คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2564 ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) เสนอ ดังนี้
1) สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ณ วันที่ 16 เมษายน 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 139,671,718 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 111 จาก 217 ประเทศทั่วโลก
2) สถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ เมษายน 2564 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 - 16 เมษายน 2564 มีผู้ป่วยติดเชื้อและอยู่ระหว่างการรักษา จำนวน 10,461 ราย (อยู่ในโรงพยาบาล 9,884 ราย และโรงพยาบาลสนาม 577 ราย) หายป่วยแล้ว 1,054 ราย ทั้งนี้ ณ วันที่ 16 เมษายน 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 1,582 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 921 ราย ผู้ป่วยจากการคัดกรองเชิงรุก 656 ราย และผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและอยู่ระหว่างกักตัวในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด 5 ราย
3) สรุปสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ระลอกเมษายน 2564 พบว่าเกิดจาก
การแพร่ระบาดของกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด - 19 จากสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีการกระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว โดยกลุ่มที่มีการแพร่เชื้อเป็นกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งมีกิจกรรมทางสังคมจำนวนมาก จึงมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องบริหารจัดการทรัพยากรด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งบูรณาการภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมบริหารจัดการเตรียมโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการที่อาจเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ แนวโน้มสถานการณ์ทั่วโลกยังพบผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศอินเดีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย จึงต้องคงระดับการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดบริเวณพื้นที่ชายแดนของประเทศต่อไป 2. ที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ในพื้นที่
ทั่วราชอาณาจักร และการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด - 19 ในการระบาดระลอกเมษายน 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ดังนี้
1) การห้ามการดำเนินการหรือจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ได้แก่ (1) ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของสถาบันการศึกษาทุกประเภท เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือทำกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก เว้นแต่การใช้เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือการใช้เป็นสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลืออุปการะ หรือการใช้สถานที่ตามข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 และ (2) ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลมากกว่า 50 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดเป็นสถานกักกันโรค
2) การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พิจารณาสั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน
3) การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกตามเขตพื้นที่ ดังนี้
(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุด จำนวน 18 จังหวัด/พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ภูเก็ต นครราชสีมา นนทบุรี สงขลา ตาก อุดรธานี สุพรรณบุรี สระแก้ว ระยอง และขอนแก่น โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้าน
ได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มได้จนถึงเวลา 23.00 น. ในลักษณะของการนำไปบริโภคที่อื่น
ข. การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ในร้าน
ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และงดการให้บริการส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุก
ง. ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ แต่ไม่เกินเวลา 23.00 น. สำหรับร้านหรือสถานที่ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ในเวลา 04.00 น.
จ. สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้ โดยจำกัดจำนวนผู้ชมในสนาม
(2) พื้นที่ควบคุม จำนวน 59 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อุบลราชธานี สระบุรี สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ ชุมพร พิษณุโลก นครศรีธรรมราช นราธิวาส ราชบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี เชียงราย ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ ลพบุรี มหาสารคาม ตราด ชัยภูมิ อ่างทอง สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุทัยธานี นครนายก สมุทรสงคราม ศรีสะเกษ แม่ฮ่องสอน ยะลา ชัยนาท สิงห์บุรี ลำพูน เพชรบูรณ์ กระบี่ ลำปาง กำแพงเพชร สุโขทัย พะเยา หนองคาย เลย พิจิตร ระนอง ร้อยเอ็ด สกลนคร พังงา ยโสธร ปัตตานี แพร่ ตรัง อุตรดิตถ์ น่าน อำนาจเจริญ นครพนม บึงกาฬ พัทลุง กาฬสินธุ์ สตูล และมุกดาหาร โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้าน ได้ไม่เกินเวลา 23.00 น.
