2.1 การจัดฝึกอบรม ประชุม สัมมนาให้กับประชาชนและบุคลากรของภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในด้านการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศและกฎหมายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ
2.2 การดำเนินโครงการวิจัย จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อรองรับโอกาสและผลกระทบจากการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ 2) โอกาสการค้าและการลงทุนไทยจากนโยบาย One Belt, One Road ของจีน 3) การพัฒนากรอบนโยบายการลงทุนและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และ 4) การพัฒนานโยบายเพื่อการขยายผลการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาจากกรอบเขตการค้าเสรีบิมสเทคของประเทศไทย
2.3 การดำเนินการด้านวิชาการ
2.3.1 สนับสนุนการจัดทำบทความเชิงวิชาการและได้เผยแพร่ข้อมูลวิชาการของสถาบันผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุ และข้อมูลกิจกรรมของสถาบันอื่น ๆ ผ่านทางโทรทัศน์และเว็บไซต์ของ สคพ.
2.3.2 ขยายเครือข่ายการสร้างองค์ความรู้และการให้บริการวิชาการเพื่อการค้าและการพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดย สคพ. ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรม ประชุม สัมมนา และดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 10 หน่วยงาน แบ่งเป็น หน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ เช่น UNCTAD World Trade Organization (WTO) Asian Development Bank Institute (ADBI) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยศรีปทุม
2.4 การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มด้านการค้าและการพัฒนา จัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อนำผลการศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มด้านการค้าและการพัฒนาไปใช้ในการสนับสนุนภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ จำนวน 4 ครั้ง พร้อมทั้งจัดพิมพ์เล่มรายงานผลการวิเคราะห์ด้านการค้าและการพัฒนา จำนวน 4 เล่ม
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 พฤษภาคม 2564