สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 พฤษภาคม 2564

ข่าวการเมือง Tuesday May 25, 2021 17:04 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

		วันนี้ (25 พฤษภาคม 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า                     ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น					รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (การปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุน
วิสาหกิจเพื่อสังคม)
2. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น					รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. รวม 4 ฉบับ [(ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อ					สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และมาตรการภาษีเพื่อ					รองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ (Thailand Plus Package)]
3. 	เรื่อง 	ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่าง					พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
4. 	เรื่อง 	ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
5. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบ				อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ?.
6. 	เรื่อง  	ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) กรณีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ					เงื่อนไขเพื่อรองรับการใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร 					(ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 รวม 2 ฉบับ
7. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตจัดตั้งและการเลิกดำเนินการเขตปลอดอากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอด
อากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ
8. 	เรื่อง 	ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถจักรยานยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่				ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ?.
9. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอก					ราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2509 พ.ศ. ?.
10. 	เรื่อง 	ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข				การจ่ายค่าตอบแทนในที่ดินของรัฐให้แก่กระทรวงการคลัง ตามมาตรา 17 แห่ง					พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 					พ.ศ. ?.

เศรษฐกิจ สังคม

11. 	เรื่อง 	การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ
12. 	เรื่อง 	ขอยกเลิกโครงการก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทยพื้นที่				ประชาชื่น และโอนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับรายการดังกล่าวในปีงบประมาณ 					พ.ศ. 2564 ไปสมทบเป็นค่างานก่อสร้างโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการ					กองบัญชาการกองทัพไทย ระยะที่ 2
13. 	เรื่อง 	ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบ
ครอบคลุมพื้นที่
14. 	เรื่อง 	ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับ					ผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ
15. 	เรื่อง 	หลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย เบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทน				อื่นของคณะอนุกรรมการชุดหลักในคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ						คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร					ราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
16. 	เรื่อง 	มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564
17. 	เรื่อง 	รายงานผลการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 				31 มีนาคม 2564
18. 	เรื่อง 	รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 				พ.ศ. 2563
19. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานความก้าวหน้าการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านสังคม 				เรื่อง การคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและ					อนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการ				เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
20. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหาแนว					ทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง และกระท่อมอย่างเป็นระบบ 					สภาผู้แทนราษฎร
21. 	เรื่อง 	รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริม				และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้				สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล 				อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
22. 	เรื่อง 	มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563
23. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดตั้งเทศบาลนครแม่สอด 				เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ?นครแม่สอด? ของ						คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา
24. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิบัติตามกฎหมายของ					โครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร 					และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์) ของ					คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
25. 	เรื่อง 	รายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 				(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563)
26. 	เรื่อง 	รายงานผลการดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของกรมราชทัณฑ์
27.  	เรื่อง 	การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
28. 	เรื่อง 	สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด					เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 7/2564
29. 	เรื่อง 	ผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาลภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการ				ทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580)
30. 	เรื่อง 	อนุมัติงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายการแก้ไขและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 				2019 ในเรือนจำและทัณฑสถาน จากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา					แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019

ต่างประเทศ

31.	 เรื่อง 	การแก้ไขเอกสารประกอบสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังกับสถาบัน					การเงินระหว่างประเทศเพื่อรองรับการยุติการใช้ London Interbank Offered 				Rate (LIBOR) เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
32. 	เรื่อง 	สรุปผลการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ผ่านระบบ
ออนไลน์
33. 	เรื่อง 	การรับรองร่างปฏิญญากรุงโซลในการประชุมระดับผู้นำกรอบหุ้นส่วนเพื่อการ					เจริญเติบโตสีเขียวและเป้าหมายโลกปี ค.ศ. 2030 (Partnering for Green 					Growth and Global Goals 2030: P4G) ครั้งที่ 2
34. 	เรื่อง  	การรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัย					พิเศษว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2021
35. 	เรื่อง  	(ร่าง) แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผน					ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของราชอาณาจักรไทยกับกรมสิ่งแวดล้อมของ				สมาพันธรัฐสวิส ในความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แต่งตั้ง

36. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง)
37. 	เรื่อง 	ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงโฆษกสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
38. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
39. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
40. 	เรื่อง 	การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของปลัดกระทรวงยุติธรรม (ครั้งที่ 1)
41. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ




สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396













กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (การปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้ กค. รับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป และให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
	 	ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ กค. เสนอ เป็นการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่วิสาหกิจเพื่อสังคมและบุคคลซึ่งให้การสนับสนุนกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 โดยยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมถึงยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคม
 		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
 		1. ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559
 		2. กำหนดบทนิยามคำว่า ?วิสาหกิจเพื่อสังคม? ?กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม? และ ?ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์?
 		3. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทที่ไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไร ตั้งแต่วันที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ กรณีวิสาหกิจเพื่อสังคมเปลี่ยนแปลงประเภทเป็นประสงค์จะแบ่งปันกำไร ให้หมดสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิไปแล้วไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธินั้น
		4. กำหนดให้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ โดยสามารถหักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายเงินลงทุนในหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อจัดตั้ง หรือเพิ่มทุนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมและได้จดแจ้งการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยบุคคลธรรมดาหักลดหย่อนไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับปีภาษี และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายได้ตามจริง ทั้งนี้ ผู้ใช้สิทธิต้องถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนจนกว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นเลิกกิจการ
 		5. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้โดยสามารถหักรายจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่โอนให้วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดแจ้งการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยไม่มีค่าตอบแทนผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
 		6. กำหนดให้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายสำหรับการบริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยบุคคลธรรมดาหักลดหย่อนเท่าที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคอื่นแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเท่าที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
 		7. กำหนดให้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินตามข้อ 5. หรือการบริจาคตามข้อ 6. โดยต้องไม่นำต้นทุนมาหักเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
 		8. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการและได้รับจดแจ้งการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม)
 	 	9. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 และได้รับการจดทะเบียนแล้ว และผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกานี้

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. รวม 4 ฉบับ [(ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และมาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ (Thailand Plus Package)]
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0) 2. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบอัตโนมัติ) 3. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างบุคลากรที่มีทักษะสูง) 4. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง) รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
		ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 4 ฉบับ ที่ กค. เสนอ เป็นการขอขยายระยะเวลาการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อเป็นการจูงใจนักลงทุนให้มีการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ส่งเสริมการลงทุนในเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องจักรตามโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติ ส่งเสริมการจ้างบุคลากรที่มีทักษะสูง และส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง โดยยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคทรัพย์สินให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษา แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ลงทุนในระบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้มีการจ้างงานบุคลากรผู้มีทักษะสูง ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ตลอดจนยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับรายจ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูงออกไปอีก 2 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
 		1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร              (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0) เป็นการกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการบริจาคเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือเพื่อระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องจักรเพื่อระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ในส่วนที่จ่ายไป (หักรายจ่ายได้ 3 เท่า) ให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนสำหรับการบริจาคทรัพย์สินตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
 		2. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร          (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบอัตโนมัติ) เป็นการกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อย (2 เท่า) ของรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องจักรตามโครงการลงทุนในระบบอัตโนมัติ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
 		3. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร               (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างบุคลากรที่มีทักษะสูง) เป็นการกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละห้าสิบ (1.5  เท่า) ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นเงินเดือนให้แก่การจ้างงานลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ตามสัญญาจ้างแรงงานในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เฉพาะส่วนที่เป็นเงินเดือน (จำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนค่าจ้างที่ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อเดือน) สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
		4. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร             (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง) เป็นการกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยห้าสิบ (2.5 เท่า) ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้างในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่กำหนด สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
 		1. ให้ชะลอการเสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ของสำนักงาน ก.พ. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วต่อสภาผู้แทนราษฎร
 		2. ให้ชะลอการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
 		3. ให้สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับประเด็นตามข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งไปพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
 		สาระสำคัญของเรื่อง
		ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ไม่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และกำหนดให้การออกจากราชการของข้าราชการเพราะความตายไม่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่ยังมีพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการประเภทต่าง ๆ ในทำนองเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก 52 ฉบับ ดังนั้น เพื่อให้มีการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติทุกฉบับที่มีเนื้อหาอย่างเดียวกันต่อสภาผู้แทนราษฎรไปในคราวเดียวกัน จึงเห็นควรให้ชะลอการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งสองฉบับ และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมร่างพระราชบัญญัติของทุกส่วนราชการ ที่จะเสนอแก้ไขในทำนองเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วจึงส่งมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจพิจารณาในคราวเดียวกัน

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..)            พ.ศ. ?. ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
		ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามและวาระการดำรงตำแหน่งของประธานคณะกรรมการอัยการ และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการ การให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน การกำหนดให้การดำเนินการสอบสวนชั้นต้นสามารถมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้โดยไม่ต้องมีการดำเนินการสอบสวนชั้นต้นก่อน และการกำหนดให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยชั้นต้นข้าราชการอัยการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการสูงสุด คณะกรรมการอัยการ และข้าราชการอัยการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
 		สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
		1. แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามและวาระการดำรงตำแหน่งของประธานคณะกรรมการอัยการ (ประธาน ก.อ.) และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้ประธาน ก.อ. สามารถดำรงตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิสามารถดำรงตำแหน่งประธาน ก.อ. ได้ และกำหนดให้แต่ละประเภทดำรงตำแหน่งติดต่อกันสองวาระไม่ได้
 		2. กำหนดให้การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยให้แต่งตั้งผู้นั้นคงอยู่ในลำดับอาวุโสที่เคยครองและได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นและขั้นเดียวกับข้าราชอัยการที่อยู่ในลำดับอาวุโสเท่ากันในขณะดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการ
 		3.  กำหนดให้ข้าราชการอัยการที่ตกเป็นบุคคลล้มละลายในภายหลังจากที่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการแล้ว เป็นเหตุให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
 		4. กำหนดเกี่ยวกับการดำเนินการสอบสวนชั้นต้นให้มีการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้ โดยไม่ต้องมีการดำเนินการสอบสวนชั้นต้นก่อน
 		5. กำหนดให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยชั้นต้นข้าราชการอัยการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ คค. เสนอ เป็นการกำหนดให้มีรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นอีกแบบหนึ่งของรถยนต์รับจ้าง โดยการเรียกใช้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับประชาชนเลือกใช้บริการ และส่งเสริมให้ผู้ขับรถยนต์ดังกล่าวสามารถประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งสอดคล้องกับบริบทของสังคมและวิถีการใช้ชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน ที่การให้บริการการเดินทางโดยการเรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมของประชาชนมากยิ่งขึ้น และทำให้ทางราชการสามารถควบคุมติดตามตรวจสอบการให้บริการดังกล่าวเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่คนโดยสารได้
 		นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงพบว่า แม้ปัจจุบันการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้รับจ้างผ่านแอปพลิเคชันจะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ประชาชนให้ความสนใจใช้บริการเป็นอย่างมาก เนื่องจากประชาชนมีความเชื่อมั่นจากหลายปัจจัย เช่น การไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร การรับรู้ค่าโดยสารที่ชัดเจน และความปลอดภัยที่มีการตรวจสอบประวัติผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมเป็นสมาชิก ซึ่งการสนับสนุนให้นำรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้รับจ้างผ่านแอปพลิเคชันถูกต้องตามกฎหมาย จะช่วยให้ทั้งประชาชนผู้ใช้บริการและผู้ขับรถยนต์ดังกล่าวเกิดความมั่นใจว่าจะได้รับบริการที่ปลอดภัยและซื่อตรงในการเดินทาง อันจะเป็นการส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตและการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นไปได้สะดวกและง่ายขึ้น ตลอดจนส่งเสริมภาคเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางที่สมดุลได้ รวมทั้งจะเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (แท็กซี่) ปรับตัวในการพัฒนาการให้บริการได้อีกทางหนึ่ง
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		กำหนดให้มีรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 		1. กำหนดนิยาม ?รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์? หมายความว่า รถยนต์รับจ้างที่เกิดจากการนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาจดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็นรถยนต์รับจ้าง โดยการรับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และ ?รถยนต์รับจ้าง? หมายความว่า รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
 		2. กำหนดให้รถยนต์รับจ้างที่จะนำมาจดทะเบียน แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยให้จดทะเบียนได้คนละ 1 คัน รวมทั้งกำหนดลักษณะและกำลังในการขับเคลื่อนของรถยนต์รับจ้างที่จะนำมาจดทะเบียน
 		3. กำหนดลักษณะของรถยนต์รับจ้างที่จะนำมาจดทะเบียนต้องมีลักษณะเป็นรถเก๋งสองตอน รถเก๋งสองตอนแวน รถเก๋งสามตอน รถเก๋งสามตอนแวน รถยนต์นั่งสองตอน รถยนต์นั่งสองตอนแวน รถยนต์นั่งสามตอน รถยนต์นั่งสามตอนแวน หรือรถยนต์ลักษณะอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
 		4. กำหนดให้รถยนต์รับจ้างต้องมีและใช้อุปกรณ์เครื่องสื่อสารเพื่อรับงานจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมการขนส่งทางบกให้การรับรอง ต้องแสดงเครื่องหมายแสดงการเป็นรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ติดไว้ที่ตัวรถ ต้องใช้สีของตัวถังรถตามสีที่ใช้ในการจดทะเบียนรถ และให้รถยนต์รับจ้างมีอายุการใช้งานได้ไม่เกิน 9 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก
		5. กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารและค่าบริการอื่นสำหรับรถยนต์รับจ้าง ดังต่อไปนี้
			5.1 รถยนต์รับจ้างขนาดเล็กและขนาดกลาง ให้กำหนดค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร โดยถือเกณฑ์ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรกไม่เกิน 50 บาท และกิโลเมตรต่อ ๆ ไปกิโลเมตรละไม่เกิน 12 บาท ในกรณีที่ไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเดินรถต่อไปได้ตามปกติวิสัยในอัตรานาทีละไม่เกิน 3 บาท ส่วนค่าบริการกรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสารหรือระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนดได้ไม่เกิน 50 บาท และค่าบริการเพิ่มกรณีอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดไม่เกิน 200 บาท
 			5.2 รถยนต์รับจ้างขนาดใหญ่ ให้กำหนดค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยถือเกณฑ์ระยะทาง        2 กิโลเมตรแรกไม่เกิน 200 บาท และกิโลเมตรต่อ ๆ ไป กิโลเมตรละไม่เกิน 50 บาท ในกรณีที่ไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเดินรถต่อไปได้ตามปกติวิสัยในอัตรานาทีละไม่เกิน 10 บาท ส่วนค่าบริการกรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสารหรือระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนดได้ไม่เกิน 100 บาท และค่าบริการเพิ่มกรณีอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดไม่เกิน 200 บาท
 		6. กำหนดให้แผ่นป้ายทะเบียนรถของรถยนต์รับจ้างให้ใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนเดิม โดยให้นายทะเบียนเปลี่ยนประเภทการจดทะเบียนเป็นรถยนต์รับจ้างในใบคู่มือจดทะเบียนรถ
		7. กำหนดให้รถยนต์รับจ้างต้องมีการตรวจสภาพตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด รวมทั้งต้องรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งภายนอกและภายในตัวรถเป็นอย่างดี ต้องไม่บรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ และเพื่อความปลอดภัยจนทำให้ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวก รวมทั้งกำหนดให้ผู้ขับรถยนต์รับจ้างต้องแต่งกายให้สะอาด สุภาพเรียบร้อยและรัดกุม

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) กรณีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อรองรับการใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 รวม 2 ฉบับ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร และ 2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการจัดทำ การส่ง การรับ การเก็บรักษาที่เกี่ยวข้องด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบรรดาหมายเรียก เอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับกระบวนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม โดยดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร เพื่อรองรับการใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/13 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการกำหนดการจัดทำ การส่ง การรับ และการเก็บรักษาหมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร แบบ รายงานเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม โดยดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
                   2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับกระบวนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มในสาระสำคัญ เช่น ชื่อผู้ประกอบการ เว็บไซต์ของผู้ประกอบการและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการ เป็นต้น โดยให้ดำเนินการด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตจัดตั้งและการเลิกดำเนินการเขตปลอดอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการอนุญาตจัดตั้งและการเลิกดำเนินการเขตปลอดอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
 		ทั้งนี้ กค. เสนอว่า โดยที่ปัจจุบันได้ออกกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ได้แก่ 1) กฎกระทรวงการอนุญาตจัดตั้งและการเลิกดำเนินการเขตปลอดอากร พ.ศ. 2560 และ 2) กฎกระทรวงการอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร พ.ศ. 2560 โดยกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร พ.ศ. 2560 ได้กำหนดบทนิยาม ?โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน? หมายความว่า พื้นที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา นั้น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ขอให้ กค. พิจารณาประกาศเพิ่มเติม เรื่องการกำหนดพื้นที่ปลอดอากร โดยเพิ่มอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้มีการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ ?สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน? ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในฐานะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตเพื่อรองรับเขตการพัฒนาเศรษฐกิจเฉพาะ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 และเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (7 พฤษภาคม 2562) เรื่อง การประกาศให้อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 ?เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต? เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
		กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการตามแนวทางของโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ประชาชนที่เดินทางไปท่องเที่ยวสามารถซื้อสินค้าปลอดอากรในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาได้ และเพื่อให้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดตั้งเขตปลอดอากรประเภทพาณิชย   กรรมมีความยืดหยุ่น สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสมัยใหม่และรองรับการค้าการลงทุนของภาคเอกชนได้อย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 จึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับ
 		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
 		1. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตจัดตั้งและการเลิกดำเนินการเขตปลอดอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.          มีสาระสำคัญ ดังนี้
 			1.1 กำหนดบทนิยาม คำว่า ?โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน? หมายความว่า พื้นที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และพื้นที่อื่นใดที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน (เพิ่มคำว่า และพื้นที่อื่นใดที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน)
			1.2 เพิ่มลักษณะต้องห้ามของผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (เดิมระบุไว้ 2 ประการ ได้แก่ เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต และเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตมาแล้วก่อนวันยื่นคำขออนุญาตเกินสามปี)
 			1.3 กำหนดให้ในกรณีมีความจำเป็นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้อธิบดีผ่อนผันหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ขอรับอนุญาตการขอจัดตั้งเขตปลอดอากรเพื่อการประกอบพาณิชยกรรม และการขอจัดตั้งเขตปลอดอากร ณ สนามบินระหว่างประเทศ หรือท่าเรือรับอนุญาต หรือพื้นที่อื่นที่อธิบดีเห็นชอบได้
 		2. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. มีสาระสำคัญ ดังนี้
 			2.1 กำหนดบทนิยาม คำว่า ?โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน? หมายความว่า พื้นที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และพื้นที่อื่นใดที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน (เพิ่มคำว่า และพื้นที่อื่นใดที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน)
 			2.2  แก้ไขรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขเกี่ยวกับการขอเลิกประกอบกิจการในเขตปลอดอากร (ข้อ 9 ของกฎกระทรวงฯ) โดยระบุรายละเอียดการดำเนินการหลังผู้ประกอบกิจการได้รับใบอนุญาตเลิกประกอบกิจการแล้ว ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
 				(1) นำของออกจากเขตปลอดอากร พร้อมทั้งเสียอากรให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด หรือ
 				(2) ส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำของไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือจำหน่ายให้แก่ผู้นำของเข้าตามมาตรา 29 หรือผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือกฎหมายอื่น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

8. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถจักรยานยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถจักรยานยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
 		ทั้งนี้ พณ. เสนอว่า
 		1. โดยที่มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 บัญญัติให้ทุก 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ผู้อนุญาตพิจารณากฎหมายที่ให้อำนาจในการอนุญาตว่าสมควรปรับปรุงกฎหมายนั้น เพื่อยกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาตหรือไม่ ประกอบกับ พณ. ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนมาตรการนำเข้า-ส่งออกตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ทุกฉบับ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ทบทวนและแก้ไขประกาศกระทรวงพาณิชย์ หรือระเบียบกระทรวงพาณิชย์หลายฉบับ รวมถึงให้ทบทวนและแก้ไขปรับปรุงมาตรการตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 113) พ.ศ. 2539 (การนำรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้วเข้ามาในราชอาณาจักร) ด้วย ประกอบกับนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้ พณ. ติดตามและแก้ไขปัญหาการนำเข้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปที่ใช้แล้วจากต่างประเทศและนำมาจดทะเบียนในราชอาณาจักรให้เป็นไปอย่างถูกกฎหมาย
 		2. กรมการค้าต่างประเทศจึงได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อพิจารณาทบทวนมาตรการควบคุมการนำเข้ารถจักรยานยนต์ใช้แล้ว โดยมีมติ ดังนี้
 			2.1 ห้ามนำเข้ารถจักรยานยนต์ใช้แล้ว รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าใช้แล้ว รถโมเพ็ดใช้แล้ว (Moped) รถจักรยานใช้แล้วที่ติดตั้งมอเตอร์ช่วย (รถจักรยานไฟฟ้าใช้แล้ว) และรถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่มีอายุเกิน 100 ปี
			2.2 กำหนดประเภทรถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่อนุญาตให้นำเข้าภายใต้กำกับดูแลของหน่วยงานอื่น เพื่อปรับลดขั้นตอนการทำงานและอำนวยความสะดวกประชาชน เช่น การนำเข้าของผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต การนำเข้าเป็นการชั่วคราว การนำเข้าเพื่อเป็นต้นแบบในการวิจัยพัฒนา เป็นต้น
			2.3 กำหนดบทลงโทษกรณีฝ่าฝืนมาตรการห้ามนำเข้า โดยให้กรมศุลกากรทำลายรถจักรยานยนต์ใช้แล้วดังกล่าว เช่นเดียวกับการกำหนดบทลงโทษที่บัญญัติในประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2562
		3. ประกอบกับปัจจุบันปัญหาด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น การลดปริมาณนำเข้ารถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่ไม่จำเป็น เช่น การห้ามนำเข้าจักรยานยนต์ใช้แล้วเพื่อใช้เฉพาะตัว และการกำหนดให้รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่ฝ่าฝืนมาตรการห้ามนำเข้าให้กรมศุลกากรทำลาย จะช่วยลดปัญหาด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน รวมทั้งการยกเว้นให้รถบางประเภทสามารถนำเข้าได้ภายใต้กำกับดูแลของหน่วยงานอื่น โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก พณ. เช่น การนำเข้าเป็นการชั่วคราว การนำเข้าเพื่อเป็นต้นแบบในการวิจัยพัฒนา เป็นการปรับลดขั้นตอนการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล
		4. พณ. พิจารณาแล้ว จึงได้ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถจักรยานยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ?. และได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง รวม 2 ครั้ง ระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 รวม 78 วัน ผ่านเว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ (www.dft.go.th) และได้ชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็นการอนุรักษ์รถจักรยานยนต์เก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และการศึกษา ซึ่งประเด็นนี้ผู้นำเข้ารถโบราณหรือรถที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สามารถนำเข้าได้ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร
จึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ มาเพื่อดำเนินการ
 		สาระสำคัญของร่างประกาศ
 		1. กำหนดพิกัดอัตราศุลกากรและขอบเขตสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้า
พิกัดอัตราศุลกากร	สินค้าต้องห้ามนำเข้า
ประเภท 87.11 	รถจักรยานยนต์ใช้แล้ว รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าใช้แล้ว รถโมเพ็ดใช้แล้ว (Moped) รถจักรยานใช้แล้วที่ติดตั้งมอเตอร์ช่วย (รถจักรยานไฟฟ้าใช้แล้ว) รวมทั้งรถพ่วงข้าง แต่ไม่รวมรถพ่วงข้างที่ไม่ได้ติดตั้งมากับรถ
  		2. กำหนดประเภทรถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของหน่วยงานอื่น โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก พณ. เพื่อปรับลดขั้นตอนการทำงาน และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
หน่วยงาน	ประเภทการนำเข้า	การกำกับดูแล
1. กระทรวงการต่างประเทศ 	- รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่นำเข้าโดยสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจของต่างประเทศ องค์กรต่างประเทศที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือบุคคลซึ่งได้รับเอกสิทธิ์
- รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่ได้รับบริจาคจากต่างประเทศภายใต้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 	ออกหนังสือรับรองประกอบพิธีการศุลกากร
2. กรมศุลกากร 	- รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่นำเข้าหรือส่งออกเป็นการชั่วคราว (รวมรถที่ใช้ประโยชน์สุทธินำกลับ รถเพื่อจัดแสดง และรถเพื่อการท่องเที่ยว)
- รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่ไม่สามารถจดทะเบียนหรือไม่สามารถนำเข้าไปในต่างประเทศได้ 	เป็นไปตามกฎหมายศุลกากร
3. กรมสรรพสามิต 	- รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่นำเข้ามาเพื่อใช้เป็นรถต้นแบบสำหรับการวิจัย พัฒนาหรือทดสอบสมรรถนะ 	ออกหนังสือรับรองประกอบพิธีการศุลกากร
4. กรมศิลปากร 	- รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่นำเข้ามาเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น 	ออกหนังสือรับรองประกอบพิธีการศุลกากร
5. กระทรวงกลาโหม 	รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่เป็นยุทธภัณฑ์ 	เป็นไปตามกฎหมายกระทรวงกลาโหม

9. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2509 พ.ศ. ?.
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2509 พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
		ทั้งนี้ พณ. เสนอว่า ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2509 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง พุทธศักราช 2482 กำหนดห้ามส่งออกสินค้าเทวรูป ชิ้นส่วนของเทวรูป พระพุทธรูปและชิ้นส่วนของพระพุทธรูป แต่ไม่รวมถึงพระเครื่องและชิ้นส่วนของพระเครื่อง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมาย เพื่อป้องกันการลักและทำลายพระพุทธรูปหรือเทวรูปออกเป็นชิ้นส่วนส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ แต่ไม่เคยปรากฏว่ามีผู้มาขออนุญาตส่งออกสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด
 		ต่อมา เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศได้ประชุมร่วมกับกรมศิลปากร และกรมศุลกากร เพื่อพิจารณายกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2509 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อลดความซ้ำซ้อนของกฎหมาย เนื่องจากกรมศิลปากรอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำกับดูแลการส่งออกสินค้าตาม พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอยู่แล้ว
 		ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุมวันที่ 17 ธันวาคม 2563 พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศจึงดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2509 พ.ศ. ?. และได้ดำเนินการรับฟังความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว โดยกรมศิลปากรและกรมศุลกากรแจ้งเห็นด้วยกับการยกเลิกพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2509 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

10. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนในที่ดินของรัฐให้แก่กระทรวงการคลัง ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 พ.ศ. ?.
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนในที่ดินของรัฐให้แก่กระทรวงการคลัง ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กค. รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
		ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
		1. โดยที่มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 กำหนดให้ กค. ต้องกำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ กค. กรณีที่มีการเวนคืนที่ดินของรัฐ 4 ประเภท ได้แก่ (1) ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน (2) ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้สงวนหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ (3) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดิน และที่ดินนั้นอยู่นอกเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี และ (4) ที่ดินที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
 		2. ประกอบกับได้มีคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 70/2562 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2562 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างกฎหมายลำดับรองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากำหนดเนื้อหาและรายละเอียดกฎหมายลำดับรองที่จะต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
		3. กค. โดยกรมธนารักษ์ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการตามข้อ 2. ซึ่งในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ที่ประชุมได้กำหนดให้มีการจัดทำกฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ขึ้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 ฉบับ
		4. ต่อมากระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึง กค. ขอให้จัดทำประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนในที่ดินของรัฐให้แก่กระทรวงการคลัง ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 พ.ศ. ?.
		5. กค. โดยกรมธนารักษ์จึงได้มีคำสั่ง ที่ 630/2562 ลงวันที่ 30 กันยายน 2562 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างประกาศกระทรวงการคลังกำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่กระทรวงการคลัง ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 และได้ยกร่างประกาศดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว
		สาระสำคัญของร่างประกาศ
		กำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน ให้แก่ กค. ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เวนคืนได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว แต่มีที่ดินที่อยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนซึ่งเป็นที่ดินของรัฐ 4 ประเภท ได้แก่ (1) ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน (2) ที่ดินสาธารณชนสมบัติของแผ่นดินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้สงวนหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ            (3) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดิน และที่ดินนั้นอยู่นอกเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี และ (4)  ที่ดินที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เวนคืนนั้นมีอำนาจเข้าครอบครอง ดูแล และใช้ประโยชน์ โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่ กค. ตามอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ กค. กำหนดแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นตกเป็นของหน่วยงานของรัฐที่เวนคืน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
 		1. กำหนดนิยามคำว่า ?กิจการลงทุน? และ ?กิจการสาธารณะ?
  		2. กำหนดให้มีคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนที่ดินของรัฐ ประกอบด้วยคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ (1) ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ในเขตจังหวัดอื่น โดยคณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดค่าตอบแทนที่ดินของรัฐตามอัตราที่กำหนด เช่น กรณีเป็นกิจการลงทุนให้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินของรัฐให้ได้ราคาเทียบเคียงราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด หรือกรณีเป็นกิจการสาธารณะให้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินของรัฐให้ได้เทียบเคียงกับราคาประเมินที่ดิน
		3. กำหนดวิธีในการรับชำระเงินค่าตอบแทน โดยให้เจ้าหน้าที่ชำระเงินผ่านบัญชีของกรมธนารักษ์


เศรษฐกิจ สังคม

11. เรื่อง การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอดังนี้
		1. ให้ กษ. (กรมชลประทาน) ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2541 และอนุมัติในหลักการให้กรมชลประทานจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการของรัฐ กรณีโครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ ในอัตราไร่ละ 42,000 บาท ในท้องที่อำเภอหนองบัวระเหว จำนวน 150 แปลง เนื้อที่ 1,754-0-89 ไร่ คิดเป็นเงิน 73,677,345 บาท และในท้องที่อำเภอเทพสถิตจำนวน 22 แปลง เนื้อที่ 221-1-53 ไร่ คิดเป็นเงิน 9,298,065 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 82,975,410 บาท โดยผู้มีสิทธิจะต้องมีชื่อปรากฏในแผนที่ ร.ว. 43 ก. ตามผลการรังวัดโดยช่างรังวัดของกรมที่ดินและเคยได้รับค่าขนย้าย (ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) ไปแล้วในอัตราไร่ละ 8,000 บาท
 		สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากสามารถดำเนินการได้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เห็นสมควรให้กรมชลประทานพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 หรือโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อมาดำเนินการเป็นลำดับแรก โดยให้จัดทำแผนรายละเอียดการจ่ายเงินค่าชดเชยให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงแล้วขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอน ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป เห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
		2. เพื่อให้การจ่ายเงินเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และป้องกันมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากราษฎร เห็นควรอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดที่ดินของราษฎรผู้ได้รับผลกระทบ (กลุ่มที่ 1) โครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ ตามผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย
1) ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ	ประธานกรรมการ
2) อัยการจังหวัดชัยภูมิ	กรรมการ
3) คลังจังหวัดชัยภูมิ	กรรมการ
4) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ	กรรมการ
5) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิ	กรรมการ
6) ปฏิรูปที่ดินจังหวัดชัยภูมิ	กรรมการ
7) เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิ	กรรมการ
8) ผู้อำนวยการโครงการชลประทานชัยภูมิ	กรรมการ
9) นายอำเภอหนองบัวระเหว	กรรมการ
10) นายอำเภอเทพสถิต	กรรมการ
11) นายบัวลอย บำรุงสวัสดิ์ (ตัวแทนเกษตรกร)	กรรมการ
12) นายศักดา กาญจนเสน (ตัวแทนเกษตรกร) 	กรรมการ
13) นายสาคร ศรีใส (ตัวแทนเกษตรกร)	กรรมการ
14) หัวหน้าฝ่ายจัดหาที่ดินที่ 2 ส่วนจัดหาที่ดิน 2 สำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน	กรรมการและเลขานุการ
15) ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 13 กรมชลประทาน	กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
โดยให้คณะกรรมการดังกล่าว ตรวจสอบบุคคลผู้มีสิทธิ จำนวน 172 ราย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ รวมทั้งกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าชดเชยให้เป็นไปอย่างถูกต้องเรียบร้อย สำหรับการจ่ายเงินกรณีนี้เห็นสมควรจ่ายด้วยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) ตามบัญชีรายชื่อบุคคลที่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ หรือทายาทของบุคคลดังกล่าว โดยให้ถือความเห็นของคณะกรรมการชุดนี้เป็นหลักฐานประกอบการจ่ายเงิน และให้ระบุในหลักฐานการรับเงินด้วยว่า ?ข้าพเจ้ายินยอมรับเงินค่าขนย้ายในครั้งนี้ และจะไม่มาเรียกร้องหรือขอรับความช่วยเหลือใด ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการโปร่งขุนเพชรจากทางราชการอีก?
		สาระสำคัญของเรื่อง
		1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (8 เมษายน 2532) อนุมัติในหลักการให้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนโครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ ในท้องที่อำเภอหนองบัวระเหวและอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ และคณะกรรมการกำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 ได้กำหนดค่าขนย้าย กรณีที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิในอัตราไร่ละ 8,000 บาท ซึ่งกรมชลประทานได้จ่ายค่าขนย้ายดังกล่าวให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ จำนวน 272 แปลง แล้ว ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (22 เมษายน 2539) ให้ชะลอการดำเนินการก่อสร้างโครงการไว้ก่อน ส่งผลให้ราษฎรกลุ่มดังกล่าวยังไม่ได้มีการย้ายออกจากพื้นที่ และภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กันยายน 2548) ให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการโปร่งขุนเพชรให้แล้วเสร็จภายในปี 2557 โดยคณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาค่าทดแทนทรัพย์สินและคณะกรรมการกำหนดราคาค่าทดแทนฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 ได้พิจารณากำหนดจ่ายเงินค่าขนย้าย (ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและยังไม่ได้รับการช่วยเหลือมาก่อนในอัตราไร่ละ 50,000 บาท ส่งผลให้ราษฎรกลุ่มที่เคยได้รับค่าขนย้ายในอัตราไร่ละ 8,000 บาท ต้องการขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเยียวยาส่วนต่างในอัตราไร่ละ 42,000 บาท ทั้งนี้ คณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการและผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการของรัฐได้มีมติเห็นชอบการช่วยเหลือเยียวยาชดเชยส่วนต่างดังกล่าว ให้แก่เกษตรกรผู้ครอบครองที่ดินรายเดิม จำนวน 172 แปลง คิดเป็นจำนวนเงิน 82,975,410 บาท
		2. เดิมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอเรื่องนี้มายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 และนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ส่งเรื่องนี้คืนเพื่อให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเจรจากับราษฎรอีกครั้ง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณเพื่อให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน เหมาะสม และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่ายก่อนดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ผู้แทนกลุ่มสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานได้หารือร่วมกับผู้แทนกรมชลประทานและจัดทำบันทึกการเจรจาร่วมกันระหว่างผู้แทนกลุ่มสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานและผู้แทนกรมชลปรทาน เมื่อวันที่          3 กุมภาพันธ์ 2564 สรุปความว่า ต้องดำเนินการเยียวยาความเดือดร้อนความเสียหายแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมโดยไม่ชักช้า และขอให้กรมชลประทานนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า การจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ราษฎร เห็นสมควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ

12. เรื่อง ขอยกเลิกโครงการก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทยพื้นที่ประชาชื่น และโอนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับรายการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไปสมทบเป็นค่างานก่อสร้างโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย ระยะที่ 2
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) ยกเลิกรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการ บก.ทท. พื้นที่ประชาชื่น (โครงการฯ ประชาชื่น) และโอนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับรายการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วงเงิน 79.91 ล้านบาท ไปสมทบเป็นค่างานก่อสร้างโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการ บก.ทท. ระยะที่ 2 (โครงการฯ ระยะที่ 2) ต่อไป ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		กห. รายงานว่า บก.ทท. ได้ดำเนินการก่อสร้างที่พักอาศัยให้กับข้าราชการ บก.ทท. และครอบครัว รวม 2 โครงการ ดังนี้
		1. โครงการฯ ประชาชื่น มีการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
			1.1 บก.ทท. มีแผนการก่อสร้างที่พักอาศัยให้กับข้าราชการ บก.ทท. และครอบครัว ในพื้นที่ราชพัสดุของ บก.ทท. พื้นที่ประชาชื่น โดยสร้างเป็นอาคารสูง 25 ชั้น จำนวน 3 อาคาร เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่พักอาศัยของข้าราชการที่มีความต้องการเป็นจำนวนมาก โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้รับอนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2567 (4 ปี) วงเงิน 475.40 ล้านบาท (ไม่รวมเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด) (ตามมติคณะรัฐมนตรี 20 ตุลาคม 2563) เพื่อก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยดังกล่าว รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภค จำนวน 1 อาคาร จำนวนห้องพัก 154 ห้อง
			1.2 ต่อมาได้มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ ประชาชื่น เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงมีความกังวลว่าจะได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละออง การระบายน้ำ แรงสั่นสะเทือน การจราจร ตลอดจนอันตรายจากเศษวัสดุการก่อสร้าง โดยเสนอขอให้พิจารณายกเลิกการดำเนินการก่อสร้างอาคารสูง 25 ชั้น จำนวน 3 อาคาร หรือปรับรูปแบบอาคารเป็นแบบอาคารที่มีความสูงไม่เกิน                8 ชั้น และจัดแผนผังอาคารให้มีระยะห่างจากพื้นที่ข้างเคียง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สผผ.) จึงขอให้สำนักยุทธโยธาทหาร บก.ทท. ชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
			1.3 ปัจจุบันโครงการฯ ประชาชื่น อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งทางบริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินการตามกรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล การสัมภาษณ์รายบุคคล การใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มย่อย และได้แจกจ่ายมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนรอบโครงการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้ร้องเรียนยังคงมีความวิตกกังวลว่าจะได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบด้านต่าง ๆ ตามมาภายหลังในระหว่างดำเนินการก่อสร้างและเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งหากดำเนินโครงการฯ ประชาชื่นต่อไปอาจมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างไม่สำเร็จ และจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อข้าราชการที่พักอาศัยกับผู้พักอาศัยโดยรอบโครงการดังกล่าวในอนาคต ดังนั้น ผู้บัญชาการทหารสูงสุดจึงได้อนุมัติหลักการให้ชะลอโครงการฯ ประชาชื่น และขอให้พิจารณาพื้นที่ก่อสร้างแห่งใหม่ พร้อมทั้งให้มีหนังสือถึง สผผ. เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง และต่อมาได้เห็นชอบให้ยกเลิกโครงการฯ ประชาชื่น แล้ว
		2. โครงการฯ ระยะที่ 2 มีการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
			2.1 บก.ทท. ได้ทำสัญญาจ้างบริษัทที่ 1 ดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 2 ในวงเงิน 184 ล้านบาท เริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2561 และมีกำหนดแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2562 ซึ่ง บก.ทท. ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2562 จำนวน 140.50 ล้านบาท และได้เบิกจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างแล้ว วงเงิน 74.52 ล้านบาท คงเหลืองบประมาณ จำนวน 65.98 ล้านบาท แต่โดยที่บริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนด บก.ทท. จึงได้บอกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทที่ 1
			2.2 บก.ทท. ได้ทำสัญญาจ้างบริษัทที่ 2 เพื่อดำเนินการในส่วนที่เหลือ ในวงเงิน 145.89 ล้านบาท โดยเริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2563 และมีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 โดยมีรายละเอียดการเบิกจ่ายงบประมาณ ดังนี้
				(1) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
				บก.ทท. ได้ใช้จ่ายงบประมาณจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่ได้ขยายระยะเวลาเบิกจ่ายงบประมาณจนถึงเดือนกันยายน 2563 จำนวน 65.98 ล้านบาท (เหลือจ่ายจากการเบิกจ่ายให้บริษัทที่ 1) จ่ายให้แก่บริษัทที่ 2 จำนวน 49.92 ล้านบาท คงเหลือวงเงินที่ต้องเบิกจ่ายให้บริษัทที่ 2 จำนวน 95.97 ล้านบาท (145.89 - 49.92)
				(2) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
				บก.ทท. ได้เสนอคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วงเงิน 79.91 ล้านบาท แต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จึงได้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอโอนเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จากโครงการก่อสร้างอาคารนักเรียนนายสิบแผนที่และอาคารแผนกขนส่งพื้นที่โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร วงเงิน 16.06 ล้านบาท ไปตั้งจ่ายโครงการฯ ระยะที่ 2 ซึ่ง สงป. ได้อนุมัติให้ บก.ทท. โอนเงินจัดสรรดังกล่าวแล้วทำให้คงเหลืองบประมาณที่ต้องเบิกจ่ายให้บริษัทที่ 2 จำนวน 79.91 ล้านบาท (145.89 - 49.92 - 16.06)
		3. โดยที่ บก.ทท. มีความต้องการงบประมาณเพื่อดำเนินการตามโครงการฯ ระยะที่ 2 ซึ่งมีกำหนดส่งมอบงานภายในเดือนพฤษภาคม 2564 วงเงิน 79.91 ล้านบาท บก.ทท. จึงมีแผนที่จะใช้งบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับโครงการฯ ประชาชื่น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ซึ่งยกเลิกไปแล้วตามข้อ 1.3) และโอนงบประมาณดังกล่าวมาใช้สำหรับโครงการฯ ระยะที่ 2
		4. สงป. เห็นว่า การยกเลิกรายการก่อหนี้ผูกพันโครงการฯ ประชาชื่นย่อมมีผลทำให้ไม่มีรายการดังกล่าวที่จะต้องตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2567 รองรับอีกต่อไป ดังนั้น กรณีดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณไว้ บก.ทท. จึงต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยข้อ 7 (3) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยขอยกเลิกรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการฯ ประชาชื่น และขอโอนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับรายการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วงเงิน 79.91 ล้านบาท ไปสมทบเป็นค่างานก่อสร้างโครงการฯ ระยะที่ 2 ในคราวเดียวกัน

13. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอดังนี้
		1. อนุมัติการดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่
		2. อนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ วงเงิน 1,329.22 ล้านบาท ประกอบด้วย
			2.1 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,264.20 ล้านบาท แบ่งเป็น
รายการ	จำนวน (ล้านบาท)
(1) งบอุดหนุนทั่วไป เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชดเชยการทำลายต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่างและกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ	864.00
(2) งบดำเนินงาน
    - ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกมันสำปะหลังสะอาดและทนทานต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง
    - ค่าธรรมเนียมการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)	400.20
400.00

