คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม ครั้งที่ 3 และเห็นชอบมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) รับประเด็นข้อหารือจากการประชุมดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการต่อไปตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติให้พิจารณาดำเนินการต่อไป
กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)(ผู้ประกอบการและผู้ว่างงาน)
ความก้าวหน้าการดำเนินงานรายจังหวัด
สุพรรณบุรี
สนับสนุนการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ 8,325 ราย วงเงินอนุมัติ 5,850.50 ล้านบาท และจ้างงานผู้ได้รับผลกระทบ 367 อัตรา
กาญจนบุรี -
นครปฐม
- จ้างงานผู้ได้รับ
ผลกระทบ 416 คน
- จัดโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านอาชีพโดยหลักสูตรการอบรมต่าง ๆ 140 คน และจัดทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและจัดอบรมหลักสูตรฝึกอาชีพแล้ว 10,469 คน
- สนับสนุนสินเชื่อ/เติมทุน และพักชำระหนี้ให้ผู้ประกอบการ 156,279 ราย วงเงินอนุมัติ 6,990.62
ล้านบาท
- ปรับบัญชีชนิดสัตว์ป่าของจระเข้เป็นบัญชี
หมายเลข 2 และผลักดัน
ให้นำเข้าที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้า
ระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ครั้งต่อไป (ประชุมทุก 3 ปี)
- ส่งเสริมการค้าขายผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์
- สนับสนุน/ขยายผลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนบ้านศาลาดิน และวิสาหกิจอื่น ๆ พร้อมทั้งติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพ 2. กลุ่มโครงสร้างการพัฒนาจังหวัดด้านต่าง ๆ
2.1 ด้านการเกษตรและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ความก้าวหน้าการดำเนินงานรายจังหวัด
สุพรรณบุรี
1) แผนงานระยะสั้น เช่น
- นำร่องการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงปลายน้ำ หมู่ที่ 4 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี งบประมาณ 43.45 ล้านบาท พื้นที่รับประโยชน์ 1,350 ไร่ 625 ครัวเรือน ความจุ 2.15 ล้านลูกบาศก์เมตร
2) แผนงานระยะยาว เช่น
- ดำเนินโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่าบริเวณเหนือเขื่อนกระเสียว 1,450 ไร่ และปลูกป่าในพื้นที่ทวงคืน 540 ไร่ และจัดกิจกรรมปลูกป่าจิตอาสาเพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ในพื้นที่ทวงคืน บริเวณต้นน้ำริมเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 20 ไร่ ต้นไม้ 4,000 ต้น
กาญจนบุรี
- กรมทรัพยากรน้ำขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะดำเนินการโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยเวียคะดี้ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองลู อำเภอ สังขละบุรี งบประมาณ 47.50 ล้านบาท ประชาชนได้รับประโยชน์ 576 ครัวเรือน/2,878 ไร่
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้สำรวจแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่หาน้ำยาก ซึ่งพบแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แหล่ง ได้แก่ แอ่งหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ และแอ่งห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา มีปริมาณน้ำบาดาลกักเก็บทั้ง 2 แห่ง รวมกันไม่น้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะพัฒนาต่อไป
นครปฐม
- ขุดเจาะแหล่งน้ำบาดาล ปี 2563 แล้วเสร็จ 24 แห่ง และจะเติมน้ำใต้ดินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 อีก 10 แห่ง และเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณประจำปี 2565 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาน้ำบาดาล เพื่อความมั่นคงของชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม 5 แห่ง
2.2 ปัญหาด้านที่ดินทำกินและด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ความก้าวหน้าการดำเนินงานรายจังหวัด
สุพรรณบุรี
- ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำให้กินชุมชนในพื้นที่เช่น (1) กรมป่าไม้ได้อนุญาตการจัดที่ดินทำกินแล้ว 988 ? 3 ? 61 ไร่ จากเป้าหมายทั้งหมด 48,889 -1 - 33 ไร่ และ (2) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชสำรวจการครอบครองที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์แล้วเสร็จ ในพื้นที่เป้าหมาย 4,678.33 ไร่ 17 หมู่บ้าน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกกฎหมายลำดับรอง
กาญจนบุรี
- เร่งรัดพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของรัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 ให้แล้วเสร็จ ผ่านกลไกการขับเคลื่อนของ
คณะกรรมการแก้ไขปัญหา
การบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยในปี 2564 สำนักงานที่ดินจังหวัดมีเป้าหมายการออกโฉนดที่ดินให้ได้
อย่างน้อย 2,000 แปลง ในพื้นที่อำเภอเมือง
ท่าม่วง และพนมทวน
- ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้ชุมชนในพื้นที่ เช่น กรมป่าไม้ได้อนุญาตการจัดที่ดินทำกินแล้ว
