ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2564

ข่าวการเมือง Tuesday March 9, 2021 19:06 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติโครงการและมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดังต่อไปนี้

1.1 โครงการพัฒนาระบบสื่อสารสั่งการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับกระทรวงและระดับเขตสุขภาพเป็น Smart EOC1 เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19)

กรอบวงเงิน(ล้านบาท)

89.91 (ภายใต้แผนงานที่ 1.5)

หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

1.2 โครงการภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 (แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1) ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ) ที่ทบทวนตามผลการพิจารณาของ คกง. ครั้งที่ 10/2563 และครั้งที่ 32/2563 จำนวน 20 โครงการ

กรอบวงเงิน(ล้านบาท)

665.09 (ภายใต้แผนงานที่ 1.2 และ 1.4)

หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ

เช่น กรมการแพทย์/ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ มหาวิทยาลัยมหิดล/ กรุงเทพมหานคร (กทม.)/ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เป็นต้น

1.3 โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยตามมติ คกง. ครั้งที่ 10/2563 จำนวน 3 โครงการ

กรอบวงเงิน(ล้านบาท)

44.58 (ภายใต้แผนงานที่ 1.2 และ 1.3)

หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 โครงการ
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 1 โครงการ

ทั้งนี้ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นและข้อสังเกตของ คกง. ไปพิจารณาประกอบการดำเนินโครงการฯ ตามขั้นตอนต่อไป 2. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ ตามข้อง 1.1 - 1.3 ดำเนินการดังนี้

2.1 จัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์ เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ

2.2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้รวมถึงปัญหาอุปสรรค โดยจัดส่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนด ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

2.3 ประสานกับ กค. ในการรายงานขีดความสามารถในการชำระคืนหนี้เงินกู้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดกู้เงินฯ ด้วย 3. อนุมัติการปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ดังต่อไปนี้

3.1 โครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค สป.สธ. (รอบที่ 1) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 และรับทราบการแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดที่ไม่ใช่สาระสำคัญของโครงการฯ

หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ

สป.สธ. (สธ.)

3.2 โครงการแปลงใหญ่กระบือชลบุรีครบวงจร

หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ

ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

3.3 โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า

หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปรับปรุงสาระสำคัญของโครงการฯ ในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว

[1]Emergency Operations Center (EOC)

สาระสำคัญของเรื่อง

คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติ ดังนี้

1. โครงการพัฒนาระบบสื่อสารสั่งการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับกระทรวงและระดับเขตสุขภาพเป็น Smart EOC เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด 19 ของ สป.สธ.

1.1 สาระสำคัญของโครงการ

วัตถุประสงค์ช่วยสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างหน่วยงานในการบริหารสถานการณ์โรคโควิด 19 หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ อย่างมีเสถียรภาพ ทันเหตุการณ์ โดยสร้างระบบส่งสารสั่งการหน่วยงานเครือข่ายให้มีเสถียรภาพ และใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีด้านสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงาน

พื้นที่ดำเนินงานสป.สธ. และเขตสุขภาพ 12 เขต

กรอบเวลา10 เดือน (มีนาคม - ธันวาคม 2564)

วงเงิน89.97 ล้านบาท (ข้อเสนอ สธ.)

หน่วยงานรับผิดชอบสป.สธ. สธ.

1.2 มติ คกง.

เห็นชอบโครงการฯ กรอบวงเงิน 89.91 ล้านบาท (ปรับลด 0.06 ล้านบาท จากข้อเสนอของ สธ. จำนวน 89.97 ล้านบาท) โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.5 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ และมอบหมายให้ สป.สธ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และให้ดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จและเบิกจ่ายเงินภายในกำหนดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อย่างเคร่งครัด

2. โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ ที่ทบทวนตามผลการพิจารณาของ คกง. ครั้งที่ 10/63 และครั้งที่ 32/63 จำนวน 20 โครงการ

2.1 คกง. มีหลักเกณฑ์ที่ใช้วิเคราะห์และพิจารณาโครงการ โดย (1) ต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกับครุภัณฑ์ที่เคยได้รับการสนับสนุนไปแล้ว และสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดหาได้ทันภายในปี 2564 (2) เป็นไปเพื่อการจัดบริการโรคโควิด 19 โดยตรง เพื่อการรักษาพยาบาลและช่วยชีวิตผู้ป่วย/ตรวจวินิจฉัย/ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และ (3) ไม่สนับสนุนรายการครุภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอน การวิจัยหรือครุภัณฑ์สำนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับโควิด ทั้งนี้ โครงการฯ ที่ได้รับความเห็นชอบ ประกอบด้วย

1. โครงการพัฒนาและยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ เพื่อรองรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอนาคต และการเปลี่ยนผ่านสู่หลังการแพร่

2. โครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาผู้ป่วยโคโรนาไวรัส COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / 51

3. โครงการปรับปรุงหอผู้ป่วยวิกฤต ICU NEGATIVE PRESSURE COVID-19 / มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / 121.6

4. โครงการเตรียมความพร้อมในการให้บริการของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รองรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 / มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง / 12.12

5. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพหอผู้ป่วยเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศูนย์การแพทย์ฯ / มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ / 2.5

6. โครงการหอผู้ป่วยวิกฤตเพื่อรองรับการระบาดของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศูนย์การแพทย์ฯ / มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ / 13.4

7. โครงการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สาขา 2 (Songkhla COVID-19 Recovery Camp) / มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ / 6.5

8. โครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตกและใต้ / กทม. / 63.74

9. โครงการเพิ่มหอผู้ป่วยวิกฤตสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 และเพิ่มความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี / มหาวิทยาลัยมหิดล / 30.17

10. โครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) / มหาวิทยาลัยมหิดล / 45.86

11. แผนงานการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 / มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ / 36.13

12. โครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่: กรณีโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร / มหาวิทยาลัยนเรศวร / 19.9

13. โครงการเพื่อจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อการเตรียมความพร้อมด้านสถานพยาบาล ในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ / มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ / 9.08

14. โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและพัฒนาความเป็นเลิศทางแพทย์ / มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี / 30.27

15. โครงการจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อการดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 / กทม. / 44.53

16. โครงการปรับปรุงห้องผู้ป่วยแยกโรคเป็นห้องผู้ป่วยแยกโรคความดันลบ สำหรับผู้ป่วยโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ จำนวน 4 ห้อง โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ / กทม. / 10.9

17. โครงการปรับปรุงห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นห้องแยกโรคความดันลบ พร้อมจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ / กทม. / 6.14

18. โครงการการจัดหาเครื่องช่วยหายใจเพื่อการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 / กองทัพบก / 24.3

19. โครงการเพื่อการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ทางแพทย์ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ / ตช. / 21.95

20. โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัด รองรับและบรรเทาภัยจากโรคติดเชื้อโควิด 19 และเป็นไปตามมาตรฐานด้านป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล / ตช. / 31.9

รวม / 665.09

2.2 มติ คกง.

เห็นชอบโครงการฯ จำนวน 20 โครงการ กรอบวงเงินไม่เกิน 665.09 ล้านบาท (ปรับลด 1,292.35 ล้านบาท จากข้อเสนอของ สธ. จำนวน 1,957.44 ล้านบาท) โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.2 และ 1.4 พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานตามที่ สธ. เสนอ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งยืนยันว่าจะสามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564

3. โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ตามมติ คกง. ครั้งที่ 10/63 จำนวน 3 โครงการ

3.1 คกง. มีหลักเกณฑ์ที่ใช้วิเคราะห์และกลั่นกรองโครงการฯ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดย (1) เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และรักษาโรคโควิด 19 (2) สามารถก่อหนี้ผูกพันภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดกู้เงินฯ (3) ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งงบประมาณอื่นได้นอกเหนือจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ (4) เป็นโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินการและมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จภายในระยะเวลาที่เหมาะสม และ (5) มีความเห็นประกอบของ อว. และ สธ. ด้วยแล้ว ทั้งนี้ โครงการฯ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ได้รับความเห็นชอบ ประกอบด้วย

1. โครงการการขยายผลจากเทคโนโลยีผลิตน้ำยาสกัด RNA เพื่อการตรวจโรค COVID-19

หน่วยงานรับผิดชอบ

สวทช.

ผลการพิจารณาของ คกง. (ล้านบาท)

12.50

2. โครงการแบตเตอรี่สำหรับ PAPR และแบตเตอรี่ทดแทนสำหรับอุปกรณ์การแพทย์เคลื่อนที่

หน่วยงานรับผิดชอบ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผลการพิจารณาของ คกง. (ล้านบาท)

26.55

3. โครงการการผลิตชั้นกรองหน้ากาก N95 โดยอาศัยสมบัติทริโบอิเล็กทริกของเส้นใยนาโนธรรมชาติและนาโนซิลเวอร์

หน่วยงานรับผิดชอบ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผลการพิจารณาของ คกง. (ล้านบาท)

5.53

รวม44.58

3.2 มติ คกง.

เห็นชอบโครงการฯ ด้านวิจัย จำนวน 3 โครงการ กรอบวงเงินไม่เกิน 44.58 ล้านบาท (ปรับลด 923.14 ล้านบาท จากข้อเสนอของ สธ. จำนวน 967.72 ล้านบาท) โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.2 และแผนงานที่ 1.3 พร้อมทั้งมอบหมายให้ สวทช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ 1 และให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ 2-3 และเห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งประสาน สธ. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตได้จากการศึกษาวิจัยภายในประเทศ เพื่อให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

4. อนุมัติการปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ดังต่อไปนี้

4.1 โครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค สป.สธ. (รอบที่ 1) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ตามที่ สป.สธ. เสนอ โดยเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงานและจำนวนรายการก่อสร้างปรับปรุงหอพักผู้ป่วยเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ชนิดมีระบบกรองอากาศ ดังนี้

มติคณะรัฐมนตรี (29 ธันวาคม 2563)

สถานที่ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)

โรงพยาบาลพุนพิน

จำนวน (หน่วย)

18

เสนอปรับปรุงครั้งนี้

สถานที่ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) / จำนวน (หน่วย)

โรงพยาบาลพุนพิน4

โรงพยาบาลท่าโรงช้าง12

โรงพยาบาลบ้านนาเดิม1

โรงพยาบาลท่าฉาง1

และรับทราบการแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดที่ไม่ใช่สาระสำคัญของโครงการฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงข้อมูลหน่วยงานและรายการคำขอที่คลาดเคลื่อน รวม 147 รายการ

4.2 โครงการแปลงใหญ่กระบือชลบุรีครบวงจร ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก อว. เสนอ โดยเป็นการขยายระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการฯ จากเดือนตุลาคม 2564 เป็นเดือนธันวาคม 2564 โดยเป็นการขยายระยะเวลาของสัญญาการจ้างงานเท่านั้น ซึ่งไม่กระทบระยะเวลาการดำเนินโครงการ คือ 12 เดือน

4.3 โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่าตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทส. เสนอขอเปลี่ยนแปลงพื้นที่ก่อสร้างของโครงการฯ ในจังหวัดสุรินทร์ จาก ?สำนักงานเขต? ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าทึบ เป็น ?ฐานปฏิบัติการพิทักษ์ป่าผามะนาว? ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งและมีประสิทธิภาพที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มีนาคม 2564


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