กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานผลการจัดทำแผนแม่บทการอพยพประชาชน แนวความคิดและทิศทาง (Roadmap) การให้ความช่วยเหลือและอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย 6 จังหวัดภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามัน และการฝึกซ้อมการอพยพที่ได้ดำเนินการแล้ว ดังนี้
1. การจัดทำแผนอพยพประชาชน
1.1 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) ได้มีบัญชาให้สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดทำแผนการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงภัยจากคลื่นยักษ์ (สึนามิ) และจัดการฝึกซ้อมแผนฯ โดยเร็ว ซึ่งบัดนี้แผนแม่บทการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากคลื่นยักษ์ (สึนามิ) ของ 6 จังหวัดได้จัดทำแล้วเสร็จ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักรแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548
1.2 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เชิญผู้เกี่ยวข้องของจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล มาดำเนินการเตรียมการจัดทำแผนการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากคลื่นยักษ์ระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนแม่บทฯ ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2548 ที่ผ่านมา โดยมีคณะเจ้าหน้าที่ด้านการจัดทำแผนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจนได้ร่างแผนการอพยพประชาชนของจังหวัด เพื่อที่จังหวัดจะนำไปประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับชุมชนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ในพื้นที่เสี่ยงภัย ของแต่ละจังหวัดเพื่อให้ได้แผนการอพยพประชาชนฯ ระดับจังหวัดที่สมบูรณ์และตรงตามสภาพของจังหวัดต่อไปและให้มีการจัดทำแผนอพยพทั้งในระดับอำเภอและท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัยด้วย พร้อมกับได้กำชับให้คณะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจัดเตรียมการฝึกซ้อมแผนการอพยพประชาชนเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อดำเนินการฝึกซ้อมแผนฯ ตามนโยบายให้แล้วเสร็จอย่างช้าภายในเดือนพฤษภาคม 2548
1.3 สำหรับการจัดทำแผนอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณหาดป่าตองของเทศบาล เมืองป่าตอง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2548 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต และเทศบาลเมืองป่าตอง ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ในพื้นที่เสี่ยงภัยหาดป่าตอง เพื่อพิจารณาให้คำแนะนำปรับปรุงแก้ไขแผนการอพยพประชาชนของเทศบาลเมืองป่าตอง สำหรับพร้อมที่จะนำมาฝึกซ้อมการอพยพ นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้แทนจากจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล มาร่วมสังเกตการณ์เพื่อนำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดทำแผนอพยพและการฝึกซ้อมแผนการอพยพประชาชนในจังหวัดของตนเองที่จะดำเนินการต่อไปด้วย
2. การจัดทำรูปแบบป้ายสัญญาณเตือนภัยและป้ายแสดงเส้นทางอพยพ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดทำรูปแบบป้ายสัญญาณอพยพพร้อมรายละเอียดข้อกำหนดของป้ายสัญญาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัย 6 จังหวัดแล้ว เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปจัดทำและนำไปติดตั้งในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ตามแผนอพยพที่กำหนดให้ทั่วถึงและสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ชนิดของป้ายประกอบด้วย
(1) ป้ายเตือนเข้าเขตพื้นที่เสี่ยงภัย
(2) ป้ายเตือนในพื้นที่เสี่ยงภัย
(3) เสาหลักแสดงความสูงของคลื่นสึนามิ
(4) แผนผังแสดงพื้นที่เกิดภัย เส้นทางหนีภัย พื้นที่ปลอดภัยรอการอพยพและพื้นที่ปลอดภัยศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ
(5) ป้ายแสดงเส้นทางหนีคลื่นสึนามิ ป้ายบอกทิศทางไปศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ
(6) ป้ายแสดงตำแหน่งพื้นที่ปลอดภัยรอการอพยพและป้ายบอกศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ
3. การสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ประชาชน
