คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของร่างหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) ประจำประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นในหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าว
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ขอให้รัฐบาลไทยพิจารณาการคงการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ JBIC ประจำประเทศไทย เช่นเดียวกับที่ได้ให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ OECF ประจำประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศรวมองค์กร OECF กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งญี่ปุ่น (J-EXIM Bank) และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542
2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ JBIC ประจำประเทศไทยให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการติดต่อประสานงาน และการดำเนินงานตามโครงการเงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่น จึงเห็นสมควรที่รัฐบาลไทยจะคง การให้สิทธิแก่เจ้าหน้าที่ JBIC ประจำประเทศไทย เช่นเดียวกับสิทธิพิเศษที่ให้กับเจ้าหน้าที่ OECF ประจำประเทศไทย โดยกระทรวงการคลังได้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแล้วมีมติเห็นชอบในหลักการที่จะให้สิทธิพิเศษและได้มีการยกร่างความตกลงขึ้นในรูปแบบของหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
2.1 สิทธิและภาระผูกพันต่าง ๆ ที่ประเทศไทยได้ดำเนินการกับ J-EXIM Bank และ OECF จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2542 จะถูกโอนไปอยู่ภายใต้การดำเนินการของ JBIC ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ซึ่งรวมถึงการดำเนินการภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้
2.2 การคงการให้สิทธิพิเศษแก่สำนักงาน และเจ้าหน้าที่ JBIC ในประเทศไทยเช่นเดียวกับที่กล่าวในหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 เกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ OECF ประจำประเทศไทย ในเรื่องการยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าของใช้ส่วนตัว และเครื่องใช้ในครัวเรือนในปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งรถยนต์คนละ 1 คัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากที่เดินทางเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยและการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง หรือเงินตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย สำหรับหัวหน้าสำนักงานและเจ้าหน้าที่ JBIC ทุกคน ทั้งนี้ การยกเว้นดังกล่าวจะไม่รวมถึงอาวุธปืน กระสุนปืน และส่วนประกอบอื่น ๆ และการยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีนำเข้าสำหรับการนำเข้าอุปกรณ์สำนักงานในปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งการนำเข้ารถยนต์สำนักงานจำนวน 1 คัน
2.3 รัฐบาลทั้งสองจะหารือกันเกี่ยวกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานภายใต้หนังสือแลกเปลี่ยนฉบับนี้
3. JBIC มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการพัฒนาด้านต่าง ๆ แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดย JBIC เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นทำหน้าที่ประสานงานและให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่มีเงื่อนไขผ่อนปรนสูง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระหว่างประเทศส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนในต่างประเทศของญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งสร้างเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจาก JBIC ในรูปเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,010,537 ล้านเยน ซึ่งเงินจำนวนนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศผ่านโครงการต่าง ๆ ทั้งของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
4. การให้เงินกู้ของรัฐบาลญี่ปุ่นตามข้อ 3 อยู่ภายใต้หลักการและรูปแบบของความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ดังนั้น จึงเป็นเงินกู้ที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน คือ มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินต้นและระยะเวลาปลอดหนี้ยาวนาน โดยเงื่อนไขดังกล่าวได้รับการผ่อนปรนลงมาเป็นลำดับจากการกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินต้น 20 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 5 ปี จนถึงเงินกู้ครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งที่ 29 มีการลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.90 ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินต้น 15 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 5 ปี นอกจากนี้ เงื่อนไขในการจัดซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งการว่าจ้างที่ปรึกษาภายใต้เงินกู้ดังกล่าวก็ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดให้ใช้สินค้าและบริการจากประเทศผู้ให้กู้แต่อย่างใด
5. การมีสำนักงานของ JBIC ในประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและปรึกษาหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ของฝ่ายไทย ให้การดำเนินงานตามโครงการเงินกู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่นแก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ทั้งราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดย JBIC ซึ่งก่อนหน้านี้คือ OECF ได้ก่อตั้งสำนักงานในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2508 ซึ่งในระยะแรกเป็นการดำเนินงานเพื่อจัดเตรียมเกี่ยวกับการให้เงินกู้แก่รัฐบาลไทย ปัจจุบันได้รวมกับ J-EXIM Bank ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนทางการเงินของภาคเอกชนและมีบทบาทเสริมการดำเนินงานของสถาบันการเงินระหว่างประเทศอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ขอให้รัฐบาลไทยพิจารณาการคงการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ JBIC ประจำประเทศไทย เช่นเดียวกับที่ได้ให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ OECF ประจำประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศรวมองค์กร OECF กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งญี่ปุ่น (J-EXIM Bank) และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542
