สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 พฤษภาคม 2564

ข่าวการเมือง Tuesday May 18, 2021 20:38 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (18 พฤษภาคม 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า                     ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านพรุ

ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ ตำบลทุ่งลาน และตำบลคลองหลา

อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา พ.ศ. ?.

                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร                                         และพื้นดินที่รองรับอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ?.
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. ?.

                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบ                                                  มาตรฐาน พ.ศ. ?.
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าทำศพที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ?.
                    6.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเชียงใหม่

(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม

เมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2555)

                    7.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการ                                                  กำหนดมาตรการจัดระเบียบในการส่งน้ำมันดีเซลหมุนเร็วออกไปนอก

ราชอาณาจักร (ฉบับที่ 85) พ.ศ. 2541 พ.ศ. ?.

                    8.           เรื่อง           ขอยุติการดำเนินการจัดทำกฎหมายเฉพาะในการบริหารจัดการขยะ
                    9.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่ม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....
                    10.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น

รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุน

การนำเข้ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ต้าน COVID-19 สำหรับบริจาค

เป็นสาธารณกุศล)

                    11.           เรื่อง           ร่างกฎหมายตามมาตรการภาษีอากรเพื่อสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สิน                                                  หลักประกันเพื่อชำระหนี้
                    12.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ สังคม

                    13.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564

ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

                    14.           เรื่อง           อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา
                    15.           เรื่อง           มาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564
                    16.           เรื่อง           การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการดับเพลิงและบรรเทาสาธารณภัย
                    17.           เรื่อง           การพิจารณาให้มีมติให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใด

ในหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติงานที่สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคง

ปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นการชั่วคราว

                    18.           เรื่อง           การจัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ใช้บังคับครอบคลุม

ถึงคณะกรรมการ

                    19.           เรื่อง           มาตรการในการแก้ไขกรณีงบประมาณรายจ่ายลงทุน มีจำนวนน้อยกว่าวงเงิน

ส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปี

                    20.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2563

                    21.           เรื่อง           รายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคม ? ธันวาคม 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย
                    22.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินงานสำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ

                    23.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการ                                                  ละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน ของคณะกรรมาธิการ                                                  วิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการลอบ                                                  ประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร
                    24.           เรื่อง           รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2563                                         และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

                    25.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้บริการคนพิการ                                        ของสายการบินภายในประเทศ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการ                                        เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
                    26.           เรื่อง           แผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ

(ฉบับปรับปรุง)

                    27.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2564
                    28.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล

และข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2564

                    29.           เรื่อง           การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับพื้นที่ และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

ไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์

                    30.           เรื่อง           ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเยียวยา

ของภาครัฐจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พ.ศ. 2564

                    31.           เรื่อง            การถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีน
                    32.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาด

ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

                    33.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 16/2564

                    34.          เรื่อง          ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564

ต่างประเทศ

                    35.            เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่าง                                                  ประเทศ พ.ศ. .... และการเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่

ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ

                    36.           เรื่อง           รายงานการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 15 การประชุมรัฐมนตรี                                                  สารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

ผ่านระบบการประชุมทางไกล

                    37.           เรื่อง           ผลการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง

ครั้งที่ 9

แต่งตั้ง

                    38.           เรื่อง           การมอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
                    39.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตร

และสหกรณ์การเกษตร

                    40.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคาร

เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

                    41.           เรื่อง           แต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
                    42.          เรื่อง           คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 99 /2564 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี

ที่ 85 /2564 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทย

ไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396






















กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านพรุ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ ตำบลทุ่งลาน และตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านพรุ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ ตำบลทุ่งลาน และตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา                พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ คค. เสนอว่า ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินสายหลักที่ผ่านเขตตัวเมืองหาดใหญ่มีสภาพจราจรหนาแน่น ประกอบกับไม่มีเส้นทางเลี่ยงเมืองสำหรับรองรับการเดินทางระยะไกล ส่งผลให้การจราจรในเขตตัวเมืองหาดใหญ่ติดขัดคับคั่งมากยิ่งขึ้น กรมทางหลวงจึงมีแผนงานที่จะก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ด้านตะวันออก ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงทางหลวงสายหลักเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เพิ่มความคล่องแคล่ว (Mobility) ในการเดินทางและขนส่งสินค้า ลดต้นทุนโลจิสติกส์ และช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในเขตตัวเมืองหาดใหญ่ ตลอดจนเป็นเส้นทางคมนาคมสำหรับผู้ใช้เส้นทางที่มาจากอำเภอนาหม่อม หรือฝั่งตะวันออกของเมืองหาดใหญ่สามารถเดินทางเข้าสู่สนามบินหาดใหญ่ โดยไม่ต้องเดินทางผ่านตัวเมืองหาดใหญ่ได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ เป็นการสนับสนุนการเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่น (Multimodal Transport) สนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา (ระยะที่ 1) ด่านการค้าชายแดน (ด่านสะเดา)
                     ดังนั้น กรมทางหลวงจึงมีความจำเป็นต้องกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 425 ทางสายถนนวงแหวนรอบเมืองหาดใหญ่ ตอนถนนวงแหวนรอบเมืองหาดใหญ่ด้านตะวันออก ตอนบ้านพรุ - ทางเข้าสนามบินหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในท้องที่ตำบลบ้านพรุ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ ตำบลทุ่งลาน และตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจและเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด โดยมีจุดเริ่มต้น ที่ กม.24+148.453 - กม.31+331.426 รวมระยะทาง 7.182 กิโลเมตร วงเงินการก่อสร้างปี 2563 เพื่อก่อสร้างด้านซ้ายทาง ขนาด 2 ช่องจราจร วงเงิน 570 ล้านบาท และจะขอรับงบประมาณ ปี 2565 เพื่อก่อสร้างด้านขวาทาง วงเงิน 650 ล้านบาท เพื่อให้เป็นทางขนาด 4 ช่องจราจร มีปริมาณทรัพย์สินที่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประกอบด้วย ที่ดินประมาณ 447 แปลง สิ่งปลูกสร้างประมาณ 328 ราย และต้นไม้ยืนต้นประมาณ 204 ราย รวมค่าทดแทนในการเวนคืน รวมเป็นเงินประมาณ 1,744,300,358 บาท
                     กรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าว ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2557 แล้ว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ  และสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณให้กรมทางหลวงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านพรุ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ ตำบลทุ่งลาน และตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 425 ทางสายถนนวงแหวนรอบเมืองหาดใหญ่ ตอนถนนวงแหวนรอบเมืองหาดใหญ่ด้านตะวันออก ตอนบ้านพรุ ? ทางเข้าสนามบินหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                     1. โดยที่ปัจจุบัน ได้มีการประกาศใช้บังคับกฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
                               1.1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
                               1.2 กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร หรือพื้นดินที่รองรับอาคาร ตลอดจนลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ดัดแปลงหรือซ่อมแซมอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร
                     2. อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงจำนวน 2 ฉบับ ตามข้อ 1. ได้มีผลใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงข้อกำหนดในส่วนที่เกี่ยวกับงานก่อสร้างฐานรากอาคารเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพงานก่อสร้างฐานรากอาคารในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้งานก่อสร้างฐานรากอาคารมีความมั่นคงแข็งแรง เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนและผู้เข้าใช้อาคาร โดยได้แยกเรื่องงานก่อสร้างฐานรากอาคารไว้เป็นการเฉพาะ มท. จึงได้จัดทำร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ?. ขึ้น ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     1. กำหนดให้ฐานรากของอาคารจะต้องมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักตัวอาคารเองและน้ำหนักบรรทุกที่เกิดจากการใช้งานของอาคารตามปกติ และสามารถส่งผ่านน้ำหนักดังกล่าวลงสู่ดินฐานรากโดยตรงหรือผ่านเสาเข็มสู่ดินฐานรากได้อย่างปลอดภัย โดยหน่วยแรงแบกทานที่ยอมให้ของดินฐานรากหรือแรงต้านทานที่ยอมให้ของเสาเข็ม และการทรุดตัวของฐานรากจะต้องเป็นไปตามที่กำหนด
                     2. กำหนดให้อาคารสูง อาคารใหญ่พิเศษ อาคารขนาดใหญ่ที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป และอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไปที่ก่อสร้างในโครงการจัดสรรที่ดิน ต้องมีรายงานการสำรวจดินฐานรากประกอบรายการคำนวณหน่วยแรงแบกทานที่ยอมให้ของดินฐานราก หรือแรงต้านทานที่ยอมให้ของเสาเข็ม
                     3. กำหนดให้ฐานรากแผ่ต้องวางอยู่บนดินฐานรากที่ไม่มีส่วนของอนินทรีย์สารหรืออินทรีย์สารที่ยังสลายไม่หมด โดยความหนาของฐานรากแผ่ต้องไม่น้อยกว่า 0.20 เมตร และมีระดับความลึกที่ฝังในดินจากระดับผิวดินถึงระดับต่ำสุดของฐานรากไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร เว้นแต่ฐานรากแผ่ที่วางอยู่บนชั้นหิน นอกจากนี้ ค่าหน่วยแรงแบกทานที่ยอมให้ของชั้นดินฐานรากต้องเพียงพอต่อการรับน้ำหนักบรรทุกทั้งในขณะก่อสร้างและขณะใช้งาน
                    4. กำหนดให้ฐานรากของเสาเข็มต้องมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถถ่ายเทน้ำหนักจากโครงสร้างอาคารส่วนบนสู่ดินฐานรากโดยรอบเสาเข็มได้อย่างปลอดภัย กรณีปลายเสาเข็มฝังอยู่ในชั้นทรายต้องฝังอยู่ในชั้นทรายไม่น้อยกว่า 3 เมตร ส่วนเสาเข็มที่มีปลายฝังอยู่บนชั้นดินแข็งและส่วนบนอยู่ในชั้นดินเหนียวอ่อนมากการคำนวณและออกแบบโครงสร้างเสาเข็มให้คำนึงถึงผลของความชะลูดของเสาเข็มต่อการรับน้ำหนักบรรทุกด้วย นอกจากนี้ การคำนวณและออกแบบฐานรากเสาเข็มที่อยู่ในบริเวณชั้นดินเหนียวอ่อนหรืออ่อนมากที่มีการถมดินหรือมีการสูบน้ำบาดาลในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง หรือบริเวณที่มีปัจจัยที่อาจทำให้ดินฐานรากมีอัตราการทรุดตัวเร็วกว่าอัตราการทรุดตัวของเสาเข็ม ให้พิจารณาผลของแรงเสียดทานฉุดลงที่อาจเกิดขึ้นกับเสาเข็มด้วย
                    5. กำหนดให้การทดสอบกำลังแบกทานของดินฐานรากสำหรับฐานรากแผ่โดยวิธีทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดิน (Plate bearing) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบที่กำหนดในมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานอื่นที่คณะกรรมการควบคุมอาคารให้การรับรอง และเป็นไปตามกฎกระทรวงนี้
                    6. กำหนดให้ในการคำนวณและออกแบบกำแพงกันดิน ผู้คำนวณและออกแบบจะต้องคำนึงถึงผลของแรงประเภทต่าง ๆ ที่กระทำต่อกำแพงกันดิน อันได้แก่ แรงดันของมวลดิน แรงดันหรือแรงยกตัวของน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกที่กระทำด้านหลังของกำแพงกันดิน เป็นต้น ทั้งนี้ การคำนวณแรงที่กระทำกับกำแพงกันดินให้เป็นไปตามมาตรฐานว่าด้วยการคำนวณแรงดันดินของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานอื่นที่คณะกรรมการควบคุมอาคารให้การรับรอง
                     7. กำหนดให้กฎกระทรวงฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับการยื่นขออนุญาต หรือแจ้งการก่อสร้างอาคารก่อนหรือในวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการแบ่งส่วนราชการของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และกำหนดอำนาจหน้าที่และอำนาจของแต่ละส่วนราชการดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพของงาน เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่                    25 สิงหาคม 2554 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดการแบ่งส่วนราชการของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จำนวน 4 ส่วนราชการ ดังนี้
                     1. สำนักงานเลขานุการกรม มีหน้าที่และอำนาจ เช่น งานบริหารทั่วไป ดูแลด้านงบประมาณ อำนวยความสะดวกด้านสิทธิพิเศษและพิธีศุลกากรหรือพิธีอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามความตกลงหรือข้อตกลงโครงการ ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของประเทศไทย และดำเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ตามแนวทางการปฏิบัติร่วมกับต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
                     2. กองความร่วมมือด้านทุน มีหน้าที่และอำนาจ เช่น บริหารแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ บริหารการดำเนินงานด้านทุนการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และวิจัย ดำเนินการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และอาสาสมัคร ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันวิชาการกับต่างประเทศผ่านความร่วมมือด้านทุน และเผยแพร่ฐานข้อมูลด้านทุนและเครือข่ายผู้รับทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                     3. กองความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ มีหน้าที่และอำนาจ เช่น ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการและกิจกรรมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาการระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบทวิภาคี ไตรภาคี พหุภาคี และกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคและภูมิภาคต่าง ๆ ดำเนินงานในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ในต่างประเทศ และดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศตามพระราชดำริ
                    4. กองส่งเสริมและประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ มีหน้าที่และอำนาจ เช่น เสนอแนะการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ ศึกษา ประมวล วิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อำนวยการประชุมของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการข้อมูลด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ส่งเสริมและขยายบทความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศรูปแบบใหม่เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                    1. โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (8 กันยายน 2563) เห็นชอบแนวทางการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัดและเป็นอุปสรรคในการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) จึงมีผลทำให้ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติบางประการของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน พ.ศ. 2553 โดยการกำหนดให้มีการขอรับใบอนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว และสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติจึงได้จัดทำร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน พ.ศ. ?.
                     2. ในคราวประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และให้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                     3. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ภาคเอกชน และประชาชนทางเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และแจ้งเวียนผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน ภาคเอกชน ผลปรากฏว่า ไม่มีผู้แสดงความคิดเห็นคัดค้านต่อร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน พ.ศ. 2553
                     2. กำหนดให้การยื่นคำขอรับใบอนุญาต การออกใบรับคำขอรับใบอนุญาต การแจ้งการชำระค่าธรรมเนียม และการอนุญาตให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ทั้งนี้ ในกรณีที่ยังไม่สามารถดำเนินการหรือมีเหตุอื่นใดทำให้ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ดำเนินการ ณ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
                    3. กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อสำนักงานตามแบบคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุในแบบคำขอนั้น รวมทั้งเลขทะเบียนนิติบุคคลและหนังสือยินยอมให้สำนักงานเข้าถึงข้อมูลนั้น พร้อมด้วยข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานตามที่กำหนด
                    4. กำหนดให้เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตให้สำนักงานดำเนินการดังนี้
                               4.1 ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตไว้เป็นหลักฐาน และให้ตรวจสอบคำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานว่าครบถ้วนหรือไม่
                               4.2 กรณีคำขอรับใบอนุญาต หรือข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้บันทึกความบกพร่องนั้นไว้ และแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด
                              4.3 พิจารณาอนุญาตและแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอรับใบอนุญาตภายใน 10 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตดังกล่าวภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งนั้น หากผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์ขอรับใบอนุญาต และให้สำนักงานจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
                              4.4 กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามให้สำนักงานมีคำสั่งไม่อนุญาต และมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ด้วย ทั้งนี้ ภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
                              4.5 การตรวจสอบคุณสมบัติให้สำนักงานประเมินขีดความสามารถและคุณสมบัติของห้องปฏิบัติการของผู้ขอรับใบอนุญาตให้เป็นไปตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด
                              4.6 ออกใบอนุญาตแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตหลังจากวันที่ได้รับค่าธรรมเนียม
                     5. กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกให้ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน พ.ศ. 2553 ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน
                    6. บรรดาคำขอรับใบอนุญาตที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาหรือตรวจสอบ ให้ถือว่าเป็นคำขอรับใบอนุญาตที่ได้ยื่นตามกฎกระทรวงนี้

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าทำศพที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าทำศพที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ รง. รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    ทั้งนี้ รง. เสนอว่า
                    1. โดยที่พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 มาตรา 6 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง และมาตรา 16 บัญญัติให้เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
                     2. ในคราวประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้สำนักงานประกันสังคมปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าทำศพที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 ที่ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2563 เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวในการจัดการศพของลูกจ้าง และในกรณีของนายจ้างอาจจะต้องรับภาระในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเพิ่มขึ้น ดังนี้
                              2.1 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพในอัตรา 40,000 บาท เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2561 (วันที่พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้) จนถึงวันที่ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับ
                              2.2 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพในอัตรา 50,000 บาท เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน เนื่องจากปัจจุบันกองทุนประกันสังคมกำหนดอัตราเงินค่าทำศพ จำนวน 50,000 บาท เมื่อร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้ว
                    3. รง. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าทำศพที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ?. เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวในการจัดการศพของลูกจ้างฯ ตามมติคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามข้อ 2. และคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าทำศพที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ?. เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2563 และได้รับรองมติการประชุมแล้ว
                    4. รง. ได้ดำเนินการตามมาตรา 7 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งกองทุนเงินทดแทนจัดเก็บเงินสมทบเฉลี่ยปีละ 3,941.82 ล้านบาท และจ่ายเงินทดแทน เฉลี่ยปีละ 3,529.26 ล้านบาท โดยจ่ายเป็นค่าทำศพรวม เฉลี่ยปีละ 33.75 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.96 ของเงินทดแทนที่จ่ายทั้งหมด และในปี 2564 กรณีกำหนดอัตราเงินค่าทำศพ 50,000 บาท มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 6.75 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม กองทุนเงินทดแทนมีสถานะทางการเงินที่มีความมั่นคง การปรับเพิ่มอัตราค่าทำศพนี้ จึงไม่มีผลกระทบต่อสถานะกองทุนเงินทดแทน
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                      1. กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพในอัตรา 40,000 บาท เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2561 (วันที่พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้) โดยพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 กำหนดอัตราค่าทำศพที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายจำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เป็นการเพิ่มอัตราค่าทำศพ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                               1.1 ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2561 ? 31 ธันวาคม 2562 นายจ้างจ่ายค่าทำศพ จำนวน 33,000 บาท ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561 เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 9) กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุด 330 บาท ดังนั้น ให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพเพิ่มขึ้นอีก 7,000 บาท รวมเป็น 40,000 บาท
                              1.2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ? 8 เมษายน 2563 นายจ้างจ่ายค่าทำศพ จำนวน 33,600 บาท ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง ลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุด 336 บาท ดังนั้น ให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพเพิ่มขึ้นอีก 6,400 บาท รวมเป็น 40,000 บาท
                              1.3 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2563 จนถึงวันที่ร่างกฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพในอัตรา 40,000 บาท
                    2. กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพในอัตรา 50,000 บาท เมื่อร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเชียงใหม่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2555)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเชียงใหม่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ มท. แก้ไขบทอาศัยอำนาจในร่างประกาศตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่ มท. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ในพื้นที่บางส่วนให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการใด ๆ ที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 23 เมตร และแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับการขยายพื้นที่โรงงาน รวมทั้งยกเลิกและปรับปรุงบัญชีในส่วนที่เกี่ยวกับประเภทหรือชนิดของโรงงานท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 เพื่อกำหนดให้การประกอบกิจการโรงงานดำเนินการได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ซึ่ง มท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
                     1. แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 โดยแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ในพื้นที่บางส่วนให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการใด ๆ ที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 23 เมตร โดยยกเลิกข้อห้ามโรงแรมตามกฎหมายโรงแรม การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ และศูนย์ประชุมหรืออาคารแสดงสินค้า สำหรับการดำเนินการหรือประกอบกิจการใด ๆ ดำเนินการได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร
                     2. กำหนดให้โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 มีผลใช้บังคับและยังประกอบกิจการอยู่ ขยายพื้นที่โรงงานได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้
                    3. ยกเลิกและปรับปรุงบัญชีในส่วนที่เกี่ยวกับประเภทหรือชนิดของโรงงานท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 และให้ใช้บัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้แทน

