รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – สิงคโปร์

ข่าวการเมือง Wednesday April 7, 2021 19:01 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย ? สิงคโปร์ (บันทึกความเข้าใจฯ) และให้ความเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย โดยมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวต่อไป โดยให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

คณะผู้แทนประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ได้จัดการประชุมเจรจาร่วมกันเมื่อวันที่ 9 ? 10 มกราคม 2560 ณ กรุงเทพมหานคร และได้จัดทำบันทึกความเข้าใจฯ โดยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 และต่อมาคณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ ได้มีมติรับทราบผลการเจรจาดังกล่าวแล้ว ในคราวการประชุม ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 โดยบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

คำจำกัดความ ?เจ้าหน้าที่การเดินอากาศ?

สาระสำคัญ

แก้ไขคำจำกัดความของคำว่า ?เจ้าหน้าที่การเดินอากาศ? (aeronautical authorities) สำหรับฝ่ายไทยโดยแก้จาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

การกำหนดสายการบิน /ความปลอดภัย /การรักษาความปลอดภัย

สาระสำคัญ

ทั้งสองฝ่ายตกลงให้เป็นไปตามความตกลงฯ ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2546

ใบพิกัดเส้นทางบิน

สาระสำคัญ

ปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบินสำหรับเที่ยวบินรับขนผู้โดยสารโดยระบุเป็นจุดระหว่างทางใดๆ และรวมจุดพ้นเป็นกลุ่มภูมิภาค โดยสายการบินที่กำหนดสามารถทำการบินตามเส้นทางบิน ดังต่อไปนี้

ไทย จุดใด ๆ ในไทย ? จุดระหว่างทางใด ๆ ? จุดใด ๆ ในสิงคโปร์ ? จุดพ้น ได้แก่ 13 จุดในโอเชียเนีย 3 จุด ในอเมริกาเหนือ และ 2 จุดในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้

สิงคโปร์ จุดใด ๆ ในสิงคโปร์ ? จุดระหว่างทางใด ๆ ? จุดใด ๆ ในไทย ? จุดพ้น ได้แก่ 5 จุดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จุด ในยุโรป 4 จุดใน อเมริกาเหนือ 3 จุด ในเอเชียใต้ 1 จุด ในตะวันออกกลาง

การแต่งตั้งสายการบินที่กำหนด

สาระสำคัญ

ภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่ายแต่งตั้งสายการบินที่กำหนด ดังนี้

ไทย ? 9 สายการบิน เช่น บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด

สิงคโปร์ ? 6 สายการบิน เช่น สายการบิน Singapore Airlines Limited สายการบิน Scoot Private Limited เป็นต้น

สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5

สาระสำคัญ

สายการบินที่กำหนดของแต่ละฝ่ายสามารถทำการบินด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ตามเส้นทางที่กำหนดในใบพิกัดเส้นทางบินได้ 28 เที่ยว/สัปดาห์

การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน

สาระสำคัญ

สายการบินที่กำหนดจองแต่ละฝ่ายสามารถทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันในเส้นทางการรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ได้เพิ่มอีก 24 เที่ยว/สัปดาห์ โดยให้สายการบินที่ไม่ได้ใช้สิทธิทำการบินเองสามารถนำสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 สำหรับเที่ยวบินรับขนผู้โดยสาร จำนวน 28 เที่ยว/สัปดาห์ มาใช้ร่วมกับสิทธิการทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันได้

การปรับปรุงข้อบทภายใต้ความตกลงฯ และสิทธิการบินต่าง ๆ ข้างต้นเป็นการเปิดโอกาสให้สายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายสามารถขยายบริการและเครือข่ายการบินเพิ่มมากขึ้นตลอดจนเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับสายการบินในการวางแผนการให้บริการอันเป็นการส่งเสริมการเดินทางของผู้โดยสาร และส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การค้าและบริการระหว่างประเทศทั้งสองประเทศต่อไป

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 เมษายน 2564


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