1. แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์สังคมไทย
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 412/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์สังคมไทย โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท อสมท. จำกัด นายอมรวิชช์ นาครทรรพ /ผู้ทรงคุณวุฒิ นายยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์ /ผู้ทรงคุณวุฒิ นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา /ผู้ทรงคุณวุฒิ และนายยุรนันท์ ภมรมนตรี /ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ นายอธิปัตย์ บำรุง ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. เร่งรัดหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาสังคม โดยเฉพาะเพื่อลดปัญหาในเรื่องสื่อลามกตู้เกมส์ เว็บไซต์ที่มีการดาวน์โหลดข้อมูลที่นำไปสู่การคุกคามทางเพศ การโฆษณาการ์ตูน สถานที่มอมเมาเด็กและ เยาวชน เป็นต้น เพื่อขจัดสื่อลามกให้หมดสิ้นโดยเด็ดขาด
2. กำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อยกระดับส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์สังคมไทย
3. ประสาน เร่งรัด กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน และประสานความร่วมมือหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม
4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
5. ปฏิบัติการเรื่องอื่น ๆ ตามที่มอบหมาย
สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
2. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ขอลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้ นางอัญชลี ชวนิชย์ เป็นประธานกรรมการ นายเทิดศักดิ์ เศรษฐมานพ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นายปรีดี จุลเจิม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และนายชัยชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย แทนคณะกรรมการชุดเดิมที่จะดำรงตำแหน่งครบวาระวันที่ 23 ธันวาคม 2548 ดังนี้ นายสามารถ ยลภัคย์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นางพรรณี สถาวโรดม นายประพันธ์ นัยโกวิท นายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี นายสุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ พลตำรวจตรี ประวุฒิ ถาวรศิริ และ นายวันชัย จัยสิน
ทั้งนี้ กรรมการในลำดับที่ 3 ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการเคยได้รับการอนุมัติให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในคณะกรรมการฯ ชุดเดิมจาก ก.อ.แล้ว
4. แต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้ง พลโทนายแพทย์ มงคล จิวะสินติการ เป็นผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม โดยให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (25 ตุลาคม 2548) สำหรับค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
5. แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1. นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรีแทน นายธวัช คงเดชา
2. นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง แทนนางสาวสุธีพร ดวงโต
3. นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นกรรมการผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แทน นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
4. นายฉัตรชัย ปิยะสมบัติกุล เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการ ธ.ก.ส. แทนตำแหน่งที่ว่าง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2548 เป็นต้นไป
6. แต่งตั้งคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช โดยมีองค์ประกอบดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพลังงาน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายกสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย นายกสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มประเทศไทย นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม นายกสมาคมโรงสกัดน้ำมันปาล์ม ผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง 1 ท่าน และมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นกรรมการและเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. เสนอนโยบาย แผนการบริการ การจัดการ การพัฒนาการผลิตและการตลาดพืชน้ำมันและน้ำมันพืชต่อคณะรัฐมนตรี
2. กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการ และเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต การจำหน่าย การแปรรูป การนำเข้า การส่งออก การใช้ทดแทนพลังงาน รวมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
3. เร่งรัด ส่งเสริม และประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน เกษตรกร อุตสาหกรรมน้ำมันพืช และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
4. มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเป็นรายสินค้าที่เกี่ยวข้องตามความ จำเป็น
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ตั้งแต่ปี 2525-2547 สินค้าพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ซึ่งประกอบด้วยถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ถั่วลิสง ทานตะวัน งา ละหุ่ง สบู่ดำ เป็นต้น มีคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น กำกับดูแลโดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการ ตั้งแต่การผลิต การตลาด การแปรรูป รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับพืชน้ำมันและน้ำมันพืชทั้งระบบ โดยกลุ่มสินค้าพืชน้ำมันและน้ำมันพืช มีหลายชนิดและบางชนิดสามารถใช้ทดแทนกันได้ บางสินค้าผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ บางสินค้าไม่เพียงพอจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ เช่น WTO AFTA และ FTA จะมีผลกระทบต่อพืชน้ำมันและน้ำมันพืชที่มีการผลิตได้ภายในประเทศ อีกทั้งนโยบายส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซล เพื่อใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงทดแทน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ มาตรการและเงื่อนไขในการปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิต การนำเข้า การส่งออกนอกราชอาณาจักร การกำหนดราคา การจำหน่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมพืชน้ำมันและน้ำมันพืชของประเทศให้สอดคล้องกันทั้งระบบ อีกทั้งการกำหนดนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับพืชน้ำมันและน้ำมันพืชควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรเข้าร่วมดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อให้นโยบายและมาตรการเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
7. เรื่อง การปรับองค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับ
ต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอการปรับองค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานกรรมการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงคมนาคม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงพลังงาน หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือผู้แทน เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชพลเรือน หรือผู้แทน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือผู้แทน รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (กลุ่มภารกิจความร่วมมือระหว่างประเทศ) รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (กลุ่มภารกิจความสัมพันธ์ทวิภาคี) อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และรองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดนโยบายการให้และรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ
2. ให้ความเห็นชอบแผนงานความร่วมมือและกำกับดูแลการดำเนินการให้และรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ
3. พิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 412/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์สังคมไทย โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท อสมท. จำกัด นายอมรวิชช์ นาครทรรพ /ผู้ทรงคุณวุฒิ นายยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์ /ผู้ทรงคุณวุฒิ นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา /ผู้ทรงคุณวุฒิ และนายยุรนันท์ ภมรมนตรี /ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ นายอธิปัตย์ บำรุง ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. เร่งรัดหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาสังคม โดยเฉพาะเพื่อลดปัญหาในเรื่องสื่อลามกตู้เกมส์ เว็บไซต์ที่มีการดาวน์โหลดข้อมูลที่นำไปสู่การคุกคามทางเพศ การโฆษณาการ์ตูน สถานที่มอมเมาเด็กและ เยาวชน เป็นต้น เพื่อขจัดสื่อลามกให้หมดสิ้นโดยเด็ดขาด
2. กำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อยกระดับส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์สังคมไทย
3. ประสาน เร่งรัด กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน และประสานความร่วมมือหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม
4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
5. ปฏิบัติการเรื่องอื่น ๆ ตามที่มอบหมาย
สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
2. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ขอลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้ นางอัญชลี ชวนิชย์ เป็นประธานกรรมการ นายเทิดศักดิ์ เศรษฐมานพ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นายปรีดี จุลเจิม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และนายชัยชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย แทนคณะกรรมการชุดเดิมที่จะดำรงตำแหน่งครบวาระวันที่ 23 ธันวาคม 2548 ดังนี้ นายสามารถ ยลภัคย์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นางพรรณี สถาวโรดม นายประพันธ์ นัยโกวิท นายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี นายสุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ พลตำรวจตรี ประวุฒิ ถาวรศิริ และ นายวันชัย จัยสิน
ทั้งนี้ กรรมการในลำดับที่ 3 ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการเคยได้รับการอนุมัติให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในคณะกรรมการฯ ชุดเดิมจาก ก.อ.แล้ว
4. แต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้ง พลโทนายแพทย์ มงคล จิวะสินติการ เป็นผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม โดยให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (25 ตุลาคม 2548) สำหรับค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
5. แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1. นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรีแทน นายธวัช คงเดชา
2. นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง แทนนางสาวสุธีพร ดวงโต
3. นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นกรรมการผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แทน นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
4. นายฉัตรชัย ปิยะสมบัติกุล เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการ ธ.ก.ส. แทนตำแหน่งที่ว่าง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2548 เป็นต้นไป
6. แต่งตั้งคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช โดยมีองค์ประกอบดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพลังงาน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายกสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย นายกสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มประเทศไทย นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม นายกสมาคมโรงสกัดน้ำมันปาล์ม ผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง 1 ท่าน และมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นกรรมการและเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. เสนอนโยบาย แผนการบริการ การจัดการ การพัฒนาการผลิตและการตลาดพืชน้ำมันและน้ำมันพืชต่อคณะรัฐมนตรี
2. กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการ และเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต การจำหน่าย การแปรรูป การนำเข้า การส่งออก การใช้ทดแทนพลังงาน รวมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
3. เร่งรัด ส่งเสริม และประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน เกษตรกร อุตสาหกรรมน้ำมันพืช และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
4. มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเป็นรายสินค้าที่เกี่ยวข้องตามความ จำเป็น
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ตั้งแต่ปี 2525-2547 สินค้าพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ซึ่งประกอบด้วยถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ถั่วลิสง ทานตะวัน งา ละหุ่ง สบู่ดำ เป็นต้น มีคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น กำกับดูแลโดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการ ตั้งแต่การผลิต การตลาด การแปรรูป รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับพืชน้ำมันและน้ำมันพืชทั้งระบบ โดยกลุ่มสินค้าพืชน้ำมันและน้ำมันพืช มีหลายชนิดและบางชนิดสามารถใช้ทดแทนกันได้ บางสินค้าผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ บางสินค้าไม่เพียงพอจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ เช่น WTO AFTA และ FTA จะมีผลกระทบต่อพืชน้ำมันและน้ำมันพืชที่มีการผลิตได้ภายในประเทศ อีกทั้งนโยบายส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซล เพื่อใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงทดแทน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ มาตรการและเงื่อนไขในการปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิต การนำเข้า การส่งออกนอกราชอาณาจักร การกำหนดราคา การจำหน่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมพืชน้ำมันและน้ำมันพืชของประเทศให้สอดคล้องกันทั้งระบบ อีกทั้งการกำหนดนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับพืชน้ำมันและน้ำมันพืชควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรเข้าร่วมดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อให้นโยบายและมาตรการเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
7. เรื่อง การปรับองค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับ
ต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอการปรับองค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานกรรมการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงคมนาคม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงพลังงาน หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือผู้แทน เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชพลเรือน หรือผู้แทน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือผู้แทน รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (กลุ่มภารกิจความร่วมมือระหว่างประเทศ) รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (กลุ่มภารกิจความสัมพันธ์ทวิภาคี) อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และรองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดนโยบายการให้และรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ
2. ให้ความเห็นชอบแผนงานความร่วมมือและกำกับดูแลการดำเนินการให้และรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ
3. พิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--