7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการจัดระเบียบในการส่งน้ำมันดีเซลหมุนเร็วออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 85) พ.ศ. 2541 พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการจัดระเบียบในการส่งน้ำมันดีเซลหมุนเร็วออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 85) พ.ศ. 2541 พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    เป็นการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการจัดระเบียบในการส่งน้ำมันดีเซลหมุนเร็วออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 85) พ.ศ. 2541 เนื่องจากการกำกับดูแลการส่งออกน้ำมันดีเซลมีการกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นการยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นและลดความซ้ำซ้อนของกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ

8. เรื่อง ขอยุติการดำเนินการจัดทำกฎหมายเฉพาะในการบริหารจัดการขยะ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการยุติการดำเนินการจัดทำกฎหมายเฉพาะในการบริหารจัดการขยะตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ
                     สาระสำคัญ
                    การขอยุติการดำเนินการจัดทำกฎหมายเฉพาะในการบริหารจัดการขยะตามที่ สคก. เสนอ                สืบเนื่องมาจากปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อออกกฎหมายลำดับรองที่อยู่ภายใต้บทบาทภารกิจของตน ประกอบกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ?. เพื่อให้มีระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นกรณีที่สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้ในชั้นการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ ..)                พ.ศ. ?.
                     ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สคก. จึงเห็นควรยุติการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวและแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ซึ่ง สคก. จะได้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบต่อไป

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่ม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่ม (ฉบับที่ 2)      พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                     1. ปัจจุบันได้มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่ม พ.ศ. 2560 ประกาศใช้บังคับ โดยกำหนดว่าในกรณีผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งออกตรวจพบด้วยตนเองว่าชำระอากรไว้ไม่ครบถ้วน และนำอากรที่ยังชำระไม่ครบถ้วนมาชำระต่อกรมศุลกากร ให้ได้รับการลดเงินเพิ่มลงเหลือร้อยละ 0.25 0.50 และ 0.75 ต่อเดือน แล้วแต่กรณี (มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 บัญญัติให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มโดยไม่คิดทบต้น)
                     2. โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID ? 19) ยังคงส่งผลอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย จึงได้มีหนังสือถึงกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอมาตรการด้านภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                               กค. พิจารณาแล้วจึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่ม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดมาตรการด้านภาษีเพิ่มเติมเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ ลดภาระค่าใช้จ่าย เสริมสร้างสภาพคล่อง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ ตลอดจนเป็นแรงจูงใจให้กับผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกที่ชำระอากรที่ชำระไม่ครบถ้วน โดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียอากรและได้นำอากรที่ชำระไม่ครบถ้วนมาชำระต่อกรมศุลกากรในช่วงเวลาที่กำหนด โดยให้ได้รับการลดเงินเพิ่มเหลือร้อยละ 0.25 ต่อเดือนของอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม นับแต่วันที่นำของออกไปจากอารักขาของศุลกากรหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรจนถึงวันที่ชำระ
                    3. กค. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐโดยรวมประมาณ 176.18 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม จะเป็นการบรรเทาผลกระทบให้ผู้ประกอบการโดยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการที่ชำระอากรไว้ไม่ครบถ้วนและได้นำอากรที่ยังชำระไม่ครบถ้วนดังกล่าวมาชำระต่อกรมศุลกากรภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนดในร่างกฎกระทรวงนี้
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    1. กำหนดให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกซึ่งชำระอากรไม่ครบถ้วนโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียอากรและได้นำอากรที่ยังชำระไม่ครบถ้วนมาชำระต่อกรมศุลกากรในช่วงเวลาที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับการลดเงินเพิ่มเหลือร้อยละ 0.25 ต่อเดือนของอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม นับแต่วันที่นำของออกไปจากอารักขาของศุลกากรหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรจนถึงวันที่ชำระ
                     2. ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564

10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการนำเข้ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ต้าน COVID-19 สำหรับบริจาคเป็นสาธารณกุศล)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการนำเข้ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ต้าน COVID-19 สำหรับบริจาคเป็นสาธารณกุศล) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเป็นการล่วงหน้าแล้ว โดยมีหลักการ ดังนี้
                   1. ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกัน COVID-19 เพื่อบริจาคให้แก่
                             1.1 สถานพยาบาล ได้แก่ สถานพยาบาลของทางราชการ สถานพยาบาลของสถาบันการศึกษาของรัฐ สถานพยาบาลขององค์การมหาชน สถานพยาบาลของรัฐวิสาหกิจที่เป็นองค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ สถานพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานพยาบาลของสภากาชาดไทย
                             1.2 หน่วยงานของรัฐนอกจาก 1.1
                             1.3 องค์การหรือสถานสาธารณกุศลหรือสถานพยาบาลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะสภากาชาดไทย และองค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาลตามข้อ 3 ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดองค์การ สถาน สาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535
                             ทั้งนี้ สำหรับการนำเข้าและการบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 และที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
                   2.  ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการบริจาคตามข้อ 1 โดยต้องไม่นำต้นทุนของสินค้ามาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
                   ทั้งนี้ สำหรับการบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 และที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดตามข้อ 1
                   อนึ่ง เมื่อพระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับแล้ว กรมสรรพากรจะออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่อไป

11. เรื่องที่ ร่างกฎหมายตามมาตรการภาษีอากรเพื่อสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ต่อไป
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     ร่างกฎหมายตามมาตรการภาษีอากรเพื่อสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้เป็นการยกเว้นภาษีอากรและการผ่อนปรนหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ หรับการดำเนินมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้
                     1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร             (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                               1.1 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงิน อันเนื่องมาจากมาตรการสนับสนุนการับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
                               1.2 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและสถาบันการเงิน สำหรับการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า และการกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
                     2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
                               กำหนดให้การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่สถาบันการเงินได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ปกติ
                               ทั้งนี้ ร่างกฎหมายตามมาตรการภาษีอากรเพื่อสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ข้างต้นมีขอบเขตดังต่อไปนี้
                               (1) ลูกหนี้ หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินและเจ้าของทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันการชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงิน
                               (2) สถาบันการเงิน หมายถึง ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจซึ่งประกอบธุรกิจให้สินเชื่อ
                               (3) ให้ใช้สำหรับการดำเนินมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... มีหลักการสำคัญในการปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยลดอัตราเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จากเดิมฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละร้อยละ 2.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับฝ่ายรัฐบาลส่งเงินสมทบอัตราเดิม ร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมตามมาตรา 46 วรรคสาม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนและนายจ้างจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    (1) ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2563และกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564
                    (2) ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ให้รัฐบาล นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละร้อยละ 1.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลปรับเป็น ร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ฝ่ายละร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ตามบัญชี ก.
                    (3) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ตามบัญชี ข.
                    รง. รายงานว่า การลดอัตราเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมีผลทำให้นายจ้างและผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมลดลงจากฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละร้อยละ 2.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบลดลงจากในอัตราเดือนละ 432 บาท เหลือในอัตราเดือนละ 216 บาท ส่งผลให้กองทุนประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบได้ลดลง 20,163 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบลดลง 10,676 ล้านบาท และนายจ้างจ่ายเงินสมทบลดลง 8,487 ล้านบาท ภาพรวมเมื่อลดอัตราเงินสมทบรวมกัน 12 เดือน (รวมกับการลดอัตราเงินสมทบครั้งที่ 1 ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2563 ครั้งที่ 2 ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน 2563 ครั้งที่ 3 เดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2564) เงินสมทบทั้งหมดจะลดลงประมาณ 88,831 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบลดลง 56,659 ล้านบาท ส่วนนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบลดลง 32,172 ล้านบาท

เศรษฐกิจ สังคม

13. เรื่อง ขอความเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2564 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 2,886.647 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 โดยให้ รฟท. รายงานให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ทราบในโอกาสแรกด้วย เพื่อ สศค. จะได้จัดเก็บข้อมูลยอดคงค้างให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     กค. รายงานว่า
                     1. คณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ได้พิจารณาข้อเสนอการขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2564 ของ รฟท. (ข้อเสนอฯ) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบแล้ว จำนวน 3,033.885 ล้านบาท โดยมีมติให้กระทรวงคมนาคม (คค.) แจ้งให้ รฟท. จัดทำข้อมูลประมาณการรายได้จากการให้บริการสาธารณะที่สอดคล้องกับระยะเวลาการเปิดให้บริการของรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ ? รังสิต และช่วงบางซื่อ ? ตลิ่งชัน และประมาณการต้นทุนจากการให้บริการสาธารณะในเรื่องค่าใช้จ่ายพนักงานการเดินรถและซ่อมบำรุง ค่าซ่อมบำรุง และค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม รวมทั้งสมมติฐานและวิธีการคำนวณพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ต่อมา คค. ได้จัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา        ข้อเสนอฯ ของ รฟท. โดย รฟท. ได้นำสมมติฐานของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID ? 19) มาคำนวณ ส่งผลให้ประมาณการผู้โดยสารในปี 2564 ลดลง อย่างไรก็ตาม ประมาณการรายได้จากการให้บริการสาธารณะของ รฟท. ภายหลังการปรับสมมติฐานดังกล่าว เท่ากับข้อเสนอฯ เดิมของ รฟท. ซึ่งยังคงจำนวน 314.649 ล้านบาท นอกจากนี้ รฟท. ได้ยืนยันค่าใช้จ่ายพนักงานเดินรถและซ่อมบำรุงจำนวน 1,664.803 ล้านบาท โดยประมาณการมาจากค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นในปี 2561 ? 2562 และนำมาปันส่วนสำหรับการให้บริการสาธารณะตามประเภทของต้นทุน
                     2. คณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ของ รฟท. จำนวน 2,886.647 ล้านบาท โดยมีประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะจำนวน 314.649 ล้านบาท และจำนวน 3,201.296 ล้านบาท ตามลำดับ โดยคณะกรรมการฯ พิจารณาปรับประมาณการต้นทุนจากการให้บริการสาธารณะจาก 3,348.534 ล้านบาท เป็น 3,201.296 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับลดต้นทุนการเดินรถและซ่อมบำรุงจำนวน 147.238 ล้านบาท รวมถึงคณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID ? 19) ตามข้อมูลของ รฟท. ด้วยแล้ว
                     3. กรณีการให้กรอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ รฟท. จำนวน 2,886.647 ล้านบาท เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งภาระที่รัฐต้องรับชดเชยจากการดำเนินโครงการดังกล่าวเมื่อรวมกับยอดภาระคงค้างที่มีอยู่เดิม ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 ยังคงอยู่ในกรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดให้ยอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

14. เรื่อง อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอดังนี้
                    1. อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทน กรณีที่ดินมีเอกสารสิทธิ จำนวน 82 แปลง เนื้อที่ 422-1-15 ไร่ ในอัตราไร่ละ 125,000 บาท เป็นเงิน 52,785,937.50 บาท และที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ จำนวน 22 แปลง เนื้อที่ 206-2-02 ไร่ ในอัตราไร่ละ 45,000 บาท เป็นเงิน 9,292,725 บาท ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ ที่ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบโดยคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษและคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งสิ้น 104 แปลง เนื้อที่ 628-3-17 ไร่ เป็นเงิน 62,078,662.40 บาท โดยในส่วนของงบประมาณ กรมชลประทานจะปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
                    2. เพื่อให้การจ่ายเงินเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และป้องกันมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากราษฎร เห็นสมควรอนุมัติแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าทดแทน จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย
                    1) ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ                                        ประธานกรรมการ
                    2) อัยการจังหวัดศรีสะเกษ                                                 กรรมการ
                    3) คลังจังหวัดศรีสะเกษ                                                           กรรมการ
                    4) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ                                       กรรมการ
                    5) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ                                       กรรมการ
                    6) ปฏิรูปที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ                                                 กรรมการ
                    7) เกษตรและสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ                                       กรรมการ
                    8) ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8                                       กรรมการ
                    9) ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ                             กรรมการ
                    10) ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง                    กรรมการ
                    11) นายอำเภอกันทรารมย์                                                 กรรมการ
                    12) ? 14) ผู้แทนกลุ่มสมัชชาคนจน                                       กรรมการ
                    15) ? 17) ผู้แทนกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล
และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน                                                                               กรรมการ
                    18) ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหัวนา
สำนักงานชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน                                                            กรรมการและเลขานุการ
                    19) หัวหน้าฝายจัดหาที่ดินที่ 4 ส่วนจัดหาที่ดินที่ 2
สำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน                                                            กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                    โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่พิจารณาตรวจสอบบุคคลผู้มีสิทธิ จำนวน 104 ราย และควบคุมการโอนจ่ายเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ จำนวนเนื้อที่ และจำนวนเงินค่าทดแทนตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติสำหรับการจ่ายเงินกรณีนี้เห็นสมควรจ่ายด้วยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) ตามบัญชีรายชื่อบุคคล ที่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ หรือทายาทของบุคคลดังกล่าวโดยให้ถือความเห็นของคณะกรรมการชุดนี้เป็นหลักฐานประกอบการจ่ายเงินค่าชดเชย
                    สำหรับกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายหรือแบ่งขายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในกรณีอื่น รวมทั้งอาจขัดต่อบทบัญญัติตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ดังนั้น กรณีราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนาตกลงขายที่ดินให้แก่กรมชลประทานต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนารายงานว่า
                    1. โครงการฝายหัวนาเป็นโครงการย่อยโครงการหนึ่งในโครงการโขง - ชี - มูล ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในปี 2532 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะกระทบต่อความเป็นอยู่ของราษฎรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเดิมหน่วยงานรับผิดชอบโครงการคือกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ในขณะนั้น) โดยมีแผนที่จะก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จและเปิดใช้งานในปี 2544 แต่ได้มีการคัดค้านและเรียกร้องให้มีการทบทวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทำให้การก่อสร้างโครงการดังกล่าวหยุดการดำเนินการ ต่อมาในปี 2545 โครงการฝายหัวนาได้ถูกถ่ายโอนภารกิจมาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และได้มีการดำเนินการศึกษาทบทวนความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ เพื่อประกอบการพิจารณาในการเปิดใช้งานโครงการฝายหัวนา ทั้งนี้ ในปี 2553 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (27 เมษายน 2553) ให้กรมชลประทานดำเนินการพัฒนาโครงการต่อไปจนแล้วเสร็จตลอดจนสำรวจข้อมูลและพิจารณาการจ่ายเงินค่าทดแทนให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                    2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (16 พฤศจิกายน 2553 และ 1 ตุลาคม 2562) เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเพื่อพิจารณากำหนดราคา ค่าทดแทนทรัพย์สิน และให้ความเห็นชอบผลการตรวจสอบทรัพย์สินเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทน ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้กำหนดขั้นตอนในการดำเนินการพิสูจน์สิทธิกรณีแปลงที่ดินของราษฎรที่ถูกเขตโครงการฝายหัวนา ดังนี้
                              2.1 ประกาศให้ราษฎรยื่นคำร้อง/รับคำร้อง
                              2.2 นำคำร้องลงทำการรังวัด ตรวจสอบการครอบครองและทำประโยชน์ในพื้นที่พร้อมให้มีการรับรองของแปลงข้างเคียงอย่างน้อย 2 ด้าน และให้ใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศประกอบในการทำงาน และขึ้นรูปแปลงจัดทำแผนที่ ร.ว. 43 ก.1
                              2.3 นำเสนอคณะทำงานระดับอำเภอพิจารณาตรวจสอบและรับรองผลการทำงานของคณะทำงานระดับตำบล และติดประกาศให้มีการคัดค้านภายใน 30 วัน
                                        2.3.1 กรณีไม่มีการคัดค้าน นำเสนอให้คณะอนุกรรมการฯ ระดับจังหวัดพิจารณา
                                        2.3.2 กรณีมีการคัดค้าน ให้นำกลับไปสู่กระบวนการตรวจสอบของคณะทำงานระดับตำบลในพื้นที่อีกครั้ง
                              2.4 คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาตรวจสอบผลการดำเนินงานพร้อมนำเสนอต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝ่ายหัวนา (ชุดใหญ่)
                              2.5 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา (ชุดใหญ่) พิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
                    3. คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด            ศรีสะเกษ เป็นประธานอนุกรรมการได้ดำเนินการตามกระบวนการ 5 ขั้นตอน (ตามข้อ 2) ในแปลงที่ดินจำนวน 916 แปลง2 ซึ่งช่างรังวัดกรมที่ดินได้ดำเนินการรังวัดตรวจสอบแปลงที่ดินแล้วเสร็จ จำนวน 850 แปลง โดยเป็นแปลงที่ดินที่มีสิทธิได้รับการชดเชยและสามารถดำเนินการรังวัดเพื่อจัดทำแผนที่ ร.ว. 43 ก. จำนวน 520 แปลง ส่วนแปลงที่ดินอื่น ๆ เป็นแปลงที่ดินที่ทับซ้อนแปลงอื่น อยู่นอกเขตที่จะได้รับการชดเชยหรือไม่สามารถชี้แนวเขตแปลงที่ดินได้ เป็นต้น ต่อมาคณะทำงานตรวจสอบทรัพย์สินจึงได้ดำเนินการตรวจสอบที่ดินจำนวน 520 แปลง ที่ผ่านการรังวัดและจัดทำแผนที่ ร.ว. 43 ก. โดยได้ดำเนินการตรวจสอบแปลงที่ดินเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 511 แปลง คงเหลือแปลงที่ดินอีกจำนวน 9 แปลง ที่จะดำเนินการตรวจสอบในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564 ต่อไป
                    4. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา ในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 (12) เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบรายชื่อราษฎรผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนที่ดินที่ผ่านความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 104 แปลง สรุปได้ ดังนี้
ประเภทของสิทธิ          จำนวน
(แปลง)          เนื้อที่
(ไร่ ? งาน ?ตารางวา)          อัตราต่อไร่
(บาท/ไร่)          จำนวนเงิน3
(บาท)
(1) ราษฎรเจ้าของที่ดิน (มีเอกสารสิทธิ ประเภท โฉนดที่ดิน นส.3 ก. และ นส.3)          82          422-1-15          125,000          52,785,937.50
(2) ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 (ไม่มีเอกสารสิทธิ)          22          206-2-02          45,000          9,292,725.00
รวม          104          628-3-17          -          62,078,662.50
 ___________________________
1 แผนที่ ร.ว. 43 ก. หมายถึง แผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดินที่ได้นำทำการรังวัดที่ดินหรือรังวัดแบ่งแยกที่ดินเพื่อการชลประทาน
2 ในปี 2562 มีราษฎรยื่นคำร้องเพิ่มเติมอีก จำนวน 7,492 แปลง โดยอยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของคำร้อง
3 การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562