ข. การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ในร้าน
ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และงดการให้บริการส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุก
4) การงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง ขอความร่วมมือให้ประชาชนงดหรือชะลอ
การเดินทางในช่วงเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็น โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด โดยให้กระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบและกำกับดูแลการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นการขนส่งสาธารณะทุกประเภท ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กำหนด
5) การจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ ขอความร่วมมือประชาชนงดการจัดกิจกรรมสังสรรค์ งานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ก่อน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนที่อาจจำเป็นต้องมีการจัดพิธีการตามประเพณีนิยมในช่วงเวลาดังกล่าว ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้เสนอประเด็นหารือ เพื่อขออนุญาตให้ประชาชนสามารถจัดพิธีการลักษณะดังกล่าวได้ หากมีมาตรการป้องกันโรคที่เพียงพอ
6) การดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาและดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากรในความรับผิดชอบในช่วงเวลานี้ โดยอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการอื่นใดที่เหมาะสม
7) มาตรการเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขฯ (ศปก. สธ.) ร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด?19 กระทรวงมหาดไทย (ศปก. มท.) และศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) เร่งจัดหาสถานที่เพื่อใช้รองรับ ดูแลรักษา และแยกกัก กักกันตัวผู้ติดเชื้อหรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อโดยด่วน โดยขอความร่วมมือจากสถานศึกษา สถานที่ของเอกชน หรือสถานที่อื่น ๆ รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์อื่น ที่จำเป็นให้เพียงพอ และให้ผู้ติดเชื้อทุกรายตรวจรักษาและแยกกักในสถานที่และตามระยะเวลา จนกว่าจะได้ตรวจทางการแพทย์แล้วว่าพ้นระยะติดต่อของโรค หรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค ให้ผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อรีบแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขในพื้นที่ทันทีเมื่อทราบว่าตนติดเชื้อหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า ติดเชื้อดังกล่าว เพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่จะเข้ารับการตรวจหรือรักษาตามขั้นตอนทางสาธารณสุข
8) การประเมินสถานการณ์ ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19
(ศปก. ศบค.) พิจารณาและประเมินสถานการณ์ เพื่อการปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการควบคุม แบบบูรณาการ รวมทั้งแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในห้วงเวลาต่าง ๆ และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาต ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด อาจพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด จำกัด หรือห้ามการดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ หรือพาหนะ หรือสั่งให้งดการทำกิจกรรมซึ่งมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มเติมจากที่กำหนดได้ โดยให้ดำเนินการสอดคล้องกับมาตรการหรือแนวปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีกำหนด 3. แผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ที่ประชุมได้พิจารณาแผนการให้บริการวัคซีนฯ ดังนี้
1) แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ของประเทศไทย พ.ศ. 2564
วัคซีน/ วัคซีนถึงประเทศไทย
1) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 2,500,000 โดส (เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2564)
1.1) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 200,000 โดสวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564
1.2) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 800,000 โดสวันที่ 27 มีนาคม 2564
1.3) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 1,000,000 โดสวันที่ 10 เมษายน 2564
1.4) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 500,000 โดสปลายเดือนเมษายน 2564
2) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 26,000,000 โดส (เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2564)
2.1) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 6,000,000 โดสเดือนมิถุนายน 2564
2.2) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 10,000,000 โดสเดือนกรกฎาคม 2564
2.3) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 10,000,000 โดสเดือนสิงหาคม 2564
3) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 35,000,000 โดส (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564)
3.1) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 10,000,000 โดสเดือนกันยายน 2564
3.2) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 10,000,000 โดสเดือนตุลาคม 2564
3.3) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 10,000,000 โดสเดือนพฤศจิกายน 2564
3.4) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 5,000,000 โดสเดือนธันวาคม 2564
2) การจัดสรรจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้หน่วยบริการ ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 15 เมษายน 2564 รวมจำนวน 1,043,589 โดส โดยได้จัดส่งวัคซีนของบริษัท Sinovac จำกัด ถึงหน่วยบริการเป้าหมายใน 77 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว จำนวน 957,429 โดส และจัดส่งวัคซีนของบริษัท AstraZeneca จำกัด ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร จำนวน 86,160 โดส
3) การให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ 77 จังหวัด มีจำนวนยอดสะสมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 15 เมษายน 2564 รวมทั้งสิ้น 586,032 โดส จำแนกเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 510,456 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 75,576 ราย โดยจำแนกตามกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีนฯ ดังนี้
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 / รวมสะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. - 15 เม.ย. 2564
1) บุคลากรสาธารณสุข (ราย)เข็มที่ 1/ 206,250เข็มที่ 2/ 33,521
2) เจ้าหน้าที่อื่น ๆ (ราย)เข็มที่ 1/ 49,454เข็มที่ 2/ 6,939
3) ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป (ราย)เข็มที่ 1 /26,256เข็มที่ 2/ 13