0.20
			2.2 งบดำเนินงาน จำนวน 65.02 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมการเกษตรพิจารณาปรับจากแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ
		3. อนุมัติการดำเนินโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่ที่เกษตรกรขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร กษ. ทั้งที่มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิ
		โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
		1) ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบไม่ให้มีการนำเข้าหรือลักลอบนำเข้าต้นพันธุ์หรือท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่าง และการกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบที่เป็นพาหะของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ควบคู่ไปกับการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ด้วย
		2) พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับผู้ที่ได้รับการชดเชยตามโครงการฯ ไปแล้ว            แต่ภายหลังพบว่ามีการลักลอบนำมันสำปะหลังที่ติดโรคมาปลูกใหม่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว
		3) ร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการจัดให้เกษตรกรมีการทำประกันภัยผลผลิตมันสำปะหลังเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาในกรณีต่าง ๆ ต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		กษ. รายงานว่า
		1. ภายหลังจากที่กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 กันยายน 2562 และ 24 กันยายน 2562) กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำจัดต้นมันสำปะหลังเป็นโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบได้ทั้งสิ้น 26,109.225 ไร่ ในพื้นที่ 11 จังหวัด1 (ไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมายและพื้นที่ระบาดนอกเหนือจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ) และจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้กับเกษตรกรไปแล้วทั้งหมด 2,413 ราย แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังได้ เนื่องจากการแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่เป็นโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบพาหะนำโรค รวมถึงการดำเนินโครงการไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิและพื้นที่ระบาดส่งผลให้สถานการณ์การระบาดมีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ 27 จังหวัด2 รวมจำนวนพื้นที่ระบาด 400,000 ไร่
		2. กษ. จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ขึ้นเพื่อกำจัดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคในทุกพื้นที่และตัดวงจรการระบาดของโรค ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน) ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว รายละเอียดของโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ	รายละเอียด
1. วัตถุประสงค์	(1) เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง
(2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์สะอาดและทนทานต่อโรคใบด่างมันสำปะหลังทดแทนมันสำปะหลังเป็นโรคในพื้นที่ระบาด
(3) เพื่อควบคุมไม่ให้การระบาดของโรคขยายตัวไปยังพื้นที่อื่น ๆ
(4) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง
2. พื้นที่ดำเนินการ	พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทุกจังหวัด
3. ระยะเวลา
ดำเนินโครงการ	ตั้งแต่เดือนธันวาคม 25633 - กันยายน 2564

4. กิจกรรม	(1) กำจัดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่างและชดเชยค่าทำลายต้นมันสำปะหลังให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
    (1.1) เป็นแปลงที่พบต้นมันสำปะหลังที่มีสภาพที่สงสัยหรือส่อว่าจะมีการติดเชื้อและจะเป็นต้นตอของการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังยืนต้นอยู่ในแปลง
    (1.2) วิธีการทำลายต้องเป็นตามหลักวิชาการที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำและต้องทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้งหลังจากคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาโรคใบด่างมันสำปะหลังระดับตำบลพิจารณารับรอง และเมื่อผ่านไป 30 วัน ต้องไม่มีต้นงอกใหม่
    (1.3) อัตราค่าชดเชยการทำลายให้กับเกษตรกรที่กำจัดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบพาหะนำโรค ไร่ละ 2,160 บาท (เป็นอัตราที่ กค. เห็นชอบความเหมาะสมแล้ว)
    (1.4) กรณีเกษตรกรไม่ยินยอมให้ทำลายต้นมันสำปะหลัง ให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม4
(2) ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พันธุ์มันสำปะหลังสะอาดและทนทานโรคใบด่างมันสำปะหลัง ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
    (2.1) คัดเลือกพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดและทนทานต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง ในโครงการมันสำปะหลังแปลงใหญ่หรือแปลงเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ไม่พบการระบาด หรือไม่มีการระบาดของโรค
    (2.2) แปลงที่เข้าร่วมโครงการต้องผ่านการตรวจประเมินแหล่งท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาด
    (2.3) ผู้ทำหน้าที่ตรวจประเมินแปลงต้องผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจประเมินแปลงพันธุ์มันสำปะหลังสะอาด หรือได้รับการถ่ายทอดความรู้ หลักเกณฑ์วิธีการตรวจประเมินแปลงจากเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจประเมินแปลงพันธุ์มันสำปะหลังสะอาด
    (2.4) มีการสำรวจเพื่อค้นหาต้นเป็นโรคจากพื้นที่ที่คัดเลือก
    (2.5) มีการขึ้นทะเบียนแปลงพันธุ์สะอาดที่ผ่านการประเมิน
    (2.6) การสนับสนุนท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดและทนทานโรคใบด่างมันสำปะหลัง ให้กับเกษตรกรที่พบการระบาดในพื้นที่ดำเนินการ อัตราไร่ละ 500 ลำ
(3) ใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อกำจัดต้นที่เป็นโรคและควบคุมการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค กรณีเกษตรกรไม่ยินยอมให้ทำลายต้นมันสำปะหลังให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(4) สร้างการรับรู้และชี้แจงโครงการ โดยอบรมและชี้แจงการดำเนินโครงการ
ให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ จังหวัด และส่วนกลาง จำนวน 700 รายและอบรมเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40,000 ราย
(5) ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
(6) ติดตามและประเมินผลโครงการ เพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนหากเกิดการระบาดซ้ำ
5. งบประมาณ	กรอบวงเงินในการดำเนินโครงการฯ 1,329.22 ล้านบาท ประกอบด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,264.2 ล้านบาท และงบประมาณของกรมส่งเสริมการเกษตร วงเงิน 65.02 ล้านบาท
6. หน่วยงานดำเนินการ	(1) กรมส่งเสริมการเกษตร
(2) กรมวิชาการเกษตร
(3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
(4) ธ.ก.ส.
		ทั้งนี้ สถานการณ์การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงกลางปี 2561 ในแถบ 7 จังหวัด ใกล้บริเวณชายแดนไทย ? กัมพูชา ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่าเป็นการระบาดจากแปลงมันสำปะหลังที่เป็นโรคในประเทศกัมพูชา โดยมีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ (24 กันยายน 2562) อนุมัติให้ดำเนินโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังเพื่อกำจัดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคดังกล่าว โดยดำเนินการเฉพาะพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โรคระบาดดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปี 2563 ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการดำเนินโครงการไม่ได้ดำเนินการให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการระบาดทั้งหมด คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ (18 สิงหาคม 2563) ให้ขยายพื้นที่ดำเนินโครงการจากเดิมครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด เป็นดำเนินโครงการในทุกจังหวัดที่ปลูกมันสำปะหลัง โดยครอบคลุมทั้งพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิ แต่โดยที่ระยะเวลาดำเนินโครงการสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2563 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่สามารถดำเนินการได้ทันกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ดำเนินการทำลายต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่างเพิ่มเติมบางส่วนเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว รวมทั้งได้เสนอโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ขึ้น โดยมีกรอบวงเงินรวม 1,329.22 ล้านบาท ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการจ่ายเงินค่าชดเชยการทำลายต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่างและกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบให้แก่เกษตรกร (วงเงิน 864 ล้านบาท) รวมทั้งสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังพันธุ์สะอาดและทนทานต่อโรค (วงเงิน 400 ล้านบาท) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นควรดำเนินการทั้งในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิเพื่อกำจัดโรคอย่างเด็ดขาดไม่ให้มีการระบาดอีก
111 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี นครราชสีมา สระแก้ว สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา
216 จังหวัดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยนาท ชัยภูมิ นครสวรรค์ มหาสารคาม มุกดาหาร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ร้อยเอ็ด ลพบุรี จันทบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี อำนาจเจริญ และอุทัยธานี
3เดิมในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบโครงการฯ โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 - กันยายน 2564 แต่ กษ. ได้ปรับระยะเวลาการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
4กรณีที่มีศัตรูพืชที่ก่อความเสียหายร้ายแรงซึ่งหากไม่รีบทำลายอาจระบาดลุกลามทำความเสียหายได้มาก เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้เจ้าของจัดการทำลายพืช ศัตรูพืช และพาหะนั้นได้ หรือเจ้าหน้าที่จะทำลายเองโดยเจ้าของเป็นผู้เสียค่าทำลาย ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามนัยพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507

14. เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการให้จัดระบบหลักประกันสุขภาพ* สำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาทางสถานะบุคคลและต่างด้าว จำนวน 16,000 คน [จำนวนกลุ่มผู้ต้องขังดังกล่าวมีจำนวนจริง 19,506 คน ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 3,506 คน ยังมีความคลาดเคลื่อนทางทะเบียน] โดยให้มีการลงทะเบียนเพื่อเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพ พร้อมกับเสนอให้มีงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าถึงบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์**  ในอัตราเทียบเท่ากับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Universal Coverage: UC) (ปัจจุบันสิทธิในระบบดังกล่าวคิดค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัวจำนวน 3,719.23 บาทต่อผู้มีสิทธิ) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ โดยให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้จัดระบบดังกล่าวไปพลางก่อน
		สำหรับงบประมาณในการดำเนินการ ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 13.71 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ขอให้ สธ. ใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุงโรงพยาบาล) เป็นลำดับแรกก่อน เพื่อช่วยลดภาระงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด หากไม่เพียงพอขอให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณไปดำเนินการ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
   		โดยให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางในการจัดระบบบริการและประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในระยะยาวให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม และให้ ยธ.ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณากำหนดแนวทางในการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้กระทำความผิดให้ถูกต้อง ชัดเจน รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนของผู้กระทำความผิดได้ด้วย
หมายเหตุ *ระบบหลักประกันสุขภาพ คือ เครื่องมือทางการคลังเพื่อจัดการความแตกต่างของราคาบริการสุขภาพและความเสี่ยงซึ่งเชื่อมโยงกับการผันแปรของค่าใช้จ่ายสุขภาพส่วนบุคคล โดยกระจายความเสี่ยงเหนือตัวบุคคล (Across Individuals) และเวลา (Over Time) ด้วยการนำคนที่มีความเสี่ยงน้อยหรือป่วยน้อย เช่น คนวัยหนุ่มสาวมาเฉลี่ยความเสี่ยงกับคนที่มีความเสี่ยงมากหรือป่วยมาก เช่น ผู้สูงอายุและเด็ก เพื่อให้สามารถเก็บเบี้ยประกันซึ่งเมื่อรวมกันแล้วควรได้อย่างน้อยเท่ากับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ยธ. (กรมราชทัณฑ์) รายงานว่า
		1. คนไทยทุกคนมีสิทธิและสามารถเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพได้จาก 3 สิทธิ/กองทุน ได้แก่ (1) สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (2) กองทุนประกันสังคม และ (3) กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่สิทธิดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ และเมื่อผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าวเกิดการเจ็บป่วยจำเป็นซึ่งเกินศักยภาพการรักษาจากสถานพยาบาลเรือนจำ จะต้องส่งตัวกลุ่มผู้ต้องขังดังกล่าวออกมารักษาภายนอกเรือนจำ โดยโรงพยาบาลในพื้นที่ต้องเป็นผู้รับภาระค่ารักษาพยาบาลดังกล่าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้เคยมีการมอบหมายให้ สธ. จัดประชุมหารือเกี่ยวกับการจัดบริการทางการแพทย์ในเรือนจำทั้งระบบแล้ว
		2. กรมราชทัณฑ์จึงได้รวบรวมข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม 2563 จากเรือนจำและทัณฑสถาน จำนวน 127 แห่ง [จากจำนวนทั้งสิ้น 142 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 89)] พบว่า มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ต้องขังรวม 13.71 ล้านบาท ซี่งโรงพยาบาลในพื้นที่ต้องเป็นผู้รับภาระค่ารักษาพยาบาลดังกล่าว จากปัญหาดังกล่าว ยธ. จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ เพื่อเสนอแนวทาง วิธีการ กลไก และงบประมาณในการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับกลุ่มบุคคลดังกล่าวให้สามารถปฏิบัติได้จริง และต่อมากรมราชทัณฑ์ สปสช. กรมการปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดทำฐานทะเบียนผู้ต้องขังเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดการสิทธิด้านการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ต้องขัง ซึ่งผลการดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2563 สามารถสรุปได้ ว่า ผู้ต้องขังที่สามารถใช้สิทธิในการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพจากสิทธิ UC และสิทธิอื่นในปี พ.ศ. 2563 มีจำนวน 325,711 คน (คิดเป็นร้อยละ 94.35 ของจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด) ส่วนผู้ต้องขังที่ไม่สามารถใช้สิทธิในการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพเนื่องจากมีปัญหาทางสถานะบุคคลและต่างด้าวมีจำนวน 19,506 คน (คิดเป็นร้อยละ 5.65 ของจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด) ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง
		3. จากปัญหาข้างต้น คณะทำงานฯ จึงได้ยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าว เพื่อให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวสามารถใช้สิทธิในการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพได้เมื่อเจ็บป่วยจำเป็น และมีสิทธิที่เทียบเท่ากับประชาชนภายนอกเรือนจำ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ 24 (1) ของข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติในการสำหรับปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง [The United Nations Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners (Mandela Rules)] ที่กำหนดให้การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ต้องขังเป็นความรับผิดชอบของรัฐ โดยผู้ต้องขังควรได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานเช่นเดียวกับที่รัฐจัดให้กับประชาชนอื่น และจะต้องสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นโดยไม่คิดมูลค่าและไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสถานภาพด้านกฎหมายของตน

15. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย เบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะอนุกรรมการชุดหลักในคณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย เบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะอนุกรรมการชุดหลักในคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป และให้ อว. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		เดิมคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (24 มีนาคม 2563) อนุมัติหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย เบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะอนุกรรมการชุดหลักในคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) รวม 6 คณะ ไว้แล้ว แต่เนื่องจากข้อมูลที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนฯ ในคราวนั้นอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนจะมีการแต่งตั้ง กกอ. ชุดใหม่ (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563) และการแต่งตั้ง กมอ. (ตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2563) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ซึ่งต่อมา กกอ. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดหลักเพิ่มเติมอีก จำนวน 6 คณะ (เดิมมีคณะอนุกรรมการชุดหลักจำนวน 5คณะ*) และ กมอ. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดหลัก จำนวน 6 คณะ รวมคณะอนุกรรมการชุดหลักใน กกอ. และ กมอ. ในปัจจุบันทั้งสิ้น 17 คณะ ซึ่งที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการชุดหลักใน กกอ. และ กมอ. ได้จัดประชุมไปแล้ว และได้เบิกจ่ายเบี้ยประชุมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ในอัตราที่แตกต่างกัน กล่าวคือ คณะอนุกรรมการชุดหลัก จำนวน 6 คณะแรก (กกอ. 5 คณะ และ กมอ. 1 คณะ) ได้เบิกจ่ายเบี้ยประชุมในอัตราเบี้ยประชุมของคณะอนุกรรมการชุดหลัก สำหรับคณะอนุกรรมการชุดหลักใน กกอ. ที่ได้แต่งตั้งเพิ่มเติมภายหลังอีก จำนวน 6 คณะ และคณะอนุกรรมการชุดหลักใน กมอ. ที่ได้แต่งตั้งขึ้น จำนวน 6 คณะ นั้น ได้เบิกจ่ายเบี้ยประชุมในอัตราของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ (อ้างอิงจากอัตราเบี้ยประชุมสำหรับคณะอนุกรรมการทั่วไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547) ในครั้งนี้ อว. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย เบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะอนุกรรมการชุดหลักใน กกอ. และ กมอ. เพิ่มเติมอีก รวมทั้งสิ้น 12 คณะ โดยให้สามารถเบิกจ่ายเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับคณะอนุกรรมการชุดหลักตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ได้
* หมายเหตุ เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (24 มีนาคม 2563) อนุมัติหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทนฯ ของอนุกรรมการชุดหลัก จำนวน 6 คณะ ต่อมาเมื่อมีการแต่งตั้ง กมอ. (ตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2563) คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา (เดิมอยู่ภายใต้ กกอ.) ได้ย้ายไปอยู่ภายใต้ กมอ.ส่งผลให้คณะอนุกรรมการชุดหลักในกกอ. (เดิม) เหลือจำนวน 5 คณะ ทั้งนี้ หากรวมกับคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มเติมภายหลังจะรวมเป็น 11 คณะ

16. เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 (จำนวน 5 เรื่อง) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 ที่ให้ถือว่าการประชุม กก.วล. เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องสิ่งแวดล้อม และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 (เรื่อง มติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 ครั้งที่ 11/2548 และครั้งที่ 12/2548) รับทราบมติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ที่ให้นำมติ กก.วล. เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญ และเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง	มติ กก.วล.
1. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (จำนวน 4 โครงการ)
    1.1 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน	เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้ง 4 โครงการ โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการ ดังนี้
    1) ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
    2) ให้ตั้งบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการฯ ที่กำหนดไว้
    3) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ เช่น การกำหนดแนวทางการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการก่อสร้าง และการพิจารณาจุดจอดที่สถานี YLEX01 (บริเวณสำนักงานศาลยุติธรรม) และทางเชื่อมยกระดับที่เหมาะสม
    4) โครงการถนนเลี่ยงเมืองสตูลฝั่งตะวันออกฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นการป้องกัน เฝ้าระวังการรุกล้ำใช้ประโยชน์และการขยายตัวของชุมชนในพื้นที่ที่ผ่านป่าชายเลนเสื่อมโทรม และมาตรการด้านสาธารณสุขสำหรับประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง
     5) โครงการทางหลวงหมายเลข 203 ให้ประสานกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เกี่ยวกับการควบคุมไม่ให้มีผลกระทบต่อภูมิทัศน์และพื้นที่ป่าไม้บริเวณนอกพื้นที่ก่อสร้าง
    1.2 โครงการถนนเลี่ยงเมืองสตูลฝั่งตะวันออก ตำบลคลองขุด ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
    1.3 โครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนโดยระบบราง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
    1.4 โครงการทางหลวงหมายเลข 203 (หล่มสัก ? หล่มเก่า - เลย)

เรื่อง/โครงการ	มติ กก.วล.
2. การปรับปรุงมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากท่าเทียบเรือประมงบางประเภท	เห็นชอบร่างประกาศ ทส. เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากท่าเทียบเรือประมงบางประเภท (ได้แก่ ท่าเทียบเรือประมงพาณิชย์  ท่าเทียบเรือประมงสำหรับการนำเข้าสัตว์น้ำ ท่าเทียบเรือประมงของโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ และท่าเทียบเรือประมงที่มีการขนถ่ายสัตว์น้ำสำหรับการผลิตอาหารสัตว์) ตามความเห็นของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ในการประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 และมอบให้ ทส. (กรมควบคุมมลพิษ) เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาลงนามต่อไป

17. เรื่อง รายงานผลการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 [เป็นการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (พ.ร.ก. กู้เงินฯ พ.ศ. 45) มาตรา 6 ที่บัญญัติให้ในการกู้เงินแต่ละคราวต้องรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในหกสิบวันนับแต่วันทำสัญญากู้หรือวันออกพันธบัตรหรือตราสารอื่น] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. กค. ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 จำนวน 69,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินฯ พ.ศ. 45 โดยการชำระคืนต้นเงินพันธบัตรรัฐบาลจากเงินนำส่งจากบัญชีผลประโยชน์ จำนวน 18,946.74 ล้านบาท และดำเนินการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาวและตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้น จำนวนรวม 50,053.26 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดผลการกู้เงิน ดังนี้

(หน่วย : ล้านบาท)
วันที่ประมูล	วันที่เบิกเงินกู้	อายุ	วงเงิน	อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย
(ร้อยละต่อปี)
1. การกู้เงินเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (พ.ร.ก. กู้เงินฯ พ.ศ. 45) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 1
16 มีนาคม 2564	31 มีนาคม 2564	3 ปี	17,448.50	BIBOR 6M ? 0.01146
2. การกู้เงินระยะสั้นเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (พ.ร.ก. กู้เงินฯ พ.ศ. 45) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ครั้งที่ 1
16 มีนาคม 2564	31 มีนาคม 2564	9 เดือน	7,604.76	0.62022
ครั้งที่ 2
16 มีนาคม 2564	31 มีนาคม 2564	3 เดือน	25,000	0.56000
รวม	50,053.26
หมายเหตุ : BIBOR 6M หมายถึง อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ ระยะ 6 เดือน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
		2. กค. ได้ออกประกาศ กค. เกี่ยวกับผลการกู้เงินเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่กล่าวข้างต้นและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

18. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานของ สตง. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ดังนี้
		สาระสำคัญของเรื่อง
		สตง. ได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของ สตง. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. การตรวจเงินแผ่นดิน จำแนกตามลักษณะงานตรวจสอบได้ดังนี้
			1.1 การตรวจสอบการเงิน สตง. ได้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่อรายงานการเงิน จำนวน 8,865 รายงาน รวม 8,490 หน่วยงาน โดยได้แสดงความเห็นเป็นรายงานของผู้สอบบัญชีอย่างไม่มีเงื่อนไข 7,525 รายงาน แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่อรายงานการเงิน 1,144 รายงาน แสดงความเห็นว่ารายงานการเงินไม่ถูกต้อง 47 รายงาน และไม่แสดงความเห็นต่อรายงานการเงิน 149 รายงาน
			1.2 การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย สตง. ได้ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายด้านการเงิน ตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง ตรวจสอบข้อเท็จจริง ตรวจสอบกรณีพิเศษ และตรวจสอบเชิงป้องกัน จำนวน 7,663 รายงาน/สัญญา/ประกาศ รวม 4,063 หน่วยงาน พบข้อบกพร่อง 4,759 รายงาน/สัญญา/ประกาศ รวม 3,257 หน่วยงาน มูลค่าความเสียหายทั้งจากการต้องเรียกเงินคืน รายได้ที่ต้องจัดเก็บเพิ่ม และประมาณการมูลค่าความเสียหายจากการดำเนินงาน และความเสียหายที่สามารถป้องกันได้ รวม 1,921.64 ล้านบาท
			1.3 การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงาน สตง.  ได้ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ฯ จำนวน 61 เรื่อง/โครงการ รวม 89 หน่วยงาน พบข้อตรวจพบ และแจ้งข้อเสนอแนะให้หน่วยรับตรวจดำเนินการมิให้เกิดมูลค่าเสียโอกาสและความเสียหายจากการดำเนินงาน รวม 41,565.84 ล้านบาท
		2. การดำเนินการด้านความผิดวินัยการเงินการคลังของรัฐ สตง. ได้ติดตามและประสานงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยสั่งลงโทษทางปกครองที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ได้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลังและกำหนดโทษปรับทางปกครองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ซึ่งผู้ถูกลงโทษจะต้องชำระเงินค่าปรับทางปกครองและนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวน 75 ราย เป็นเงินรวมทั้งสิ้น14.02 ล้านบาท และได้ชำระเงินค่าปรับทางปกครองครบถ้วนแล้ว 29 ราย เป็นเงิน 4.04 ล้านบาทโดยการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้การบังคับโทษเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ รวมทั้งป้องปรามผู้ที่จะกระทำผิดรายอื่น
		3. การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ และการใช้จ่ายเงินแผ่นดินแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ สตง. ได้สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในการให้คำปรึกษา แนะนำ หรือเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ รวมทั้งให้คำแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐในการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน โดยจัดอบรมสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และการตระหนักถึงการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐตามหลักการบริหารการเงินการคลังภาครัฐอย่างถูกต้องให้แก่บุคลากรหน่วยงานภาครัฐ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 8,187 คน รวม 2,530 หน่วยงาน รวมทั้งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารพัสดุ การเงิน การบัญชี การเบิกจ่าย งบประมาณ การคลัง ข้อสังเกตที่พบจากการตรวจสอบ และความรู้เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดินให้แก่บุคลากรหน่วยงานภาครัฐและบุคคลภายนอก รวมทั้งสิ้น 207 หน่วยงาน 235 เรื่อง
		4. การเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ สตง. ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้แก่นิสิต นักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 15 แห่ง จำนวน 5,121 คน เพื่อให้ได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่และอำนาจที่สำคัญของ สตง. การสร้างความตระหนักและความสำคัญของการปกป้องดูแลเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ รวมทั้งเกิดความเข้าใจแนวทางการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด
		5. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจเงินแผ่นดิน
สตง. ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ในการพัฒนาต้นแบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการตรวจสอบ โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและขยายผลการพัฒนาต้นแบบปัญญาประดิษฐ์ของลักษณะงานตรวจสอบอื่นต่อไป รวมทั้งได้จัดทำระบบบริหารจัดการการตรวจสอบรายงานการเงินของ อปท. ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ตรวจสอบในการจัดทำ สอบทาน และจัดเก็บกระดาษทำการในรูปแบบดิจิทัลไฟล์ รวมทั้งช่วยในการติดตามความคืบหน้าสำหรับการปฏิบัติงานตรวจสอบรายงานการเงินของ อปท. เพื่อสร้างความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานตรวจสอบการเงินแบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
		6. การประสานงานและความร่วมมือระหว่างประเทศ สตง. ได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในเวทีนานาชาติ จำนวน 9 ผลงาน สร้างความยอมรับให้เกิดขึ้นกับองค์กรตรวจเงินแผ่นดินไทยในเวทีสากล และทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนคณะทำงานด้านการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดระหว่างประเทศ (INTOSAI) หรือ Steering Committee of INTOSAI Working Group on Environmental Auditing: WGEA ซึ่งเป็นคณะทำงานของ INTOSAI ที่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์การตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม โดยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำโครงการศึกษาและพัฒนาแนวทางการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมกรณีการตรวจสอบประเด็นความยั่งยืนในการขนส่งสาธารณะ
		7. ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สตง. ได้ผลคะแนนการประเมินรวม 92.12 คะแนน อยู่ในระดับ A โดยมีคะแนนรวมสูงขึ้นจากการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งได้คะแนนรวม 89.96 คะแนน

19. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานความก้าวหน้าการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เรื่อง การคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานความก้าวหน้าการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เรื่อง การคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ และการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานความก้าวหน้าการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เรื่อง การคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) การจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รัฐบาลควรเร่งรัดเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อฝ่ายนิติบัญญัติโดยเร็ว (2) กรอบความคิด ประเด็นสำคัญ หลักการและเหตุผล และร่างกรอบการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและอนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้จัดทำไว้สำหรับยกร่างกฎหมายนั้นเหมาะสมแล้ว (3) วธ. โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ควรเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำและเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว (4) ควรปรับชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็น ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม คุ้มครอง และอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... เพื่อให้ครอบคลุมสาระสำคัญทั้ง 3 ด้าน คือการส่งเสริม การคุ้มครอง และการอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
		2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ วธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน                 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		วธ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 พิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ สรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะ	ผลการพิจารณา
1. การจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รัฐบาลควรเร่งรัดเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อฝ่ายนิติบัญญัติโดยเร็ว	เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ?. โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้ยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบของกฎหมายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 โดยจะเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนมิถุนายน 2564
2. กรอบความคิด ประเด็นสำคัญ หลักการและเหตุผล และร่างกรอบการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและอนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้จัดทำไว้สำหรับยกร่างกฎหมายนั้นเหมาะสมแล้ว	เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ?. มีเจตนารมณ์ให้เป็นกฎหมาย ?ส่งเสริม? ตามหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 70 มุ่งให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีสิทธิเสมอภาคกันอย่างไม่เลือกปฏิบัติ และวางแนวทางในการคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการและศักยภาพของกลุ่มชาติพันธุ์
3. วธ. โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(องค์การมหาชน) ควรเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำและเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว	เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดย วธ. เป็นผู้เสนอแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและกะเหรี่ยงตั้งแต่ปี 2553 และมีศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในคณะกรรมการอำนวยการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง จึงมีประสบการณ์ในการขับเคลื่อนแนวนโยบายในการแก้ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีฐานะเป็นหน่วยงานวิชาการ ที่ทำงานด้านชาติพันธุ์โดยตรง มีข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งประสบการณ์การทำงานกับเครือข่ายชาติพันธุ์ได้มอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติ
4. ควรปรับชื่อร่างพระราชบัญญัติ เป็นร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม คุ้มครอง และอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ?. เพื่อครอบคลุมสาระสำคัญทั้ง 3 ด้าน	เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดย วธ. ได้ปรับชื่อร่างเป็นร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ?. เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและเป้าหมาย

20. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง และกระท่อมอย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร
		คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง และกระท่อมอย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ได้เสนอรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง และกระท่อมอย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) การยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา กัญชง จะต้องชะลอการขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์ภายในประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ควรมีการจัดตั้งสถาบันพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติเข้ามาบริหารจัดการ 3) ให้ยกเลิกมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เพื่อลดการผูกขาดโดยรัฐ ควรเปิดโอกาสให้มีการนิรโทษกรรมสำหรับผู้ครอบครองกัญชา และ 4) กำหนดให้มีการศึกษาวิจัยสายพันธุ์พืชเสพติดอย่างเปิดกว้างเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่อง และมีข้อสังเกต ดังนี้ 1) การยกเลิกพืชเสพติด ได้แก่ กัญชา กัญชง และกระท่อมออกจากการเป็นยาเสพติดในกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) ควรจะต้องมีการประมาณการ ปริมาณการผลิต ความต้องการของตลาด ผลตอบแทน และมีระบบติดตามตรวจสอบที่ดี ภายหลังที่กฎหมายในประเทศอนุญาตให้มีการส่งออกกัญชา กัญชง และกระท่อม 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับการอนุวัติการ (Implementation) กฎหมายภายในประเทศเพื่อส่งเสริมให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของนักปรับปรุงพันธุ์พืชและบริษัทเมล็ดพันธุ์ที่ผลักดัน และ 4) การกำหนดให้กัญชงเป็นยาเสพติด ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมของเส้นใยและเมล็ดอาจจะถูกตีความว่าเป็นยาเสพติดไปด้วย
		2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงยุติธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะและข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรี ตามข้อ 2 โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะและข้อสังเกตดังกล่าว และจะนำข้อเสนอแนะและข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือพิจารณาประกอบการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล เรื่อง กัญชา กัญชง และพืชกระท่อมต่อไป ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ผลการพิจารณาเกี่ยวกับข้อเสนอแนะและข้อสังเกตตามรายงานของคณะกรรมาธิการ
ข้อเสนอแนะ	ผลการพิจารณาศึกษา
1) การยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา กัญชง จะต้องชะลอการขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์ภายในประเทศออกไปก่อน เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้อง	    - กษ. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะ และรับไปพิจารณาดำเนินการ
2) ควรมีการจัดตั้งสถาบันพืชควบคุม
เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติเข้ามาบริหารจัดการ	    - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยในหลักการ แต่อาจมีความทับซ้อนกับการควบคุมพืชที่เป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ เนื่องจากถ้ากำหนดชื่อของสถาบันเฉพาะเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ดังนั้น ทุกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากส่วนประกอบของพืชควบคุมจะถูกกำหนดให้ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เท่านั้นหรือไม่ ชื่อของสถาบันอาจไม่สอดคล้องกับการนำผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของพืชควบคุมมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือทางการค้า
3) ให้ยกเลิกมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เพื่อลดการผูกขาดโดยรัฐ ควรเปิดโอกาสให้มีการนิรโทษกรรมสำหรับผู้ครอบครองกัญชา	    - อย. รับข้อสังเกตเพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงกฎ ระเบียบต่อไป และในส่วนการนิรโทษกรรม กฎหมายปัจจุบันกำหนดให้มีการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ และมียากัญชาใช้ในสถานพยาบาลและให้สามารถขออนุญาตเพื่อการศึกษาวิจัยได้อยู่แล้ว จึงอาจไม่มีความจำเป็นต้องเปิดให้แจ้งการครอบครองอีก
4) กำหนดให้มีการศึกษาวิจัยสายพันธุ์พืชเสพติดอย่างเปิดกว้างเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่อง	    - อย. สนับสนุน ส่งเสริมให้มีการขออนุญาตศึกษาวิจัยพันธุ์พืชเสพติดเพื่อการแพทย์และอื่นๆ เพื่อการพัฒนาสายพันธุ์และองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องแล้ว
	    - กษ . ร่วมกับ อย. มีการลงนามในข้อตกลงเพื่อสนับสนุนให้มีการปรับปรุงพันธุ์ และขึ้นทะเบียนพันธุ์ นอกจากนี้ ในกฎหมายปัจจุบันเปิดโอกาสให้มีการใช้พืชเสพติด เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยได้ ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการขอรับอนุญาตเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยแล้ว เช่น สวทช. มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ข้อสังเกต	ผลการพิจารณาศึกษา
1) การยกเลิกพืชเสพติด ได้แก่ กัญชา กัญชง และกระท่อมออกจากการเป็นยาเสพติดในกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
	    - อย. สำนักงาน ป.ป.ส. เห็นว่า กัญชา และกัญชงจัดเป็นพืชในสกุล Cannabis ถูกควบคุมภายใต้อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 ซึ่งกำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมพิเศษและห้ามการผลิต นำเข้า ส่งออก การใช้ประโยชน์ เว้นแต่ในปริมาณเท่าที่จำเป็นสำหรับการใช้ทางการแพทย์หรือการศึกษาวิจัยเท่านั้น โดยประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว จึงต้องดำเนินการภายใต้กรอบของอนุสัญญาดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีมาตรการควบคุมและพันธกรณีที่ประเทศสมาชิกต้องดำเนินการ ทั้งนี้ กรณีการยกเลิกกัญชา และกัญชงจากการควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษก็อาจกระทำได้โดยตรากฎหมาย ควบคุมกัญชาและกัญชงเป็นการเฉพาะ จำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีระดับไม่ต่ำกว่ามาตรการตามที่อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 กำหนด กรณีของกระท่อม สำนักงาน ป.ป.ส. อยู่ระหว่างดำเนินการยกเลิกพืชกระท่อมจากกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
2) ควรจะต้องมีการประมาณการ ปริมาณการผลิต ความต้องการของตลาด ผลตอบแทน และมีระบบติดตามตรวจสอบที่ดี ภายหลังที่กฎหมายในประเทศอนุญาตให้มีการส่งออกกัญชา กัญชง และกระท่อม
	    - อย. ได้ดำเนินการประมาณการการใช้ยาเสพติดในประเทศแจ้งการนำเข้า ส่งออก เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วย
ยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 พร้อมทั้งจัดทำระบบติดตามตรวจสอบ Track and Trace
    - พณ. ได้มีการรวบรวมข้อมูลการใช้กัญชา กัญชงในต่างประเทศเพื่อจัดเตรียมข้อมูลประเทศที่สามารถจะนำเข้าได้ภายใต้การควบคุมตามกฎ ระเบียบ ของประเทศนั้น ๆ หรือประเทศใดที่มีโอกาสนำเข้าได้และยินดีสนับสนุนข้อมูลและการดำเนินการ กรณีการส่งออก โดยต้องพิจารณาจากกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของต่างประเทศด้วย
    - กษ. จะสนับสนุนการผลิต การวิจัย พัฒนาด้านสายพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิต เพื่อให้ได้กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานทางการเกษตร และได้ผลผลิตที่ดีเป็นไปตามที่ต้องการของตลาด
3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับการอนุวัติการ (Implementation) กฎหมายภายในประเทศ
ให้มีความรอบคอบ เพื่อส่งเสริมให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของนักปรับปรุงพันธุ์พืชและบริษัทเมล็ดพันธุ์ที่ผลักดัน	    - กษ. เห็นว่า กรณีการจดทะเบียนพันธุ์ใหม่ หากเกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ในประเทศ ซึ่งมีคณะกรรมการที่จะพิจารณารับรองพันธุ์และมีกฎระเบียบอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของการคุ้มครอง หรือการแบ่งปันผลประโยชน์ โดยมีสำนักคุ้มครองพันธุ์พืชเป็นผู้ดูแล
    - พณ. โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา เห็นด้วย เนื่องจากจะทำให้กฎหมายสามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ภายในประเทศมากขึ้น
4) การกำหนดให้กัญชงเป็นยาเสพติดซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมของเส้นใยและเมล็ด ซึ่งอาจจะถูกตีความว่าเป็นยาเสพติดไปด้วย	    - ตามอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 ให้มีการควบคุมการปลูกพืชในสกุล Cannabis ประเทศภาคีสมาชิกต้องมีบทบัญญัติที่ควบคุมในระดับที่ไม่ต่ำกว่า นอกจากนี้ ปัจจุบันตามประกาศ สธ. เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 ได้ยกเว้นให้เมล็ดกัญชงที่มาจากการผลิตที่ได้รับอนุญาตไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 แล้ว

21. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
		คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียน กรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาดของประชาชน กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชน โดยขอให้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างเพียงพอ
		2. กสม. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการดังกล่าวซึ่งมีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย (มท.) มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษา สนับสนุน และสำรวจออกแบบเพื่อการพัฒนา อนุรักษ์ บูรณะและป้องกันพื้นที่ริมตลิ่งและชายฝั่ง ระหว่างปี 2552 - 2556 โดยมีอัตราการกัดเซาะชายฝั่ง 0.59 - 2.68 เมตรต่อปี ประกอบกับประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการจัดเซาะถนนในช่วงฤดูมรสุม กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลเพื่อป้องกันทรัพย์สินของทางราชการและประชาชนไม่ให้ได้รับความเสียหายจากคลื่นกัดเซาะ จากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นพบว่า ภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ ชายฝั่งบริเวณจุดสิ้นสุดของเขื่อนคอนกรีตขั้นบันไดดังกล่าวด้านทิศเหนืออาจเกิดการกัดเซาะเพิ่มขึ้น และในช่วงระยะการก่อสร้างพบปัญหาผลกระทบในเรื่องของอากาศ เสียง การจราจร วิถีชีวิต และการทำประมง โดยโครงการดังกล่าวต้องก่อสร้างลงไปในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อป้องกันการกัดเซาะและพังทลายของตลิ่ง ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทส. เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 เพื่อให้มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างบูรณาการ โดยผ่านกลไกคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติหรือคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งสำหรับการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาดและเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พ.ศ. .... รวมทั้งได้จัดทำรายการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าว
		3. ที่ผ่านมาชายฝั่งหาดมหาราชไม่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง จะพบปัญหาการกัดเซาะเฉพาะในช่วงฤดูมรสุมเท่านั้น แต่ประชาชนในพื้นที่มีข้อห่วงกังวลว่า หากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลบริเวณหาดมหาราชแล้วเสร็จจะทำให้ชุมชนชาวประมงที่อยู่ทางด้านทิศเหนือจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนทิศทางของคลื่นเกิดการกัดเซาะเพิ่มมากขึ้น และเกรงว่าระบบนิเวศชายฝั่งจะเปลี่ยนแปลงไปจนส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ วิถีชีวิต และการประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง ซึ่ง กสม. เห็นว่า ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องดำเนินการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะบุคคลและชุมชนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น จะต้องได้รับโอกาสในการเข้าไปมีส่วนร่วมโดยไม่จำกัดเพียงแค่สิทธิในการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น แต่รวมถึงสิทธิในการร่วมจัดการ ใช้ประโยชน์ และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน โดยรัฐจะต้องทำหน้าที่ในการเปิดโอกาสให้บุคคลและชุมชน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้เข้าถึงสิทธิที่ได้รับการรับรองดังกล่าว นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าว ยังเป็นแหล่งอาศัยและสืบพันธุ์ของจักจั่นทะเล ซึ่งมีความสำคัญที่บ่งบอกถึงความสะอาดของชายหาดที่ควรแก่การอนุรักษ์ รวมทั้งทรัพยากร (หอยเสียบ) ที่เป็นแหล่งทำการประมงพื้นบ้านของชุมชน โดยข้อมูลในส่วนนี้ไม่ปรากฏในรายงานผลการศึกษาของกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลทางวิชาการที่มีความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมเพื่อประกอบการตัดสินใจของประชาชน เนื่องจากการดำเนินโครงการนอกจากจะส่งผลกระทบให้เกิดการกัดเซาะเพิ่มขึ้นบริเวณจุดสิ้นสุดโครงการแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศชายฝั่งอันอาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนต่อไปในระยะยาว ซึ่งปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่การแก้ไขปัญหาในทางกายภาพ แต่สาเหตุของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง คือ การสูญเสียระบบนิเวศในบริเวณชายหาด การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องพิจารณาให้ครบถ้วนและต้องพิจารณาหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากหากมีสิ่งก่อสร้างบนชายหาดจะเป็นการตัดความเชื่อมโยงระหว่างชายหาดและทะเลทำให้ระบบนิเวศและคุณค่าในพื้นที่สูญหายไป และจากการที่ประชาชนในพื้นที่และผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการอย่างเพียงพอ และไม่ได้รับทราบรายละเอียดของโครงการและข้อมูลที่สำคัญอย่างครบถ้วน เพื่อใช้ประกอบการแสดงความคิดเห็น ข้อห่วงกังวลและการตัดสินใจตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง รวมทั้งมีการดำเนินโครงการที่อาจไม่สอดคล้องกับแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบัน และไม่สอดคล้องกับการรับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงไม่สอดคล้องกับการทำหน้าที่ของรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวผู้ดำเนินการจะต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการและได้รับประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวตามสิทธิที่ได้มีการรับรองและคุ้มครองไว้ จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน กสม. ได้มีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ในเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
		4. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ทส. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงคมนาคม (คค.) มท. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ทส. รายงานว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คค. มท. และ สคก. แล้ว เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 โดยมีผลการพิจารณาในภาพรวมสรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ	สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
1. คณะรัฐมนตรีควรพิจารณามอบหมายให้ ทส. ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการหรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อพิจารณาทบทวนประกาศดังกล่าว ตามมาตรา 48 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพื่อพิจารณาความจำเป็นต่อการก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเลให้ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามขนาดหรือระยะทางที่ใช้ข้อมูลในทางวิชาการ ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการในลักษณะดังกล่าว โดยอาศัยข้อมูลและเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน โดยผ่านกระบวนการการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมทางวิชาการ โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละด้านให้มีความรอบคอบรัดกุมและคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาของโครงการ	แนวทางการดำเนินงานของ ทส. ในปัจจุบันมีความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ส่งผลจากการสร้างกำแพงริมชายฝั่งติดแนวชายฝั่งแบบครบถ้วนและยั่งยืนแล้ว โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้
1. กลไกการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่อยู่ระหว่างดำเนินการยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เพื่อผลักดันการจัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เนื่องจากการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหารายโครงการจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาระบบหาดที่เป็นปัญหาเชิงพื้นที่ในภาพรวมได้ทั้งระบบ และจะได้นำเสนอคณะอนุกรรมการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
2. กลไกการแก้ไขปัญหาระดับรายโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มาตรา 21 เพื่อออกกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง สำหรับการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาดและเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พ.ศ. .... และได้จัดทำ (ร่าง) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาดและเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล รวมทั้งได้จัดทำกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณามาตรการด้านสิ่งแวดล้อมด้วยแล้ว ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดจะเป็นกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 23 จังหวัดแบบบูรณาการในภาพรวมของประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ที่จะให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างเป็นเอกภาพ มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งมีกรอบแนวทางและรูปแบบวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งตามหลักวิชาการต่อไป
2. คณะรัฐมนตรีควรพิจารณามอบหมายให้ ทส. มท. และ คค. ร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งให้เกิดกลไกการปฏิบัติงานแบบบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์และกลไกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ที่มุ่งหวังให้เกิดความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การบูรณาการและการส่งเสริมการมรส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยอาจพิจารณามอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติหรือคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการบูรณาการซึ่งจะทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำหรือเป็นผู้พิจารณาก่อนมีการอนุมัติให้ดำเนินโครงการในแต่ละพื้นที่ตามความเหมาะสมต่อไป	1. การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนดำเนินโครงการจะต้องกำหนดผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุมระบบหาดที่โครงการนั้นจะดำเนินการ และให้ความสำคัญต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ
2. ทส. มท. และ คค. ไม่ขัดข้องในการใช้ระบบคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติและคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด เป็นกลไกในการบูรณาการและให้คำแนะนำต่อโครงการในแต่ละพื้นที่ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการบูรณาการการดำเนินงานด้านการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ผ่านกลไกของคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ รวมทั้งมีการกลั่นกรองเพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่จะขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2565 โดยอาศัยกลไกของคณะทำงานเพื่อพิจารณากลั่นกรองและให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่อโครงการ มาตรการ ระเบียบ หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในภาพรวมและเชิงพื้นที่ ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยใช้แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 และหลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นแนวทางประกอบการพิจารณาโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ที่จะขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2565