15. เรื่อง มาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้
                    1. รับทราบมาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการตามมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปด้วย
                    2. การดำเนินการในปีต่อ ๆ ไป ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และ สทนช. เร่งบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรการหรือแผนบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งและฤดูฝนให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์และแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แล้วให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สทนช. รายงานว่า
                    1. กนช. ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน ได้เห็นชอบการจัดทำแผนและมาตรการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือในช่วงฤดูฝน ปี 2564 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูฝน ปี 2564
หัวข้อ          รายละเอียด
1. การวางแผนการจัดสรรน้ำในฤดูฝน ปี 2564          - แผนการจัดสรรน้ำฤดูฝน : ผลการคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 แหล่งน้ำทั่วประเทศ พบว่า มีปริมาตรน้ำรวม 38,722 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 47 ของความจุ) แต่จากการสำรวจพบว่า ในช่วงฤดูฝน ปี 2564 จะมีปริมาณการใช้น้ำรวม 96,249 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำ 57,527 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้น สทนช. จึงต้องมีการวางแผนการใช้น้ำโดยให้ใช้น้ำฝนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นหลักเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน โดยแบ่งประเภทการใช้น้ำได้ ดังนี้
    1) การอุปโภค - บริโภค รวม 3,429 ล้านลูกบาศก์เมตร
    2) การรักษาระบบนิเวศ รวม 12,888 ล้านลูกบาศก์เมตร
    3) การเกษตรกรรม รวม 78,905 ล้านลูกบาศก์เมตร
    4) การอุตสาหกรรม รวม 1,027 ล้านลูกบาศก์เมตร
- พื้นที่จัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรฤดูฝน : กรมส่งเสริมการเกษตรคาดการณ์พื้นที่ปลูกพืชฤดูฝน ปี 2564 ประกอบด้วย
    1) ในเขตชลประทาน (ทั้งประเทศ) จำนวน 11.56 ล้านไร่ ได้แก่ นารอบที่ 1 (นาปี) จำนวน 10.02 ล้านไร่ พืชไร่ จำนวน 0.61 ล้านไร่ และพืชผัก จำนวน 0.32 ล้านไร่
    2) นอกเขตชลประทาน (ทั้งประเทศ) จำนวน 61.49 ล้านไร่ ได้แก่ นารอบที่ 1 (นาปี) จำนวน 48.95 ล้านไร่ พืชไร่ จำนวน 11.75 ล้านไร่ และพืชผัก จำนวน 0.79 ล้านไร่
2. พื้นที่เฝ้าระวังฝนน้อยกว่าค่าปกติ
ระหว่างเดือน
พฤษภาคม ? กรกฎาคม 2564          สทนช. ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้คาดการณ์พื้นที่เฝ้าระวังฝนน้อยกว่าค่าปกติโดยระบุพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้

พื้นที่          จำนวนพื้นที่เฝ้าระวังฝนน้อยกว่าค่าปกติ ปี 2564
          พฤษภาคม          มิถุนายน          กรกฎาคม
จังหวัด          9          29          42
อำเภอ          36          197          296
ตำบล          164          1,044          1,738

3. การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค          กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูลความเสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค ? บริโภค ในพื้นที่ 76 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 13 มีนาคม 2564 โดยแบ่งพื้นที่เสี่ยงเป็น 3 ระดับ มีจำนวนพื้นที่เสี่ยง ดังนี้
ระดับความเสี่ยง          จำนวนจังหวัด
ที่มีความเสี่ยง (จังหวัด)          จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีความเสี่ยง (หมู่บ้าน/ชุมชน)
พื้นที่เสี่ยงมาก          61          5,356
พื้นที่เสี่ยงปานกลาง          68          11,078
พื้นที่เฝ้าระวัง          69          60,384
รวม          69          76,818

4. การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย          สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยนำข้อมูลสถิติการเกิดอุทกภัย ประกอบด้วยปริมาณน้ำฝน น้ำล้นตลิ่ง ดินโคลนถล่ม พื้นที่น้ำท่วม มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลฝนคาดการณ์ในระบบ One Map เพื่อคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในช่วงเดือนพฤษภาคม ? กันยายน 2564 ได้ดังนี้
พื้นที่          จำนวนพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ปี 2564
          พฤษภาคม          มิถุนายน          กรกฎาคม          สิงหาคม          กันยายน
จังหวัด          20          27          36          40          56
อำเภอ          59          79          131          170          290
ตำบล          254          155          396          538          1,012

                              1.2 มาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564
                                   สทนช. ได้จัดทำมาตรการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน ปี 2564 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นสรุปได้ ดังนี้
มาตรการ          ระยะเวลา          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ
- การประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย
(เดือนพฤษภาคม ? ธันวาคม 2564)
- ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ
(เดือนมิถุนายน ? กรกฎาคม 2564)          ภายในวันที่ 15 เมษายน 2564 และปรับปรุงข้อมูลทุกสิ้นเดือน          - กรมอุตุนิยมวิทยา
- สทนช.
- สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
- กรุงเทพมหานคร
2. การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก
- จัดทำแผนการเก็บเกี่ยวในพื้นที่ลุ่มต่ำ/แก้มลิงสำหรับหน่วงน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก
- จัดทำแผนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการผันน้ำเข้าทุ่ง          1 เมษายน ? 15 สิงหาคม 2564          - กรมชลประทาน
- กรมทรัพยากรน้ำ
- กรมส่งเสริมการเกษตร
- กรุงเทพมหานคร
3. ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ? กลาง และเขื่อนระบายน้ำ เช่น
- ปรับปรุงหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการน้ำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ได้แก่ เกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) เพื่อใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนในการกำหนดการเก็บกักน้ำและระบายน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน          ภายในวันที่ 30 เมษายน 2564          - กรมชลประทาน
- กรมทรัพยากรน้ำ
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- กรมพัฒนาพลังงานทดแทน
และอนุรักษ์พลังงาน
- กรมประมง
4. ซ่อมแซมและปรับปรุงอาคารชลศาสตร์และระบบระบายน้ำสถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน
- ตรวจสอบสภาพความมั่นคงและซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งระบบระบายน้ำ
- ตรวจสอบและซ่อมแชมสถานีโทรมาตรให้มีสภาพพร้อมใช้งาน และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้ในการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์
ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา          ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564          - กรมชลประทาน
- กรมทรัพยากรน้ำ
- กรมอุตุนิยมวิทยา
- กรมประมง
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- กรมพัฒนาพลังงานทดแทน
และอนุรักษ์พลังงาน
- สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- กรุงเทพมหานคร
5. ปรับปรุงและแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ
- สำรวจ และจัดทำแผนดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงคูคลอง เพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว          ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564          - กรมทางหลวง
- กรมทางหลวงชนบท
- กรมชลประทาน
- กรมทรัพยากรน้ำ
- กรมเจ้าท่า
- กรุงเทพมหานคร
- การรถไฟแห่งประเทศไทย
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
6. ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา
- สำรวจปริมาณผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำทั่วประเทศ
- จัดทำแผนบูรณาการด้านเครื่องจักรเครื่องมือในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช
- ดำเนินการกำจัดวัชพืชในแม่น้ำ
และคูคลอง          ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564          - กรมโยธาธิการและผังเมือง
- กรมเจ้าท่า
- กรมชลประทาน
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- กรุงเทพมหานคร
- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
- กรมทรัพยากรน้ำ
7. เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักรเครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ
- เตรียมความพร้อมแผนป้องกันและบรรเทาภาวะน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ รวมทั้งเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ งานและเข้าช่วยเหลือได้ทันสถานการณ์
- ติดตามวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติด้วยภาพถ่ายดาวเทียม และอากาศยานไร้คนขับ (UAV) กำหนดแนวทางและเงื่อนไขของการแจ้งเตือนตามระดับความรุนแรงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น          ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564          - กรมทรัพยากรน้ำ
- กรมชลประทาน
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
- กรุงเทพมหานคร
- กรมทางหลวง
- กรมทางหลวงชนบท
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- กองบัญชาการกองทัพไทย
- กองทัพบก
- กองทัพอากาศ
- กองทัพเรือ
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
- กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
8. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ เช่น
- วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
- ลดการสูญเสียน้ำในระบบการส่งน้ำ          ตลอดระยะเวลาฤดูฝน          - กรมชลประทาน
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- กรมทรัพยากรน้ำ
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- การประปานครหลวง
- การประปาส่วนภูมิภาค
9.  สร้างการรับรู้
และประชาสัมพันธ์
- สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
ในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้และสามารถสื่อสารโดยตรงกับภาคประชาชน           ตลอดระยะเวลาฤดูฝน          - สทนช.
- กรมประชาสัมพันธ์
- กระทรวงมหาดไทย (มท.)
10. ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย          ตลอดระยะเวลาฤดูฝน
          - สทนช.

16. เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการดับเพลิงและบรรเทาสาธารณภัย
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการศึกษาแนวทางการจัดตั้งสถาบันการดับเพลิงและบรรเทาสาธารณภัย (สถาบันฯ) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และอนุมัติหลักการให้มีการจัดตั้งสถาบันฯ และให้กระทรวงมหาดไทยรับประเด็นต่าง ๆ ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วให้เสนอคณะรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง

17. เรื่อง การพิจารณาให้มีมติให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติงานที่สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นการชั่วคราว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติงานที่สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นการชั่วคราว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)  เสนอ ดังนี้
                     1. กรณีหน่วยงานต้นสังกัดมีหนังสืออนุญาตแล้ว จำนวน 41 คน จาก 16 หน่วยงาน ให้ข้าราชการฯ เหล่านั้นมาปฏิบัติงานที่ สกมช. เป็นการชั่วคราว ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
                     2. กรณีหน่วยงานต้นสังกัดอยู่ระหว่างพิจารณาอนุญาต จำนวน 10 คน จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) ให้ข้าราชการฯ เหล่านั้นมาปฏิบัติงานที่ สกมช. เป็นการชั่วคราว หากหน่วยงานต้นสังกัดมีหนังสืออนุญาตหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติแล้ว
                     ทั้งนี้ ให้ถือว่า ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่มาปฏิบัติงานที่ สกมช. เป็นการชั่วคราวดังกล่าวนั้น ไม่ขาดจากสถานภาพเดิมและคงได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วแต่กรณีจากสังกัดเดิม ตามนัยมาตรา 81 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
                      สาระสำคัญของเรื่อง
                     สกมช. รายงานว่า
                     1. พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มาตรา 80 บัญญัติให้ดำเนินการจัดตั้ง สกมช. ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562) ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดตั้ง สกมช. เสร็จแล้วแต่ยังขาดพนักงานมาขับเคลื่อนและดำเนินการตามภารกิจของ สกมช. และนโยบายของรัฐบาลให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ สกมช. ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 9.17 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตั้งแต่เดือนมกราคม ? กันยายน 2564 รวมทั้งได้จัดส่งคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาด้วยแล้ว ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สงป.
                       2. สกมช. ได้ขอยืมตัวข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐ เพื่อมาปฏิบัติงานที่ สกมช. เป็นการชั่วคราวจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 22 หน่วยงาน รวม 58 คน โดยหน่วยงานต้นสังกัดได้ตอบรับให้การสนับสนุนจำนวน 16 หน่วยงาน รวม 41 คน และหน่วยงานต้นสังกัดไม่สามารถให้การสนับสนุนได้จำนวน 7 หน่วยงาน รวม 7 คน รวมทั้งอยู่ระหว่างรอการตอบรับจากหน่วยงานต้นสังกัดจำนวน                     1 หน่วยงาน รวม 10 คน

18. เรื่อง การจัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ใช้บังคับครอบคลุมถึงคณะกรรมการ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบการจัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐให้ใช้บังคับครอบคลุมถึงคณะกรรมการตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง หรือวิธีการในการนำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐไปใช้บังคับกับคณะกรรมการ รวมถึงกลไกในการกำกับดูแลให้ชัดเจน เหมาะสม โดยให้คำนึงถึงความสอดคล้องและเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้ ก.ม.จ. รับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญ
                    พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 และระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2563 บัญญัติให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยให้จัดทำประมวลจริยธรรมให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) กำหนด ซึ่งในการจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ได้เกิดประเด็นปัญหาในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการบังคับใช้ว่า ต้องใช้บังคับกับคณะกรรมการด้วยหรือไม่ เนื่องจากนิยามของคำว่า ?เจ้าหน้าที่ของรัฐ? ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรมฯ และระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ไม่ได้บัญญัติให้ครอบคลุมถึงคณะกรรมการด้วย สำนักงาน ก.พ. จึงได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดนิยามของคำว่า ?เจ้าหน้าที่ของรัฐ? จากกฎหมายต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาการจัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบริษัทชั้นนำในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งประมวลจริยธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ มีทั้งที่ครอบคลุมและไม่ครอบคลุมถึงคณะกรรมการ ซึ่ง ก.ม.จ. ในการประชุม ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 ได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้วและมีมติเห็นชอบในหลักการให้การจัดทำประมวลจริยธรรมขององค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมใช้บังคับครอบคลุมถึงคณะกรรมการ โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ (สำนักงาน ก.พ.) เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้นำประมวลจริยธรรมที่ได้กำหนดขึ้นมาใช้บังคับกับคณะกรรมการด้วยโดยอนุโลม ทั้งนี้ ก.ม.จ. ในการประชุม ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 ได้พิจารณาร่างประมวลจริยธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ และมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างประมวลจริยธรรมของหน่วยงาน รวมทั้งให้ปรับแก้ไขร่างประมวลจริยธรรม โดยพิจารณานำมาใช้บังคับให้ครอบคลุมคณะกรรมการด้วยแล้ว
                    ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า โดยที่พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 13 (2) และ (6) บัญญัติให้ ก.ม.จ. มีหน้าที่และอำนาจกำหนดกลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมนำไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ นอกจากนี้ มาตรา 14 บัญญัติให้กรณีที่การจัดทำประมวลจริยธรรมหรือข้อกำหนดจริยธรรมของหน่วยงานไม่สอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.จ. กำหนด ให้ ก.ม.จ. แจ้งให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมา ก.ม.จ. ในการประชุม ครั้งที่ 2/2564 และครั้งที่ 3/2564 ได้พิจารณาเห็นชอบร่างประมวลจริยธรรมของหน่วยงานที่เสนอมาแล้ว โดยให้ปรับปรุงให้ครอบคลุมคณะกรรมการ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดทำประมวลจริยธรรมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่มีคณะกรรมการอยู่ด้วย ดังนั้น การพิจารณากำหนดให้การจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานครอบคลุมถึงคณะกรรมการตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของ ก.ม.จ. ที่สามารถดำเนินการได้ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นควรให้คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการของ ก.ม.จ. ได้

19. เรื่อง มาตรการในการแก้ไขกรณีงบประมาณรายจ่ายลงทุน มีจำนวนน้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบมาตรการในการแก้ไขกรณีงบประมาณรายจ่ายลงทุน มีจำนวนน้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปี โดยเห็นชอบให้รายจ่ายลงทุนภายใต้พระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. .... เป็นส่วนหนึ่งในมาตรการในการแก้ไขกรณีงบประมาณรายจ่ายลงทุนมีจำนวน น้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปีด้วย
                    2. มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาเร่งรัดดำเนินการตามแผนการลงทุนการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) และแผนการลงทุนภายใต้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย และดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    3. มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ พิจารณาโครงการรายจ่ายลงทุนเพื่อใช้จ่ายจากเงินกู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 22 และ มาตรา 23 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงบประมาณเสนอว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 ให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และมาตรการในการแก้ไขกรณีงบประมาณรายจ่ายลงทุนมีจำนวนน้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปี นั้น จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ส่งผลให้ประมาณการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีจำนวน 3,100,000 ล้านบาท ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่กำหนดไว้ 3,285,962.5 ล้านบาท เป็นจำนวน 185,962.5 ล้านบาท และมีภาระค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นลักษณะรายจ่ายประจำ วงเงินสูงถึง 2,475,600.1 ล้านบาท อาทิ ภาระค่าใช้จ่ายตามสิทธิ์ ตามกฎหมาย ตามข้อผูกพัน ตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการทางสังคมและกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานของรัฐ รายจ่ายตามแผนบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติในแต่ละระดับ แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564-2565 รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) นโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่มีลักษณะเป็นรายจ่ายประจำที่จำเป็นต้องจัดสรร จึงได้กำหนดรายจ่ายลงทุน จำนวน 624,399.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.14 ของวงเงินงบประมาณ
                    ทั้งนี้ รายจ่ายลงทุนดังกล่าวมีจำนวนน้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลงบประมาณที่กำหนดไว้จำนวน 700,000 ล้านบาท ซึ่งหลักเกณฑ์การตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 20 (1) กำหนดให้งบประมาณรายจ่ายลงทุน ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และต้องไม่น้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปี ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงินขาดดุลของงบประมาณกำหนดไว้ จำนวน 700,000 ล้านบาท
                    ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 20 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีที่การตั้งงบประมาณรายจ่ายไม่สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้ ให้แสดงเหตุผลความจำเป็นและมาตรการในการแก้ไขต่อรัฐสภาพร้อมกับการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีด้วย
                    มาตรการในการแก้ไขกรณีงบประมาณรายจ่ายลงทุน มีจำนวนน้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปี
                    มาตรการในการแก้ไขกรณีงบประมาณรายจ่ายลงทุน มีจำนวนน้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปี โดยการเพิ่มแหล่งเงินลงทุนของประเทศในช่องทางอื่นนอกเหนือจากงบประมาณรายจ่าย ซึ่งคณะรัฐนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 เพื่อให้การลงทุนของประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครอบคลุมการลงทุนจากทุกแหล่งเงิน และสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำนักงบประมาณได้ประชุมหารือร่วมกับ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ พิจารณามาตรการในการแก้ไขกรณีงบประมาณรายจ่ายลงทุนมีจำนวนน้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุลของงบประมาณประจำปีที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย
                    1. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership: PPP)
                        ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คาดว่าจะมีโครงการตามแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 - 2570 จำนวน 10 โครงการ โดยประมาณการมูลค่ารวม 260,024.08 ล้านบาท และประมาณการวงเงินลงทุนที่คาดว่าจะลงทุนในปี 2565 รวม 52,320.63 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562
                    2. กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund)
                        ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประมาณการแผนการใช้จ่ายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย สำหรับการลงทุนโครงการทางพิเศษพระราม 3 ? ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก และโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอนบน N2 และ E-W Corridor ด้านตะวันออก รวมจำนวนทั้งสิ้น 9,983.98 ล้านบาท
                    3. การใช้เงินกู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                        พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 22 กำหนดว่า การกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กระทำได้เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและต้องใช้เป็นเงินตราต่างประเทศ หรือจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และมาตรา 23 กำหนดว่า ในการกู้เงินตามมาตรา 22 ถ้าภาวะตลาดการเงินในประเทศเอื้ออำนวยและจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการเงิน การคลัง และตลาดทุน กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจกู้เป็นเงินบาทแทนการกู้เงินตราต่างประเทศก็ได้
                    สำนักงบประมาณได้พิจารณาเหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนรายการรายจ่ายลงทุนของหน่วยรับงบประมาณที่เสนอของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แต่ไม่สามารถใช้จ่ายจากงบประมาณได้เนื่องด้วยข้อจำกัดของวงเงินงบประมาณตามเหตุผลความจำเป็นข้างต้น โดยพิจารณารายการลงทุนที่มีลักษณะการลงทุนเพื่อการวางรากฐานการพัฒนาระบบน้ำ การสร้างคุณภาพชีวิตและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค การลงทุนเพื่อการให้บริการด้านสาธารณสุข รวมทั้งการลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสร้างความเข้มแข็งของประเทศ ซึ่งมีความพร้อมในการดำเนินการ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมและสามารถใช้จ่ายจากเงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสิ้น 8 กระทรวง 11 หน่วยรับงบประมาณ 109 รายการ วงเงินรวม 91,705.5119 ล้านบาท

20. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2563
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2563 (1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2563) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28/7 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ กนง. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 ติดลบร้อยละ 0.85 ซึ่งต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินที่ร้อยละ 1-3 จากปัจจัยด้านอุปทานเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานที่หดตัว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวต่ำตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
                    2. เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 อนุมัติเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 โดยการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบช่วงจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ กนง. สามารถพิจารณานโยบายการเงินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย (ไทย) ที่ต้องเผชิญความผันผวนในระยะข้างหน้าและยังมีความไม่แน่นอนสูงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19
                    3. การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 6.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัวสูงร้อยละ 12.1 ตามการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ทั้งในไทยและต่างประเทศ ส่วนไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมาตรการภาครัฐยังเป็นแรงสนับสนุนหลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจ ขณะที่การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้ไม่มากนัก ภาคเอกชนฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การส่งออกสินค้าทยอยฟื้นตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่องตามความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับต่ำ ด้านการส่งออกบริการยังหดตัวสูง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดมากแม้จะเริ่มมีมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวช้ากว่าภาคเศรษฐกิจอื่น ทั้งนี้ กนง. คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 3.2 โดยการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ขณะที่การส่งออกบริการมีแนวโน้มหดตัวสูงและฟื้นตัวช้า เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศมีแนวโน้มยืดเยื้อและรุนแรง ส่วนอุปสงค์ในประเทศ การระบาดระลอกใหม่ยังเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.8 ตามข้อสมมติฐานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฟื้นตัวหลังการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างทั่วถึง โดยเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดระบาดของโควิด-19 ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565
                    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปช่วงครึ่งหลังของปี 2563 เฉลี่ยติดลบที่ร้อยละ 0.56 ติดลบลดลงจากครึ่งแรกของปี 2563 ซึ่งติดลบร้อยละ 1.13 และต่ำกว่าขอบล่างของเป้าหมายนโยบายการเงินเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลงรวดเร็วตามความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงมากหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 ลดลงจากครึ่งแรกของปี 2563 ที่ร้อยละ 0.33 จากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์จากผลสำรวจผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะยาวยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตาม กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่ขอบล่างของกรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 ตามแรงสนับสนุนเงินเฟ้อด้านอุปสงค์และอุปทานที่ทยอยเพิ่มขึ้นจากนโยบายการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง และกำลังซื้อที่เริ่มกลับมาเป็นปกติหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง และคาดว่าในปี 2564 และ 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 2564 และ 2565 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 และ 0.4 ตามลำดับ
                    เสถียรภาพระบบการเงินยังมีเสถียรภาพแต่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าและการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) ฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนยังคงเปราะบางจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูงและความสามารถในการชำระหนี้ด้อยลง (2) ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจปรับดีขึ้นแต่ยังคงเปราะบางและมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ และ (3) ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงเปราะบางจากความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของคนไทยและชาวต่างชาติที่หดตัวต่อเนื่อง
                    4. การดำเนินนโยบายการเงิน ประกอบด้วย
                              4.1 การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 กนง. ได้มีการประชุมจำนวน 4 ครั้ง โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี เนื่องจากระบบเศรษฐกิจยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรให้รักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด นอกจากนี้ กนง. ยังเห็นว่าแม้สภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินยังกระจายไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้น โจทย์สำคัญคือการเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุด โดยใช้กลไกที่ช่วยบรรเทาความเสี่ยงภายใต้ภาวะความไม่แน่นอนสูง เช่น มาตรการค้ำประกันสินเชื่อ
                              4.2 การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยรวมปรับอ่อนค่าลงจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากความกังวลต่อความเสี่ยงของการระบาดระลอกสองในไทย ส่วนไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐปรับแข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อน หลังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามีความชัดเจนและข่าวประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก อย่างไรก็ตาม เงินบาทกลับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายไตรมาสที่ 4 จากความกังวลต่อการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในประเทศ ทั้งนี้ กนง. ได้ให้ความสำคัญกับการติดตามและดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง รวมถึงผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง โดย ธปท. ได้ร่วมกับ กค. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เร่งผลักดันมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท รวมถึงช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีความสมดุลมากขึ้นและช่วยแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างให้กับตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไทยอย่างยั่งยืน
                              4.3 การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน กนง. ได้สนับสนุนให้ ธปท. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดเพื่อกำหนดแผนการออกพันธบัตรภาครัฐให้สอดคล้องกัน เพื่อช่วยรักษาระดับอุปทานพันธบัตรให้เหมาะสมกับภาวะตลาดการเงิน และร่วมกับสถาบันการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินมาตรการทางการเงินและสินเชื่อเพิ่มเติม โดยเฉพาะลูกหนี้ธุรกิจ SMEs และลูกหนี้รายย่อย เช่น มาตรการเพิ่มเติม เพื่อเสริมประสิทธิผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ ธปท. ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่าระบบสถาบันการเงินโดยรวมยังมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง กนง. จึงสนับสนุนมาตรการเชิงป้องกันของ ธปท. ซึ่งกำหนดให้สถาบันการเงินสามารถจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานของปี 2563 ได้ไม่เกินอัตราการจ่ายในปี 2562 และต้องไม่เกินร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิของปี 2563 ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของหน่วยงานกำกับดูแลในต่างประเทศ และเป็นแนวทางที่ช่วยให้ระบบสถาบันการเงินเข้มแข็ง สามารถรองรับความไม่แน่นอน และพร้อมเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
                              4.4 การสื่อสารนโยบายการเงิน กนง. มุ่งเน้นการสื่อสารที่ชัดเจนเกี่ยวกับเหตุผลในการตัดสินนโยบายการเงิน รวมทั้งประเด็นการหารือต่าง ๆ ที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า โดย กนง. ได้เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารโดยปรับรูปแบบโครงสร้างและเนื้อหาของผลการประชุมให้ชัดเจนมากขึ้น และปรับปรุงเนื้อหารายงานการประชุม กนง. ฉบับย่อ ให้สะท้อนความเห็นและมุมมองของ กนง. มากขึ้น พร้อมทั้งได้เผยแพร่รายงานนโยบายการเงินซึ่งประกอบด้วยบทวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อสื่อสารการวิเคาระห์เศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพระบบการเงิน มาตรการที่ได้ดำเนินการไป รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่สาธารณชน

21. เรื่อง รายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคม ? ธันวาคม 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคม ? ธันวาคม 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ ธปท. พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 61 ซึ่งบัญญัติให้ทุกหกเดือน ให้ ธปท. จัดทำรายงานสภาพเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน นโยบายระบบการชำระเงิน แนวทางการดำเนินงานและประเมินผล เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                     1. ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย (ไทย) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 หดตัว ร้อยละ 5.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน (ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 6.9 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563) ซึ่งเป็นการทยอยฟื้นตัวจากการผ่อนปรนมาตรการปิดเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ การลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวสูงเนื่องจากผู้ประกอบการมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่มาก การใช้จ่ายภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญผ่านทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน อย่างไรก็ตามการส่งออกบริการหดตัวรุนแรงและฟื้นตัวช้าตามกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ
                     เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในประเทศปรับตัวดีขึ้นแต่ยังเปราะบางโดยตลาดแรงงานทยอยฟื้นตัว แต่ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวช้า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงตามราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงจากกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ ขณะที่เสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยอยู่ในเกณฑ์ดีและสามารถรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้ สะท้อนจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ระดับหนี้ต่างประเทศที่ต่ำ และเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูง ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในภาพรวมมีทิศทางแข็งค่าเนื่องจากนักลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้นและเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ประเทศตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทย หลังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามีความชัดเจนและการพัฒนาวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีความคืบหน้าเป็นลำดับ
                     2. การดำเนินงานของ ธปท. ประกอบด้วย
                               2.1 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายการเงิน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจยังคงต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจมีความไม่นอนสูงจากสถานการณ์โควิด-19 และเห็นว่านโยบายการเงินต้องผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งควรเร่งการกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ นอกจากนี้ กนง. เห็นควรให้ติดตามตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง ควบคู่กับการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไทยอย่างยั่งยืนผ่านการผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าออกได้อย่างสมดุลมากขึ้น ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 อนุมัติเป้าหมายนโยบายการเงินตามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กนง. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 ? 3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลางและเป็นเป้าหมายสำหรับปี 2564
                              2.2 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายสถาบันการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ให้ความสำคัญ ดังนี้ (1) การออกหรือปรับปรุงนโยบายเพื่อดูแลลูกหนี้สถาบันการเงินและเตรียมความพร้อมให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด?19 เช่น ติดตามและให้ความเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และสถาบันการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบและรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 (2) การติดตามและประเมินความเสี่ยงของเสถียรภาพระบบการเงินในประเด็นที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงของภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในระยะข้างหน้า และความเพียงพอของเงินกองทุนในระบบธนาคารพาณิชย์จากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ และ (3) การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพบริการทางการเงินจากการใช้เทคโนโลยี การเข้าถึงบริการทางการเงิน และการผลักดันความเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาคและโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โดยให้ความเห็นต่อหลักเกณฑ์และติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของ ธปท. ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนการใช้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดทำแบบประเมินตนเองเพื่อใช้ประเมินความคืบหน้าของธนาคารพาณิชย์ ในการดำเนินการตามแนวทางการดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืนในด้านการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ
                               ทั้งนี้ ในรอบหกเดือนหลังของปี 2563 ระบบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความมั่นคง เงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่อง เพียงพอ สามารถสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้
                                2.3 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายระบบการชำระเงิน ธปท. ได้ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ระบบการชำระเงินของไทยมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งยกระดับการกำกับดูแลระบบการชำระเงินของประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สรุปได้ ดังนี้ (1) การใช้บริการระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.1 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนการใช้บริการโอนเงินและชำระเงินออนไลน์ผ่าน Mobile Banking/Internet Banking เติบโตสูงสุดที่ร้อยละ 74.6 และปริมาณโอนเงินเฉลี่ยต่อวัน 20.2 ล้านรายการ หรือคิดเป็นมูลค่า 74,300 ล้านบาท และ (2) การดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 เช่น ผลักดันและส่งเสริมการใช้มาตรฐานด้านข้อมูล ISO 20022 เพื่อรองรับข้อมูลการชำระเงินและข้อมูลที่เกี่ยวข้องของภาคธุรกิจ ผลักดันการเชื่อมโยงระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างประเทศ และขยายการใช้ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในหน่วยงานภาครัฐ กรมสรรพากร และสถาบันการเงิน โดยเริ่มให้บริการแจ้งและนำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

22. เรื่อง สรุปผลการดำเนินงานสำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) เสนอสรุปผลการดำเนินงานสำคัญของคณะกรรมการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 [เป็นการดำเนินการตามนัยมาตรา 19 (9) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติจัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ] โดยคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการและมอบฝ่ายเลขานุการฯ นำข้อเสนอของกรรมการไปประกอบการพิจารณาโดยเสนอคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานฯ ฉบับสมบูรณ์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                     1. การบริหารจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน โดยกำหนดนโยบายการบริหารจัดการเพื่อให้ทรัพยากรประมงและสินค้าประมงตลอดสายการผลิตของประเทศมีความยั่งยืน แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการทรัพยากรประมงทะเลน้ำจืด โดยใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเพื่อกำหนดมาตรการในการทำการประมง รวมถึงการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยมุ่งเน้นคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ผลผลิตสัตว์น้ำปลอดภัย ตลาดนำการผลิต และทรัพยากรมีความสมดุลและยั่งยืน และ              3) การพัฒนาอุตสาหกรรมประมง เพื่อให้สินค้าประมงมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและการตรวจสอบรับรองสินค้าประมงเพื่อการส่งออก
                      2. การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย โดยดำเนินการ ดังนี้
                               2.1 การปรับปรุงกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง จำนวน 17 ฉบับ เช่น ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562) และกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2562 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562)
                               2.2 การบริหารจัดการประมงทะเลไทยและการจัดการกองเรือไทย โดยมีการบริหารจัดการจำนวนเรือประมงเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณทรัพยากรประมง การออกใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในปีการประมง 2563 และการออกใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำ
                                2.3 การติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมงให้เป็นไปตามกฎระเบียบของประเทศไทย (ไทย) และกฎระเบียบระหว่างประเทศ เช่น การตรวจสอบ ติดตามและเฝ้าระวัง การทำประมงของเรือประมงต่างประเทศผ่านระบบ e-PSM (Electronic Port State Measure) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเรือประมงที่ไม่ใช่สัญชาติไทย รวมถึงวิเคราะห์พฤติกรรมของเรือว่าต้องไม่มีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
                               2.4 การบังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรการทางปกครองควบคู่กับการใช้บทลงโทษทางอาญา
                               2.5 การใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยมาตรการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมงไปยังแหล่งที่มาของสัตว์น้ำ ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบการทำประมงในทะเล การตรวจสอบที่ท่าเทียบเรือ และการตรวจสอบที่โรงงาน โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ทุกขั้นตอน เช่น ข้อมูลเรือ ข้อมูลการทำประมง และข้อมูลการจับสัตว์น้ำขึ้นท่า
                               2.6 การจัดระเบียบแรงงานประมง โดยมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของคนประจำเรือและป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมายในภาคการประมง รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทยและการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานประมงทะเล
                               2.7 แนวทางและมาตรการในการพัฒนาการประมงของไทยให้ปลอดสัตว์น้ำและสินค้าสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย [Illegal, Unreported and Unregulated Fishing (IUU)-Free Thailand] ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1) การดำเนินนโยบาย IUU-Free Thailand อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การสร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือ การติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูล 3) การพัฒนามาตรฐานการควบคุมการน้ำเข้าสัตว์น้ำและสินค้าสัตว์น้ำ และ 4) การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับของไทย
                     3. การดำเนินการด้านการประมงต่างประเทศ โดยมีการกำหนดนโยบายด้านการประมงระหว่างประเทศซึ่งสอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อกำหนดของประเทศคู่ค้าสำคัญ รวมถึงความร่วมมือกับองค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาคและประเทศต่าง ๆ ในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของท่า รัฐชายฝั่ง และรัฐตลาด แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) มาตรการการค้าสินค้าประมงที่กำหนดโดยประเทศคู่ค้า โดยคณะกรรมการฯ ได้ศึกษาและพิจารณาแนวปฏิบัติเพื่อให้สามารถรองรับกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าที่กำหนดเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคทางการค้าสินค้าประมงของไทย 2) การขยายความร่วมมือในการต่อต้านประมงผิดกฎหมายไปยังประเทศอาเซียน โดยรัฐบาลไทยได้เสนอให้อาเซียนมีการจัดตั้งเครือข่ายอาเซียนเพื่อการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและจัดทำกรอบความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนและระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับคู่เจรจาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่วมกันติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังทางทะเล เพื่อป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย และ 3) ความร่วมมือกับองค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค โดยไทยเป็นภาคีองค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค 2 องค์กร ได้แก่ คณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดียและความตกลงการทำประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และได้รับอนุญาตให้นำเรือประมงนอกน่านน้ำของไทยเข้าไปทำประมงในพื้นที่ของทั้งสององค์กรดังกล่าวได้ตามข้อกำหนดของแต่ละองค์กร
                     4. การดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมง โดยได้ช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมงที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้
                               4.1 นำเรือประมงออกนอกระบบ จำนวน 53 ลำ โดยได้จ่ายเงินเยียวยาให้เจ้าของเรือประมงแล้ว
                              4.2 ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง วงเงินสินเชื่อ 10,300 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2563 มีผู้ประกอบการประมงประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 4,828 ราย วงเงินสินเชื่อที่ต้องการประมาณ 6,111 ล้านบาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรอนุมัติเงินกู้แล้ว จำนวน 323 ราย วงเงิน 109.338 ล้านบาท และธนาคารออมสินอนุมัติเงินกู้แล้ว จำนวน 65 ราย วงเงิน 230.606 ล้านบาท
                               4.3 จัดทำร่างพระราชบัญญัติกองทุนการประมงแห่งชาติ พ.ศ. .... (ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา) และร่างพระราชบัญญัติสภาการประมงแห่งชาติ พ.ศ. .... (อยู่ระหว่างจัดทำหนังสือถึงกรมบัญชีกลางเพื่อจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมการขอจัดตั้งกองทุนการประมงแห่งชาติ)
                              4.4 ยกเว้นค่าธรรมเนียมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ส่งผลให้มีเกษตรกรได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมจำนวน 21,041 ราย คิดเป็นวงเงินรวม 59.494 ล้านบาท
                               4.5 เยียวยาเกษตรกร ชาวประมง และผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการจ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงและผู้ทำการประมง รวม 188,134 ราย คิดเป็นเงินงบประมาณรวม 2,822 ล้านบาท
                               4.6 ดำเนินโครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน โดยการสนับสนุนลูกพันธุ์กุ้งก้ามกราม จำนวน 200,000 ตัวต่อแหล่งน้ำ ให้แก่แหล่งน้ำชุมชน 1,436 แห่ง ในพื้นที่ 19 จังหวัด และโครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมง ซึ่งได้สนับสนุนพันธุ์ปลานิลแปลงเพศให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ 37 จังหวัด จำนวน 44,311 ราย รายละ 800 ตัว และสนับสนุนอาหารสัตว์นำร่องจำนวนรายละ 120 กิโลกรัม
                     5. การขอรับจัดสรรงบกลางเพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (29 กรกฎาคม 2563) อนุมัติให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 153.711 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรักษาประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย

23. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชนของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชนในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงจากความขัดแย้งทางการเมือง 2) การบังคับบุคคลสูญหาย 3) การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะหรือการคุกคามโดยการใช้กฎหมาย 4) ความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางสังคม และความรุนแรงที่เกี่ยวกับเพศสภาพ 5) การละเมิดสิทธิในพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6) การละเมิดสิทธิชนเผ่าและชาติพันธุ์ และ 7) การดำเนินการให้มีกฎหมายกลางเรื่องการเยียวยาผู้เสียหายจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงบประมาณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อสังเกตดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    ยธ. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณารายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า ขณะนี้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ แล้ว ในหลายประเด็น เช่น ในประเด็นความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงจากความขัดแย้งทางการเมือง ปัจจุบันได้มีการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมอยู่แล้ว รวมทั้งได้มีองค์กรอิสระและภาคประชาสังคมในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย ในประเด็นการบังคับคนสูญหาย รัฐบาลได้มีการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และร่วมมือกับต่างประเทศในการประสานความร่วมมือเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับพลเมืองไทยที่ถูกบังคับสูญหายในต่างประเทศ ในประเด็นการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ หรือการคุกคามโดยการใช้กฎหมาย ขณะนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้มีบทบัญญัติเพื่อป้องกันการฟ้องคดีเชิงยุทธศาสตร์โดยที่ราษฎรเป็นโจทก์อยู่แล้ว นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมายเพื่อป้องกันการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย ในประเด็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางสังคม และความรุนแรงที่เกี่ยวกับเพศสภาพ รัฐบาลได้มีโครงการและมาตรการต่าง ๆ ในการส่งเสริมความเท่าเทียมและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีอยู่แล้ว ในประเด็นการละเมิดสิทธิในพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลได้ดำเนินการทบทวนกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่แล้ว ในประเด็นการละเมิดสิทธิชนเผ่าและชาติพันธุ์ รัฐบาลได้มีโครงการและแผนงานผ่านทางหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือกับชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งด้านการส่งเสริมอาชีพ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่วัฒนธรรม และการให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมาย และในประเด็นการดำเนินการให้มีกฎหมายกลางเรื่องการเยียวยาผู้เสียหายจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันได้มีกฎหมายเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว รวมทั้งมีโครงการในการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำหรับประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วย เป็นต้น สำหรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ในประเด็นอื่น กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการพิจารณาศึกษาเพื่อดำเนินการต่อไปในอนาคต

24. เรื่อง รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2563 และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย               ปี 2563 และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฏในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ฯ แล้วแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กสม. รายงานว่า
                    1. รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2563 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยแบ่งการประเมินสถานการณ์ฯ ออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์เฉพาะ (สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสถานการณ์การชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน) (2) ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (เช่น สิทธิในกระบวนการยุติธรรม การกระทำทรมาน การบังคับให้สูญหาย และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน) (3) ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (สิทธิแรงงาน สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิด้านการศึกษา สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน) และ    (4) ด้านสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของบุคคล (สิทธิเด็ก สิทธิผู้สูงอายุ สิทธิคนพิการ สิทธิสตรีและความเสมอภาคทางเพศ และผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ)
                    2. รายงานผลการปฏิบัติงาน กสม. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีภารกิจที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (2) การเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (3) การชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องในกรณีที่มีการรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม (4) การสร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน และ (5) การบริหารจัดการและการพัฒนาองค์กร

25. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้บริการคนพิการของสายการบินภายในประเทศ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้บริการคนพิการของสายการบินภายในประเทศของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้บริการคนพิการของสายการบินภายในประเทศ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการให้บริการคนพิการของสายการบินภายในประเทศ ดังนี้ 1) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ควรดำเนินการเร่งตราอนุบัญญัติซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และกำกับ ติดตาม ประเมินผลการให้บริการของสายการบินให้เป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 2) คค. ควรแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และ 3) สายการบินควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารได้รับทราบข้อมูลอย่างชัดเจน เพิ่มช่องทางให้คนพิการสามารถแจ้งความต้องการบริการพิเศษ
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ คค. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    คค. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ          ผลการพิจารณาศึกษา
1. กพท. ควรเร่งตราอนุบัญญัติ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และกำกับ ติดตาม และประเมินผลการให้บริการของสายการบินให้เป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด          - กพท. ได้มีการตราอนุบัญญัติตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ได้แก่ ข้อกำหนดคณะกรรมการการบินพลเรือน เรื่อง การปฏิเสธการรับขนผู้โดยสารและปฏิเสธการรับขนคนพิการ (อยู่ระหว่างการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของที่ประชุม) และข้อกำหนด กพท. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่ผู้ดำเนินการเดินอากาศต้องจัดไว้บริการผู้โดยสารที่เป็นคนพิการ (อยู่ระหว่างการจัดทำร่วมกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน))
- เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว จะดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการให้บริการของสายการบินให้เป็นไปตามข้อกำหนดทั้ง 2 ฉบับ อย่างเคร่งครัดต่อไป
2. คค. ควรแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลท่าอากาศยาน เช่น จัดบริการรถไฮลิฟท์หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ ในการให้บริการคนพิการขึ้นลงเครื่องบิน หรืออากาศยาน          - ขณะนี้ คค. อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมถึงกฎกระทรวงในเรื่องดังกล่าวของกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงของคมนาคมให้สอดรับกับกฎกระทรวงของกระทรวงอื่น ซึ่งหน่วยงานในสังกัด คค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. สายการบิน ควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารได้รับทราบข้อมูลอย่างชัดเจนว่า สายการบินให้บริการเรื่องใดสำหรับคนพิการ และเพิ่มช่องทางให้คนพิการสามารถแจ้งความต้องการบริการพิเศษตั้งแต่ขั้นตอนการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน          - คค. ได้ดำเนินการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ เด็ก ผู้สูงอายุ และคนทุกคนมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้นำแนวทางการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลเป็นกรอบในการพัฒนาและการดำเนินโครงการต่าง ๆ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านระบบการขนส่งสาธารณะ ได้มีกระบวนการปรึกษาหารือกับองค์กรคนพิการ ทั้งในขั้นตอนการออบแบบและการดำเนินโครงการเพื่อประกันว่าระบบขนส่งที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคตได้คำนึงถึงความต้องการที่จำเป็นของคนพิการ โดยนโยบายดังกล่าวได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ คค. พ.ศ. 2560 - 2564 ยุทธศาสตร์ที่ 1 ?ทั่วถึงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งขั้นพื้นฐานให้เชื่อมโยง ทั่วถึง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม?
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้คนพิการและองค์กรคนพิการได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผลในการกำหนดแนวทางการให้บริการหรือให้ความช่วยเหลือคนพิการได้ตรงตามความต้องการของคนพิการแต่ละบุคคลหรือแต่ละประเภท          - คค. ได้เชิญผู้แทนจาก พม. กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นในทุกโครงการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้บูรณาการข้อมูลร่วมกัน และ คค. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งเพื่อคนทุกกลุ่ม และมีคณะทำงานติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งเพื่อคนทุกกลุ่ม ซึ่งคณะกรรมการและคณะทำงานจะเป็นกลไกและหน่วยงานในการติดตามตรวจสอบปัญหา อุปสรรคการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในปัจจุบัน และกำกับ เร่งรัด ติดตามการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะทุกระบบและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขยายผลสู่การปฏิบัติโดยเร็ว รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะในการอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือคนพิการแก่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะและประชาชนอย่างทั่วถึง

26. เรื่อง แผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ และมอบหมาย ดังนี้
                     1. รับทราบแผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ โดยให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                     2. มอบหมายให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock อย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอย่างใกล้ชิดในการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติรายงานว่า
                     1. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติ ดังนี้
                                1.1 เห็นชอบในหลักการแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการถ่ายระดับการดำเนินงานตามขั้นตอนและวิธีการของกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ไปสู่การปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดประกอบด้วย
                                          (1) หน่วยงานร่วมดำเนินการ
                                         (2) เป้าหมายย่อย (Milestone) คือ เป้าหมายของการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่จะส่งผลให้บรรลุเป้าหมายของกิจกรรม Big Rock
                                          (3) ระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จของแต่ละเป้าหมายย่อยโดยกำหนดระยะเวลาที่แล้วเสร็จ ณ สิ้นสุดไตรมาส
                                         (4) โครงการ/การดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลผลิตตามเป้าหมายย่อยภายในระยะเวลาที่กำหนด ครอบคลุมราละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ แหล่งงบประมาณ และวงเงินงบประมาณที่ใช้
                                         ทั้งนี้ แผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ประกอบด้วยโครงการ/การดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ทั้ง 62 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 881 โครงการ กรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 66,502.24 ล้านบาท โดยโครงการ/การดำเนินงานฯ ส่วนใหญ่ใช้จ่ายจากงบประมาณประจำปี 2564 ? 2565 และงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                               1.2 เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนและการดำเนินกิจกรรม Big Rock เพื่อการบรรลุเป้าหมาย โดยมอบหมายให้ สศช. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
                                         1.2.1 จัดลำดับความสำคัญของโครงการ/การดำเนินงานรองรับกิจกรรม Big Rock โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ (1) มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุด หากไม่ดำเนินการจะทำให้การปฏิรูปประเทศไม่บรรลุผลตามที่กำหนด (2) มีความจำเป็นเร่งด่วน และ (3) มีความจำเป็นเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนงบประมาณตามกฎหมายต่อไป
                                         1.2.2 เร่งรัดให้หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด และให้ สงป. พิจารณาความเหมาะสมในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศและ สศช. พิจารณาดำเนินการตามความในมาตรา 26 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ต่อไป
                                         1.2.3 ในส่วนของแนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ให้ดำเนินการ ดังนี้
                                                   (1) ให้ สศช. พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เพิ่มเติมในส่วนของการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามกิจกรรม Big Rock ตามเป้าหมายย่อยของแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock
                                                   (2) การรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ตามนัยมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อรัฐสภาทุก 3 เดือน นั้น ให้รายงานเฉพาะกิจกรรม Big Rock และประเด็นที่รัฐสภาให้ความสำคัญเป็นพิเศษเท่านั้น

27. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอ และสั่งการให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
                    1. ให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนและเร่งรัดการพัฒนาบริการดิจิทัลภาครัฐ ตามแผนแม่บทเพื่อการขับเคลื่อนพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน ระยะ 3 ปี
                    2. เมื่อแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 ? 2565 ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้หน่วยงานภาครัฐตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 จัดทำหรือปรับปรุงแผนปฏิบัติการของหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
                    3. ให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ขยายผลให้หน่วยงานของภาครัฐรับรู้ในเรื่องการนำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript) ไปใช้ในหน่วยงานและให้ถือเสมือนเอกสารต้นฉบับหรือฉบับจริง
                    4. ให้ สพร. และคณะอนุกรรมการสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผลักดันให้เกิดระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID)
                    5. ให้หน่วยงานภาครัฐเร่งยกระดับทักษะดิจิทัลของบุคลากรให้พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล โดยเริ่มจากการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นพื้นฐาน (Digital literacy) ซึ่งเป็นทักษะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับบุคลากรทุกคนในยุคดิจิทัล และมอบหมายให้ สพร. ดำเนินการร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการจัดฝึกอบรมและพัฒนาทักษะดิจิทัลดังกล่าวในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้รองรับการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง รวมทั้งเร่งยกระดับทักษะดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานเฉพาะด้านให้สอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลต่อไป
                    และให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ที่ประชุมฯ ได้รับทราบและพิจารณาในประเด็นสำคัญต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          มติที่ประชุม
1. เรื่องเพื่อพิจารณา (จำนวน 2 เรื่อง)
1.1 (ร่าง) แผนแม่บทพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน ระยะ 3 ปี (Citizen Portal Roadmap) เพื่อให้บริการแก่ประชาชน 2 กลุ่มหลัก 8 กลุ่มย่อย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มุ่งเน้นบริการสิทธิและสวัสดิการ 50 บริการ เช่น เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด สิทธิประกันสังคม เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ลงทะเบียนทำบัตรประจำตัวคนพิการ และเงินเบี้ยความพิการ โดยมีบริการบางส่วนที่พัฒนาแล้วเสร็จในปี 2563 เรียบร้อยแล้ว ระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มุ่งเน้นงานบริการยอดนิยม 60 บริการ เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีรถยนต์ ขอป้ายทะเบียนรถ ขอรับบริการแผนที่ และการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และระยะที่ 3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มุ่งเน้นงานบริการเฉพาะทาง 60 บริการ เช่น เงินทุนกู้ยืมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านการเกษตร ใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตร และตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ (Agrimark)          เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน ระยะ 3 ปี และให้ เสนอ (ร่าง) แผนแม่บทดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
1.2 การปรับองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล          รับทราบ
2. เรื่องเพื่อทราบ (จำนวน 2 เรื่อง)
2.1 ความก้าวหน้าการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย ได้แก่ ความคืบหน้า (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565 [คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ (ร่าง) แผนฯ แล้ว เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564] และผลสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยประจำปี 2563 2) ด้านงบประมาณ คณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้เห็นชอบโครงการ/กิจกรรม 61 โครงการ จาก 36 หน่วยงาน วงเงิน 6,824.31 ล้านบาท 3) ด้านโครงสร้างระบบและการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล ภายใต้การดำเนินงานของ สพร. และ 4) ด้านการติดตามและประเมินผลโครงการ ได้แก่ รายงานความคืบหน้าด้านมาตรฐาน หลักเกณฑ์ ตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแพลตฟอร์มดิจิทัลภาครัฐ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ สพร. เพื่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ          รับทราบ และให้เสนอความก้าวหน้าการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและเร่งรัดการดำเนินการที่สำคัญต่อไป
2.2 รายงานสถานะการดำเนินงานโครงการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript) โดยเป็นการนำร่องการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 9 แห่ง โดยคาดว่าภายในปี 2564 จะสามารถให้บริการ Digital Transcript ในสถาบันอุดมศึกษาได้ 22 แห่ง (มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 11 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏ 7 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชน 2 แห่ง)          รับทราบสถานะการดำเนินงาน
โครงการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาฯ และให้ฝ่ายเลขานุการฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขยายผลให้หน่วยงานของรัฐรับรู้ในเรื่องการนำ Digital Transcript ไปใช้ ในหน่วยงานและให้ถือเสมือนเอกสารต้นฉบับหรือฉบับจริง

28. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุมคณะกรรมการติดตามและการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุม สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.
1. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการใน กตน. จำนวน 4 คณะ ได้แก่
          1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
          2) คณะอนุกรรมการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลประจำปี
          3) คณะอนุกรรมการบูรณาการและประสานการเชื่อมโยงฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
          4) คณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน          มติที่ประชุม : รับทราบ
2. สวัสดิการภาครัฐที่เกษตรกรแต่ละรายได้รับ ได้แก่
          1) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรด้านต้นทุนการผลิตและกระบวนการผลิต ได้แก่ (1) โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายสินเชื่อแล้ว 1,577 ราย จำนวน 6,124 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2564) (2) การดำเนินมาตรการควบคุมค่าเช่าที่นา ฤดูการผลิตห้วงปี 2563/64 โดยสำรวจพื้นที่การเช่าที่นาใน 70 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร มีผู้เช่านาและผู้ให้เช่านา 400,444 ราย ผู้ให้เช่า 416,481 ราย และมีพื้นที่การเช่านา 7,152,474 ไร่ และเจรจาลดค่าเช่าที่นาใน 20 จังหวัด มีผู้เช่า 16,232 ราย ผู้ให้เช่า 12,106 ราย และมีพื้นที่การเช่านา 14,950,208 ไร่ (3) การช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ปีการผลิต 2563/64 โดยกระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด 16 จังหวัด ลดค่าเช่าที่นาให้เกษตรกร 20,269 ราย พื้นที่เช่านา 145,187 ไร่ คิดเป็นจำนวนเงิน 8,841,206 บาท และงดเก็บค่าเช่าที่นาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร 93 ราย พื้นที่เช่านา 916 ไร่ คิดเป็นจำนวนเงิน 653,080 บาท
          2) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรด้านราคา รายได้ และการตลาด ได้แก่ (1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1,272,445 ราย ผลการเบิกจ่ายเงินให้แก่เกษตรกร รวม 1,272,883 ราย เป็นเงิน 24,172.437 ล้านบาท (2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 มีผลการจ่ายเงินทั้งสิ้น 1,361,144 ราย เป็นเงิน 7,129.96 ล้านบาท
          3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรด้าน             อื่น ๆ ได้แก่ (1) โครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2563 โดยโอนเงินช่วยเหลือเกษตรกร 7,565,880 ราย เป็นเงิน 113,304.40 ล้านบาท (2) โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อแล้ว 884,018 ราย เป็นเงิน 8,807 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2564) (3) การลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมในกลุ่มผู้พิการ ฯลฯ ปี 2560 มีผู้ได้รับอนุมัติ 11,469,185 คน (จาก 14,178,869 คน) และปี 2561 มีผู้ไดรับอนุมัติ 3,138,124 คน (จาก 4,590,599 คน) รวมผู้ได้รับอนุมัติ 14,607,309 คน (4) โครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ 66,017 ล้านบาท และได้จัดสรรงบประมาณ ปี 2564 แล้ว 2 งวด (เดือนตุลาคม 2563 - มีนาคม 2564) เป็นเงิน 32,791 ล้านบาท (5) โครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการทางสังคมแก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม มท. จัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อนำไปจ่ายให้แก่คนพิการ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้จัดสรรงบประมาณโครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ เป็นเงิน 9,200 ล้านบาท และ (6) การให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ในภาพรวมของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เช่น ให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เดือนละ 600 บาทต่อคน นับตั้งแต่เดือนที่ลงทะเบียนจนมีอายุครบ 6 ปี          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
1) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) พิจารณาจัดทำรายละเอียดสวัสดิการภาครัฐที่เกษตรกรได้รับในรูปแบบการเกษตรประเภทต่าง ๆ เช่น เกษตรแปลงใหญ่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) เพื่อนำไปสู่การประเมินผลสัมฤทธิ์ และการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการ รวมถึงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านสวัสดิการและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้สามารถดำรงชีวิตที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ต่อไป
2) ให้กระทรวงการคลัง (กค.) กษ. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาจัดทำข้อมูลสวัสดิการภาครัฐของบุคคลหรือกลุ่มอาชีพ เช่น เกษตรกร กลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มอาชีพอิสระและรับจ้างทั่วไป และให้คณะอนุกรรมการบูรณาการฯ จัดทำชุดข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการภาครัฐที่เกษตรกรแต่ละรายได้รับเพื่อให้ทราบภาพรวมการช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาล ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง อย่างเป็นรูปธรรม
3) ให้ กษ. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามการแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านการบริหารจัดการเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการทำเกษตรแปลงใหญ่ให้มีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม
4) ให้ทุกส่วนราชการดำเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ความเข้าใจภายในส่วนราชการในทุกระดับเกี่ยวกับการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานได้รับทราบงานที่มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ
มติที่ประชุม : ให้คณะอนุกรรมการบูรณาการฯ พิจารณาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำชุดข้อมูลในเรื่องดังกล่าว โดยรับความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. ไปพิจารณาด้วย และเสนอต่อ กตน. ต่อไป
3. การแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำแล้ง ได้แก่
          1) ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งในช่วงปี 2555 - 2564 ที่ผ่านมา โดยมีการประกาศฯ ทุกปี ยกเว้นปี 2561 และ 2564 ที่ไม่มีการประกาศฯ
          2) มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2563 - 2564 โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มีแผนการดำเนินการ เช่น เร่งเก็บกักน้ำฤดูแล้ง ปี 2563 - 2564 จำนวน 2,947 ล้านลูกบาศก์เมตร และจัดหาแหล่งน้ำสำรองดิบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
          3) จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งและน้ำท่วมเฉพาะหน้า รวม 6 ครั้ง 23,264.36 ล้านบาท จำนวน 23,286 แห่ง          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
1) ให้เพิ่มกลไกการเชื่อมโยงผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำในระดับจังหวัด และเร่งรัดจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขน้ำแล้งร่วมกับคณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
2) ให้มีการพัฒนาระบบการสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการบริหารจัดการน้ำ
มติที่ประชุม : รับทราบและให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

29. เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับพื้นที่ และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและมอบหมายดังนี้
                    1. รับทราบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับพื้นที่ และแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ โดยให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    2. มอบหมายให้ สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการจัดทำและการเสนอแผน/โครงการ รวมถึงการใช้งานระบบ eMENSCR แก่หน่วยงานต่าง ๆ ในชั้นปฏิบัติอย่างทั่วถึงและเข้าใจง่าย รวมทั้งประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเร่งดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวอย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการพัฒนากลไกและระบบติดตามและประเมินผลที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างระบบต่าง ๆ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติรายงานว่า
                    1. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ได้พิจารณาในส่วนของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับพื้นที่และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับพื้นที่
                                        1.1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับพื้นที่มีกลไกสำคัญคือ แผนพัฒนาในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย แผนพัฒนาภาค แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนพัฒนาจังหวัด โดยแผนพัฒนาในระดับพื้นที่จัดเป็นแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน... ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี (4 ธันวาคม 2560 , 3 ธันวาคม 2562 และ 15 ธันวาคม 2563) และมีความสำคัญคือเป็นจุดเชื่อมต่อของยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ต่าง ๆ โดยเฉพาะการเชื่อมต่อแผนแม่บทฯ ไปสู่การพัฒนาพื้นที่ ดังนั้น แผนพัฒนาในระดับพื้นที่จึงต้องสามารถถ่ายระดับเป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมบนหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationship : XYZ1)
                                        1.1.2 ปัจจุบันการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับพื้นที่มีประเด็นท้าทายที่สำคัญ อาทิ (1) ความหลากหลายและแตกต่างของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และบริบทการพัฒนาของแต่ละพื้นที่ (2) การจัดทำโครงการ/การดำเนินงานในพื้นที่ไม่สามารถสะท้อนการแปลงยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ไปสู่การปฏิบัติตามหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (XYZ) ได้อย่างชัดเจน และ (3) การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลผ่านระบบ eMENSCR ในปัจจุบันที่อาจยังไม่ครอบคลุมการดำเนินงานในระดับพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับพื้นที่เห็นผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติจึงมีมติเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับพื้นที่สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
หลักการการขับเคลื่อน
ในขั้นพื้นฐาน          ? แผนในระดับพื้นที่ต้องตอบสนองต่อเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ โดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจถึงทิศทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ และสามารถวิเคราะห์ช่องว่างเชิงนโยบายและช่องว่างการพัฒนาของพื้นที่ นำไปสู่การจัดทำแผนในระดับพื้นที่ที่มีการถ่ายระดับจากยุทธศาสตร์ชาติ (XYZ) บนหลักการ ดังนี้
    1) ยึดนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ตามที่คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) และคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) กำหนด รวมทั้งยึดหลักการจัดทำแผนตามมติคณะรัฐมนตรี (4 ธันวาคม 2560 , 3 ธันวาคม 2562 และ 15 ธันวาคม 2563)
    2) ถ่ายระดับเป้าหมายการพัฒนา โดยแผนพัฒนาภาคจะต้องพิจารณาเป้าหมายย่อยของแผนแม่บทฯ ทั้ง 140 เป้าหมาย พร้อมทั้งวิเคราะห์ศักยภาพ ความต้องการ และทรัพยากรของภาค จากนั้นจึงพิจารณาองค์ประกอบและปัจจัยเฉพาะของห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand) ของเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่ภาคมีส่วนร่วมขับเคลื่อนและวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายในแผนพัฒนาภาค ทั้งนี้ในส่วนของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด ให้ดำเนินการถ่ายระดับตามขั้นตอนเดียวกันกับของแผนพัฒนาภาค โดยให้เริ่มพิจารณาจากเป้าหมายของแผนพัฒนาภาค และแผนกลุ่มจังหวัดตามลำดับ
    3) กำหนดและมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพของแต่ละเป้าหมายของแผนต่าง ๆ ในระดับพื้นที่ โดยให้มีความสอดคล้องกับหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทย่อย โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ประสานเพื่อบูรณาการการดำเนินงานของฝ่ายต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
โครงการ
และแผนระดับที่ 3          ? การจัดทำโครงการและการดำเนินงาน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ในการดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) มองเป้าหมายร่วมกัน โดยหน่วยงานเจ้าภาพและที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาหาช่องว่างการพัฒนา (gap analysis) และทบทวนความเหมาะสมของห่วงโซ่คุณค่าของเป้าหมายแผนในระดับพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำโครงการ (2) จัดทำโครงการและดำเนินงาน โดยหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ข้อมูลจากห่วงโซ่คุณค่า ข้อมูลสถิติ สถานการณ์ และงานวิจัย ประกอบการดำเนินการ เพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดตามหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (XYZ) (3) จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของโครงการ (prioritization) และ (4) จัดทำแผนปฏิบัติราชการราย 5 ปี และรายปี และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
การติดตาม/ประเมินผลผ่าน eMENSCR          ? ทุกหน่วยงานต้องรายงานผลการดำเนินงาน โดยนำเข้าโครงการและแผนระดับพื้นที่ในระบบ eMENSCR
                              1.2 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์
                                        1.2.1 หลักการในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติผ่านกลไกต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลสนับสนุน (data driven) บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ (evidence base) อย่างไรก็ตาม             มีข้อสังเกตสำคัญจากการประมวลโครงการ/การดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564 ในระบบ eMENSCR และกระบวนการจัดทำโครงการสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติประจำปีงบประมาณ 2565 ประกอบด้วย                  (1) การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติที่ผ่านมายังไม่ได้ดำเนินการบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ (evidence base) โดยข้อมูลสนับสนุน อาทิ ข้อมูลสถิติสถานการณ์ ข้อมูลเชิงวิชาการ งานวิจัยที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินการให้บรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ และผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติของหน่วยงานของรัฐบนหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (XYZ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (2) การรายงานผลการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐในระบบ eMENSCR ยังไม่สามารถสะท้อนผลผลิตและผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนระดับต่าง ๆ รวมทั้งยังมีข้อจำกัดของความครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันของข้อมูลด้านงบประมาณเพื่อประกอบการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการติดตาม ตรวจสอบ ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ
                                        1.2.2 ดังนั้น เพื่อให้การแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติสามารถดำเนินการบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างแท้จริง คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติจึงมีมติเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ สรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ          สาระสำคัญ
หลักการการขับเคลื่อน
ในขั้นพื้นฐาน          ? ข้อมูลสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติต้องมีการจัดทำและพัฒนา ดังนี้
    1) ข้อมูล สถิติ สถานการณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำและปรับปรุงข้อมูล สถิติ สถานการณ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ ให้มีความเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งนำเข้าข้อมูลดังกล่าวบนฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open-D) ซึ่งเชื่อมโยงชุดข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยงานของรัฐ
    2) งานวิจัย/การศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้ทุนและการกำกับงานวิจัย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ต้องกำหนดทิศทางการวิจัย และการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ เป้าหมายแผนแม่บทฯ และห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทยของ 140 เป้าหมายแผนแม่บทย่อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการงานวิจัย และนำเข้างานวิจัยที่แล้วเสร็จในระบบ ตามรูปแบบที่ สศช. กำหนด
โครงการ
และแผนระดับที่ 3          ? การจัดทำโครงการและการดำเนินงาน
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) โดยให้นำข้อมูล สถิติ สถานการณ์ งานวิจัย มาประกอบในการจัดทำโครงการ/การดำเนินงานตามหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (XYZ) ในทุกขั้นตอนด้วย
? การจัดทำแผนระดับที่ 3 หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563 และ 27 เมษายน 2564) โดยต้องนำข้อมูล สถิติ สถานการณ์ งานวิจัย มาประกอบการจัดทำแผนด้วย
การติดตาม/ประเมินผล
ผ่าน eMENSCR          ? นำเข้าข้อมูลบนระบบที่เกี่ยวข้อง
    1) นำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงาน พร้อมทั้งส่งอนุมัติข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ
    2) นำเข้าข้อมูลแผนระดับที่ 3 ในระบบ eMENSCR ที่ผ่านการส่งอนุมัติข้อมูล แผนระดับที่ 3 และรายงานผลสัมฤทธิ์
? เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระบบ eMENSCR กับระบบฐานข้อมูลด้านงบประมาณ โดยเฉพาะระบบการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของกรมบัญชีกลาง และระบบการจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Budgeting) ของสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณสำหรับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนา
? พัฒนาระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) โดย สศช. จะนำ AI มาใช้ในการสนับสนุนการประเมินสถานการณ์การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาระดับต่าง ๆ ในระบบ eMENSCR เพื่อให้ระบบสามารถประมวลผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลโครงการ/การดำเนินงาน และใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายเพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถติดตามประเมินผลโครงการ/การดำเนินงานต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาระดับต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1 หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationship: XYZ) เป็นหลักการสำคัญในการถ่ายระดับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ผ่านสู่เป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (Y) และแปลงไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องของหน่วยงานของรัฐ (X) (อ้างอิง : เอกสาร ?การมองเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทฯ? ของ สศช.)

30. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พ.ศ. 2564 ได้แก่ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ และโครงการ              ม. 33 เรารักกัน รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของภาครัฐ [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (17 มิถุนายน 2545) ที่มอบหมายให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) จัดเก็บข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลัก ๆ ของรัฐบาล แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ] โดย สสช. ได้สอบถามประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 9,000 คน ระหว่างวันที่ 8-15 มีนาคม 2564 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
                              1.1 การรับรู้/รับทราบมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐ ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99.7) ระบุว่ารับรู้ /รับทราบ และมีเพียงร้อยละ 0.3 ที่ไม่รับรู้/ไม่รับทราบ โดยให้เหตุผล เช่น ไม่สนใจ และไม่มีเวลา/ไม่ว่าง
                              1.2 การเข้าร่วมโครงการตามมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐ
โครงการ          การเข้าร่วมโครงการ (ร้อยละ)          เหตุผลที่ไม่เข้าร่วมโครงการ            (3 อันดับแรก)
          เข้าร่วม          ไม่เข้าร่วม
เราเที่ยวด้วยกัน          10.6          89.4          1) ไม่สนใจ
2) การใช้งานยุ่งยาก
3) ไม่เข้าใจเงื่อนไขโครงการ
คนละครึ่ง          36.6          63.4          1) ลงทะเบียนไม่ทัน/สิทธิเต็ม
2) ไม่อยู่ในเงื่อนไขโครงการ
3) ไม่เข้าใจเงื่อนไขโครงการ
เราชนะ           62.1          37.9          1) ไม่อยู่ในเงื่อนไขโครงการ
2) ลงทะเบียนไม่ทัน
3) ไม่เดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่าย
ม. 33 เรารักกัน          20.0          80.0          1) ไม่อยู่ในเงื่อนไขโครงการ
2) ได้รับสิทธิเราชนะแล้ว
3) ไม่เดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่าย

                              1.3 ความพึงพอใจโดยรวมต่อมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐ พบว่า ประชาชนร้อยละ 81.2 มีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 15.9 พึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 2.3 พึงพอใจน้อย-น้อยที่สุด และร้อยละ 0.6 ไม่พึงพอใจ ทั้งนี้ ประชาชนมีระดับความพึงพอใจต่อโครงการต่าง ๆ และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
โครงการ          ระดับความพึงพอใจ (ร้อยละ)          ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม                (3 อันดับแรก)
          มาก-มากที่สุด          ปานกลาง          น้อย ? น้อยที่สุด          ไม่พึงพอใจ
เราเที่ยวด้วยกัน          59.9          34.2          5.3          0.6          1) ควรให้สิทธิแก่ทุกคนโดย              ไม่ต้องลงทะเบียน
2) ควรขยายระยะเวลาใช้            บริการ
3) ควรให้เป็นเงินสดเพื่อนำไปใช้บริการ
คนละครึ่ง          82.7          15.8          1.4          0.1          1) ควรให้ทุกคนรับสิทธิเยียวยา
2) ควรเพิ่มวงเงิน
3) ควรให้เป็นเงินสด
เราชนะ           86.7          12.3          0.9          0.1
ม. 33 เรารักกัน          67.8          29.1          2.8          0.3

                              1.4 มาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐที่ต้องการให้ดำเนินการต่อไป
มากที่สุด ได้แก่ โครงการเราชนะ (ร้อยละ 62.9) โครงการคนละครึ่ง (ร้อยละ 26.3) โครงการ ม. 33 เรารักกัน (ร้อยละ 6.1) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ร้อยละ 1.7) และโครงการเราเที่ยวด้วยกัน (ร้อยละ 0.6)
                              1.5 การดำเนินการเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของภาครัฐ พบว่าประชาชนร้อยละ 60.7 มีความพร้อม ร้อยละ 39.3 ไม่พร้อม โดยให้เหตุผล เช่น ไม่มั่นใจในความปลอดภัย กลัวฉีดแล้วมีอาการแพ้ และต้องการดูผลที่เกิดขึ้นจากการฉีดของคนอื่นก่อน ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการดำเนินการจัดหาวัคชีนโควิด-19 ของภาครัฐในระดับมาก-มากที่สุด
(ร้อยละ 66.3)
                    2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สสช. มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
                              2.1 ควรเพิ่มมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง เช่น ควรเพิ่มวงเงินมากกว่าประชาชนกลุ่มอื่น
                              2.2 ควรให้ทุกคนได้รับสิทธิในการเยียวยา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบกับประชาชนทุกคนและทุกระดับ ทั้งนี้ ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือไม่ควรยุ่งยากและซับซ้อน เช่น การให้เป็นเงินสดโดยไม่ต้องลงทะเบียน
                              2.3 ควรส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่ในราคาย่อมเยา  รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัลให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ลดราคาสินค้าสำหรับผู้ที่ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์

