คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของกรมทรัพยากรธรณีเกี่ยวกับธรณีพิบัติภัยอันสืบเนื่องมาจากแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ วันที่ 26 ธันวาคม 2547 สรุปได้ดังนี้
1. กรณีแผ่นดินไหวได้สรุปลำดับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 พร้อมข้อมูลทางวิชาการ อุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีที่เตือนภัยช้ากว่าที่ควรจะเป็น พร้อมทั้งวางแนวทางระบบเฝ้าระวังแผ่นดินไหว โดยตรวจสอบการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนมีพลังที่สำคัญในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีสากล พร้อมระบบเครือข่ายที่เหมาะสมระดับประเทศ เพื่อให้การเตือนภัยในเรื่องนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และจัดทำหนังสือ “ธรณีพิบัติคลื่นยักษ์ “สึนามิ” จากแผ่นดินไหว 9 ริคเตอร์ 26 ธันวาคม 2547” เพื่อส่งให้แก่หน่วยราชการและประชาชนผู้สนใจโดยตรงและเผยแพร่ทาง อินเตอร์เนต
2. กรณีหลุมยุบ ได้กำหนดระดับความเสี่ยงพื้นที่เสี่ยงภัยหลุมยุบ ในบริเวณที่รองรับด้วยหินปูนทั่วประเทศอย่างละเอียด เพื่อดำเนินการป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบในเขตชุมชน พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมและให้ความรู้แก่หน่วยงานส่วนภูมิภาค ถึงแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์หลุมยุบขึ้นในท้องที่
3. กรณีดินถล่ม ได้ดำเนินการป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มในเขตชุมชนและสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยให้มีเครือข่ายเฝ้าระวังดินถล่มในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง
4. กรณีถ้ำ ได้มีการสำรวจถ้ำที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในเขตอุทยานแห่งชาติในพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่อตรวจสอบความมั่นคงและความปลอดภัยของเพดานถ้ำ รวมทั้งใช้โอกาสนี้เผยแพร่ความรู้ในการเกิดถ้ำให้แก่ประชาชนทั่วไป และศึกษาหาแนวทางการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการถล่มของเพดานถ้ำที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
5. กรณีการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งได้ ทำการศึกษาหาแนวทางฟื้นฟูชายหาดที่ได้รับผลกระทบ และระบบการป้องกันชายฝั่งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางกายภาพและระบบนิเวศวิทยา และหาแนวทางป้องกันการพังทลายของชายหาด ที่มีอัตราการกัดเซาะรุนแรงสูง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. กรณีแผ่นดินไหวได้สรุปลำดับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 พร้อมข้อมูลทางวิชาการ อุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีที่เตือนภัยช้ากว่าที่ควรจะเป็น พร้อมทั้งวางแนวทางระบบเฝ้าระวังแผ่นดินไหว โดยตรวจสอบการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนมีพลังที่สำคัญในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีสากล พร้อมระบบเครือข่ายที่เหมาะสมระดับประเทศ เพื่อให้การเตือนภัยในเรื่องนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และจัดทำหนังสือ “ธรณีพิบัติคลื่นยักษ์ “สึนามิ” จากแผ่นดินไหว 9 ริคเตอร์ 26 ธันวาคม 2547” เพื่อส่งให้แก่หน่วยราชการและประชาชนผู้สนใจโดยตรงและเผยแพร่ทาง อินเตอร์เนต
2. กรณีหลุมยุบ ได้กำหนดระดับความเสี่ยงพื้นที่เสี่ยงภัยหลุมยุบ ในบริเวณที่รองรับด้วยหินปูนทั่วประเทศอย่างละเอียด เพื่อดำเนินการป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบในเขตชุมชน พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมและให้ความรู้แก่หน่วยงานส่วนภูมิภาค ถึงแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์หลุมยุบขึ้นในท้องที่
3. กรณีดินถล่ม ได้ดำเนินการป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มในเขตชุมชนและสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยให้มีเครือข่ายเฝ้าระวังดินถล่มในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง
4. กรณีถ้ำ ได้มีการสำรวจถ้ำที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในเขตอุทยานแห่งชาติในพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่อตรวจสอบความมั่นคงและความปลอดภัยของเพดานถ้ำ รวมทั้งใช้โอกาสนี้เผยแพร่ความรู้ในการเกิดถ้ำให้แก่ประชาชนทั่วไป และศึกษาหาแนวทางการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการถล่มของเพดานถ้ำที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
5. กรณีการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งได้ ทำการศึกษาหาแนวทางฟื้นฟูชายหาดที่ได้รับผลกระทบ และระบบการป้องกันชายฝั่งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางกายภาพและระบบนิเวศวิทยา และหาแนวทางป้องกันการพังทลายของชายหาด ที่มีอัตราการกัดเซาะรุนแรงสูง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--