8,030 ? 0 ? 3 ไร่ จากเป้าหมายทั้งหมด 62,754 - 3 - 89 ไร่
- คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4,000 และแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ทับซ้อนของจังหวัด
นครปฐม -
2.3 ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
- ปัญหาขยะมูลฝอย
- การจัดระเบียบแพ
- ปัญหาจากไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
- การป้องกันการเผาอ้อย
ความก้าวหน้าการดำเนินงานรายจังหวัด
สุพรรณบุรี
- เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
เพื่อก่อสร้างศูนย์จัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อและโรงงานคัดแยกขยะมูลฝอยทั่วไปเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
กาญจนบุรี
- จัดทำมาตรการจัดระเบียบแพ 3 ประเภท ได้แก่ (1) แพท่องเที่ยว (2) แพที่พักอาศัย และ (3) การจอดแพบริเวณเขื่อนขุนแผน (บริเวณหน้าเมือง)
- วางแผนแนวทางการฝึกซ้อมแผนการดับไฟป่าและหมอกควัน และดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตร ?จิตอาสา? ตามโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า เมื่อวันที่ 18 - 22 มกราคม 2564
- ลดการเกิดมลพิษจากการทำไร่อ้อย โดยกำหนดมาตรการให้โรงงานน้ำตาล
รับซื้ออ้อยไฟไหม้จากชาวไร่อ้อยทั้งฤดูกาลผลิตไม่เกินร้อยละ 20
นครปฐม
- ปรับปรุงข้อมูลโครงการ
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
ของเทศบาลนครนครปฐม
และเทศบาลตำบลห้วยพลูในการประเมินขยะตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลห้วยพลู เพื่อปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้อง
- ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพน้ำคลอง เช่นคลองเจดีย์บูชา รวมทั้ง ส่งเสริมให้มีการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กจากแหล่งกำเนิด
- จัดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมและติดตามสถานการณ์ PM2.5
นอกจากนี้ ได้มีประเด็นมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
มอบหมายหน่วยงาน
ทุกหน่วยงาน
ประเด็นมอบหมาย
สืบเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด - 19 ระลอกใหม่ จังหวัดหรือคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัดควรดำเนินการสำรวจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดดังกล่าว และความต้องการที่จะให้รัฐบาลช่วยเหลือ เช่น การจ้างงาน สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การผ่อนปรนด้านการชำระหนี้ และอื่น ๆ รวมทั้งให้ประชาสัมพันธ์ รณรงค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) ให้แก่นักท่องเที่ยว
กษ.
ประเด็นมอบหมาย
- ให้กรมประมงพิจารณาเร่งรัดการจัดทำเอกสารชี้แจงเพื่อปรับบัญชีชนิดสัตว์ป่าของจระเข้ จากบัญชีหมายเลข 1 เป็นบัญชีหมายเลข 2 ตามคำร้องขอของจังหวัดนครปฐม ทั้งนี้ ทส. โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะได้ผลักดันให้มีการนำเข้าที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ครั้งต่อไป
- ให้กรมชลประทานบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชน ทั้งนี้ ทส. โดยกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาลพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมดำเนินการ
- ให้กรมปศุสัตว์ติดตามตรวจสอบการเลี้ยงและดูแลช้างในปางช้างให้มีความเป็นอยู่ในสภาพที่เหมาะสม รวมทั้งควรมีการตรวจสุขภาพของช้าง โดยเฉพาะช้างที่ควาญช้างนำกลับบ้าน ทั้งนี้ ทส. โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงาน
มท.
ประเด็นมอบหมาย
- ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินการจัดเก็บผักตบชวาในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยควรมีการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day บูรณาการทุกหน่วยงานร่วมกันกำจัดผักตบชวา ทั้งนี้ ทส. พร้อมสนับสนุนกำลังพลในการดำเนินงาน
- ให้ อปท. ทำความเข้าใจกับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่า แม้ว่าปัจจุบัน ทส. ได้ดำเนินการจัดทำแหล่งอาหาร แหล่งน้ำให้กับช้างป่าเหล่านั้นเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม แต่การผลักดันช้างเข้าสู่ป่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และแต่ละจังหวัดอาจจะมีความแตกต่างกันไป
- ให้ อปท. สำรวจฟาร์มสุกรในพื้นที่พร้อมทั้งให้คำแนะนำการจัดการระบบฟาร์มที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปล่อยน้ำเสีย หรือส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ทั้งนี้ ทส. โดยกรมควบคุมมลพิษ พร้อมให้คำแนะนำทางวิชาการ
อก.
ประเด็นมอบหมาย
ให้จังหวัดประสานสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดติดตามตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ให้ดำเนินการตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ทั้งในเรื่องของระบบบำบัดน้ำเสีย การปล่อยฝุ่นละอองต่าง ๆ ออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 เมษายน 2564