31. เรื่อง  การถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้
          เรื่องเดิม
             1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ให้กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำหลักการ ?บวร : บ้าน วัด โรงเรียน? ซึ่งถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทใกล้ชิดต่อวิถีชีวิตของคนไทยไปขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นแหล่งปลูกฝัง บ่มเพาะ และเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประโยชน์ เพื่อพัฒนาจิตใจและจิตสำนึกด้านจริยธรรมให้แก่ประชาชนทุกระดับให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม รู้รักสามัคคี เสียสละ และกตัญญูรู้คุณ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของคนไทยที่ควรธำรงรักษาไว้ รวมทั้ง ให้เป็นแหล่งกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและเข้าถึงโครงการต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
2. รัฐบาลได้กำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580) เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศให้บรรลุวิสัยทัศน์ ?ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง? โดยการบูรณาการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อยกระดับรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมสร้างความสุขสู่สังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เล็งเห็นความสำคัญของการนำหลักการ ?บวร? ควบคู่กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง                   สู่สังคมดี จึงได้ดำเนินการถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีน เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาสังคม
           สาระสำคัญ ข้อเท็จจริง
                                 1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีนเพื่อศึกษาวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันของชุมชนพึ่งพากันในพหุวัฒนธรรม บทบาทหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลสมาชิกให้มีภูมิคุ้มกัน และพึ่งตนเอง ในมิติทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และปัจจัยความสำเร็จชุมชนจัดการตนเอง โดยไม่ทิ้งรากเหง้าและคุณค่าเดิมของชุมชน จากข้อมูลการถอดบทเรียนในครั้งนี้ จะเป็นต้นแบบ (Model) เพื่อขยายผล ประยุกต์ใช้ และต่อยอดไปสู่การพัฒนาชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดย พม. ได้จัดประชุมเพื่อหาแนวทางการถอดบทเรียน และสรุปผลการถอดบทเรียนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อดำเนินการถอดบทเรียน
                    2. ผลการถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีน
                                        ชุมชนย่านกะดีจีน เป็นชุมชนต้นแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในการนำหลักการ ?บวร? มาใช้ในการดำรงชีวิตร่วมกันในบริบทความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ และประเพณี เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ดังนี้
2.1 การถอดรหัสความสำเร็จ (Key Success) ของชุมชนย่านกะดีจีน : ต้นแบบชุมชนเข้มแข็งด้านการพัฒนาสังคม ด้วยหลักการ ?บวร?
ชุมชนย่านกะดีจีน เป็นชุมชนหนึ่งที่มีการนำหลักการ ?บวร? มาใช้ในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อพัฒนาสังคม และดูแลประชาชนกลุ่มเป้าหมายในทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งมีปัจจัยความสำเร็จเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนย่านกะดีจีน ดังนี้
1) ปัจจัยด้านครอบครัวและชุมชน ได้ส่งเสริมบทบาทของครอบครัว และชุมชนในการจัดสวัสดิการสังคมและพัฒนาสังคม ได้แก่
(1) การดูแลกลุ่มเปราะบาง มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ชุมชนมีวิธีการบริหารจัดการดูแลกลุ่มเปราะบางในทุกช่วงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประสานงานร่วมกับหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เช่น ศาลเจ้าเกียนอันเกง มีการขอรับริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคสำหรับกลุ่มเปราะบาง และให้โรงเรียน สำนักงานเขต สถานีตำรวจ
เป็นผู้พิจารณาในการแจกจ่ายตามความเหมาะสม รวมถึงศูนย์บริการสาธารณสุข 26 เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) มีการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง
(2) ผู้นำชุมชนเข้มแข็งและมีวิสัยทัศน์ ประธานชุมชนในย่านกะดีจีน 6 ชุมชน เป็นผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนา เสียสละในการทำงาน มีทักษะในการประสานภาคีเครือข่าย อาทิ ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ให้เข้ามาเปลี่ยนแปลงชุมชน รวมทั้งเป็นผู้จุดประกายให้คนในชุมชนมีการตระหนักและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนชุมชนเกิดความตระหนัก หวงแหน และรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ในชุมชน
(3) การจัดกิจกรรมสัมพันธ์ในชุมชนพหุวัฒนธรรม เป็นการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างคนในชุมชนที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม อย่างผสมผสานกลมกลืนกัน เปรียบเสมือนการแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง ซึ่งมีวัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ร่วมกันโดยวัดประยุรวงศา            วาสวรวิหาร ได้มีการจัดทำโครงการที่มีเป้าหมายให้ทุกศาสนาเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งงานสมโภชพระอาราม งานสงกรานต์ งานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน งานแห่พระบรมสารีริกธาตุทางน้ำ งานลอยกระทง ซึ่งให้คนในชุมชนนำสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคมาวางจำหน่ายในวัด โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนั้น มีการจัดงานผ้าป่าวัฒนธรรม 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ
2) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและศาสนา เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันในการฟื้นฟูและรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม จนทำให้มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรมและศาสนา ที่ส่งผลให้คนในชุมชนสามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้ จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการใช้ภูมิปัญญาของชุมชนได้อย่างชัดเจน ได้แก่
(1) ผู้นำทางศาสนา ชุมชนมีแนวคิดเชื่อมโยงความหลากหลายทางศาสนาให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ปลูกฝัง บ่มเพาะ ให้กับคนในชุมชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน มีวินัย สามัคคี และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
(2) การฟื้นฟูและรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชุมชน เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนมธรรมเนียมประเพณี อาทิ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 1 ด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม จากองค์การยูเนสโก โบราณสถานศาลเจ้าเกียนอันเกง ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2561 ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม ศาลเจ้าแห่งนี้ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงจัดงานวันอาเนี่ยแซแบบไม่เต็มรูปแบบ โดยคำนึงถึงความพอดีและพอประมาณแต่คงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(3) การใช้ภูมิปัญญาชุมชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้  โดยการเปิดร้านอาหารสยาม-โปรตุเกส ที่มี 1 เดียวในประเทศไทย และอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เป็นหนึ่งเดียว คือ ขนมฝรั่งกุฎีจีน
3) ปัจจัยด้านเครือข่ายชุมชน เป็นการส่งเสริมให้เครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมจัดสวัสดิการสังคมให้แก่คนทุกช่วงวัยในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
(1) อาสาสมัครดูแลคนในชุมชน ประกอบด้วย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) อาสาสมัครยุติธรรม (อสย.) อาสาสมัครคุมประพฤติ (อสค.) อาสาสมัครตำรวจบ้าน (อส.ตร.) อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด และอาสาสมัครด้านศาสนา (ศาสนาคริสต์) รวมจำนวน 129 ราย มีบทบาทในการเป็นจิตอาสาดูแลชุมชน อาทิ การดูแลผู้ติดเตียง ผู้สูงอายุ คนพิการยากลำบาก การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน และการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(2) สภาองค์กรชุมชน ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายเข้ามาหนุนเสริมการจัดสวัสดิการชุมชนให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เน้นการพัฒนาและขยายฐานสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนจากผู้นำชุมชนสู่การขยายสมาชิกเพิ่มในชุมชน เพื่อให้เข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานดูแลตั้งแต่เกิดจนตาย
(3) ภาคีเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมในชุมชน (มหาวิทยาลัย/โรงเรียน หน่วยงานราชการ และภาคเอกชน) โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1) การสร้างอาชีพ สร้างรายได้
โดยส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ภูมิปัญญาชุมชน 2) การส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน อาทิ กิจกรรมเยาวชนเจ้าบ้านสืบสานวัฒนธรรม กิจกรรมมอบทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน กิจกรรมอบรมเด็กและเยาวชนภาคฤดูร้อน 3) การพัฒนาที่อยู่อาศัย อาทิ การซ่อมแซมบ้านผู้มีรายได้น้อย โครงการบ้านมั่นคง รวมทั้งการจัดงาน ?ศิลป์ในซอย? ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่               4) การท่องเที่ยว อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี อาทิ กิจกรรมอนุรักษ์ศาสนสถาน กิจกรรมประกวดอาหาร             3 ศาสนา กิจกรรมงดสูบบุหรี่ในศาสนสถาน กิจกรรมการปั่นจักรยานเที่ยวบวร On Tour ย่านกะดีจีน การพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นต้อนรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดกิจกรรมทอดน่องล่องเรือของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 5) การพัฒนาชุมชน โดยการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และ 6) การป้องกันปัญหายาเสพติด โดยชุมชนได้มีการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดร่วมกับสถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม ด้วยการส่งผู้ติดยาเสพติดไปรับการบำบัดรักษา และเสริมพลังให้เป็น อปพร. เพื่อการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในชุมชน รวมทั้งช่วยเหลือทางด้านการเงินและอาชีพ ทำให้สามารถอยู่ในชุมชนได้อย่างปกติสุข และไม่มีปัญหายาเสพติด ซึ่งในปี 2555 เคยมีการจับกุม จำนวน 10 ราย แต่ปัจจุบันไม่มีคดียาเสพติดในชุมชน
ดังนั้น ชุมชนย่านกะดีจีน จึงเป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งด้วยหลักหุ้นส่วนสามประสาน (บวร) เน้นการจัดการตนเองโดยไม่ทิ้งรากเหง้า วิถีชีวิต และวัฒนธรรมเดิมของชุมชนนำไปสู่สังคมดี ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รวมทั้งเป็นชุมชนที่มีองค์ประกอบที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ และเป็นต้นแบบให้กับทุกชุมชนในประเทศไทย
2.2 แนวทางการขับเคลื่อนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : สร้างชุมชนเข้มแข็ง สู่สังคมดี ด้วยหลักการ ?บวร?
ชุมชนย่านกะดีจีน เป็นรูปแบบของการพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ด้วยการใช้หลักการบวรในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อพัฒนาสังคม และดูแลประชาชนกลุ่มเป้าหมายในทุกช่วงวัยให้ได้รับสวัสดิการและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการนำรูปแบบชุมชนเข้มแข็งย่านกะดีจีนมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง สู่สังคมดี ด้วยหลักการ ?บวร? ดังนี้
1) ศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนในบริบทพื้นที่เพื่อค้นหาทุนชุมชน โดยมี
การค้นหาจุดเด่นของชุมชนจากทุนชุมชนที่มีอยู่ ทั้งทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ และทุนธรรมชาติ
เช่น ผู้นำในชุมชน ภูมิปัญญาของชุมชน ผลิตภัณฑ์ของชุมชน และอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
ซึ่งทุนชุมชนเหล่านี้จะเป็นปัจจัยในการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และดูแลกลุ่มเปราะบางในชุมชนได้อย่างชัดเจน ซึ่งทีมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัด (One Home) จะดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                                                                2) เชื่อมหลักการ ?บวร? และ ?หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง?
ตามบริบทพื้นที่ ชุมชนต้องมีการใช้หลักการ ?บวร? มาเชื่อมโยงกับ ?หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง? ในการพัฒนาชุมชน
                                                                          3) พัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่
เพื่อพัฒนาและดูแลคนทุกช่วงวัยให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จะมีการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมชุมชน เพื่อพัฒนาและดูแลคนทุกช่วงวัยในการจัดกิจกรรมชุมชนร่วมกัน นำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน 5 มิติ ได้แก่ ด้านการศึกษา อาชีพ/รายได้ สุขภาพ ที่อยู่อาศัย และการเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ

32. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 387,325,102 บาท ให้กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID ? 19) ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ประกอบด้วย
                    1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง จำนวน 206,865,255 บาท สำหรับ 3 หน่วยงาน ดังนี้
                              1) กองทัพบก                    จำนวน                    188,264,375          บาท
                              2) กองทัพเรือ                    จำนวน                      10,186,200          บาท
                              3) กองทัพอากาศ          จำนวน                        8,414,680          บาท
                    2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรการสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายบริเวณชายแดนด้านทิศตะวันตก จำนวน 79,866,004 บาท สำหรับ 2 หน่วยงาน ดังนี้
                              1) กองทัพบก                    จำนวน             69,077,656          บาท
                               2) กองทัพเรือ                    จำนวน                      10,788,348          บาท
                    3. ค่าใช้จ่ายในการเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลสนาม จำนวน 100,593,843 บาท สำหรับ 3 หน่วยงาน ดังนี้
                              1) กองทัพบก                    จำนวน                      40,758,673          บาท
                              2) กองทัพเรือ                    จำนวน                      55,804,070          บาท
                              3) กองทัพอากาศ          จำนวน                        4,031,100           บาท

33. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2564 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ที่ได้พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี) รวมทั้งมาตรา           4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ดังนี้
                    1. รับทราบผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564
                    2. อนุมัติให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ปรับปรุงรายละเอียดโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน โดยปรับลดจำนวนกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ จาก 260,000 คน เป็น 50,000 คน หรือลดลงประมาณ 210,000 คน และปรับลดกรอบวงเงินของโครงการฯ จากเดิม 19,462.0017 ล้านบาท เป็น 3,209.7989ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 16,252.2028 ล้านบาท ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ทั้งนี้ เห็นควรให้กระทรวงแรงงานกำกับการดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้และเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการฯ ในระบบ eMENSCR โดยเร็ว
                    ทั้งนี้ จากการรายงานผลการดำเนินงานของกรมการจัดหางาน รง. สามารถสรุปสาเหตุสำคัญที่ทำให้โครงการฯ มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมายเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ส่งผลให้ความต้องการจ้างงานในตลาดแรงงานอยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ กรมการจัดหางาน พิจารณาแล้วเห็นควรปรับจำนวนเป้าหมายจากเดิม 260,000 คน เป็น 50,000 คน (ปรับลดลง 210,000 คน) เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งส่งผลกระทบให้นายจ้าง/สถานประกอบการลดจำนวนการจ้างงาน รวมถึงความต้องการของนายจ้างและผู้จบการศึกษาใหม่ไม่สอดคล้องกัน โดยส่วนใหญ่สถานประกอบการต้องการจ้างงานในตำแหน่งฝ่ายผลิตหรือภาคบริการ แต่ผู้จบการศึกษาใหม่มีความต้องการทำงานในสำนักงาน และจากการปรับจำนวนกลุ่มเป้าหมายลงเหลือ 50,000 คน กรมการจัดหางานคาดว่าจะมีการใช้งบประมาณโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 3,209.7989 ล้านบาท ลดลงจาก 19,462.0017 ล้านบาท (หรือลดลงประมาณ 16,252.2028 ล้านบาท)

34. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
                     1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2564 ลดลงร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสแรกของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ร้อยละ 0.2 (QoQ_SA)
                               1.1 ด้านการใช้จ่าย มีแรงสนับสนุนสำคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออก สินค้าและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการขยายตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายรัฐบาลและการขยายตัวเร่งขึ้น ของการลงทุนภาครัฐ ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกบริการลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบ จากการระบาดของโรคโควิด-19 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนลดลงต่อเนื่อง ร้อยละ 10.8 ตามการลดลงของการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือน อุปกรณ์ครัวเรือนและการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และหมวดเสื้อผ้าและรองเท้า การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 8.0 ตามการลดลงของการซื้อ ยานพาหนะร้อยละ 4.2 ในขณะที่การใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 0.3 ชะลอลงจากการขยายตัว ร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวในกลุ่มบริการสุขภาพ และกลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย  การใช้น้ำประปา ไฟฟ้าและพลังงาน การใช้จ่ายกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรม ลดลงต่อเนื่อง ส่วนการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 2.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเร่งตัวขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์  ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยการปรับตัวลดลงของการบริโภคภาคเอกชน ในไตรมาสนี้สอดคล้องกับการลดลงของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งอยู่ที่ระดับ 42.5 จากระดับ 44.3 ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจายค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) ค่าซื้อสินค้าและบริการ และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาด ขยายตัวร้อยละ 1.2 ร้อยละ 5.7 และร้อยละ 2.0 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณ รายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 20.0 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 32.8 ในไตรมาสก่อนหน้าและ ร้อยละ 28.2 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 7.3 ปรับตัวดีขึ้นมาก จากการลดลงร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรก ในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 3.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า (การลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 3.8 และการลงทุนในสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.4) ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว ในเกณฑ์สูงร้อยละ 19.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 28.4 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำในปี 2563 ส่วนการลงทุนรัฐวิสาหกิจขยายตัว ร้อยละ 9.3 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 13.3  (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 11.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 11.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า)
                                1.2 ด้านภาคต่างประเทศ
                                         1.2.1 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 64,004 ล้านดอลลาร์ กลับมาขยายตัว เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาสร้อยละ 5.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้าสอดคล้องกับการฟื้นตัวที่ชัดเจนของเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในตลาดโลก โดยปริมาณและราคาส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และร้อยละ 2.1 ตำมลำดับ กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 17.3) รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 13.2) รถกระบะ (ร้อยละ 44.8) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 17.7) ปิโตรเคมี (ร้อยละ 23.8) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 5.7) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ร้อยละ 13.9) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 53.1) ยางพารา (ร้อยละ 38.1) และมันสำปะหลัง (ร้อยละ 72.5) เป็นต้น กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 5.0) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 6.0) ข้าว (ลดลงร้อยละ 21.9) และน้ำตาล (ลดลงร้อยละ 47.6)  การส่งออกสินค้าไปยังตลาดส่งออกหลักขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (9) และ ตะวันออกกลาง (15) ลดลงในอัตราที่ชะลอลง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว  มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 11.8 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัว ร้อยละ 1.9 ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 56,615 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 9.5 เทียบกับการลดลง ร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณและราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ
                               1.3 ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสาขากาก่อสร้างกลับมาขยายตัว ในขณะที่สาขาเกษตร สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร และสาขาการเงินขยายตัวต่อเนื่อง  ส่วนการผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาไฟฟ้าและก๊าซ และสาขาการขายส่งการขายปลีกและการซ่อมแซมฯ ลดลงต่อเนื่อง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 1.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตหมวดพืชผลสำคัญ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่เพิ่มขึ้น เช่น ข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 กลุ่มไม้ผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เป็นต้น  ส่วนผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลง เช่น อ้อยลดลงร้อยละ 9.7 และปาล์มน้ำมันลดลงร้อยละ 7.3 เป็นต้น และหมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 13 ร้อยละ 2.7 ในขณะที่หมวดประมงปรับตัวลดลง ร้อยละ 13.2 เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น ไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 9.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 11.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตร ที่เพิ่มขึ้น เช่น ราคายางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 ราคากลุ่มไม้ผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ราคาอ้อยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.4 ราคาสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และราคาปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม  ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ข้าวเปลือกลดลงร้อยละ 7.2 และราคาไก่เนื้อ ลดลงร้อยละ 11.1 เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของทั้งดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 10.8 สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม  กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาสร้อยละ 0.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.7 ในไตรมาส ก่อนหน้า ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศและอุตสาหกรรม กลุ่มการผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ขยายตัวร้อยละ 1.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) กลับมาขยายตัวอย่างช้า ๆ เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาสร้อยละ 0.6 เทียบกับการลดลงต่อเนื่องร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 ? 60 ลดลงร้อยละ 0.5 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 67.09 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.77  ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 66.94 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ร้อยละ 14.7) การผลิตเฟอร์นิเจอร์ (ร้อยละ 29.3) และการผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ร้อยละ 10.9) เป็นต้น ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 13.9) การผลิต เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ยกเว้นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า) (ลดลงร้อยละ 17.5) และการทอผ้า (ลดลงร้อยละ 17.2) เป็นต้น สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ลดลงร้อยละ 35.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 35.2  ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงมากอย่างต่อเนื่องของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศร้อยละ 99.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 0.093 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 51.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 45.1 ในไตรมาส ก่อนหน้า ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการเปิดประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA: STV) ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจำนวน 20,172 คน (รวมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Thailand Privilege Card) อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 16.15 ลดลงจาก ร้อยละ 32.49 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 52.40 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ลดลงร้อยละ 17.7 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 21.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของบริการขนส่งซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยบริการขนส่ง ทางอากาศลดลงร้อยละ 61.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 68.1 ในไตรมาสก่อนหน้า บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงลดลงร้อยละ 11.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 12.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และบริการขนส่งทางน้ำ ลดลงร้อยละ 3.2 ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 18.7 ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการลดลง ร้อยละ 22.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และบริการไปรษณีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 ต่อเนื่องจากการขยายตัว ร้อยละ 27.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับรายรับของผู้ประกอบการที่ขยายตัวต่อเนื่องในเกณฑ์สูง
                               1.4 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (7.71 หมื่นล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 1.9 ของ GDP เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 อยู่ที่ 2.46 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,472,187.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 53.3 ของ GDP
                     2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2564
                     เศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 ? 2.5 ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ  จากการลดลงร้อยละ 6.1 ในปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณ การค้าโลก (2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ และ (3) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติ ในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 10.3 ขณะที่การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 1.6 และร้อยละ 4.3 ตามลำดับ  ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 ? 2.0 และ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.7 ของ GDP
                     รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2564 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
                               2.1 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.0 ในปี 2563 แต่เป็นการปรับลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ภายในประเทศที่มีความรุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังพฤติกรรม การใช้จ่ายที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมทั้งรัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ที่เข้มงวดในบางพื้นที่ สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนเมษายนที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 40.3 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.1 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน และเร่งขึ้นจากร้อยละ 0.8 ในปี 2563 สอดคล้องกับสมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ร้อยละ 98.0 ของวงเงินงบประมาณ และการเบิกจ่ายสะสมภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 จากร้อยละ 80 ของวงเงินกู้ เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน
                                2.2 การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.8 ในปี 2563 และเป็นการปรับลดจากร้อยละ 5.7 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยคาดว่าการลงทุนภาครัฐ จะขยายตัวร้อยละ 9.3 ปรับลดจากร้อยละ 10.7 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับลดสมมติฐาน อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 จากร้อยละ 75 ในการประมาณการครั้งก่อน เป็นร้อยละ 70 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลอัตราการเบิกจ่ายในครึ่งแรกของปีงบประมาณ ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าในสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ส่วนการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 8.4 ในปี 2563 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ และการค้าโลก
                               2.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 10.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.6 ในปี 2563 และเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 5.8 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 7.3 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมทั้งการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาส่งออกสินค้าตามสมมติฐานราคาน้ำมัน ในตลาดโลกและแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกบริการลดลง จากการประมาณการครั้งที่ผ่านมาตามการปรับลดสมมติฐานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในปี 2564 จาก 3.2 ล้านคนเป็น 5 แสนคน เมื่อรวมกับการปรับเพิ่มประมาณการการส่งออกสินค้า ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการรวมขยายตัวร้อยละ 1.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.2 ในการประมาณการครั้งก่อนและการลดลงร้อยละ 19.4 ในปี 2563
                     3. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2564
                                การบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2564 ควรให้คความสำคัญกับ
                               (1) การควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศเพื่อให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงและอยู่ในวงจำกัดโดยเร็ว และการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงในระลอกใหม่ โดยมุ่งเน้น (i) การบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคและป้องกันการระบาดของภาครัฐอย่างเคร่งครัด  ควบคู่ไปกับการยกระดับกระบวนการเฝ้าระวังสอบสวนโรคเชิงรุก โดยเฉพาะการเร่งรัดการตรวจเชิงรุกในเขตพื้นที่หรือชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงในกรุงเทพฯ หรือเขตเมือง           ต่าง ๆ ที่ยังคงเผชิญกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดรุนแรง รวมทั้งการดูแลและควบคุมกิจกรรมและกิจการบางประเภทที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของการระบาดของโรคอย่างเข้มงวด และการป้องกันการนำเข้าเชื้อไวรัสกลายพันธุ์เพิ่มเติมโดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้ที่เดินทางข้ามชายแดน (ii) การเร่งรัดจัดหาและกระจายวัคซีนให้กับประชาชน อย่างครอบคลุมทั่วถึงและเพียงพอเพื่อให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โดยการจัดลำดับความสำคัญตามหลักการสาธารณสุขในการกระจายให้กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่เศรษฐกิจทั้งในภาคการท่องเที่ยวและภาคการผลิตที่สำคัญ  รวมทั้งมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (iii) การพัฒนาศักยภาพของระบบสาธารณสุข ให้เพียงพอต่อการรองรับการแพร่ระบาดในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และ (iv) การเร่งประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนให้แก่ประชาชนเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ในการเข้ารับวัคซีน รวมถึงการรณรงค์เกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติและดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันการกลับมาแพร่ระบาดระลอกใหม่และลดโอกาสการกลับมาติดเชื้อซ้ำภายหลังได้รับวัคซีนแล้ว
                               (2) การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดและมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประกอบด้วย (i) การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินและการคลังที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนมาตรการเดิมให้ตอบสนอง ภาคเศรษฐกิจและพื้นที่เศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด (ii) การพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคแรงงานผ่านมาตรการรักษาระดับการจ้างงานให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรกราร สร้างงานใหม่และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงาน และ (iii) การพิจารณาดำเนินมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไปภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง
                               (3) การขับเคลื่อน การส่งออกสินค้า เพื่อสร้างรายได้จากต่างประเทศและสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุน ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับ (i) การขับเคลื่อนการส่งออกไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ (ii) การเร่งรัดยกระดับการผลิตสินค้า เกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้ำ  (iii) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการพัฒนา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญ ๆ ในลักษณะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์หรือพหุภาคี (iv) การเร่งรัด การเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ ๆ เช่น สหภาพยุโรป (EU) สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) และสหราชอาณาจักรภายหลัง Brexit รวมทั้งการให้ความสำคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ ที่อาจถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือสำหรับ การดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า และ (v) การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                               (4) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ในช่วงปี 2561-2563 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม เป้าหมายของการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศ (ii) การแก้ไขปัญหา ที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจในประเทศไทย เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการลงทุนและดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมจากทั้งภาคเอกชนของไทยและต่างประเทศ อาทิ ข้อจำกัดและอุปสรรคในการทำงานและการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยสนับสนุนในการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ (iii) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม เป้าหมายเพื่อให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น (iv) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) 10 จังหวัด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น (v) การให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน และ (vi) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่สำคัญ ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและภาคบริการที่สำคัญ ๆ เพื่อยกระดับศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว
                               (5) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยการเร่งรัดการเบิกจ่าย (i) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92.5 แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำ ร้อยละ 98.0 และงบลงทุนร้อยละ 70.0 (ii) งบเหลื่อมปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85.0 (iii) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70.0 และ (iv) แผนงานและโครงการตามพระราชกำหนดฯ เงินกู้วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ให้มีการเบิกจ่ายสะสม ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.0 ของวงเงินกู้
                               (6) การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อให้ภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ทันทีที่มีการกระจายวัคซีนทั้งในและต่างประเทศที่เป็นแหล่งต้นทางของนักท่องเที่ยว ครอบคลุมเป็นวงกว้างและเพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ โดยควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาจัดสรรและกระจายวัคซีนให้แก่พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว นำร่องในจำนวนที่เพียงพอควบคู่ไปกับการพิจารณาเตรียมความพร้อมของพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งในด้านระบบรองรับการเฝ้าระวังสอบสวนโรค การปรับปรุงที่พักและแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความปลอดภัยด้านสาธารณสุขและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเตรียมระบบสนับสนุนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการเดินทาง และการปรับปรุงการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ
                                (7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19


