]
วิธีการเข้าถึง
- eASF2
- FIND
- I ? 24/7
- I - Batch
9. ระบบข้อมูลกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืนขององค์การตำรวจสากล (INTERPOL Ballistic Information Network ? IBIN)
วิธีการเข้าถึง
- Dedicated network
3.2 การประมวลผลข้อมูล: จะต้องดำเนินการเพื่อความมุ่งประสงค์ในภารกิจงานตำรวจและการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติเป็นการเฉพาะเท่านั้น 4. พันธะหน้าที่
ตำรวจสากลกรุงเทพ
1. รับผิดชอบต่อการประมวลผลข้อมูลที่ดำเนินการโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ รวมถึงกำหนดและให้สิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
2. ต้องแจ้งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษทราบเกี่ยวกับกฎ วิธีการดำเนินการ และเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับกรมสอบสวนคดีพิเศษในการเข้าถึงและการประมวลผล
3. ข้อจำกัดของการเข้าถึงที่ตำรวจสากลกรุงเทพได้กำหนดไว้กับบรรดาสำนักงานตำรวจกลางแห่งชาติหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ๆ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ
1. ต้องปฏิบัติตามข้อจำกัดเกี่ยวกับการเข้าถึงที่ตำรวจสากลกรุงเทพกำหนดไว้
2. ต้องแจ้งให้ตำรวจสากลกรุงเทพทราบถึงการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ซึ่งมีผลต่อสิทธิในการเข้าถึงส่วนบุคคลที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับอนุญาต
3. ต้องแจ้งให้ตำรวจสากลกรุงเทพทราบถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ภารกิจ กิจกรรมหรืองานต่าง ๆ ของกรมสอบคดีพิเศษ 5. การกำกับและการตรวจสอบโดยตำรวจสากลกรุงเทพตรวจสอบการประมวลผลข้อมูลในระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้เข้าไปอ่าน และใช้มาตรการเพื่อป้องกันหรือเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จำเป็นในกรณีที่เกิดเหตุเกี่ยวกับการประมวลผล รวมทั้งอาจเพิกถอนสิทธิในการเข้าถึงและสิทธิในการประมวลผลที่ให้แก่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามพันธหน้าที่ 6. การเข้าแทรกแซงของสำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากล
สำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากล (ในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล) ย่อมมีสิทธิในการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมใด ๆ ภายใต้ขอบเขตของกฎว่าด้วยการประมวลผลของข้อมูลขององค์การตำรวจสากลเพื่อยุติการประมวลผลข้อมูลใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนด รวมถึงการเพิกถอนการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล 7. การบังคับใช้
ความตกลงฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อครบกำหนด 30 วัน หลังจากที่ได้แจ้งผลการลงนามในความตกลงให้สำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากลทราบ 8. การแก้ไข
อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้โดยความยินยอมร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ตำรวจสากลกรุงเทพต้องแจ้งให้สำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากลทราบถึงการแก้ไขเพิ่มเติม ใด ๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตหรือวิธีการดำเนินการเรื่องสิทธิในการเข้าถึงและสิทธิในการประมวลผลที่ได้ให้แก่กรมสอบสวนคดีพิเศษ 9. การสิ้นสุด
ภาคีแต่ละฝ่ายอาจบอกเลิกความตกลงได้ฯ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งและสำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากลทราบเป็นเวลาสามสิบวันเป็นอย่างน้อย
ทั้งนี้ ร่างความตกลงฉบับนี้เป็นความตกลงในลักษณะเดียวกันกับที่สำนักงานกลางแห่งชาติตำรวจสากลประเทศไทย (ตำรวจสากลกรุงเทพ) ได้จัดทำขึ้นกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 เมษายน 2560) เห็นชอบไว้แล้ว
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564