22. เรื่อง มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เสนอ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2464 และในปีงบประมาณปีต่อ ๆ ไป ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		คสช. รายงานว่า ในคราวประชุม คสช. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563 รวม 2 มติ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปสรุปได้ ดังนี้
มติ 1 ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต
?	สถานการณ์และปัญหาเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงทางอาหารในประเทศไทย ทั้งที่มา การเข้าถึงและการกระจายอาหาร พบว่า ในสถานการณ์วิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารปรากฏเด่นชัดมากขึ้น เช่น ไม่มีอาหารจำหน่าย คนจำนวนมากไม่มีกำลังซื้ออาหารและในอีกด้านหนึ่งได้ปรากฏให้เห็นถึงการปรับตัวของผู้คน ชุมชน องค์กรและเครือข่ายสังคมที่ร่วมกันดำเนินการรับมือกับปัญหา รวมถึงสถานะของนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันทั้งที่มีผลเชิงลบและที่หนุนเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต จึงกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้
ประเด็น	แนวทางการดำเนินการ	หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. การดำเนินการ
เรื่อง ?สิทธิในอาหาร?*	- ดำเนินการเพื่อปกป้อง ?สิทธิในอาหาร? ของประชาชนทุกคน โดยตระหนักในความต้องการด้านอาหารและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
- ให้มีการบัญญัติ ?สิทธิในอาหาร? ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย	รัฐบาลและทุกภาคส่วน
2. การจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการระดับชาติ	- จัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี	สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
3. การพัฒนาระบบอาหารให้พร้อมรับภาวะวิกฤต
	3.1) ด้านการผลิตอาหาร

		- บังคับใช้มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เพื่อกำหนดให้เขตพื้นที่ใดเป็นเขตพื้นที่ที่จำเป็นต้องสงวนไว้เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงทางอาหารเป็นการชั่วคราว	คณะรัฐมนตรี (โดยการเสนอของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ)
	- สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางอาหารจากฐานของชุมชน รวมทั้งองค์ความรู้และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น	องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
	- สนับสนุนให้มีมาตรการที่เป็นธรรมเพื่อนำที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาใช้ประโยชน์เพื่อความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพของประชาชน	กระทรวงการคลัง (กค.)
กระทรวงมหาดไทย (มท.)
การรถไฟแห่งประเทศไทย อปท.
	- ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรรม เกษตรกร ครัวเรือนและชุมชนให้มีความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัย และคุณค่าทางโภชนาการ	กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มท.
3.2) ด้านการสำรองอาหาร	- สนับสนุนให้เกิดการผลิตและระบบการสำรองอาหารตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับชุมชนและครัวเรือน โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย ปลอดภัย เพียงพอ และพร้อมกระจาย อีกทั้งให้สอดคล้องกับภูมินิเวศวัฒนธรรมของท้องถิ่นและวิถีชุมชน เช่น ธนาคารอาหาร ครัวกลางชุมชน เป็นต้น	กษ. มท. อปท.
	- สนับสนุนเครือข่ายด้านการศึกษาวิจัยในการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิต แปรรูป และถนอมอาหารเพื่อการสำรองอาหารสำหรับภาวะวิกฤตและกระจายเทคโนโลยีสู่ชุมชน	กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กษ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
3.3) ด้านการกระจายการแลกเปลี่ยนและการแบ่งปันอาหาร เช่น	- จัดทำแผนชุมชนเพื่อจัดระบบการกระจาย การแลกเปลี่ยนและการแบ่งปันอาหารเพื่อเตรียมการและรับมือกับภาวะวิกฤตทั้งภายในชุมชน ชุมชนใกล้เคียง และเชื่อมโยงกับชุมชนอื่น ๆ	กษ. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) มท. ผู้ว่าราชการจังหวัด อปท.
	- ส่งเสริมการตลาดที่เชื่อมโยงโดยตรงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค	กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กษ. พณ. มท. อก.
	- ส่งเสริมให้เกิดการค้าที่เป็นธรรมระหว่างระบบค้าปลีกแบบดั้งเดิมและระบบการค้าสมัยใหม่ รวมถึงการผลักดันการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560	พณ. คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
4. การพัฒนาระบบดูแลประชากรเปราะบาง* และประชาชนที่ขาดความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต	- พัฒนาฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน จัดทำระบบการค้นหา การช่วยเหลือ การสื่อสาร รวมถึงพัฒนากลไกของชุมชนและสนับสนุนระบบอาสาสมัครให้สามารถช่วยเหลือดูแลประชากรเปราะบางและประชาชนที่ขาดความมั่นคงทางอาหารอย่างรวดเร็วและทั่วถึง	กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดศ. มท. อปท.
	- จัดระบบและแผนปฏิบัติการนำอาหารที่มีคุณภาพมากระจายให้ทั่วถึงอย่างเป็นธรรม	กษ. พณ.
5. การพัฒนาระบบการจัดการร่วมกัน เพื่อความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต เช่น	- เพิ่มมาตรการควบคุมราคาสินค้าอาหาร ดำเนินการทางกฎหมายและเพิ่มบทลงโทษทางกฎหมายต่อผู้กักตุนสินค้าอาหารอย่างจริงจัง	พณ. มท. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
	- ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหารของชุมชน สนับสนุนให้เกิดพื้นที่ต้นแบบด้านการสำรองอาหารของชุมชน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านความมั่นคงทางอาหาร และจัดการความรู้โดยรวบรวมและถอดบทเรียนจากการดำเนินการจริงของพื้นที่ต่าง ๆ	สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
	- ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ระดับต่าง ๆ และผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในการจัดทำแผนผังและเงื่อนไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อเพิ่มประโยชน์ของการใช้ที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่สาธารณะ พื้นที่รกร้างว่างเปล่า เป็นต้น รวมถึงการสงวนพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต	มท.
มติ 2 การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กรณีโรคระบาดใหญ่
?	โรคระบาดใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีแนวโน้มเกิดความรุนแรงขึ้นเป็นภัยพิบัติ มีผลกระทบเกิดขึ้นเป็นวงกว้างในทุกมิติ เกิดเป็น ?วิกฤตสุขภาพ?* ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา ซึ่งนโยบายสาธารณะ ?การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กรณีโรคระบาดใหญ่? จะเป็นนโยบายสำคัญที่สนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ?ประชาชนทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยมีสุขภาวะที่ดี? การบริหารจัดการจึงไม่ใช่เฉพาะกรณีโรคโควิด-19 เท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงโรคระบาดใหญ่ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคตด้วย จึงกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้
ประเด็น	แนวทางการดำเนินการ	หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. การบูรณาการด้านการบริหารจัดการเตรียมความพร้อมศักยภาพและทรัพยากรของระบบบริการสุขภาพ โดยใช้บทเรียนจากการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น	- จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินการแพร่ระบาดของโรค เพื่อรองรับเหตุการณ์ระบาดที่มีผลกระทบในวงกว้างสามารถปฏิบัติการได้ทันที เบ็ดเสร็จ	สธ.
	- อำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าประเภทยารักษาโรค เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างเพียงพอและทันการณ์ เช่น ชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้พร้อมใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนอย่างเพียงพอและปลอดภัย	กค. สธ.
	- บริหารจัดการงบประมาณในการเฝ้าระวัง ป้องกัน คัดกรอง รักษา ฟื้นฟู และควบคุมการแพร่ระบาดที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตวิถีใหม่ เช่น การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในรูปแบบการแพทย์ทางไกล การตรวจคัดกรอง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ	กค. มท. สธ. กระทรวงแรงงาน (รง.) สำนักงบประมาณ (สงป.) อปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
2. การบริหารจัดการด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และระบบข้อมูล เพื่อให้เกิดการสื่อสารอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันการณ์ เช่น	- จัดให้มีช่องทางการสื่อสารสาธารณะและสื่อทางเลือกที่หลากหลาย ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ป้องกันการเกิดภัยพิบัติจากข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน จัดการกับข่าวปลอมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการสื่อสาร	ดศ. สธ. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
	- พัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่และจัดการให้มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจและการเฝ้าระวังได้ในทุกระดับ	กระทรวงการต่างประเทศ ดศ. มท. รง. สธ.
3. การจัดให้มีกำลังคนและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นให้เพียงพอทางสาธารณสุข เพื่อให้เกิดระบบการแจ้งเตือนการเกิดโรคระบาดและควบคุมในระดับพื้นที่ได้ทันเวลา เช่น	- พิจารณาจัดสรรอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่ขาดแคลนในการปฏิบัติการเฝ้าระวัง สอบสวนโรคระบาด เช่น แพทย์สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา นักระบาดวิทยา เป็นต้น	สำนักงาน กพ.
	- จัดโครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ พัฒนาทีมตระหนักรู้สถานการณ์ ทีมสอบสวนควบคุมโรค สถานที่กักกันโรคแห่งรัฐ จัดทำและซ้อมแผนเผชิญเหตุสำหรับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของโรคระบาดใหญ่ และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง	มท. สธ.
4. การกำหนดมาตรการลดผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นทั้งในระหว่างและหลังการเกิดวิกฤตสุขภาพ เช่น	- กำหนดแนวทางมาตรการในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาสุขภาพจิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว	สธ. ศธ.
	- จัดทำและฝึกซ้อมแผนการตอบสนองที่รวดเร็วในบริการรูปแบบใหม่ทั้งระดับวิกฤต ระบบส่งต่อ และระบบบริการปฐมภูมิในพื้นที่	สธ.
	- สนับสนุนงบประมาณในการสร้างอาชีพและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้	พม. รง.
5. การจัดให้มีกลไกนโยบายสนับสนุนส่งเสริมการจัดการความรู้ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรม ในการป้องกันการป่วยและการเสียชีวิตจากโรคระบาด เช่น	- กำหนดทิศทางและแนวทางการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์เพื่อรองรับการเกิดวิกฤตสุขภาพจากโรคระบาดใหญ่	อว. สธ. สสส.
	- สร้างความมั่นคงทางด้านยา วัคซีน และชุดตรวจวินิจฉัยโรค โดยการพัฒนาระบบการจัดหาที่เพียงพอต่อความต้องการ และสนับสนุนอุตสาหกรรมวัคซีนของประเทศ	อว. กษ. สธ. อก.



หมายเหตุ	*สิทธิในอาหาร (Right to Food) หมายถึง สิทธิของมนุษย์ทุกคนที่จะมีความมั่นคงทางอาหารและรอดพ้นจากภาวะความอดอยากอย่างหิวโหย
		*ประชากรเปราะบาง หมายถึง กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพจากการไม่มีความมั่นคงทางอาหาร เนื่องด้วยสถานะสุขภาพ สถานะทางเศรษฐกิจหรือบริบททางสังคมที่ทำให้ไม่สามารถจัดการกับความเสี่ยงหรือสถานการณ์ที่กระทบกับความมั่นคงทางอาหารได้
		*วิกฤตสุขภาพ หมายถึง ภาวะทางสุขภาพทั้ง 4 มิติ (กาย จิตใจ สังคม และปัญญา) ที่ไม่อยู่ในภาวะปกติ อาจเกิดจากธรรมชาติหรือไม่ก็ได้ เป็นเหตุการณ์ที่มีอยู่ในภาวะอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม ที่ควรต้องมีนโยบายหรือการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาภายในเวลาที่จำกัด

23. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดตั้งเทศบาลนครแม่สอด เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ?นครแม่สอด? ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดตั้งเทศบาลนครแม่สอดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ?นครแม่สอด? ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดตั้งเทศบาลนครแม่สอดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ?นครแม่สอด? ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
 			1.1 การจัดตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ?นครแม่สอด? โดยควบรวมเทศบาลนครแม่สอดกับเทศบาลตำบลท่าสายลวด ยังมีความจำเป็นและเหมาะสม เนื่องจากเทศบาลนครแม่สอดเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มีลักษณะพิเศษหรือลักษณะเฉพาะ เป็นเมืองการค้าชายแดนแห่งแรกของประเทศไทย เป็นพื้นที่สำคัญที่มีการค้าขายของสองประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกัน คือ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับเมืองเมียวดี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มีการค้าชายแดน การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การนำเข้าและส่งออก ดังนั้น การยกฐานะเทศบาลนครแม่สอดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ จึงเห็นควรสนับสนุนให้จัดตั้งเทศบาลนครแม่สอดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมต่อไป เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และสามารถจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีหน้าที่และอำนาจหน้าที่จะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สามารถครอบคลุมรอบด้าน และปัญหาด้านรายได้ที่ยังส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างมาก
 			1.2 นอกจากนี้ การยกฐานะเทศบาลนครแม่สอดให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษยังมีความจำเป็นเพื่อทำหน้าที่รองรับการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ซึ่งปัจจุบันถือได้ว่าเทศบาลนครแม่สอดเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มีความพร้อมและศักยภาพมากที่สุดในการทำหน้าที่ แต่โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2558 ให้ชะลอการเสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ?. จึงทำให้การดำเนินการยกฐานะเทศบาลนครแม่สอดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษต้องหยุดชะงักลง
		2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สปน. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
 		ข้อเท็จจริง
 		สปน. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2. ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ สรุปได้ดังนี้
ประเด็น	ผลการพิจารณาศึกษา
1. ความสอดคล้องกับร่างแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ? 2565 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ? 2565 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2560 ? 2580 	- ร่างแผนการกระจายอำนาจฯ และแผนปฏิบัติการฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการกระจายอำนาจ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาการกระจายอำนาจ การเพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ และพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมและศักยภาพเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ?. จึงสอดคล้องกับร่างแผนการกระจายอำนาจฯ และแผนปฏิบัติการฯ แล้ว
- การจัดตั้ง ?นครแม่สอด? สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 ? 2580 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564 ในเรื่องการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ และการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. ความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 	- ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ?. ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560 เนื่องจากได้ยกร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวในขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2550 มีผลใช้บังคับ ส่งผลให้เนื้อหาและข้อกฎหมายบางส่วนไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560
- กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและประชาชนในพื้นที่ในการเสนอความต้องการให้จัดตั้ง ?นครแม่สอด? สอดคล้องกับความเห็นของ มท. เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่ต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 249 ซึ่ง มท. ได้มอบหมายให้ จ.ตาก ดำเนินการสำรวจเจตนารมณ์ของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษดังกล่าวแล้ว
3. ปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง 	- การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่เหมาะสมมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องต้องนำมาประกอบการพิจารณา เช่น การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่มารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนโครงสร้างอำนาจหน้าที่เพื่อให้สามารถจัดบริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

24. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์) ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
		คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของ            การรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์) ของคณะกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน                     สภาผู้แทนราษฎรมาเพื่อดำเนินการตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ  และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการ                   สภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์) ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน มาเพื่อดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์) ดังนี้ 1) ควรพิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ให้มีความละเอียดชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เพื่อกำหนดการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารศาลปกครองและที่ประชุมใหญ่ของตุลาการศาลปกครองสูงสุดในการออกระเบียบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการศาลปกครอง 2) ปรับปรุงการปฏิบัติงานของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยสม่ำเสมอและเคร่งครัด และ 3) ให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายกับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้หน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานต่าง ๆ กับผู้กระทำความผิด และควรให้กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีโครงการโฮปเวลล์ทั้งหมด ตรวจสอบและทบทวนการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องหรือผิดพลาดนั้นโดยด่วนที่สุด
		2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงคมนาคม สำนักงานศาลปกครอง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		ยธ. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนแนะ	ผลการพิจารณา
1. ควรพิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ให้มีความละเอียดชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542	- การแก้ไขพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ               พ.ศ. 2545 ในส่วนที่เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการในการปฏิบัติงานของสำนักงานอนุญาโตตุลาการ ยธ. จะไปพิจารณาทบทวนหรือปรับปรุงพระราชบัญญัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ต่อไป
- การแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ             วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เพื่อกำหนดการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารศาลปกครองและที่ประชุมใหญ่ของตุลาการศาลปกครองสูงสุดในการออกระเบียบหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการศาลปกครองนั้น จะมีผลเป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ที่กำหนดการใช้ดุลพินิจของตุลาการ
ศาลปกครองซึ่งอาจกระทบต่อความเป็นอิสระของตุลาการศาลปกครอง ซึ่งสำนักงานศาลปกครองจะรับไปเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. ปรับปรุงการปฏิบัติงานของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีและแนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานในกรณีที่มีข้อสงสัยกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี	- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือเวียน เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการหารือมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้แจ้งเวียนให้ทุกส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติแล้ว
3. ให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายกับ               บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคลต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง โดยให้หน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และ
พยานหลักฐานต่าง ๆ กับผู้กระทำความผิด และควรให้กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานราชการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับกรณีโครงการโฮปเวลล์ทั้งหมด ตรวจสอบและทบทวนการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
หรือผิดพลาดนั้นโดยด่วนที่สุด	- กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการโดยส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบและดำเนินคดี เพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ แล้ว และในส่วนของความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ได้มีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ด้วยแล้ว