การให้การศึกษากับชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ชุมชนตระหนัก และมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รับความร่วมมือจาก GTZ JICA และ ADPC ส่งผู้เชี่ยวชาญจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนและได้มีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการโรงแรม ในพื้นที่หาดป่าตองไปแล้ว เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 ที่ผ่านมา และจะดำเนินการในพื้นที่เสี่ยงภัยจุดอื่น ๆ ให้ครบถ้วน นอกจากนั้นยังได้จัดพิมพ์คู่มือการอพยพแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อให้ประชาชนรับทราบและปฏิบัติตนในการอพยพได้อย่างถูกต้อง
4. การฝึกซ้อมแผนการอพยพประชาชน
4.1 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเจ้าภาพหลัก ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กองเรือภาคที่ 3 กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ อาสาสมัคร ผู้ประกอบการ ประชาชนในพื้นที่ และหน่วยงานอื่น ๆ ได้จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ที่หาดป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ขึ้นเป็นจังหวัดแรก โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อมประมาณ 3,000 คน นอกจากนี้ยังได้เชิญทูตานุทูตจาก 40 ประเทศ เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกซ้อม ซึ่งแผนขั้นตอนการฝึกซ้อมได้กำหนดไว้ดังนี้
(1) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2548 เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการฝึกซ้อมการอพยพ
(2) มีการประชาสัมพันธ์การฝึกซ้อมอพยพอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้ทราบ และให้ความร่วมมือในการฝึกซ้อม
(3) กำหนดสถานที่ปลอดภัยสำหรับรองรับการอพยพ จำนวน 5 แห่ง
(4) กำหนดเส้นทางอพยพหนีภัย จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางประมาณ 400 เมตร — 600 เมตร โดยได้ติดตั้งป้ายมาตรฐานแนะนำประชาชน และนักท่องเที่ยวจากพื้นที่เสี่ยงภัย จนไปถึงสถานที่ปลอดภัย
(5) แผนการฝึกซ้อมมีการสมมติเหตุการณ์เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่หมู่เกาะนิโคลบาร์ ซึ่งห่างจากภูเก็ตประมาณ 400 กิโลเมตร ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สูง 10 เมตร จะเดินทางมาถึงเกาะภูเก็ต ภายในเวลา 30 นาที ดังนั้นเทศบาลเมืองป่าตองต้องเร่งอพยพประชาชน และนักท่องเที่ยวให้ได้ภายใน 20 นาที เมื่อสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น
(6) จัดระบบการแบ่งกลุ่มประชาชน พื้นที่ และมีผู้ควบคุมการอพยพ เช่น กลุ่มผู้ทุพพลภาพ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเด็กและคนชรา เป็นต้น
(7) จัดระบบการบัญชาการ (Incident Command) การอำนวยการสั่งการ การประสานงานและการติดต่อสื่อสาร
(8) จัดให้มีการอำนวยความปลอดภัย และความสะดวกแก่ผู้อพยพ
(9) เมื่อสถานการณ์ยุติให้มีการอพยพประชาชนและนักท่องเที่ยวกลับสู่ที่ตั้งอย่างปลอดภัยและเป็นระบบ
(10) มีการประเมินผลการฝึกซ้อมการอพยพประชาชน เพื่อนำไปแก้ไขข้อบกพร่องและปรับแก้แผนให้มีความเหมาะสมทั้งด้านการปฏิบัติและการประสานงาน
4.2 สำหรับการฝึกซ้อมในพื้นที่เสี่ยงภัยอื่น ๆ ให้จังหวัดภูเก็ตและ 5 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน กำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัยทุกแห่งจัดทำแผนการอพยพและฝึกซ้อมการอพยพ ทั้งนี้ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน หรือตามความเหมาะสมของแต่ละแห่ง โดยการฝึกซ้อมอพยพประชาชนแต่ละครั้งให้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ ที่จะทำการฝึกซ้อมกระจายติดตั้งในพื้นที่ให้ทั่วถึงและมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ
5. การกำหนดให้จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดต้นแบบ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะสนับสนุนให้จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดต้นแบบในการจัดทำสถานที่รองรับการอพยพ การจัดทำป้ายเตือนในพื้นที่เสี่ยงภัย ป้ายแนะนำเส้นทางหนีภัย และการให้สถานศึกษาทุกแห่งในจังหวัดภูเก็ตให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสึนามิแก่เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถม โดยจะเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำทางด้านวิชาการและการปฏิบัติให้แก่จังหวัดภูเก็ต เพื่อให้จังหวัดอื่น ๆ ได้เรียนรู้วิธีการรูปแบบ ในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ นอกจากนั้นจะขยายการฝึกซ้อมการอพยพไปยัง 16 จังหวัดชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยในระยะต่อไป เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ประชาชนในพื้นที่เกิดการเรียนรู้ในระบบแจ้งเตือนภัย การอพยพหนีภัย จนเกิดความเคยชิน สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวในมาตรการแจ้งเตือนภัย การเตรียมความพร้อมในการอพยพและการอำนวยการความปลอดภัยของประเทศไทยที่ได้ดำเนินการแล้วอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. การจัดทำแผนอพยพประชาชน