2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ JBIC ประจำประเทศไทยให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการติดต่อประสานงาน และการดำเนินงานตามโครงการเงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่น จึงเห็นสมควรที่รัฐบาลไทยจะคง การให้สิทธิแก่เจ้าหน้าที่ JBIC ประจำประเทศไทย เช่นเดียวกับสิทธิพิเศษที่ให้กับเจ้าหน้าที่ OECF ประจำประเทศไทย โดยกระทรวงการคลังได้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแล้วมีมติเห็นชอบในหลักการที่จะให้สิทธิพิเศษและได้มีการยกร่างความตกลงขึ้นในรูปแบบของหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
2.1 สิทธิและภาระผูกพันต่าง ๆ ที่ประเทศไทยได้ดำเนินการกับ J-EXIM Bank และ OECF จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2542 จะถูกโอนไปอยู่ภายใต้การดำเนินการของ JBIC ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ซึ่งรวมถึงการดำเนินการภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้
2.2 การคงการให้สิทธิพิเศษแก่สำนักงาน และเจ้าหน้าที่ JBIC ในประเทศไทยเช่นเดียวกับที่กล่าวในหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 เกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ OECF ประจำประเทศไทย ในเรื่องการยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าของใช้ส่วนตัว และเครื่องใช้ในครัวเรือนในปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งรถยนต์คนละ 1 คัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากที่เดินทางเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยและการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง หรือเงินตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย สำหรับหัวหน้าสำนักงานและเจ้าหน้าที่ JBIC ทุกคน ทั้งนี้ การยกเว้นดังกล่าวจะไม่รวมถึงอาวุธปืน กระสุนปืน และส่วนประกอบอื่น ๆ และการยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีนำเข้าสำหรับการนำเข้าอุปกรณ์สำนักงานในปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งการนำเข้ารถยนต์สำนักงานจำนวน 1 คัน
2.3 รัฐบาลทั้งสองจะหารือกันเกี่ยวกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานภายใต้หนังสือแลกเปลี่ยนฉบับนี้
3. JBIC มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการพัฒนาด้านต่าง ๆ แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดย JBIC เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นทำหน้าที่ประสานงานและให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่มีเงื่อนไขผ่อนปรนสูง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระหว่างประเทศส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนในต่างประเทศของญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งสร้างเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจาก JBIC ในรูปเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,010,537 ล้านเยน ซึ่งเงินจำนวนนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศผ่านโครงการต่าง ๆ ทั้งของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
4. การให้เงินกู้ของรัฐบาลญี่ปุ่นตามข้อ 3 อยู่ภายใต้หลักการและรูปแบบของความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ดังนั้น จึงเป็นเงินกู้ที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน คือ มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินต้นและระยะเวลาปลอดหนี้ยาวนาน โดยเงื่อนไขดังกล่าวได้รับการผ่อนปรนลงมาเป็นลำดับจากการกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินต้น 20 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 5 ปี จนถึงเงินกู้ครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งที่ 29 มีการลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.90 ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินต้น 15 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 5 ปี นอกจากนี้ เงื่อนไขในการจัดซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งการว่าจ้างที่ปรึกษาภายใต้เงินกู้ดังกล่าวก็ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดให้ใช้สินค้าและบริการจากประเทศผู้ให้กู้แต่อย่างใด
5. การมีสำนักงานของ JBIC ในประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและปรึกษาหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ของฝ่ายไทย ให้การดำเนินงานตามโครงการเงินกู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่นแก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ทั้งราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดย JBIC ซึ่งก่อนหน้านี้คือ OECF ได้ก่อตั้งสำนักงานในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2508 ซึ่งในระยะแรกเป็นการดำเนินงานเพื่อจัดเตรียมเกี่ยวกับการให้เงินกู้แก่รัฐบาลไทย ปัจจุบันได้รวมกับ J-EXIM Bank ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนทางการเงินของภาคเอกชนและมีบทบาทเสริมการดำเนินงานของสถาบันการเงินระหว่างประเทศอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--