25. เรื่อง รายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563)
		คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
		สาระสำคัญของรายงาน
		ผลการดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ของการวางและจัดทำผังเมือง รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. การวางและจัดทำผังเมือง (ตามมาตรา 8)
			1.1 ผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่
				1) ผังนโยบายระดับประเทศ การดำเนินงานที่ผ่านมาได้มีการวางผังนโยบายระดับประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ และบริบทของประเทศ เพื่อชี้นำการพัฒนาทางกายภาพระดับชาติ โดยบูรณาการการพัฒนาพื้นที่รายสาขาให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการประสานแผนการดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผน/ผังพัฒนาพื้นที่ทุกระดับ ให้มีทิศทางการพัฒนาพื้นที่สู่เป้าหมายเดียวกัน เช่น ส่งเสริมการอยู่อาศัยในเขตเมือง กระจายการจ้างงานไปสู่ภูมิภาคเพื่อลดการย้ายถิ่นฐาน สงวนและอนุรักษ์ป่าไม้ร้อยละ 40 กำหนด Zoning เกษตรกรรม และพัฒนา ?เมืองกระชับ?
				ปัญหาอุปสรรค การวางผังนโยบายระดับประเทศมีความซับซ้อนของการบูรณาการข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ภายนอกและภายในประเทศ กฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนงานโครงการของหน่วยงานทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกัน และการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีที่มาจากหลายแหล่ง ทำให้ต้องใช้เวลาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่ยุติและความไม่ชัดเจนของแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ไม่สามารถนำทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาของผังนโยบายระดับประเทศที่ได้ศึกษาวิเคราะห์ไว้ก่อนเกิดสถานการณ์มาใช้ จึงมีความจำเป็นต้องมีการทบทวนและวิเคราะห์ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และให้สอดคล้องกับการปรับปรุงยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
				2) ผังนโยบายระดับภาค การดำเนินงานที่ผ่านมาได้มีการกำหนดบทบาทและตำแหน่งการพัฒนาภาค การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มด้านต่าง ๆ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาเมืองและชนบท ประชากร เศรษฐกิจและสังคม โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ในการพัฒนาด้านการพัฒนาเมืองและชุมชน การพัฒนาด้านเกษตร และการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
				ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากพื้นที่ในแต่ละภาคมีหลายจังหวัด การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลต้องอยู่บนฐานช่วงปีที่กำหนด เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ในระดับจังหวัดและอำเภอ ประกอบกับข้อมูลมาจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ ต้องใช้เวลาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และบูรณาการนโยบายแผนงาน/โครงการและข้อมูลต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน ความแตกต่างของการจัดทำฐานข้อมูลที่มาจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่อาจมีการจัดทำฐานข้อมูลในมาตราส่วนและรูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการแปลงฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันสำหรับนำมาใช้ในการวางผังนโยบายระดับภาค
				3) ผังนโยบายระดับจังหวัด การดำเนินงานที่ผ่านมาได้จัดทำคู่มือผังนโยบายระดับจังหวัด ประกอบด้วยเกณฑ์มาตรฐานและรูปแบบของผังนโยบายระดับจังหวัด ขั้นตอนการดำเนินการวางและจัดทำผังนโยบายระดับจังหวัด จัดทำผังนโยบายระดับจังหวัด 4 จังหวัด โดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบการวางผัง ประชุมรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อชี้แจงการดำเนินการวางและจัดทำผังนโยบายระดับจังหวัด และรับฟังความต้องการของประชาชน รวมทั้งระดมความคิดเห็นและร่วมดำเนินการจัดทำร่างผังนโยบายระดับจังหวัดร่วมกันระหว่างกรมโยธาธิการและผังเมืองและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
				ปัญหาอุปสรรค การดำเนินการจัดทำผังนโยบายระดับจังหวัดจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับผังนโยบายระดับภาค แต่เนื่องจากในปี พ.ศ. 2563 ผังนโยบายระดับภาคยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ผังนโยบายระดับจังหวัดจึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ โดยจะเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2564
			1.2 ผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
				1) ผังเมืองรวม ปัจจุบันมีผังเมืองรวมทั้งหมดจำนวน 587 ผัง ได้แก่ ผังเมืองรวมจังหวัด จำนวน 70 ผัง ผังเมืองรวมเมืองและผังเมืองรวมชุมชน จำนวน 486 ผัง และผังเมืองรวมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จำนวน 31 ผัง และมีจำนวนกฎกระทรวงผังเมืองรวมที่ประกาศใช้บังคับตามกฎหมายรวมทั้งสิ้น 285 ผัง
				ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากการดำเนินการขับเคลื่อนงานด้านผังเมืองในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานด้านผังเมืองอย่างชัดเจน ประกอบด้วย สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการออกระเบียบคู่มือ หลักเกณฑ์ ตลอดจนแนวทางต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ทำให้การปฏิบัติงานด้านผังเมืองซึ่งมีกระบวนการและขั้นตอนในการวางและจัดทำผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเพื่อสำรวจพื้นที่ในเขตพื้นที่วางผังในต่างจังหวัด รวมทั้งการจัดประชุมต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ผู้วางผังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติส่งผลให้ผังเมืองที่อยู่ในขั้นตอนการวางและจัดทำผังเมืองรวมต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการตามกรอบระยะเวลาตามขั้นตอนการวางผังได้ตามปกติ
				2) ผังเมืองเฉพาะ ปัจจุบันยังไม่มีผลการดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ ทั้งในกรณีองค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ หรือกรณีองค์กรปกครองท้องถิ่นร้องขอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการแต่อย่างใด ส่วนในอนาคตมีแผนดำเนินการขับเคลื่อนการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะตามกฎหมาย  มีเป้าหมายขั้นต้นจังหวัดละ 1 ผัง รวมทั้งหมด 76 ผัง โดยได้พิจารณาผังพื้นที่เฉพาะที่มีศักยภาพ มีความพร้อมของข้อมูล และพื้นที่มาดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดทำผังเมืองเฉพาะตามกฎหมาย เช่น ผังเมืองเฉพาะริมปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ผังเมืองเฉพาะชุมชนเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
				ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากหลังการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 กรมโยธาธิการและผังเมืองจะต้องดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนในการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเป็นแนวทางปฏิบัติแก่พนักงานวางผัง ทั้งกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการหรือกรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการ
		2. การทบทวนผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ และการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมการใช้บังคับผังเมืองรวม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2562 ได้มีการติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงรายปีของผังเมืองรวมจังหวัด/เมือง/ชุมชน โดยเจ้าพนักงานการผังจะต้องดำเนินการติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงรายปี และจัดทำเป็นรายงานสภาพการเปลี่ยนแปลงรายปีของผังเมืองรวมนั้น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลนำไปใช้ในการประเมินผล รวมทั้งสิ้น 57 ผัง การประเมินผลผังเมืองรวมจังหวัด/เมือง/ชุมชน กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อม (การใช้ประโยชน์ที่ดิน ความหนาแน่นของประชากร สภาพเศรษฐกิจและสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) การใช้บังคับผังเมืองรวมภายใน 5 ปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้มีการติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงรายปีของผังเมืองรวม จำนวน 26 ผัง การประเมินผลผังเมืองรวม จำนวน 36 ผัง
		3. การพัฒนาเมืองภายใต้กรอบการผังเมือง โดยพัฒนาให้เมืองมีความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ  มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่มีมาตรฐานโดยมีระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน เขื่อนป้องกันตลิ่ง ระบบโครงสร้างพื้นฐาน โครงการพัฒนาตามผังเมือง และโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่เป็นภารกิจสำคัญที่ต่อยอดจากงานผังเมืองสู่การพัฒนาเมืองเพื่อให้เกิดเมืองน่าอยู่ สะดวกสบายปลอดภัย มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการพัฒนาเมืองภายใต้กรอบผังเมืองที่กรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการ และเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตามผังเมืองประกอบด้วย 2 โครงการ คือ โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ และโครงการพัฒนาผังพื้นที่เฉพาะเพื่อจัดทำเป็นผังเมืองเฉพาะ
		4. การดำเนินการอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัติ
			4.1 การจัดทำธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองเพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ
			4.2 การดำเนินการศึกษาเพื่อจัดทำแผนผังแสดงผังน้ำ โดยจัดทำแผนดำเนินการโครงการวางผังการระบายน้ำจังหวัดในลุ่มน้ำ ?การวางผังการระบายน้ำระดับจังหวัดตามขอบเขตลุ่มน้ำ? เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย ประกอบด้วย ระบบระบายน้ำตามธรรมชาติ สิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ และบูรณาการแผนงาน โครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยบนฐานข้อมูลเดียวกันให้ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำทั่วประเทศ 25 ลุ่มน้ำหลัก
			4.3 การจัดทำอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางและวิธีการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการใช้บังคับกฎหมายที่มีผลกระทบกับประชาชน จำนวน 15 ฉบับ

26. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของกรมราชทัณฑ์
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ รายงานผลการดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 ของกรมราชทัณฑ์ โดยสืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เป็นวงกว้างในพื้นที่หลายจังหวัด ซึ่งรวมถึงการพบผู้ต้องขังที่ติดเชื้อโควิด-19 ในหลายเรือนจำและทัณฑสถาน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร กรมราชทัณฑ์จึงได้รายงานผลการดำเนินการในด้านการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. รายงานผลการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระหว่างวันที่ 3 เมษายน-8 พฤษภาคม 2564              มีรายงานผลการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในส่วนกลางของกรมราชทัณฑ์ เรือนจำ และทัณฑสถาน รวม 23 แห่ง โดยมีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 1,752 ราย ประกอบด้วย (1) ผู้ต้องขัง  1,668 ราย (รักษาหาย 449 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 1,208 ราย ปล่อยตัว 10 ราย และเสียชีวิต 1 ราย) และ (2) เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 84 ราย (รักษาหาย 65 ราย และ            อยู่ระหว่างการรักษา 19 ราย)
		2. การกำหนดให้มีมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดฯ
ในเรือนจำอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ดังนี้
ช่วงวัน/วันที่	มาตรการ/การดำเนินการ
ต้นเดือนธันวาคม 2563	จัดตั้งคณะทำงานเพื่อเฝ้าติดตามและประเมินสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
9 ธันวาคม 2563	กำหนดมาตรการที่สำคัญในระยะแรก ?คนในห้ามออกคนนอกห้ามเข้า?
สำหรับเรือนจำและทัณฑสถาน
28 ธันวาคม 2563	ออกมาตรการกำชับการแยกกักโรคผู้ต้องขังเข้าใหม่อย่างเคร่งครัด และให้งดนำผู้ต้องขังออกภายนอกเรือนจำ ส่วนกรณีที่จะมีการดำเนินกิจกรรมใด
ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และให้ถือปฏิบัติตามมาตรการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19
(ศบค.) กำหนดอย่างเคร่งครัด
3 มกราคม 2564	พบเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สังกัดเรือนจำกลางจังหวัดระยองติดเชื้อโควิด-19
จำนวน 1 ราย ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น กรมราชทัณฑ์จึงได้ประกาศงดเยี่ยม
ผู้ต้องขัง 14 วัน และกำชับเจ้าหน้าที่สังกัดกรมราชทัณฑ์งดเดินทาง
ออกภายนอกพื้นที่และงดเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง
ช่วงดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564	พบผู้ต้องขังติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้ต้องขังต่างด้าวที่อยู่ระหว่างแยกกัก
(ตามมาตรการแยกกักผู้ต้องขังเข้าใหม่) ในเรือนจำกลางจังหวัดฉะเชิงเทรา
สระแก้ว และสมุทรสาคร จึงได้ขยายระยะเวลาการแยกกักโรคในกลุ่มผู้ต้องขังเสี่ยงสูง จาก 14 วัน เป็น 21 วัน และให้เรือนจำและทัณฑสถานประสานโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อตรวจเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้ต้องขังเข้าใหม่ก่อนออกจากห้องแยกกักโรค
15 กุมภาพันธ์ 2564	ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 เพื่อรองรับการตรวจให้กับผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่
ช่วงเดือนมีนาคม 2564	เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศเริ่มคลี่คลาย  กรมราชทัณฑ์ได้ผ่อนคลายมาตรการ โดยเปิดให้มีการเยี่ยมผู้ต้องขังได้ในช่องทางปกติ แต่ยังคงเข้มงวดในการแยกกักโรคเช่นเดิม รวมทั้งยังคงมาตรการที่เข้มข้น
ในกลุ่มเรือนจำที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยง 5 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
จังหวัดสมุทรสาคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยให้งดเยี่ยมผู้ต้องขังและให้เรือนจำและทัณฑสถานจัดทำแผนและขั้นตอนการปฏิบัติต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินกิจกรรมใด
3 เมษายน 2564 	พบเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และผู้ต้องขังติดเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำจังหวัดนราธิวาส จำนวน 62 ราย กรมราชทัณฑ์จึงได้กำชับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มงวด โดยขยายระยะเวลาการแยกกักโรคผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกรายจาก 14 วัน เป็น 21 วัน รวมทั้งให้งดการเยี่ยมผู้ต้องขังจนถึงปัจจุบัน


		3. การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ต้องขังติดเชื้อโควิด-19 กรมราชทัณฑ์ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามในเรือนจำที่พบผู้ต้องขังติดเชื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อให้สามารถบริหารจัดการผู้ต้องขังติดเชื้อได้และแบ่งเบาภาระของกระทรวงสาธารณสุข โดยปัจจุบันได้ดำเนินการแล้ว ดังนี้ โรงพยาบาลสนามเรือนจำจังหวัดนราธิวาส โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสนามทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งจะใช้รองรับผู้ต้องขังติดเชื้อในกลุ่มเรือนจำลาดยาว  นอกจากนี้ โรงพยาบาลสนามทัณฑสถานโรงพยาบราชทัณฑ์ต้องรองรับผู้ต้องขังในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 11 แห่ง ซึ่งมีผู้ต้องขังที่ต้องดูแลประมาณ 44,301 คน โดยโรงพยาบาลสนามดังกล่าวสามารถรองรับผู้ป่วยได้ 1,010 เตียง
		4. การรับมอบเงินและอุปกรณ์พระราชทานต่าง ๆ โดย ?โครงการราชทัณฑ์ปันสุขทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์? ได้มอบเงินพระราชทาน จำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่กรมราชทัณฑ์เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงห้องปฏิบัติการในการตรวจหาเชื้อของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการให้บริการผู้ต้องขัง รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่จะมารับบริการ และทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ยังได้รับรถ                ชีวนิรภัยพระราชทานเพื่อนำมาใช้ในตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564  จนถึงปัจจุบัน มีผู้มารับบริการประมาณ 10,000 คน ประกอบด้วย ผู้ต้องขัง ข้าราชการและประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ กรมราชทัณฑ์ยังได้รับพระราชทานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ เพื่อนำไปใช้เสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเรือนจำต่าง ๆ ทั่วประเทศ

27.  เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่                ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 และสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ตามที่             สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
		เรื่องเดิม เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมี           มติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 11) ตั้งแต่วันที่  1 เมษายน 2564 และสิ้นสุดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เพื่อขยายระยะเวลาการบังคับใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส     โคโรนา 2019 ที่เกิดขึ้นในประเทศ
		การดำเนินการที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สำนักงานฯ) ได้จัดการประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินความเหมาะสมในการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปเป็นคราวที่ 12 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 โดยมีเหตุผลและความจำเป็น ตามสรุปผลการประชุม ดังนี้
		1. ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ในระดับโลกยังคงปรากฏการแพร่ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่องในหลายภูมิภาค โดยประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุด              4อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย บราซิล อาร์เจนตินา และฝรั่งเศส โดยประเทศที่มีการระบาดที่รุนแรงได้แก่ 1) อินเดีย              มีการแพร่ระบาดของโรค COVD - 19 รุนแรง เนื่องจากพบการกลายพันธุ์ของเชื้อ COVID ? 19 สายพันธุ์ B.1.617     พบผู้ติดเชื้อรายวันมากกว่า 400,000 คน และ 2) ญี่ปุ่น มีการกลับมาแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 อย่างหนัก            อีกครั้ง โดยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 ญี่ปุ่นขยายเวลาการบังคับใช้คำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินบางพื้นที่จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 และขยายพื้นที่บังคับใช้คำสั่งดังกล่าวจาก 4 จังหวัด เป็น 6 จังหวัด ทั้งนี้ ประเทศที่เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการให้เปิดร้านอาหาร ร้านค้า และโรงเรียน รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ 1) สหรัฐอเมริกา 2) อิสราเอล และ 3) สหราชอาณาจักร เนื่องจากสามารถฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้จำนวนมาก ทำให้มีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลดลง
		2. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ในประเทศเพื่อนบ้านในภาพรวมยังคงน่าวิตกกังวล กล่าวคือ 1) มาเลเซีย ในจังหวัดที่ติดกับชายแดนประเทศไทยพบการติดเชื้อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ นอกจากนี้ ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขในห้วงเดือนรอมฏอน ทำให้รัฐบาลมาเลเซียออกมาตรการห้ามประชาชนเดินทางข้ามเขตและรัฐทั่วประเทศ ยกเว้นได้รับอนุญาต 2) เมียนมา ยังคงมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ประกอบกับความขัดแย้งทางการเมืองและการใช้ความรุนแรงทำให้มีผู้หลบหนีข้ามแดนมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และ 3) กัมพูชาในพื้นที่ชายแดนพบว่าผู้ที่เดินทางเข้ามามีการติดเชื้อมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
		3. สถานการณ์ในประเทศไทย ที่ประชุมเห็นว่าการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีความจำเป็นเนื่องจากปัจจัย ดังนี้
			(1) การติดเชื้อภายในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มระบาดต่อไป มีการติดเชื้อแบบกลุ่มก้อน (Cluster) เป็นระยะในพื้นที่เสี่ยง อาทิ ตลาดสด ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เรือนจำ และชุมซนแออัด และยังคงพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑลรวมถึงข้อห่วงกังวลถึงแนวโน้มของจำนวนผู้ป่วยหนักที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้น และการปล่อยข่าวลวงและข่าวบิดเบือนเพื่อสร้างความกลัวต่อการฉีดวัคซีนยังคงปรากฏอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในห้วงวันที่24-28 กรกฎาคม 2564 เป็นช่วงวันหยุดยาวที่จะมีการเดินทางข้ามเขตของประชาชนจำนวนมาก เพื่อกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวอันก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID - 19
			(2) สถานการณ์กลายพันธุ์ของเชื้อ COVD - 19 สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617) พบการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวที่กลายพัน(ในประเทศสิงคโปร์และฟิสิปปินส์แล้ว โดยองค์การอนามัยโลกได้ประเมินว่า                เชื้อกลายพันธุ์ดังกล่าวแพร่ระบาดได้ง่ายและอาจมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีอยู่ ดังนั้น ประเทศไทย              จึงต้องกำหนดมาตรการเดินทางเข้าออกราชอาณาจักรที่เข้มงวดเพื่อไม่ให้มีการแพร่กระจายของเชื้อกลายพันธุ์เข้าสู่ประเทศไทยได้ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ระงับการออกหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศไทย(Certificate of Entry - COE) ให้แก่ชาวต่างชาติจากปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล และชาวต่างชาติทุกสัญชาติ
ที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศดังกล่าวแล้ว
			(3) สถานการณ์บริเวณชายแดน การแพร่ระบาดในประเทศรอบบ้านของไทยยังคงน่าห่วงกังวล ได้แก่ 1) เมียนมา อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่แนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นส่งผลให้เกิดการอพยพในลักษณะเป็นกลุ่มคนจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมาตรการทางด้านบริเวณชายแดนไทย                    2) มาเลเซีย สถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงรุนแรงต่อเนื่องและเริ่มปรากฎการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในพื้นที่รัฐที่ติดชายแดนไทย และ 3) กัมพูชา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID ? 19 ยังคงรุนแรง เนื่องจากมี                   ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
		4. มติของที่ประชุม ที่ประชุมมีความเห็นพ้องกันว่ายังมีความจำเป็นจะต้องใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต่อไป เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการปฏิบัติงานและการดำเนินมาตรการที่จำเป็นในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลดอัตราการเสียชีวิตและปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรด้านสาธารณสุข และการดำเนินการอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชน เพื่อให้สถานการณ์ของประเทศกลับมาสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
		5. สำนักงานฯ ได้นำผลการประชุมดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 7/2564 ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบผลการประชุม และมีมติให้นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต่อไป

28. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 7/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันศุกร์ที่ 21พฤษภาคม 2564 ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เสนอ ดังนี้
		สรุปสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ
		1.  ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ ดังนี้
					1) สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 165,810,164 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 91 จาก 218 ประเทศทั่วโลก
					2) สถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อระลอกใหม่เดือนเมษายน 2564 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 21 พฤษภาคม 2564 มีผู้ป่วยติดเชื้อและอยู่ระหว่างการรักษา จำนวน 42,827 ราย (อยู่ในโรงพยาบาล 17,892 ราย และโรงพยาบาลสนาม 24,935 ราย) และหายป่วยแล้วสะสม 52,078 ราย ทั้งนี้ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 3,481 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 1,644 ราย ผู้ป่วยจากการคัดกรองเชิงรุก จำนวน 874 ราย ผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและอยู่ระหว่างกักตัวในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด จำนวน 12 ราย และผู้ป่วยจากการคัดกรองเชิงรุกในเรือนจำและที่ต้องขัง จำนวน 951 ราย และหายป่วยแล้ว จำนวน 2,868 ราย
					3) สรุปสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 พบว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องและยังไม่ลดลง พื้นที่ต่างจังหวัด มีแนวโน้มคงตัว พบผู้ติดเชื้อผ่านชายแดนของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศกัมพูชา และยังมีคนไทยรอกลับเข้าประเทศเพิ่มเติม ในส่วนของสถานที่เสี่ยง ได้แก่ ชุมชนแออัด (ชุมชนในและรอบที่พักคนงานก่อสร้าง ชุมชนรอบตลาด และชุมชนรอบโรงงาน) สถานประกอบการ/สถานที่ทำงาน โรงงาน และตลาด โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ การสัมผัสบุคคลในครอบครัว สถานประกอบการ/ที่ทำงาน การเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง/ต่างจังหวัด การรับประทานอาหารร่วมกันและคลุกคลีกัน รวมทั้งกลุ่มแรงงานต่างด้าว กลุ่มแรงงานถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย และกลุ่มที่ไม่ทราบสถานะ
					4) การดำเนินการในปัจจุบัน ได้แก่ (1) มาตรการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว และการให้การดูแลรักษาแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิใด ๆ โดยยกระดับเป็นแรงงานถูกกฎหมาย และปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น การลดค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียน การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาประกอบอาชีพทุกประเภท เป็นต้น (2) การเร่งรัดการแยกกักผู้ป่วยออกจากชุมชน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ และพิจารณาการแยกกักในชุมชน (Bubble and Sealed) กรณีเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ (3) ทุกจังหวัดต้องเร่งกำกับติดตามมาตรการ (DMHTTA) อย่างเข้มข้น รวมทั้งเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง/สถานที่เสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นตลาด โรงงาน สถานประกอบการ/ที่ทำงาน  โดยเฉพาะการงดรับประทานอาหารร่วมกันเป็นกลุ่ม และ (4) เตรียมการรับมือการกลับเข้าประเทศโดยเฉพาะจากประเทศกัมพูชาและมาเลเซีย ซึ่งเข้ามาทางด่านชายแดนและการลักลอบเข้าประเทศแบบผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ให้เตรียมสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด (Local Quarantine) และโรงพยาบาลให้เพียงพอ
			2.  ที่ประชุมรับทราบการปรับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคตามระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อย               ทั่วราชอาณาจักร สำหรับสถานศึกษา และมาตรการแนวปฏิบัติของสถานศึกษาเพื่อดำเนินการเปิดภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564 ดังนี้
		1) การปรับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคตามระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยทั่วราชอาณาจักร สำหรับสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 23 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ดังนี้
		(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (4 จังหวัด) ให้สถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชา งดใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก และห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนมากกว่า 20 คน และให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเมื่อออกจากเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ
		(2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (17 จังหวัด) ให้สถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชา ใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมากได้ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนมากกว่า 50 คน และให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเมื่อออกจากเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ
		(3) พื้นที่ควบคุม (56 จังหวัด) ให้สถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชา ใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมากได้ และห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนมากกว่า 50 คน และให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเมื่อออกจากเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ
		2) มาตรการแนวปฏิบัติของสถานศึกษาเพื่อดำเนินการเปิดภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564 โดยกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดวันเปิดภาคเรียนในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 หากสถานศึกษาใดต้องการเปิดภาคเรียนก่อนวันดังกล่าว ต้องดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และต้องมีลักษณะเข้าตามเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กำหนด รวมถึงต้องดำเนินการตามแนวปฏิบัติวิธีการจัดการเรียนการสอน แบ่งตามพื้นที่สถานการณ์ ดังนี้
			(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (4 จังหวัด) ให้จัดการเรียนการสอนเฉพาะรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลใน 4 รูปแบบ ตามความเหมาะสม ได้แก่ (1) การเรียนการสอนผ่านโทรทัศน์ (On Air) (2) การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต (Online) (3) การเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ ช่องยูทูป (Youtube) และแอปพลิเคชันของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) (On Demand) และ (4) การเรียนการสอนที่ให้นักเรียนรับหนังสือ แบบฝึกหัด หรือใบงานไปเรียนรู้ที่บ้าน ผ่านระบบไปรษณีย์ (On Hand) ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้จัดการเรียนการสอนตามปกติ (On-site) ตามมติของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19
		(2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (17 จังหวัด) และพื้นที่ควบคุม (56 จังหวัด) ให้สถานศึกษาเลือกรูปแบบการเรียนการสอนใน 5 รูปแบบ ตามความเหมาะสม ได้แก่ On-site, On Air, Online, On Hand และ  On Demand  ทั้งนี้ สถานศึกษาที่ประสงค์จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On-site ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินความพร้อมจากระบบ Thai Stop Covid plus (TSC+) ครบทั้ง 44 ข้อ จากนั้นให้นำผลการประเมินดังกล่าวไปขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพื่อเปิดเรียนแบบ On-site ต่อไป
		3.  มาตรการด้านสาธารณสุขในการจัดการประชุมรัฐสภา สมัยสามัญ ประจำปีครั้งที่ 1                 พ.ศ. 2564 โดยที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอของกรุงเทพมหานคร ดังนี้
		1) เห็นชอบมาตรการป้องกันโรคโควิด - 19 ในการจัดประชุมรัฐสภาตามที่ กรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ เพื่อใช้เป็นมาตรการหลักในการดูแลการประชุมในระหว่างสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 1 พ.ศ. 2564
		 2) มอบหมายให้กรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นหน่วยกำกับและติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่กรุงเทพมหานครร่วมกับกรมควบคุมโรคกำหนด โดยมีมาตรการสำคัญด้านสาธารณสุขในการจัดการประชุมรัฐสภา สมัยสามัญ ประจำปี ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2564 ดังนี้
		(1) สวมหน้ากากอนามัยให้ถูกต้องตลอดเวลา ยกเว้นในช่วงเวลาที่ผู้ควบคุมการประชุมผ่อนผันระหว่างการอภิปรายหรือแสดงความเห็นในที่ประชุม ตามความเหมาะสมแห่งสภาพการณ์และสมควร
แก่เหตุ ตามข้อ 1 ของข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 23
		(2) การนั่งในห้องประชุม ให้เว้นระยะห่าง 2 เมตร
		(3) ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา มีผู้ติดตามได้ 1 คน เท่านั้น
		(4) ให้ตำรวจสภา กำกับการใช้ลิฟท์ไม่เกินครั้งละ 6 คน
		(5) จัดอาหารให้สมาชิกเฉพาะบุคคล โดยงดรับประทานอาหารร่วมกัน
		(6) งดการประชุมกรรมาธิการทุกคณะ ทั้งสามัญและวิสามัญ รวมทั้งอนุกรรมาธิการ จนกว่าจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
		(7) สำนักงานที่สามารถจัด Work from home ได้ ให้ดำเนินการร้อยละ 100
		(8) ให้ปรับแผนการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด ตามสถานการณ์โควิด - 19
		(9) ขอความร่วมมือให้ข้าราชการรัฐสภาฉีดวัคซีนทุกคน (ร้อยละ 100) หากผู้ใดไม่ฉีดวัคซีน จะไม่อนุญาตให้เข้าห้องประชุม (เว้นแต่มีเหตุจำเป็น)
		3) มอบหมายกระทรวงสาธารณสุขจัดสรรวัคซีน จำนวน 2,000 โดส เพื่อฉีดระหว่างวันที่                21 - 25 พฤษภาคม 2564
		ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบตามที่รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเพิ่มเติม กรณีการขอแยกจัดพื้นที่การประชุม สำหรับสมาชิกวุฒิสภาที่เป็นผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถถอดหน้ากากระหว่างการประชุมได้ โดยให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
		4.  ที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 12 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564
		5.  แผนการให้บริการวัคซีนโควิด - 19 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเสนอต่อที่ประชุมพิจารณา ดังนี้
			1) แผนการจัดสรรวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 1 ในเดือนมิถุนายน - กันยายน 2564 ประเทศไทยได้กำหนดให้วัคซีน AstraZeneca เป็นวัคซีนหลักสำหรับการป้องกันโรคโควิด - 19 โดยในช่วงเดือน
มิถุนายน - กันยายน 2564 มีแผนการฉีดวัคซีน AstraZeneca จำนวน 36,000,000 โดส เพื่อฉีดวัคซีน
ปูพรมเป็นเข็มที่ 1 และในช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2564 มีแผนการฉีดวัคซีน AstraZeneca
เป็นเข็มที่ 2 โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 จำนวน 10 กลุ่ม ดังนี้
				(1) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
				(2) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด - 19 หรือบริการประชาชน และมีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
				(3) ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว
				(4) ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
				(5) ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค เช่น ครู พนักงานขับรถสาธารณะ ชาวไทยที่จะไปศึกษา/ ทำงาน/ประกอบธุรกิจยังต่างประเทศ
				(6) คณะทูตานุทูตและครอบครัว รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ
				(7) ประชาชนทั่วไป
				(8) ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
				(9) นักธุรกิจ/ผู้ประกอบการ/ชาวต่างชาติ/แรงงานต่างด้าวที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย
					(10) กลุ่มอื่น ๆ ตามความจำเป็น และสถานการณ์การระบาด
				2) การนัดหมายผ่านองค์กร
					(1) กรณีองค์กรสามารถประสานหาสถานพยาบาลเพื่อฉีดวัคซีนได้เอง ให้ติดต่อขอรับวัคซีนได้จากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร
					(2) องค์กรไม่สามารถประสานหาสถานพยาบาลเพื่อฉีดวัคซีนได้เอง ให้ติดต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เพื่อนัดหมายขอเข้ารับวัคซีนแบบกลุ่ม ณ สถานพยาบาลที่คณะกรรมการฯ กำหนด
					(3) กรณีองค์กรขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรอยู่ในหลายจังหวัดหรือองค์กรระหว่างประเทศ/หน่วยงานต่างชาติที่ติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ให้แจ้งอธิบดีกรมควบคุมโรค โดยหาสถานพยาบาลรองรับการฉีดเอง
					(4) กรณีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (จำนวน 16,000,000 คน) ให้ดำเนินการ ดังนี้
						- สำนักงานประกันสังคมจัดแผนฉีดวัคซีนโดยตรง
						- กำหนดสถานพยาบาลที่ฉีดวัคซีนตามสิทธิ และเชิงรุกนอกสถานพยาบาล
						- ดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/สำนักงานประกันสังคม
				3) การจัดระบบการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 สำหรับกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ   โดยให้สามารถเข้ารับวัคซีนตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ดังนี้
					(1) กลุ่มคณะทูตานุทูตและองค์กรระหว่างประเทศ
						(1.1) กรณีองค์กรระหว่างประเทศ/หน่วยงานต่างชาติที่ติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ให้แจ้งหนังสือมายังอธิบดีกรมควบคุมโรคเพื่อขอรับวัคซีนไปฉีดให้กับบุคลากรในสังกัดได้
						(1.2) กรณีประสงค์จะรับวัคซีนเป็นรายบุคคล สามารถนัดหมายโดยตรงเพื่อเข้ารับบริการกับโรงพยาบาลที่มีความพร้อมให้บริการชาวต่างชาติ
					(2) กลุ่มชาวไทยที่จะขอรับวัคซีนก่อนไปศึกษาต่อ/ทำงานในต่างประเทศ
						(2.1) กรณีผ่านองค์กร เช่น หน่วยงานผู้ให้ทุนการศึกษา สถานประกอบการ               เป็นต้น
							- องค์กรสามารถประสานหาสถานพยาบาลเพื่อฉีดวัคซีนได้เอง ให้ติดต่อขอรับวัคซีนได้จากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร
							- องค์กรไม่สามารถประสานหาสถานพยาบาลเพื่อฉีดวัคซีนได้เอง ให้ติดต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เพื่อนัดหมายขอเข้ารับวัคซีนแบบกลุ่ม ณ สถานพยาบาลที่คณะกรรมการฯ กำหนด
						(2.2) กรณีประสงค์จะรับวัคซีนเป็นรายบุคคล
							- ลงทะเบียนและเข้ารับวัคซีนได้ 3 ช่องทาง คือ (1) ?หมอพร้อม? (Line OA และ Application) (2) นัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ                 (3) การลงทะเบียน ณ จุดบริการ (On-site Registration)
							- ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีการเดินไปศึกษาต่อหรือทำงานในต่างประเทศ สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลบางรัก โดยจะต้องแสดงหลักฐานการเดินทางไปศึกษาหรือทำงานในต่างประเทศ และหากมีสถานพยาบาลเพิ่มเติมตรวจสอบได้ที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร
				4) ระบบบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19



				5) ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
						(1) เห็นชอบแผนการจัดสรรวัคซีน AstraZeneca รอบเดือนมิถุนายน - กันยายน 2564
						(2) เห็นชอบช่องทางการลงทะเบียนและเข้ารับวัคซีน 3 ช่องทาง คือ
							(2.1) การจองผ่าน ?หมอพร้อม? (Line OA และ Application)
							(2.2) การนัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือผ่านองค์กร หรือช่องทางอื่นที่จังหวัด/กรุงเทพมหานคร จัดเพิ่มเติม
							(2.3) การลงทะเบียน ณ จุดบริการ (On-site Registration)
						(3) เห็นชอบระบบการให้บริการวัคซีนสำหรับกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ เช่น คณะทูตานุทูตและองค์กรระหว่างประเทศ กลุ่มชาวไทยที่จะขอรับวัคซีนก่อนไปศึกษาต่อ/ทำงานในต่างประเทศ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
						(4) มอบหมายให้ทุกหน่วยงานจัดการประชาสัมพันธ์เรื่องช่องทางการรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 และการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายจำเพาะให้ทราบโดยทั่วกัน
					(5) ให้เริ่มการฉีดวัคซีนทั้งระบบเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
			ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
					1. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) บูรณาการความร่วมมือ ทั้งข้อมูลผู้ป่วย การบริหารจัดการเตียง อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ บุคลากรทางการแพทย์ การบริหารจัดการวัคซีน ฯลฯ โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่มีความพร้อมเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการให้มากที่สุด
					2. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด รณรงค์และเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในจังหวัดอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ โดยจัดเก็บข้อมูลผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วเข้าระบบฐานข้อมูล ทั้งนี้ ให้ประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนให้กระชับและเข้าใจง่าย
					3. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ติดตามและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดในจังหวัดอย่างใกล้ชิด ควบคู่กับการเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ประชาชนในพื้นที่ให้ได้มากที่สุดในเวลาที่รวดเร็ว
					4. ให้กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และกระทรวงแรงงาน กำกับดูแลให้ผู้ประกอบการให้ความช่วยเหลือและดูแลแรงงานต่างด้าวของตนที่ติดเชื้อ และดำเนินการตามมาตรการด้านสาธารณสุขในการสอบสวนโรค ตรวจหาเชื้อเชิงรุก การกักกันตัว เพื่อป้องกันมิให้การแพร่ระบาดกระจายไปยังพื้นที่อื่น
					5. ให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดการดำเนินการตามแผนการกระจายวัคซีน โดยประชาชนที่ประสงค์ฉีดวัคซีน ต้องได้ฉีดวัคซีน บริหารจัดการการฉีดวัคซีนให้เหมาะสมและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ เช่น
ในพื้นที่เสี่ยงที่มีการแพร่ระบาดมาก ผู้ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อม หรือช่องทางต่าง ๆ
ผู้ที่แจ้งความประสงค์เป็นหมู่คณะ เป็นต้น เพื่อให้การกระจายวัคซีนครอบคลุมประชากรไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 70 - 80 ภายในเดือนกันยายน 2564
					6. ให้กระทรวงสาธารณสุข ดูแลสวัสดิการให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ เช่น การทำประกันชีวิต การปรับปรุงพัฒนาอาคารหอพัก/บ้านพัก แพทย์พยาบาล ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดให้มีสภาพที่ดีขึ้น เป็นต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์
					7. ให้กระทรวงศึกษาธิการ สำรวจดูแลให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่ผู้ปกครองประสบปัญหาจากภาวะวิกฤติโควิด - 19 และเตรียมการจัดระบบการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุข เพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ทั้งนี้ ให้กรุงเทพมหานครกำกับดูแลความพร้อม
ในการจัดสรรวัคซีนให้กับครูของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
					8. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์
การแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่ ข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้ติดเชื้อที่รักษาหายแล้ว สถานการณ์จำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยโรคโควิด - 19 ทั้งประเทศ โดยให้จัดทำแผนภาพในการสื่อสารที่เข้าใจง่าย (อาทิ รูปแบบอินโฟกราฟิก ฯลฯ)
					9. ให้กระทรวงแรงงาน บริหารจัดการกลุ่มแรงงานต่างด้าวเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายและทำงานในพื้นที่ที่กำหนด (2) กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายแต่มีการเคลื่อนย้ายสถานที่ทำงานไปนอกพื้นที่ที่กำหนดไว้ และ (3) กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เข้าประเทศแบบผิดกฎหมาย และขอความร่วมมือกับภาคเอกชนให้มีมาตรการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด
					10. ให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) และหน่วยงานความมั่นคง ดำเนินการกวดขันและเฝ้าระวังตามพื้นที่ชายแดน เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าประเทศไทยแบบผิดกฎหมาย รวมทั้งให้เตรียมโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ชายแดนด้วย
					11. ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ควบคุมและกำชับให้สมาชิกรัฐสภาดำเนินการตามมาตรการด้านสาธารณสุขในการจัดการประชุมรัฐสภาอย่างเคร่งครัด

29. เรื่อง ผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาลภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580)
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาลภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580) ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ ดังนี้
		ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เสนอมาตรการการรับมือฤดูฝนปี 2564 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ซึ่งที่ประชุมมีมติรับทราบมาตรการการรับมือฤดูฝนปี พ.ศ. 2564 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการตามมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และ สทนช. เร่งบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรการหรือแผนบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งและฤดูฝนให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แล้วให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป นั้น
		ในการนี้ สทนช. ขอรายงานผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาลภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) เพื่อให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบ ดังนี้
		1. ผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)
	นับตั้งแต่พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ที่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการโดยประกาศในราชกิจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2562 โดยกำหนดแนวทางดำเนินการไว้    6 ด้าน ประกอบด้วย (1) การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค (2) การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต (3) การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย (4) การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ (5) การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และ (6) การบริหารจัดการ รัฐบาลชุดปัจจุบันได้บริหารจัดการน้ำภาพรวมของประเทศอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจนและเป็นระบบ โดยขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งโครงการขนาดเล็กและโครงการสำคัญผ่านกลไกคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) คณะกรรมการลุ่มน้ำ และคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึงปัจจุบัน ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนงานโครงการด้านน้ำ ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ดำเนินการไปแล้ว จำนวน 125,162 โครงการ วงเงินงบประมาณ 314,182 ล้านบาท มีแหล่งเก็บกักน้ำเพิ่มขึ้น 1,138 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ 2,274,737 ครัวเรือน โดยมีรายละเอียดสรุปตามตาราง ดังนี้
แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)	ผลการดำเนินงาน (พ.ศ.2561 ? ปัจจุบัน)
(หมายเหตุ : ร้อยละผลงานเทียบจากเป้าหมาย 5 ปี)
1. การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค
เป้าหมาย : เพิ่มประสิทธิภาพประปาหมู่บ้าน 14,534 หมู่บ้าน พัฒนาน้ำดื่มให้ได้มาตรฐาน ขยายระบบประปาเมือง 388 แห่ง และ
เพิ่มแหล่งน้ำสำรอง 346 ล้าน ลบ.ม. เป็นต้น 	- เพิ่มประสิทธิภาพประปาหมู่บ้าน 3,214 แห่ง (59%)
- การขยายเขต/เพิ่มเขตจ่ายน้ำ 556 แห่ง (21%)
- แผนระบบประปาเมืองหลัก/พื้นที่เศรษฐกิจ 2 แห่ง (4%)
- จัดหาแหล่งน้ำสำรอง 7 แห่ง (12%) 5.03 ล้าน ลบ.ม. (7%)
2. การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต
เป้าหมาย : เพื่อจัดหาน้ำต้นทุน ลดความเสี่ยงจากภัยด้านน้ำลง 50% โดยพัฒนาแหล่งเก็บน้ำ 13,439 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทาน
18 ล้านไร่ พัฒนาบ่อบาดาลเพื่อการเกษตร 13,860 ล้าน ลบ.ม. 	- ฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน 208 ล้าน ลบ.ม. (8%)
- น้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ 21.96 ล้าน ลบ.ม. (78%)
- แหล่งน้ำชุมชน 0.91 ล้าน ลบ.ม. (91%)
- สระน้ำในไร่นา 172.76 ล้าน ลบ.ม. (57%)
- พัฒนาแหล่งเก็บน้ำ 635.35 ล้าน ลบ.ม. (56%)
- พัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร 100.28 ล้าน ลบ.ม. (54%)
- พัฒนาบ่อบาดาลท้องถิ่น 1,769 แห่ง 6.5 ล้าน ลบ.ม.
- พัฒนาธนาคารน้ำใต้ดิน 1,067 แห่ง
3. การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย
เป้าหมาย : ลดความเสียหายจากอุทกภัย
ในพื้นที่ชุมชนเมือง 764 แห่ง จัดทำผังน้ำ
ทุกลุ่มน้ำ ขุดลอกลำน้ำ 6,271 กิโลเมตร ปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ แก้มลิง เป็นต้น	- ปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ 110 แห่ง (20%)
- ปรับปรุงลำน้ำธรรมชาติ 223 แห่ง (45%)
- ระบบป้องกันชุมชนเมือง 3 แห่ง (2%)
- เขื่อนป้องกันตลิ่ง 59 กิโลเมตร (11%)