1.1 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) ได้มีบัญชาให้สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดทำแผนการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงภัยจากคลื่นยักษ์ (สึนามิ) และจัดการฝึกซ้อมแผนฯ โดยเร็ว ซึ่งบัดนี้แผนแม่บทการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากคลื่นยักษ์ (สึนามิ) ของ 6 จังหวัดได้จัดทำแล้วเสร็จ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักรแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548
1.2 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เชิญผู้เกี่ยวข้องของจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล มาดำเนินการเตรียมการจัดทำแผนการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากคลื่นยักษ์ระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนแม่บทฯ ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2548 ที่ผ่านมา โดยมีคณะเจ้าหน้าที่ด้านการจัดทำแผนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจนได้ร่างแผนการอพยพประชาชนของจังหวัด เพื่อที่จังหวัดจะนำไปประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับชุมชนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ในพื้นที่เสี่ยงภัย ของแต่ละจังหวัดเพื่อให้ได้แผนการอพยพประชาชนฯ ระดับจังหวัดที่สมบูรณ์และตรงตามสภาพของจังหวัดต่อไปและให้มีการจัดทำแผนอพยพทั้งในระดับอำเภอและท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัยด้วย พร้อมกับได้กำชับให้คณะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจัดเตรียมการฝึกซ้อมแผนการอพยพประชาชนเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อดำเนินการฝึกซ้อมแผนฯ ตามนโยบายให้แล้วเสร็จอย่างช้าภายในเดือนพฤษภาคม 2548
1.3 สำหรับการจัดทำแผนอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณหาดป่าตองของเทศบาล เมืองป่าตอง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2548 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต และเทศบาลเมืองป่าตอง ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ในพื้นที่เสี่ยงภัยหาดป่าตอง เพื่อพิจารณาให้คำแนะนำปรับปรุงแก้ไขแผนการอพยพประชาชนของเทศบาลเมืองป่าตอง สำหรับพร้อมที่จะนำมาฝึกซ้อมการอพยพ นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้แทนจากจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล มาร่วมสังเกตการณ์เพื่อนำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดทำแผนอพยพและการฝึกซ้อมแผนการอพยพประชาชนในจังหวัดของตนเองที่จะดำเนินการต่อไปด้วย
2. การจัดทำรูปแบบป้ายสัญญาณเตือนภัยและป้ายแสดงเส้นทางอพยพ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดทำรูปแบบป้ายสัญญาณอพยพพร้อมรายละเอียดข้อกำหนดของป้ายสัญญาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัย 6 จังหวัดแล้ว เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปจัดทำและนำไปติดตั้งในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ตามแผนอพยพที่กำหนดให้ทั่วถึงและสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ชนิดของป้ายประกอบด้วย
(1) ป้ายเตือนเข้าเขตพื้นที่เสี่ยงภัย
(2) ป้ายเตือนในพื้นที่เสี่ยงภัย
(3) เสาหลักแสดงความสูงของคลื่นสึนามิ
(4) แผนผังแสดงพื้นที่เกิดภัย เส้นทางหนีภัย พื้นที่ปลอดภัยรอการอพยพและพื้นที่ปลอดภัยศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ
(5) ป้ายแสดงเส้นทางหนีคลื่นสึนามิ ป้ายบอกทิศทางไปศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ
(6) ป้ายแสดงตำแหน่งพื้นที่ปลอดภัยรอการอพยพและป้ายบอกศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ
3. การสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ประชาชน
การให้การศึกษากับชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ชุมชนตระหนัก และมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รับความร่วมมือจาก GTZ JICA และ ADPC ส่งผู้เชี่ยวชาญจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนและได้มีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการโรงแรม ในพื้นที่หาดป่าตองไปแล้ว เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 ที่ผ่านมา และจะดำเนินการในพื้นที่เสี่ยงภัยจุดอื่น ๆ ให้ครบถ้วน นอกจากนั้นยังได้จัดพิมพ์คู่มือการอพยพแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อให้ประชาชนรับทราบและปฏิบัติตนในการอพยพได้อย่างถูกต้อง
