เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การถอดบทเรียนการเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การถอดบทเรียนการเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
เรื่องเดิม
1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การถอดบทเรียนการเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการฯ มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อประเด็นปัญหาในการดำเนินการเลือกสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 4 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1) ประเด็นการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 108 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 13 โดยเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา 2) ประเด็นกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐรรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 15 เพิ่มเติมวิธีการสมัครสมาชิกวุฒิสภาให้มีความหลากหลาย รวมทั้งผ่านองค์กรวิชาชีพ 3) ประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการสมัคร ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 77 และมาตรา 36 เพิ่มช่องทางอื่น เพื่อแนะนำตัวผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา 4) ประเด็นการบริหารจัดการ ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 18 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์การดำเนินการเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สคก. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
- คุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา (ม.108) ควรเป็นบุคคลที่มีพื้นฐานการศึกษาและความรู้ในทางปฏิบัติและเชิงวิชาการเป็นอย่างดี
ผลการพิจารณา
- สคก. เห็นว่า การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาใน รธน. ควรเป็นไปตามความมุ่งหมายของ รธน. ที่ให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้แทนที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง จึงมิได้กำหนดคุณวุฒิด้านการศึกษาโดยกำหนดคุณสมบัติเพียงแค่มี ?ความรู้? ซึ่งมิได้หมายความถึงความรู้ที่จะวัดกันด้วยประกาศนียบัตรหรือปริญญาทั้งปวง แต่หมายถึงความรู้ที่บุคคลมีอยู่จริงในด้านต่าง ๆ
- วิธีการสมัคร (ม. 15) ควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการสมัครสมาชิกวุฒิสภาให้มีความหลากหลายเพื่อให้ได้สมาชิกวุฒิสภาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
- การแบ่งกลุ่มตามความเชี่ยวชาญของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา ควรมีการพิจารณาถึงสัดส่วนในการ
สมัครสมาชิกวุฒิสภาของแต่ละกลุ่มด้วย
- การเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับอำเภอ มีความสิ้นเปลืองงบประมาณ จึงอาจแก้ไข ม. 107 ของรัฐธรรมนูญฯ โดยยกเลิกการเลือกระดับอำเภอ
- การกำหนดให้ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาแต่ละกลุ่ม
ลงคะแนนเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกันได้ไม่เกิน 2 คน
ทำให้ไม่เปิดโอกาสในการเลือกผู้สมัครที่มีคุณวุฒิที่เหมาะสม จึงควรแก้ไขเพิ่มเติม ม. 41 และ ม. 42แห่ง พ.ร.ป. ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561
ผลการพิจารณา
- สำนักงาน กกต. เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมาธิการฯ โดย มท. เห็นว่า ควรเพิ่มวิธีการสมัครให้มีความหลากหลายรวมทั้งผ่านองค์กรวิชาชีพเพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มีอาชีพต่างๆ หลากหลายทางสังคม
- สคก. เห็นว่า การกำหนดแบ่งกลุ่มควรกำหนดให้มีความหลากหลายกระจายไปในทุกกลุ่มของสังคม และ มท. เห็นว่า ควรกำหนดให้ผู้สมัครสามารถเลือกกลุ่มได้มากขึ้นโดยอาจกำหนดให้ตามกลุ่มอาชีพ
- มท. และสำนักงาน กกต. เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมาธิการฯ โดย สคก. เห็นว่า กระบวนการได้มาของสมาชิกวุฒิสภามีหลายขั้นตอน จึงอาจไม่คุ้มค่าในการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาในระดับอำเภอ
- สำนักงาน กกต.เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมาธิการฯ โดย มท. เห็นว่า กระบวนการในการคัดเลือกมีขั้นตอนมาก มีผู้สมัครจำนวนน้อย โอกาสที่จะได้รับการเลือกเป็นไปได้ยาก
- ควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ข้อ 57 โดยเพิ่มเติมรายละเอียดในข้อมูลแนะนำตัวของผู้สมัคร (ส.ว. 18) ให้มากยิ่งขึ้น เช่น ผลงานซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่สมัคร และวิสัยทัศน์ เป็นต้น
ผลการพิจารณา
- สำนักงาน กกต. เห็นควรแก้ไขตามแนวทางของผลการศึกษาวิจัยและการถอดบทเรียน
- มท. เห็นว่า ควรเพิ่มเติมรายละเอียดในข้อมูลแนะนำตัว เช่น ผลงานที่ผ่านมา ประสบการณ์การทำงาน ผลการดำเนินงานที่ดำเนินการร่วมกับกลุ่มที่สมัครหรือผลงานที่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมและเป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจง่าย
- ควรปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ตรวจการเลือกตั้งให้ชัดเจน รวมทั้งแนวทางการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
ผลการพิจารณา
- มท. เห็นว่า ผู้ตรวจการเลือกตั้งควรกำหนดกรอบแนวทางการตรวจอย่างเข้มข้น ชัดเจนและหลากหลายวิธีตามบริบทของพื้นที่ ควรแต่งตั้งบุคคลในพื้นที่เนื่องจากทราบข้อมูลของผู้สมัครและคุ้นเคยกับพื้นที่ และเกิดความคล่องตัวในการประสานกับหน่วยงานในพื้นที่
- สำนักงาน กกต. เห็นว่า ความเห็นคณะกรรมาธิการฯ และผลการศึกษาวิจัยและการถอดบทเรียนมีความสอดคล้องกัน เห็นควรแก้ไขตามแนวทางของผลการศึกษาวิจัยและการถอดบทเรียน
ทั้งนี้ สคก. เห็นว่า ตามผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาฯ ดังกล่าว เป็นการเสนอให้มีการปรับปรุงประเด็นคุณสมบัติด้านการศึกษาและกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาในระดับอำเภอ อย่างไรก็ดีเนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการที่จะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ จึงสามารถนำข้อเสนอดังกล่าวประกอบการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ ทั้งฉบับได้ สำหรับข้อเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561สำนักงาน กกต. สามารถดำเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ เมื่อมีการแก้ไขแล้วได้
จึงได้เสนอผลการพิจารณาฯ มาเพื่อดำเนินการ
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มีนาคม 2564