4.การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
เป้าหมาย : ให้แหล่งน้ำมีคุณภาพในระดับพอใช้
ขึ้นไป พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย 741 แห่ง 	- ระบบบำบัดที่ก่อสร้างใหม่ 11 แห่ง (11%)
- ระบบบำบัดที่เพิ่มประสิทธิภาพระบบเดิม 1 แห่ง (3%)
- ควบคุม กำกับ แหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ 1,120 แห่ง (12%)
5. การฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม และป้องกันการพังทลายของดิน
เป้าหมาย : ฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมสภาพ 3.52 ล้านไร่ และป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่เกษตรลาดชัน 21.45 ล้านไร่ 	- ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 135,170 ไร่ (18%)
- ป้องกัน ลดการชะล้างพังทลายของดิน 3,563 ไร่ (1%)
- ป้องกัน ลดการชะล้างพังทลายของดิน (พื้นที่เกษตรนอกพื้นที่อนุรักษ์) 367,900 ไร่ (37%)
6. การบริหารจัดการ
เป้าหมาย : เพื่อให้มีกฎหมาย องค์กรในการจัดการน้ำที่มีเอกภาพ ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและสร้างความร่วมมือด้านน้ำกับต่างประเทศ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 	- จัดทำ ปรับปรุง กฎหมาย พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 และจัดทำกฎหมายลำดับรอง 12 ฉบับ (และอยู่ระหว่างพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาอีก 5 ฉบับ)
- จัดทำแผนแม่บทน้ำ-ระดับลุ่มน้ำ และแผนปฏิบัติการ
- ศึกษาวิจัยแนวทางจัดการน้ำ ได้แก่ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ 9 ลุ่มน้ำ ได้แก่ สะแกกรัง บางปะกง แม่กลอง โขงตะวันออกเฉียงเหนือ ชี มูล เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
- พัฒนา application Thai Water Plan เพื่อติดตามแผนงานโครงการด้านน้ำ และ application National Thai Water เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ
- ตั้งองค์กรเพื่อร่วมบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คณะกรรมการลุ่มน้ำ องค์กรผู้ใช้น้ำ
		2. ผลการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กระดับชุมชน สทนช. ได้ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน โดยสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ และให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ โดยใช้กลไกของคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ในการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการ
		ปัจจุบันมีแหล่งน้ำขนาดเล็กจำนวน 140,000 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศได้มีการเร่งพัฒนาจัดการแหล่งน้ำชุมชน แหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ โดย สทนช. ร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) รวมทั้งภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมดำเนินการผ่านกลไกของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทำหน้าที่สนับสนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถดูแลรักษา พัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชนของตนเองได้ ซึ่งขับเคลื่อนผ่านกลไกของอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน มีหน่วยงานร่วมบูรณาการ รวมจำนวน 6,453 แห่ง ได้แก่
		- สทนช. และ BOI ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนในการจัดการน้ำชุมชน โดยบริษัท มิตรผล ไบโอ ? พาวเวอร์ (ด่านช้าง) จำกัด ดำเนินการโครงการพัฒนาระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 21 แห่ง
		- มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ดำเนินการโครงการฝ่าวิกฤติด้วยเศรษฐกิจและสังคมฐานรากให้พัฒนาก้าวไปตามแนวพระราชดำริ จำนวน 1,817 แห่ง
		- มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ในพื้นที่ 1,659 หมู่บ้าน เครือข่ายเยาวชน 318 กลุ่ม พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน จำนวน 22 แห่ง
		- สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ดำเนินการเสนอแผนงานโครงการเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ภายใต้แผน 3.4 ในโครงการบริหาร พัฒนาชุมชน สู่ความยั่งยืน จำนวน 2,956 หมู่บ้าน
		3. ผลการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญจากผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในปัจจุบัน มีโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญที่มีผลสัมฤทธิ์ต่อการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด  โดยคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้เห็นชอบต่อแผนงานโครงการดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2559 รวมจำนวน 38 โครงการ นำไปสู่การขออนุมัติเปิดโครงการและขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความพร้อม โดยสรุป ดังนี้
			3.1 ได้รับงบประมาณแล้วจำนวน 23 โครงการ โดยมี 5 แผนงานที่ได้รับงบประมาณบางส่วน เนื่องจากเป็นแผนหลักการพัฒนาพื้นที่ จึงต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับงบประมาณเป็นรายโครงการตามความพร้อมอีกครั้ง ได้แก่ แผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ แผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงราชนก จ.พิษณุโลก แผนพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง
จ.หนองคาย แผนบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ ระยะที่ 1 และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและจัดการทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำนวน 38 โครงการ
			3.2 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว และอยู่ระหว่างขอรับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน                11 โครงการ ประกอบด้วย
				(1) โครงการของการประปาส่วนภูมิภาค เป็นการขยายเขตประปาเมืองสำคัญ จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ กปภ. สาขาแม่สาย ? ห้วยไคร้ ? แม่จัน - เชียงแสน กปภ. สาขาเพชรบูรณ์ - หล่มสัก กปภ.สาขาสมุทรสาคร - นครปฐม กปภ. สาขาพังงา - ภูเก็ต และ กปภ. สาขานครศรีธรรมราช
				(2) โครงการที่เสนอโดยท้องถิ่น จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการผลิตน้ำประปาบ้านมะขามเฒ่า จ.นครราชสีมา
				(3) โครงการของกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ อุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองพระยาราชมนตรีโครงการเขื่อน ค.ส.ล. (สมอยึดหลัง)คลองบางไผ่ โครงการเขื่อน ค.ส.ล. และรวบรวมน้ำเสียคลองแสนแสบโครงการเขื่อน ค.ส.ล.คลองบางนา และโครงการขยายคลองอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ
			3.3 โครงการที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเห็นชอบแล้ว และอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงราย สถานีสูบน้ำดิบเพื่อการพัฒนาเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จ.ปัตตานี อ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จ.ระยอง และอ่างเก็บน้ำบ้านหนองกระทิง จ.ฉะเชิงเทรา
		ทั้งนี้ หากโครงการทั้ง 38 โครงการที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเห็นชอบสามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมาย จะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้ 629 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ได้รับประโยชน์ได้ 1.4 ล้านไร่         มีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 312,612 ครัวเรือน
		4. ผลสำเร็จจากการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ผ่านมาผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมที่สำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศจากการดำเนินงานที่ผ่านมาในการลดความเสียหายจากภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม ดังนี้
			- สถานการณ์ภัยแล้งในปี พ.ศ. 2562 เป็นปีที่แล้งรุนแรงเป็นลำดับที่ 2 รองจากปี พ.ศ. 2558 แต่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเชิงป้องกัน วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง และจัดหาแหล่งน้ำสำรอง ทำให้มีหมู่บ้านประกาศภัยแล้งปี พ.ศ. 2562 จำนวน 30 จังหวัด 891 ตำบล 7,662 หมู่บ้าน ที่สำคัญในปี พ.ศ. 2563/2564 ไม่มีการประกาศภัยแล้ง ซึ่งต่างจากหลายปีที่ผ่านมา
			- สำหรับช่วงฤดูฝนใช้การร่วมกันวิเคราะห์ คาดการณ์ กำหนดพื้นที่เป้าหมายล่วงหน้า โดยทุกหน่วยงานทำงานร่วมกัน ทำให้มูลค่าความเสียหายน้อยลง รวมถึงการป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปี พ.ศ. 2562 ถือเป็นปีแรกที่รัฐบาลเข้ามาบริหารงาน มีความเสียหายเพียง 94 ล้านบาท ต่ำสุดนับตั้งแต่หลังอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 และในปี พ.ศ. 2563 มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 58 จังหวัด มูลค่าความเสียหาย 223 ล้านบาท ต่ำสุดเป็นลำดับที่ 3 ในรอบ 9 ปี
			- สทนช. ได้บูรณาการแผนงาน/โครงการหนองบึงและแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ให้มีการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยมีแผนหลักที่ผ่านความเห็นชอบของ กนช. แล้ว ประกอบด้วย บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ บึงราชนก จ.พิษณุโลก หนองหาน จ.สกลนคร และคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร สำหรับหนองบึงที่อยู่ระหว่างดำเนินการได้แก่ บึงสีไฟ จ.พิจิตร กว๊านพะเยา จ.พะเยา และเวียงหนองหล่ม จ.เชียงราย
		5. เป้าหมายงานที่จะดำเนินการต่อไป
			5.1 สทนช. บูรณาการแผนงาน/โครงการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580) ผ่านกลไกคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด เพื่อลดความซ้ำซ้อนของแผนงาน/โครงการ สอดคล้องตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนและโครงการสำคัญให้เป็นระบบ สามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความสอดคล้องในทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580) ให้บรรลุเป้าหมายต่อไป โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูล ได้แก่ Application Thai Water Plan และ Application National Thai Water มาใช้ในการวางแผนและติดตามแผนงานโครงการด้านน้ำ รวมทั้งบริหารสถานการณ์น้ำให้ถูกต้องและแม่นยำ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
			5.2 การขับเคลื่อนโครงการขนาดเล็กและการจัดการแหล่งน้ำระดับชุมชนสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580)  ซึ่งมีเป้าหมายพื้นที่เกษตรน้ำฝน จำนวน 14.68 ล้านไร่ สำหรับในระยะต่อไปภายในปี พ.ศ. 2566 มีแผนดำเนินการ จำนวน 24,071 โครงการ สามารถตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาด้านน้ำระดับพื้นที่ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580 ประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้าน การเติมน้ำใต้ดิน การพัฒนาแหล่งเก็บน้ำขนาดเล็ก การฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ การขุดเจาะบ่อบาดาล การทำแก้มลิง ขุดลอก ฝาย และการกำจัดวัชพืช เป็นต้น โดยกระจายในภูมิภาคต่าง ๆ ตามลักษณะภูมิประเทศ สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนพื้นที่
			5.3 เพื่อให้การจัดการทรัพยากรน้ำมีความมั่นคงยิ่งขึ้น กนช. ได้เห็นชอบแผนงานโครงการสำคัญและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ต้องขับเคลื่อนภายในปี พ.ศ. 2566 รวม 526 โครงการ แบ่งเป็น             3 ส่วน คือ
				(1) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 151 โครงการ เช่น อ่างเก็บน้ำแม่เมาะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.พะเยา อ่างเก็บน้ำห้วยเฮี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงราย
				(2) โครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินงบประมาณมากกว่า 1,000 ล้านบาท หรือโครงการที่ต้องบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน รวมจำนวน 106 โครงการ เช่น การพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล
				(3) กลุ่มโครงการสำคัญที่สอดคล้องตามนโยบายการแก้ไขปัญหาด้านน้ำ รวม 269 โครงการเช่น โครงการพัฒนาน้ำบาดาลขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำธารประเวศ จ.สุราษฎร์ธานี
		หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ 3,172 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์เพิ่ม 6.5 ล้านไร่  และผันน้ำได้ปริมาณน้ำเพิ่ม 3,841 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ได้เพิ่ม 4.3 ล้านไร่ และการพัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำชะลอน้ำหลากได้ 2,320 ล้าน ลบ.ม.

30. เรื่อง อนุมัติงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายการแก้ไขและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำและทัณฑสถาน จากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายการแก้ไขและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำและทัณฑสถาน จากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดยให้กรมราชทัณฑ์ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในกรอบวงเงิน 311,650,300 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ จำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย
		1) ค่าชุดตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) แบบ RT PCR จำนวน 100,000 ชุด เป็นเงิน 80,000,000 บาท
		2) ค่าก่อสร้างโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยวิกฤตในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 2 แห่ง เป็นเงิน 51,967,200 บาท
		3) ค่าก่อสร้างโรงพยาบาลสนามประจำเขตกลุ่มเรือนจำและทัณฑสถาน จำนวน 10 แห่ง เป็นเงิน 92,680,000 บาท
		4) ค่าก่อสร้างและปรับปรุงห้องกักกันโรคประจำเรือนจำและทัณฑสถาน จำนวน 65 แห่ง เป็นเงิน 49,835,500 บาท
		5) ค่าวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำและทัณฑสถาน เป็นเงิน 37,167,600 บาท
		ทั้งนี้ การจัดหายาฟาวิพิราเวียร์สำหรับผู้ติดเชื้อนั้น ขอให้กรมราชทัณฑ์ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ โดยขอรับการสนับสนุนยาดังกล่าวจากกระทรวงสาธารณสุขโดยตรงและเร่งด่วน รวมทั้งเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม เพื่อทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
		สาระสำคัญ
		กระทรวงยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์ไม่สามารถพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศได้ทั้งหมด ทั้งนี้ได้แก้ปัญหาในเบื้องต้นแล้วบางส่วน หากแต่ยังประสบปัญหาด้านงบประมาณ อีกเป็นจำนวนวงเงิน 311,650,300 บาท

ต่างประเทศ

31. เรื่อง การแก้ไขเอกสารประกอบสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศเพื่อรองรับการยุติการใช้ London Interbank Offered Rate (LIBOR) เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
		คณะรัฐมนตรีรับทราบการแก้ไขเอกสารประกอบสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศเพื่อรองรับการยุติการใช้ London Interbank Offered Rate (LIBOR) เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558) ซึ่งกำหนดให้ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงถ้อยคำหรือสาระสำคัญของหนังสือสัญญาที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติหรือเห็นชอบไปแล้ว หากไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้ ให้สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง)
		สาระสำคัญ
		1. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างสัญญาเงินกู้และอนุมัติให้กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียเพื่อดำเนินโครงการของรัฐ โดยมีสัญญาเงินกู้ที่ยังมียอดหนี้คงค้างหรืออยู่ระหว่างเบิกรับเงินกู้จำนวน 5 สัญญา ดังนี้
(หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
มติคณะรัฐมนตรี	โครงการและผู้ให้กู้	วันที่สิ้นสุด
การชำระหนี้	วงเงิน
8 กันยายน 2552	โครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) (ธนาคารพัฒนาเอเชีย)	15 ธันวาคม 2567	77.10
27 เมษายน 2553	โครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ธนาคารโลก)	15 กรกฎาคม 2573	1,000
	โครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ธนาคารพัฒนาเอเชีย)	1 มิถุนายน 2568	300
21 พฤศจิกายน 2560	โครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) (ธนาคารพัฒนาเอเชีย)	15 สิงหาคม 2573	99.40
4 สิงหาคม 2563	โครงการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (ธนาคารพัฒนาเอเชีย)	15 กุมภาพันธ์ 2573	1,500
รวม	2,976.50
		ทั้งนี้ เงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวโดยอ้างอิงจาก LIBOR สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
		2. อัตราดอกเบี้ย LIBOR เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดการเงินโลกและเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียใช้ประกอบการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการให้เงินกู้กับคู่สัญญาประเทศต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม Financial Conduct Authority (FCA) ซึ่งเป็นองค์การกำกับนโยบายทางการเงินของสหราชอาณาจักรและเป็นผู้เผยแพร่อัตราดอกเบี้ย LIBOR ได้ตรวจพบการบิดเบือนการรายงานข้อมูลของผู้ร่วมตลาดเพื่อจัดทำอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของ LIBOR ลดลอง และเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 FCA ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะยุติการเผยแพร่และจะไม่รับรอง LIBOR ให้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทางการโดยเริ่มหลังจากปี 2564 เป็นต้นไป ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจของประเทศต่าง ๆ ที่ใช้ LIBOR ในการกู้ยืมและใช้ LIBOR เป็นองค์ประกอบในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยลอยตัวผูกกับสกุลเงินของตนจึงได้ให้ความสำคัญกับการหาแนวทางรองรับและพัฒนาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่ที่สามารถใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่เชื่อถือได้เพื่อรองรับการยุติการเผยแพร่การใช้ LIBOR
		3. ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียได้มีหนังสือถึงกระทรวงการคลังเพื่อขอให้เห็นชอบการแก้ไขเอกสารประกอบสัญญาเงินกู้เพื่องรองรับการยุติการใช้ LIBOR ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงได้เห็นชอบการแก้ไขเอกสารประกอบสัญญาเงินกู้ดังกล่าวพร้อมทั้งลงนามในหนังสือตอบตกลงการแก้ไขรายละเอียดประกอบสัญญาเงินกู้ของธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียเรียบร้อยแล้ว

32. เรื่อง สรุปผลการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ผ่านระบบออนไลน์
		คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 22 ? 23 กุมภาพันธ์ 2564 และเห็นชอบร่างเอกสาร Looking ahead to the resumed UN Environment Assembly in 2022 ? Message from online UNEA 5, Nairobi 22 ? 23 February 2021 ทั้งนี้ หากมีความจะเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
		สาระสำคัญ
                   1. การประชุมเต็มคณะ (Plenary Session) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์  และประธานสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติทำหน้าที่ประธานการประชุม  โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  โดยเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030
2. การหารือระดับผู้นำสำหรับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมและผู้แทนระดับสูง
			2.1 ที่ประชุมได้เน้นย้ำประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดโรคระบาดจากสัตว์สู่คน และความเชื่อมโยงระหว่างวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และปัญหาสุขภาพ โดยต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกันอย่างบูรณาการ รวมถึงการฟื้นฟูที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางนำไปสู่โลกคาร์บอนต่ำและเสริมสร้างภูมิต้านทานภายหลังการระบาด โดยมีการเสนอการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ด้านสารเคมี ของเสีย ขยะพลาสติก เมืองยั่งยืน การมีส่วนร่วมของประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนบทบาทของ UNEP ในการนำยุทธศาสตร์ระยะกลางมาใช้และประสานความร่วมมือระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อม
			2.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเน้นถึงการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อให้เกิดการพัฒนาและฟื้นฟูอย่างยั่งยืน โดยยกตัวอย่างการดำเนินงานของประเทศไทย เช่น (1) การประกาศใช้ ?Bio-Circular-Green-Economy? หรือ BCG Model ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ครอบคลุม สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (2) การยกร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศและธรรมชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ UNEP เพิ่มความร่วมมือในการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดี เทคโนโลยีใหม่ และนวัตกรรมที่ส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
		3. เอกสารผลลัพธ์การประชุม ซึ่งได้รับรองเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ได้แก่ ข้อความความสาร Looking ahead to the resumed UN Environment Assembly in 2022 ? Message from online UNEA 5 (มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันเกี่ยวกับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ ของเสีย และสารเคมี การดำเนินงานตามความร่วมมือพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ) มีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำซึ่งไม่ได้เป็นการแก้ไขสาระสำคัญของเอกสารให้เปลี่ยนแปลงไปและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564

33. เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญากรุงโซลในการประชุมระดับผู้นำกรอบหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโตสีเขียวและเป้าหมายโลกปี ค.ศ. 2030 (Partnering for Green Growth and Global Goals 2030: P4G) ครั้งที่ 2
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญากรุงโซลในการประชุมระดับผู้นำกรอบหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโตสีเขียวและเป้าหมายโลกปี ค.ศ. 2030 (Partnering for Green Growth and Global Goals 2030: P4G) ครั้งที่ 2 ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างปฏิญญาดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาฯ ในการประชุม P4G ครั้งที่ 2 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ผ่านระบบวีดิทัศน์แบบถ่ายทอดสดตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
		สาระสำคัญ
		1. ร่างปฏิญญากรุงโซลเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำที่เข้าร่วมการประชุม P4G มีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ที่มีการหารือกันในที่ประชุม P4G อาทิ การดำเนินการของประชาคมระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านการฟื้นฟูสีเขียว การเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในระดับโลก
		2. โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อย้ำความมุ่งมั่นของประชาคมระหว่างประเทศในการส่งเสริมเป้าหมายการฟื้นฟูสีเขียวอย่างครอบคลุมเพื่อมุ่งสู่สังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการของประชาคมระหว่างประเทศในภาพรวม โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริทบใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
		ทั้งนี้รัฐบาลเกาหลีใต้จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม P4G ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 30 ? 31 พฤษภาคม 2564 ภายใต้หัวข้อหลัก ?Inclusive Green Recovery towards Carbon Neutrality? โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ประชาคมระหว่างประเทศส่งเสริมความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยนายกรัฐมนตรีมีกำหนดเข้าร่วมการประชุมฯ ผ่านระบบวีดิทัศน์แบบถ่ายทอดสดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยในการร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อรักษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

34. เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2021
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาทางการเมืองในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2021 และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยประธานกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะหน่วยงานกลางของประเทศไทยในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention Against Corruption: UNCAC 2003) ร่วมรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2021 ระหว่างวันที่ 2 ? 4 มิถุนายน 2564 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยประสานกับกระทรวงการต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอ
		สาระสำคัญของร่างปฏิญญาทางการเมือง (Political Declaration) จะเป็นเอกสารซึ่งเป็นการแสดงเจตจำนงร่วมกันของรัฐภาคีที่จะดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต่อไปในอนาคต

35. เรื่อง (ร่าง) แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของราชอาณาจักรไทยกับกรมสิ่งแวดล้อมของสมาพันธรัฐสวิส ในความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อ (ร่าง) แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของราชอาณาจักรไทยกับกรมสิ่งแวดล้อมของสมาพันธรัฐสวิส ในความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แทนลงนามใน (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมดังกล่าว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
		สาระสำคัญของ (ร่าง) แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของราชอาณาจักรไทยกับกรมสิ่งแวดล้อมของสมาพันธรัฐสวิส ในความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สรุปได้ ดังนี้
		1. ระบุถึงความมุ่งมั่นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของราชอาณาจักรไทย และกรมสิ่งแวดล้อมของสมาพันธรัฐสวิส ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะผ่านความร่วมมือภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความตกลงปารีส เพื่อมุ่งขับเคลื่อนประเทศสู่วิถีการพัฒนาที่มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ รวมถึงผ่านการจัดส่งการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง เมื่อปี พ.ศ. 2563
		2. การแสดงความตั้งใจของทั้งสองหน่วยงานที่จะมีการดำเนินงานร่วมกัน และร่วมกับประเทศอื่น ๆ ในการมุ่งบรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีส โดยการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์และสนับสนุนให้การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งต่อไป (สมัยที่ 26) ณ เมืองกลาสโกว์ ประสบความสำเร็จ
		3. นำเสนอการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของราชอาณาจักรไทย ทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และการดำเนินการตามแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ โดยมุ่งหวังที่จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 20 จากกรณีปกติ ภายในปี พ.ศ. 2573 และสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับชุมชนและเศรษฐกิจของประเทศ การจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ การพัฒนาร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... รวมไปถึงการรับรองแผนที่นำทางการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าฉบับปรับปรุง
		4. นำเสนอการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสมาพันธรัฐสวิสในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ซึ่งมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 50 จากระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2533 ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 75 จะมาจากการดำเนินงานภายในประเทศ และร้อยละ 25 มาจากต่างประเทศ นอกจากนี้สมาพันธรัฐสวิสได้รับรองยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำซึ่งเป็นแนวทางให้ประเทศมุ่งสู่วิถีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593
		5. การแสดงความตั้งใจของทั้งสองหน่วยงานที่จะร่วมยกระดับความร่วมมือภายใต้ข้อ 6 ของความตกลงปารีส อันจะนำไปสู่การดำเนินงานและการบรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดของทั้งสองประเทศ โดยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศและอยู่บนพื้นฐานแห่งความเคารพ ความเป็นธรรม และความยุติธรรม
		6. ในวาระการครบรอบ 90 ปีแห่งความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทยและสมาพันธรัฐสวิส ในปี พ.ศ. 2564 ทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของความตกลงปารีส

แต่งตั้ง

36. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอการแต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่กำหนดให้ทุกส่วนราชการแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวง/หน่วยงานอย่างเป็นทางการแล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ] โดยได้แต่งตั้ง นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ เป็นโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เพื่อให้การประชาสัมพันธ์เผยแพร่นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงแรงงาน ตลอดจนผลการดำเนินงานของกระทรวงแรงงาน เป็นไปอย่างคล่องตัว ซึ่งกระทรวงแรงงานได้มีคำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 246/2564 เรื่อง แต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) ด้วยแล้ว

37. เรื่อง ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงโฆษกสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอการเปลี่ยนแปลงโฆษก สศช. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการดำรงตำแหน่งระดับสูงภายใน สศช. [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่กำหนดให้ทุกส่วนราชการแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวง/หน่วยงานอย่างเป็นทางการ แล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ] สรุปได้ ดังนี้
		1. นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น โฆษก สศช.
   		2. นางนภัสชล ทองสมจิตร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน เป็น รองโฆษก สศช.

38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่               30 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
 		1. นายกิตติศักดิ์ จุลสำรวล ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับสูง] กองหลักนิติบัญญัติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
 		2. นางสาวนุชนาถ เกษมพิบูลย์ไชย ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับสูง] กองกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ                    (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
 		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้ง นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

40. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของปลัดกระทรวงยุติธรรม (ครั้งที่ 1)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 5 มิถุนายน 2564 ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอ

41. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ จำนวน 9 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้
 		1. นายศรพล ตุลยะเสถียร  	 	(ด้านเศรษฐศาสตร์)
 		2. นายสราวุธ เบญจกุล  		(ด้านการเงินการธนาคาร)
 		3. พันตำรวจเอก ญาณพล ยั่งยืน   	(ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ)
		4. นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส  	 	(ด้านกฎหมาย)
 		5. นายดำรงศักดิ์ เครือแก้ว  		(ด้านกฎหมาย)
 		6. พลเอก ณรงค์ฤทธิ์ อิศรัตน์  	 	(ด้านความมั่นคงประเทศ)
		7. พลตำรวจเอก ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์  	(ด้านการสอบสวนคดีอาญา)
 		8. พลตำรวจเอก ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล   	(ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
		9. นายมานะ นิมิตรมงคล  		(ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต)
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 พฤษภาคม 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