4. การฝึกซ้อมแผนการอพยพประชาชน
4.1 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเจ้าภาพหลัก ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กองเรือภาคที่ 3 กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ อาสาสมัคร ผู้ประกอบการ ประชาชนในพื้นที่ และหน่วยงานอื่น ๆ ได้จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ที่หาดป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ขึ้นเป็นจังหวัดแรก โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อมประมาณ 3,000 คน นอกจากนี้ยังได้เชิญทูตานุทูตจาก 40 ประเทศ เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกซ้อม ซึ่งแผนขั้นตอนการฝึกซ้อมได้กำหนดไว้ดังนี้
(1) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2548 เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการฝึกซ้อมการอพยพ
(2) มีการประชาสัมพันธ์การฝึกซ้อมอพยพอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้ทราบ และให้ความร่วมมือในการฝึกซ้อม
(3) กำหนดสถานที่ปลอดภัยสำหรับรองรับการอพยพ จำนวน 5 แห่ง
(4) กำหนดเส้นทางอพยพหนีภัย จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางประมาณ 400 เมตร — 600 เมตร โดยได้ติดตั้งป้ายมาตรฐานแนะนำประชาชน และนักท่องเที่ยวจากพื้นที่เสี่ยงภัย จนไปถึงสถานที่ปลอดภัย
(5) แผนการฝึกซ้อมมีการสมมติเหตุการณ์เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่หมู่เกาะนิโคลบาร์ ซึ่งห่างจากภูเก็ตประมาณ 400 กิโลเมตร ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สูง 10 เมตร จะเดินทางมาถึงเกาะภูเก็ต ภายในเวลา 30 นาที ดังนั้นเทศบาลเมืองป่าตองต้องเร่งอพยพประชาชน และนักท่องเที่ยวให้ได้ภายใน 20 นาที เมื่อสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น
(6) จัดระบบการแบ่งกลุ่มประชาชน พื้นที่ และมีผู้ควบคุมการอพยพ เช่น กลุ่มผู้ทุพพลภาพ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเด็กและคนชรา เป็นต้น
(7) จัดระบบการบัญชาการ (Incident Command) การอำนวยการสั่งการ การประสานงานและการติดต่อสื่อสาร
(8) จัดให้มีการอำนวยความปลอดภัย และความสะดวกแก่ผู้อพยพ
(9) เมื่อสถานการณ์ยุติให้มีการอพยพประชาชนและนักท่องเที่ยวกลับสู่ที่ตั้งอย่างปลอดภัยและเป็นระบบ
(10) มีการประเมินผลการฝึกซ้อมการอพยพประชาชน เพื่อนำไปแก้ไขข้อบกพร่องและปรับแก้แผนให้มีความเหมาะสมทั้งด้านการปฏิบัติและการประสานงาน
4.2 สำหรับการฝึกซ้อมในพื้นที่เสี่ยงภัยอื่น ๆ ให้จังหวัดภูเก็ตและ 5 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน กำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัยทุกแห่งจัดทำแผนการอพยพและฝึกซ้อมการอพยพ ทั้งนี้ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน หรือตามความเหมาะสมของแต่ละแห่ง โดยการฝึกซ้อมอพยพประชาชนแต่ละครั้งให้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ ที่จะทำการฝึกซ้อมกระจายติดตั้งในพื้นที่ให้ทั่วถึงและมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ
5. การกำหนดให้จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดต้นแบบ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะสนับสนุนให้จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดต้นแบบในการจัดทำสถานที่รองรับการอพยพ การจัดทำป้ายเตือนในพื้นที่เสี่ยงภัย ป้ายแนะนำเส้นทางหนีภัย และการให้สถานศึกษาทุกแห่งในจังหวัดภูเก็ตให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสึนามิแก่เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถม โดยจะเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำทางด้านวิชาการและการปฏิบัติให้แก่จังหวัดภูเก็ต เพื่อให้จังหวัดอื่น ๆ ได้เรียนรู้วิธีการรูปแบบ ในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ นอกจากนั้นจะขยายการฝึกซ้อมการอพยพไปยัง 16 จังหวัดชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยในระยะต่อไป เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ประชาชนในพื้นที่เกิดการเรียนรู้ในระบบแจ้งเตือนภัย การอพยพหนีภัย จนเกิดความเคยชิน สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวในมาตรการแจ้งเตือนภัย การเตรียมความพร้อมในการอพยพและการอำนวยการความปลอดภัยของประเทศไทยที่ได้ดำเนินการแล้วอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--