ต่างประเทศ

35.  เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. .... และการเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
                   1. เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ (Multilateral Competent Authority Agreement on Automatic Exchange of Financial Account Information : MCAA CRS) แบบส่งและรับข้อมูลแบบต่างตอบแทนกับประเทศคู่สัญญา (Reciprocal)
                   2. เห็นชอบร่างความตกลงพหุภาคี ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ (Multilateral Competent Authority Agreement on Automatic Exchange of Financial Account Information : MCAA CRS)
                   3. เห็นชอบให้กระทรวงการคลังมีหนังสือถึงองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Cooperation and Development : OECD) เพื่อแจ้งความจำนงในการลงนามเข้าเป็นภาคีความตกลงดังกล่าว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างความตกลง MCAA CRS มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐภาคีตามความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี (ความตกลง MAC) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติตามมาตรฐานสากล CRS (Common Reporting Standard) ประกอบด้วยข้อมูลที่ต้องแลกเปลี่ยนสำหรับบัญชีทางการเงินที่เข้าข่ายต้องรายงาน ระยะเวลาและรูปแบบในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล การปฏิบัติตามข้อกำหนดในการรายงานหรือตรวจสอบข้อมูล การบังคับใช้และการแก้ไขเพิ่มเติมความตกลง โดยความตกลง MCAA CRS จะมีผลใช้บังคับภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแจ้งต่อ OECD เพื่อแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน

36. เรื่อง รายงานการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 15 การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการประชุมทางไกล
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 15 การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ 10 ? 12 มีนาคม 2564 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (2 มีนาคม 2564) เห็นชอบให้สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) โดยกรมประชาสัมพันธ์ (กปส) ดำเนินการจัดการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 15 การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+ 3 ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล] โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) โดยกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) เสนอ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                   1. การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 15 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                             1.1 รัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนได้กล่าวถ้อยแถลงภายใต้หัวข้อการประชุม ?อาเซียน ประชาคมดิจิทัล ที่ครอบคลุมพลเมืองอาเซียนทุกกลุ่ม? โดยประเทศไทย ในฐานะประธานด้านสื่อและสารนิเทศอาเซียน ได้กล่าวถึงมุมมอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนในการยกระดับทักษะด้านดิจิทัลสำหรับพลเมืองอาเซียน และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสื่อสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง รวมถึงความสำเร็จของประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านการส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิทัล การให้บริการโทรทัศน์เพื่อคนพิการ การสื่อสารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล
                             1.2 สำนักเลขาธิการอาเซียนได้เสนอแนวทางการทำงานด้านสื่อและการประชาสัมพันธ์ 5 ข้อ แก่ประเทศสมาชิก ได้แก่ (1) การใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การสื่อสาร (2) การเพิ่มขีดความสามารถของสื่อดิจิทัลและการสื่อสารสาธารณะ (3) การแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมและการเข้าถึงการบริการดิจิทัลในพื้นที่นอกเขตเมือง (4) การกำหนดความหมายเชิงลึกของการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งแม้ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ แต่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมให้มีการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างยั่งยืน และ (5) การสร้างแพลตฟอร์ม สำหรับการหารือกับประเทศคู่เจรจา+1 และประเทศคู่เจรจา+3 (Plus One and Plus Three Partner Platforms) เพื่อส่งเสริมให้มีช่องทางสื่อสารที่มีนวัตกรรมและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์มากยิ่งขึ้น
                             1.3 ที่ประชุมรับทราบผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 17 และครั้งที่ 18 ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน สาธารณรัฐสิงคโปร์ และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงานต่อที่ประชุมว่า เจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียนได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์หลักทั้ง 4 ข้อ โดยร้อยละ 37 เป็นโครงการภายใต้กลยุทธ์ที่ 1 การส่งเสริมความร่วมมือ ความตกลง และการเข้าถึงสื่อ
                             1.4 ที่ประชุมรับรองเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ กรอบความร่วมมือเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านดิจิทัลสำหรับพลเมืองอาเซียน และกรอบความร่วมมือของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล สำหรับแถลงการณ์ร่วมกันของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน (Joint Media Statement)
                   2. การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 6 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                             2.1 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมฯ ได้กล่าวเปิดการประชุม โดยยกตัวอย่างความร่วมมือสำคัญระหว่างอาเซียนและประเทศคู่เจรจา+3 ได้แก่ ปีแห่งการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชนอาเซียน-จีน การร่วมพัฒนาเทคโนโลยี การออกอากาศระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น และความร่วมมือด้านภาพยนตร์อาเซียน-เกาหลี และเชื่อมั่นว่าอาเซียนและประเทศคู่เจรจา+3 จะสานต่อความร่วมมือที่แข็งแกร่งโดยยึดค่านิยมหลักของการได้รับประโยชน์ร่วมกัน และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ทั้งดีและร้าย เพื่อนำพาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู่การเป็นประชาคมสำหรับคนทุกกลุ่ม
                             2.2 รัฐมนตรีสารนิเทศประเทศคู่เจรจา+3 ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                                      2.2.1 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านสื่อระหว่างอาเซียนและประเทศคู่เจรจา+3 โดยมีข้อเสนอแนะ 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การพัฒนาความร่วมมือและสร้างความเชื่อมั่นในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (2) การประสานนโยบายที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาในประเด็นที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และ (3) การทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาการสื่อสารและสร้างประชาคมดิจิทัลสำหรับทุกคนโดยสาธารณรัฐประชาชนจีนยินดีต้อนรับสื่อมวลชนจากทั่วโลกในการเข้าร่วมเส้นทางสายไหมด้านเครือข่ายข้อมูลข่าวสารและเครือข่ายสื่อสารมวลชน
                                      2.2.2 ญี่ปุ่นได้แสดงความตั้งใจที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านระบบและเนื้อหารายการโทรทัศน์มากขึ้น และนำเสนอนโยบายด้านสื่อและสารนิเทศสำหรับชาวญี่ปุ่นทั้งด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร การสื่อสารภาพที่มีความคมชัดสูงระดับ 4K และ 8K ผ่านระบบ 5G และการส่งเสริมการสื่อสารที่ครอบคลุมในพื้นที่ห่างไกล
                                      2.2.3 สาธารณรัฐเกาหลีได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผลกระทบจากข่าวลวง ได้แก่ การสนับสนุนการผลิตข้อมูลข่าวสารโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและส่งเสริมความรู้ความสามารถด้านสื่อสารมวลชนดิจิทัล (Digital Journalism) แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสื่อและการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบของข่าวลวงและการรู้เท่าทันสื่อ
                             2.3 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงานผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 6 และแผนงานการส่งเสริมความร่วมมือด้านสื่อและสนเทศระหว่างอาเซียนและคู่เจรจา+3  พ.ศ. 2561 ? 2566 โดยสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้เสนอตัวเป็นประเทศที่จะเสนอโครงการภายใต้ความร่วมมือด้านสื่อและสนเทศระหว่างอาเซียนและคู่เจรจา+3
                   3. การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 และการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 7 มีกำหนดจะจัดขึ้น ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในปี 2566

37. เรื่อง ผลการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 9
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ผลการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 9  (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ทั้งนี้ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กต. รายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                   1. ปฏิญญาพนมเปญของการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 9 มีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 อย่างไรก็ตามมีการเพิ่มประเด็น ดังนี้
                             1.1 แสดงความห่วงใยและกังวลถึงผลกระทบจากภาวะภัยแล้งในปี 2562 และ 2563 ซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร ระบบนิเวศ และสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน
                             1.2 ย้ำความสำคัญในการยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของ ACMECS กับองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ในการสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
                             1.3 เห็นชอบข้อเสนอของประเทศไทย (ไทย) ในการผลักดันหลักการใหม่เรื่อง ?อนุภูมิภาคที่มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้? ให้เป็นอีกหนึ่งสาขาความร่วมมือของแผนแม่บท ACMECS ระยะ 5 ปี
                             1.4 เสนอให้รัฐมนตรีท่องเที่ยว ACMECS พัฒนาแผนการส่งเสริมโครงการร่วมด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและครอบคลุมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากโควิด-19
                             1.5 แสวงหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งรวมถึงข้อเสนอของไทยในการตั้งสำนักเลขาธิการ ACMECS
                             1.6 ย้ำเจตนารมณ์ของผู้นำที่ระบุในปฏิญญากรุงเทพ ค.ศ. 2018 เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนา ACMECS เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนาในอนุภูมิภาค รวมถึงยินดีต่อการสนับสนุนเงินทุนตั้งต้นที่ไทยได้ประกาศไว้แล้ว 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
                             1.7 รับทราบข้อเสนอของญี่ปุ่นในการจัดการประชุมผู้นำ ACMECS สมัยพิเศษ ที่กรุงโตเกียว ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (ประมาณเดือนกันยายน ? พฤศจิกายน) ปี 2564
                             ทั้งนี้ปฏิญญาพนมเปญ ประกอบด้วย เอกสารแนบ 3 ฉบับ ที่กำหนดแนวทางขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือในระดับปฏิบัติ ได้แก่ (1) เอกสารขอบเขตการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนา ACMECS (2) เอกสารแนวคิดกลไกการทำงานของคณะกรรมการประสานงาน 3 เสา ภายใต้แผนแม่บท ACMECS (ค.ศ. 2019 ? 2023) และ (3) รายชื่อโครงการจำเป็นเร่งด่วนของ ACMECS
                   2. ที่ประชุมได้หารือในประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้ (1) ยินดีต่อพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของ ACMECS ตั้งแต่การก่อตั้งเมื่อปี 2546 โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอนุภูมิภาค การสร้างเสริมความร่วมมือที่ยั่งยืนระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขงทั้ง 5 ประเทศ ตลอดจนการย้ำเจตนารมณ์ที่จะขับเคลื่อนแผนงานตามสาขาความร่วมมือ 3 เสาของแผนแม่บท ACMECS ระยะ 5 ปี ต่อไปอย่างเข้มแข็ง (2) สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนา ACMECS  เพื่อใช้ขับเคลื่อนการดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้มีความคืบหน้า นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกเห็นชอบตามข้อเสนอของไทยที่ให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ ACMECS เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจัดทำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนโครงการ และประสานการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ (3) ย้ำความสำคัญของการยกระดับความร่วมมือของประเทศสมาชิก ACMECS ในการดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาและป้องกันการระบาดของโควิด-19 รวมทั้งเห็นชอบการส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุขและการบูรณาการห่วงโซ่อุปทานร่วมกันภายใต้กลไกความร่วมมือพหุภาคี ตลอดจนสนับสนุนให้ยาและวัคซีนป้องโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะที่ประชาชนในอนุภูมิภาคสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมและมีราคาที่สมเหตุสมผล และ (4) ชื่นชมบทบาทนำของไทยในการขับเคลื่อน ACMECS โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิดความคืบหน้าในการมีปฏิสัมพันธ์กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนากับประเทศต่าง ๆ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เครือรัฐออสเตรเลีย และสาธารณรัฐอิสราเอล
                   3. นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงโดยย้ำความสำคัญของการร่วมกันขับเคลื่อนความร่วมมือ ACMECS อย่างรอบคอบ มุ่งพัฒนาศักยภาพให้ ACMECS มีความเข้มแข็งจากภายใน โดยย้ำว่าการพัฒนาความเชื่อมโยงในทุกมิติทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงกฎระเบียบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมการค้าการลงทุนข้ามพรมแดน ยังคงเป็นสาขาความร่วมมือที่สำคัญและจำเป็นต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม โดยประเทศสมาชิก ACMECS ต้องพลิกวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาส ซึ่งได้เสนอให้ผลักดันหลักการใหม่เรื่อง ?อนุภูมิภาคที่มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้? เพื่อสร้างอัตลักษณ์เชิงแข่งขันดึงดูดการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานในยุคหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 มุ่งไปสู่การยกระดับพื้นฐานของการพัฒนาอนุภูมิภาคอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

แต่งตั้ง


38. เรื่อง การมอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวีรศักดิ์     หวังศุภกิจโกศล) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมลำดับที่สอง แทน นายถาวร เสนเนียม           ที่พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

39. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดังนี้
                     1. นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง            กรรมการ
                     2. นางสาวลดาวัลย์ คำภา                    กรรมการ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป

40. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ดังนี้
                     1. นายพสุ โลหารชุน                      ประธานกรรมการ
                    2. นายดามพ์ สุคนธทรัพย์           กรรมการ
                     3. นายคณิทธ์ สว่างวโรรส           กรรมการ
                    4. นายสุวัฒน์ กมลพนัส                     กรรมการ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป

41. เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอการแต่งตั้ง นายศุภชัย เอกอุ่น ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในปีแรกอัตราเดือนละ 465,000 บาท (ตามมติคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2564 ส่วนค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่นรวมทั้งเงื่อนไขการจ้างและการประเมินการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ




42. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 99 /2564 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85 /2564 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 99 /2564 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85 /2564 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด
                    ตามที่มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85 /2564 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 นั้น โดยที่ได้เกิดสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รุนแรงขึ้นในเกือบทุกจังหวัดของประเทศทำให้การติดตาม รับฟัง และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีแต่ละคนช่วยกันรับผิดชอบและประสานการขับเคลื่อนการพัฒนายังไม่สามารถดำเนินการได้เต็มรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ แม้แต่การขับเคลื่อนของคณะกรรมการในระดับจังหวัดก็ประสบปัญหาและอุปสรรคเพราะจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่น ๆ ในขณะนี้เพื่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วน ส่วนการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศ เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจโดยตรงและรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบหน่วยงานนั้นสามารถกระทำไปตามภารกิจปกติได้อยู่แล้ว จึงควรชะลอการดำเนินการของรัฐมนตรีในระดับพื้นที่จังหวัดตามข้อ 3 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 242/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เปลี่ยนแปลงไปและคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจะเห็นควรให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะได้กำหนดต่อไป ในระหว่างนี้จึงให้เป็นหน้าที่และอำนาจของรองนายกรัฐมนตรีในระดับพื้นที่เขตตรวจราชการแต่ละเขตที่ได้มอบหมายไว้ก่อนแล้วเป็นผู้กำกับดูแล โดยประสานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัดและอาจประสานงานหรือมอบหมายให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบงานพัฒนาและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการเป็นการเฉพาะเรื่องและเป็นครั้งคราว
                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และข้อ 3 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 242/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นายกรัฐมนตรีจึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 85 /2564 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด ลงวันที่ 9 เมษายน 2564
                    ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 พฤษภาคม 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