การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี

ข่าวการเมือง Tuesday April 27, 2021 17:13 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชน จำนวน 31 ฉบับ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะ ศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 (ศปก.ศบค.) เสนอ

สาระสำคัญ

ศปก.ศบค. ได้จัดประชุมเพื่อติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ? 19 อย่างต่อเนื่อง โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศได้กระจายเป็นวงกว้างในหลายเขตพื้นที่ทั่วประเทศ โดยผู้ติดเชื้อรายวันทวีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในอัตราสูงและเกิดกลุ่มก้อนการแพร่ระบาดไปในกลุ่มคนที่ไม่ได้เข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งกรณีส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในครอบครัวและสถานที่ทำงาน รวมทั้ง พบการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคโควิด ? 19 ที่มีอัตราการแพร่กระจายสูงและมีความอันตรายมากกว่าสายพันธุ์ในระลอกแรก อันกระทบโดยตรงต่อขีดความสามารถในการบริหารจัดการสถานการณ์ด้านสาธารณสุข และชีวิตของประชาชน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี/ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 มีข้อสั่งการให้ ศปก.ศบค. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ? 19 ภายใต้กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป และดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยเร็วที่สุด

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะ ศปก.ศบค. พิจารณาแล้ว เห็นว่าเพื่อให้การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ? 19 มีการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป และดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรให้ยกเลิกประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ สำนักงานฯ เห็นควรเสนอร่างประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) เพื่อให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน จำนวน 31 ฉบับ

ประกาศ

เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3)

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และมีประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 นั้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 ให้ยกเลิกประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 และให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตาม

กฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน ดังต่อไปนี้

1. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

2. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

3. พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561

4. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

5. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497

6. พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560

7. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551

8. พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

9. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

10. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

11. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542

12. พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495

13. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530

14. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551

15. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

16. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551

17. พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558

18. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550

19. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

20. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522

21. พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497

22. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

23. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

24. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

25. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542

26. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509

27. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

28. พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559

29. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

30. พระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. 2509

31. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

ทั้งนี้ ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วย

ให้ส่วนราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายข้างต้นยังคงใช้อำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปตามหลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีประกาศหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 เมษายน 2564


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