4) ผู้ที่มีโรคประจำตัว (ราย)เข็มที่ 1 /22,545เข็มที่ 2 /5,046
5) ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง (ราย)เข็มที่ 1 /205,951เข็มที่ 2 /30,057
รวม (ราย)เข็มที่ 1 /510,456เข็มที่ 2 /75,576
4) แผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย ภายในปี 2564
5) ข้อเสนอแผนการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด - 19 (Sinovac) จำนวน 1,000,000 โดส ในเดือนเมษายน 2564
เป้าหมายการกระจายวัคซีน
1) ควบคุมการระบาดในพื้นที่สีแดง100,000 โดส
2) พื้นที่ 77 จังหวัด
2.1) ประชาชนที่มีโรคประจำตัว147,200 โดส
2.2) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน599,800 โดส
2.3) ตำรวจและทหารปฏิบัติงานด่านหน้า54,320 โดส
3) สำรองส่วนกลาง98,680 โดส
รวม1,000,000 โดส
6) ความเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม ดังนี้
1) ควรเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ? 19 ให้ครอบคลุมประชากรของ ประเทศและพิจารณาจัดหาวัคซีนทางเลือกชนิดอื่นเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด ? 19) สายพันธุ์กลายพันธุ์จากต่างประเทศซึ่งมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในหลายประเทศ เช่น สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์บราซิล เป็นต้น รวมทั้งควรเตรียมความพร้อมระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับการแพร่ระบาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2) ควรให้ความสำคัญในการชี้แจงและสร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับ
การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ใน 2 ประเด็น ได้แก่ (1) วัคซีนที่ให้บริการในประเทศไทยมีคุณภาพและมีความปลอดภัย และ (2) การให้ประชาชนได้รับทราบแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19 ที่ชัดเจน
3) ให้กระทรวงสาธารณสุขหาแนวทางในการให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการกระจายและฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน โดยอาจพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีน หรือการให้องค์การเภสัชกรรมเป็นตัวแทนในการนำเข้าวัคซีนทางเลือก เพื่อให้โรงพยาบาลหรือหน่วยงานภาคเอกชนได้นำไปใช้ รวมถึงการขึ้นทะเบียนวัคซีนให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมาย
7) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 และรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาในการดำเนินงานตามแผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด ? 19 4. การจัดหาหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ของสำนักงานประกันสังคม ที่ประชุมรับทราบรายงานการจัดหาหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมมีสถานพยาบาลในเครือที่สามารถรองรับผู้ป่วยโรคโควิด - 19 รวมทั้งสิ้น 245 แห่ง ประกอบด้วยสถานพยาบาลของรัฐ 164 แห่ง สถานพยาบาลของเอกชน จำนวน 81 แห่ง ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดแนวทางดำเนินการจัดหาหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) เพื่อดูแลรักษาผู้ประกันตนที่ติดเชื้อโควิด - 19 โดยมีคณะกรรมการการแพทย์เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์ กรณีค่าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ประกันตน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม 5. การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ตามแนวชายแดน ที่ประชุมรับทราบรายงาน ดังนี้
1) การสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ในห้วง 1 - 15 เมษายน 2564
มีสถิติการจับกุมผู้ลักลอบเข้าเมือง รวม 1,977 คน โดยมียอดการจับกุมในพื้นที่ชายแดน จำนวน 1,281 คน พื้นที่ตอนใน จำนวน 696 คน และการจับกุมผู้นำพา รวม 14 คน ในพื้นที่จังหวัดตาก กาญจนบุรี ราชบุรี บึงกาฬ และระนอง
2) การตรวจกิจการและกิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลาย ในห้วง 1 กรกฎาคม 2563 - 14 เมษายน 2564 ทำการตรวจสถานประกอบการ กิจการ กิจกรรม รวม 3,824,027 แห่ง พบปฏิบัติไม่ครบถ้วน 110,527 แห่ง หรือร้อยละ 2.89 ซึ่งได้กวดขันการปฏิบัติตามมาตรการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 (ศบค.) กำหนดอย่างต่อเนื่อง เน้นย้ำมาตรการป้องกัน และเพิ่มเติมการประชาสัมพันธ์กับประชาชน
3) การปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ใน
การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโควิด ? 19 ได้แก่ การสนับสนุนกำลังพล และยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ และการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามตามความต้องการขยายขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งอยู่ภายใต้การอำนวยการของศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 (ศปก. ศบค.) ทั้งนี้ สถานภาพการสนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ในปัจจุบันทั่วประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 22 แห่ง รวม 3,606 เตียง
1) สัปดาห์ที่ 1 ให้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 รุนแรง
2) สัปดาห์ที่ 2 ให้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ของโรคโควิด - 19 รุนแรง และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ปานกลาง
3) สัปดาห์ที่ 3 ให้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้ประชาชนในพื้นที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ปานกลาง และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ต่ำ
4) สัปดาห์ที่ 4 ให้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ต่ำ 2. ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กระทรวงมหาดไทย (ศปก.มท.) ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลและเตรียมความพร้อมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม/เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งการเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และให้มีการเปิดรับอาสาสมัครจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการสนับสนุนรถพยาบาล รถกู้ชีพ และรถกู้ภัยต่าง ๆ เพื่อช่วยในเรื่องการรับส่งผู้ป่วยโควิด ? 19 ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ที่อาจขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น 3. ให้โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อสารและชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ? 19 และความจำเป็นของการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด - 19 ในการระบาดระลอกเมษายน 2564 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตของประชาชน
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 เมษายน 2564